โพลชี้ ปชช. ร้อยละ 41.68 เชื่อรัฐบาลอยู่ครบเทอม เปิดปัจจัยที่จะทำให้รบ.อิ๊งค์ไปต่อไม่ได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4867439
โพลชี้ ปชช. ร้อยละ 41.68 เชื่อรัฐบาลอยู่ครบเทอม เปิดปัจจัยที่จะทำให้รบ.อิ๊งค์ไปต่อไม่ได้
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “
รัฐบาลนายกฯ อุ๊งอิ๊ง ไปไหวไหม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21-22 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัจจัยที่จะส่งผลให้รัฐบาลนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ไปต่อไม่ได้
จากการสำรวจเมื่อถามความเชื่อของประชาชนต่อการอยู่รอดของรัฐบาลนายกฯ
แพทองธาร ชินวัตร จากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.68 ระบุว่า เชื่อว่าจะไปต่อได้จนครบเทอมในปี 2570 รองลงมา ร้อยละ 19.08 ระบุว่า เชื่อว่าจะไปต่อได้อีกประมาณ 2 ปี (2569) ร้อยละ 16.87 ระบุว่า เชื่อว่าจะไปต่อได้อีกประมาณ 1 ปี (2568) ร้อยละ 11.99 ระบุว่า เชื่อว่าจะไปต่อได้จนเกือบ ๆ ครบเทอมในปี 2570 ร้อยละ 9.77 ระบุว่า
เชื่อว่าจะไปต่อได้ไม่เกินสิ้นปี 2567 และร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงปัจจัยที่จะส่งผลให้รัฐบาลนายกฯ
แพทองธาร ชินวัตร ไปต่อไม่ได้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.43 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นไปตามที่สัญญาและคาดหวัง รองลงมา ร้อยละ 32.52 ระบุว่า กลุ่มนักร้องเรียนที่พุ่งเป้าไปยังคุณ
ทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 29.47 ระบุว่า การบริหารที่ผิดพลาดของนายกฯ
แพทองธาร จนนำไปสู่สถานการณ์วิกฤต ร้อยละ 28.85 ระบุว่า กลุ่มนักร้องเรียนที่พุ่งเป้าไปยังนายกฯ
แพทองธาร และพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 19.77 ระบุว่า การบริหารงานที่ไม่ระมัดระวังจนอาจเกิดการทุจริต คอร์รัปชัน
ร้อยละ 17.25 ระบุว่า ความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ไม่มีปัจจัยใด ๆ ที่จะทำให้รัฐบาลนายกฯ
แพทองธาร ไปต่อไม่ได้ ร้อยละ 10.92 ระบุว่า การชุมนุมประท้วงรัฐบาลจนเกิดความวุ่นวายทางการเมือง ร้อยละ 9.62 ระบุว่า การเสนอแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเด็นจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร้อยละ 9.08 ระบุว่าการทำงานของพรรคฝ่ายค้านที่จะนำไปสู่การล้มลงของรัฐบาล ร้อยละ 8.24 ระบุว่า การเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม ที่มีประเด็นอ่อนไหว ร้อยละ 8.09 ระบุว่า ประเด็นคดีตากใบ และร้อยละ 6.95 ระบุว่า การก่อรัฐประหารล้มรัฐบาล
อ.นิติจุฬาฯ แนะ อย่างน้อยขอโทษเหยื่อ ‘ตากใบ’ – เยาวชนกะเหรี่ยง ยกเคสค้านเหมืองแร่ ถาม รบ.ไทย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4867106
อ.นิติจุฬาฯ แนะ อย่างน้อยขอโทษครอบครัวเหยื่อ ‘ตากใบ’ เยาวชนกะเหรี่ยง ยกเคสค้านเหมืองแร่ ถาม รบ.ไทย เป็นสมาชิก UNHRC ทำได้ตามที่รับเลือกไหม ?
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม เวลา 17.00 น. ที่ชั้น 22 The Society, Gaysorn Tower คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) ร่วมกับ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จัดเวทีเสวนา ‘THAILAND: HUMAN RIGHTS COUNCIL ความรับผิดชอบต่อสิทธิมนุษยชน ความท้าทายที่ยังคงอยู่ของไทยในที่นั่ง คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council:
UNHRC) โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ชี้จุดท้าทาย ในประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ไทยยังต้องเปลี่ยนแปลง หรือเดินหน้าต่อ
บรรยากาศเวลา 18.30 น.
คาเทีย คริริซซี (Katia Chirizzi) รองผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) กล่าวเปิดงาน
เวลา 18.45 น. เข้าสู่ช่วงเสวนาในหัวข้อ ‘
ความรับผิดชอบต่อสิทธิมนุษยชน ความท้าทายที่ยังคงอยู่ของไทยในที่นั่ง คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ‘ โดย นาย
ฝาซี ล่าเต๊ะ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, นาย
อัครชัย ชัยมณีการเกษ หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศและนโยบาย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, น.ส.
สัณหวรรณ ศรีสด นักกฎหมายจาก คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ), นาย
อูเซ็ง ดอเลาะ มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จ.นราธิวาส และ น.ส.
พรชิตา ฟ้าประทานไพร นักกิจกรรมเยาวชนชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
ในตอนหนึ่ง น.ส.
พรชิตา นักกิจกรรมเยาวชนชาวกะเหรี่ยง กล่าวว่า 5 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2562 เราทำข้อมูล เพื่อสื่อสารเด็นที่ต่อสู้และบริบทของชุมชน ถ้าเราพูดว่าไม่เอาเหมืองแร่ถ่านหิน ถ้ามีข้อมูล บริบทในพื้นที่ และข้อกังวล จึงจะสามารถต่อสู้เพื่อยับยั้งโครงการนี้ได้ เราจึง
1. รวบรวมข้อมูล
2. สื่อสารกับสื่อหลัก สื่อรอง และสื่อต่างประเทศ ถึงโครงการที่จะเกิดขึ้นให้คนข้างนอกเข้าใจ รวมถึงคนที่ไม่รู้ให้ได้รับรู้ว่าเรากำลังจะเจออะไร ทำไมถึงต้องลุกขึ้นมาสู้
3. เราสร้างพลังการเคลื่อนไหว เพื่อทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อปกป้องคนในชุมชน 4.เราใช้กระบวนการยุติธรรม ฟ้องศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอน EIA ซึ่ง EIA ที่บริษัททำขึ้นมา เราพบว่ามีการข้อมูลบิดเบือน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในหลายเรื่อง จึงทำให้เราต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ ว่าชุมชนต้องได้รับสิทธินี้ และกระบวนการยุติธรรม ก็ควรจะมองว่าการลุกขึ้นต่อสู้ของชาวบ้านนี้ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
“
ในฐานะที่เป็นนักกิจกรรมเยาวชน ที่ทำประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ในปัจจุบันของไทย เอื้อต่อการปกป้องสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองหรือไม่ ส่วนตัวมองว่า เอื้อน้อยมาก เพราะไม่มีข้อกฎหมายที่คุ้มครองกลุ่มชาติพันธ์เท่าที่ควร ถึงแม้ว่าจะมีการพูดถึงสิทธิชนเผ่าในพื้นที่ ตามอนุสัญญา หรือปฏิญญาสากล แต่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองเท่าที่ควร”
“
เราถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกกล่าวหา ตีตราว่าเป็นพวกสกปรก ค้ายา ทำลายป่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา มีการพูดถึงกะเหรี่ยงชาติพันธุ์ ตัดไม้ทำลายป่า จึงทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม เรามองว่าเป็นเรื่องที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน ที่ทำให้เกิดปัญญาหานี้ ไม่ควรมองว่ากลุ่มชาติพันธุ์ เป็นต้นเหตุให้เกิดน้ำท่วม หากรัฐบาลเห็นความสำคัญ ‘ชนเผ่าพื้นเมือง’ ก็อยากให้ส่งเสริม พัฒนาอย่างที่ควรเป็นเหมือนที่ประชาชนทั่วไปควรจะได้รับ” น.ส.
พรชิตากล่าว
น.ส.
พรชิตากล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นโลกร้อน ที่เป็นปัญหาใหญ่ เรามองว่าคนที่ต้องกล่าวถึงมากที่สุดคือ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ปล่อยมลพิษ ออกสู่ชั้นบรรยากาศ มากกว่าตีตรากลุ่มชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ยังมีข้อกฎหมายที่เอื้อให้นายทุน บริษัทขนาดใหญ่ เกิดการสร้างเหมือง รวมถึงรัฐอนุญาตให้ใช้พื้นที่ โดยไม่ได้มองว่าชุมชนได้รับผลกระทบอะไรบ้าง
“
การที่ไทย เป็นสมาชิกคณะมนตรีฯ เรามองว่า คนที่มีส่วนในการเป็นสมาชิกนี้ อาจมองเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในแง่ที่ว่าประเทศเราเคารพสิทธิมนุษยชน แต่ในบริบทประเทศเรา ยังประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะ ‘เหมืองแร่ถ่านหิน’ ชุมชนไม่สามารถมีส่วนร่วมได้ ไม่มีอำนาจต่อรองว่าไม่เห็นด้วย แล้วจะต้องทำอย่างไร แต่กระบวนการต่างๆ รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอามาอ้าง เพื่อสร้างความชอบธรรม เพื่อให้ได้ทำเหมือง”
น.ส.
พรชิตากล่าวต่อว่า เรารับรู้อีกหลายๆ ประเด็น เหมือนที่หลายพื้นที่กำลังสู้ ในภาคเหนือของเรา ถูกตั้งเป็นเขตพื้นที่เพื่อการทำเหมือง หลายพื้นที่มาก อย่าง เหมืองแร่ฟลูออไรด์ ซึ่งขัดต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ชุมชนไม่ได้รับรู้อะไรนอกจาก มีหนังสือมาแจ้งว่าจะมีโครงการนี้เกิดขึ้น คนรุ่นใหม่ที่จะต้องอาศัยที่นี่ในอนาคต ก็ไม่มีอำนาจต่อสู้
ในฐานะประชาชน เราสามารถตั้งคำถามนี้ ต่อคณะมนตรีฯ ว่าประเทศเราที่ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก ได้ทำตามที่ได้รับเลือกหรือไม่ รวมถึงจะมีกลไกอะไรบ้างที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับชุมชนที่กำลังต่อสู้กับประเด็นปัญหาอยู่ เราอยากเห็นประเทศนี้มีความเท่าเทียม ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะชนเผ่าพื้นเมืองทุกคนเป็นคนเท่ากันในประเทศนี้
เมื่อถามว่า ระหว่างการต่อสู้เจอประเด็นปัญหาอะไรบ้าง ?
น.ส.
พรชิตาเผยว่า มีชาวบ้านถูกฟ้องร้อง 2 คน นักศึกษา 4 คน โดยบริษัทฟ้อง แต่ชั้นตำรวจไม่สั่งฟ้อง เพราะพิจารณาแล้วไม่เข้าข่าย ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่บริษัทนายทุนทำ เพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนไหว สร้างความกลัว
ประเด็นที่สอง ข้อท้าทายคือ เราไม่มีอำนาจต่อรอง ไม่ถูกพูดถึงและยอมรับในสังคม ทำให้ไม่เกิดความชอบธรรม
“
จากที่เราทำเพจ ที่ผ่านมาเราเห็นบริษัทเคลื่อนไหว โดยไปคอมเมนต์ ว่าเขามีสิทธิเข้าไปทำตามข้อกฎหมายนี้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรานี้ และบอกว่าชาวบ้านในพื้นที่เขตป่าสงวน มีความผิดในการเข้าไปทำกิน เรารู้สึกว่าเขาพูดถึงสิทธิของเขาเยอะมาก แต่เราไม่มีสิทธิอะไรที่จะพูดได้เลย ทั้งที่เป็นคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่” น.ส.พรชิตากล่าว
บรรยากาศในช่วงท้าย ผู้แทนกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น ว่าในเบื้องต้น ทาง กต.ขอแจ้งรับทราบความคิดเห็นของทุกท่าทานในวันนี้ ขอขอบคุณมากสำหรับข้อคิดเห็น การมีปฏิสัมพันธ์กันในวันนี้ ที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศก็ได้พยายามมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับภาคประชาสังคม หลายท่านก็คงเคยเจอกันในการประชุม 2 ฝ่าย ระหว่างกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศกับองค์กรของท่าน แล้วก็หลายองค์กรก็ได้ร่วมเสวนา หรือการหารือมาก่อนหน้านี้ ขอบขอบคุณอย่างมากให้การสนับสนุนและให้ข้อเสนอแนะในระหว่างรณรงค์หาเสียง จนถึงวันนี้
การที่เราเป็นสมาชิก UNHRC ในครั้งนี้ก็จะช่วยเสริมสร้างความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนแล้วก็เสริมสร้างพลวัตขับเคลื่อนการทำงานด้านสินธิมนุษยชนของไทย ให้กับส่วนราชการและสาธารณชนของไทย ซึ่งก็จะเป็นโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ ได้มาทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันต่อไป
“
หลังจากนี้ก่อนที่เราจะเข้าเป็นสมาชิก UNHRC ต่อไปในเดือนมกราคมปีหน้านี้ กระทรวงการต่างประเทศ ก็จะจัดการหารืออีกครั้งกับภาคประชาสังคมแล้วก็จะรับฟังข้อคิดเห็นจาก สำนักงานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ขอเสริมประเด็น เกี่ยวกับกลไกพิเศษภายใต้ UNHRC เป็นข่าวดีที่ไทยเราเองก็กำลังจะรับการมาเยือนแห่งกลไกพิเศษถึง 2 กลไก ในช่วงเดือนธันวานี้ก็จะรับการเยือนแบบเป็นทางการของคณะการทำงานว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่อสตรีและเด็กหญิง และช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ก็จะรับการเยือนของผู้เสนอรายงานพิเศษด้านสิทธิทางสุขภาพ” ผู้แทนกรมองค์การระหว่างประเทศ กล่าว
ผู้แทนกรมองค์การระหว่างประเทศ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวได้รับทราบมาจากผู้จัด ว่ามีคำถามเกี่ยวกับ ประโยชน์ที่ประเทศไทย จะได้รับจากการเป็นสมาชิก UNHRC ในครั้งนี้ ในเบื้องต้นกระทรวงการต่างประเทศก็ประเมินได้ 3 ประการ คือ 1.ประเทศไทยจะสามารถนำพัฒนาการด้านสิทธิมนุยชนในเวทีระหว่างประเทศ มาประยุกต์ใช้กับบริบทในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น การเข้าถึงการรักษาพยาบาล สิทธิในสุขภาพ สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนสิทธิทางการเมืองและพลเรือน นอกจากนี้ ในปัจจุบันก็มีความท้าทายเกิดใหม่ที่กระทบสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นบริบททางภูมิรัฐศาสตร์ ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งกระทบต่อสิทธิมนุษยชนโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นสินธิในการมีอาหาร สิทธิในการเข้าถึงน้ำสะอาด สิทธิทางสุขภาพ สิทธิในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพยั่งยืนและสะอาด ประเด็นเหล่านี้ที่เป็นพัฒนาการใหม่ที่เกิดขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ เราก็จะได้เขาไปติดตามและนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย นอกจากนี้ ก็ยังมีภัยคุกคามทางเทคโนโลยีดิจิทัล เราก็จะได้ไปรับฟังแนวปฏิบัติที่ดีของประเทศอื่นๆ และไปร่วมกำหนดนโยบายในเวทีระหว่างประเทศแล้วก็เอามาประยุกต์ให้กับประเทศไทย
JJNY : โพลเปิดปัจจัยไปต่อไม่ได้│อ.นิติจุฬาฯแนะอย่างน้อยขอโทษเหยื่อ‘ตากใบ’│ไทยกดซื้ออ้อยขั้นต้น│เปิดภาพบินรบโจมตีอิหร่าน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4867439
โพลชี้ ปชช. ร้อยละ 41.68 เชื่อรัฐบาลอยู่ครบเทอม เปิดปัจจัยที่จะทำให้รบ.อิ๊งค์ไปต่อไม่ได้
เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “รัฐบาลนายกฯ อุ๊งอิ๊ง ไปไหวไหม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21-22 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัจจัยที่จะส่งผลให้รัฐบาลนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ไปต่อไม่ได้
จากการสำรวจเมื่อถามความเชื่อของประชาชนต่อการอยู่รอดของรัฐบาลนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร จากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.68 ระบุว่า เชื่อว่าจะไปต่อได้จนครบเทอมในปี 2570 รองลงมา ร้อยละ 19.08 ระบุว่า เชื่อว่าจะไปต่อได้อีกประมาณ 2 ปี (2569) ร้อยละ 16.87 ระบุว่า เชื่อว่าจะไปต่อได้อีกประมาณ 1 ปี (2568) ร้อยละ 11.99 ระบุว่า เชื่อว่าจะไปต่อได้จนเกือบ ๆ ครบเทอมในปี 2570 ร้อยละ 9.77 ระบุว่า
เชื่อว่าจะไปต่อได้ไม่เกินสิ้นปี 2567 และร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงปัจจัยที่จะส่งผลให้รัฐบาลนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ไปต่อไม่ได้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.43 ระบุว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นไปตามที่สัญญาและคาดหวัง รองลงมา ร้อยละ 32.52 ระบุว่า กลุ่มนักร้องเรียนที่พุ่งเป้าไปยังคุณทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 29.47 ระบุว่า การบริหารที่ผิดพลาดของนายกฯ แพทองธาร จนนำไปสู่สถานการณ์วิกฤต ร้อยละ 28.85 ระบุว่า กลุ่มนักร้องเรียนที่พุ่งเป้าไปยังนายกฯ แพทองธาร และพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 19.77 ระบุว่า การบริหารงานที่ไม่ระมัดระวังจนอาจเกิดการทุจริต คอร์รัปชัน
ร้อยละ 17.25 ระบุว่า ความขัดแย้งในพรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ไม่มีปัจจัยใด ๆ ที่จะทำให้รัฐบาลนายกฯ แพทองธาร ไปต่อไม่ได้ ร้อยละ 10.92 ระบุว่า การชุมนุมประท้วงรัฐบาลจนเกิดความวุ่นวายทางการเมือง ร้อยละ 9.62 ระบุว่า การเสนอแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเด็นจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร้อยละ 9.08 ระบุว่าการทำงานของพรรคฝ่ายค้านที่จะนำไปสู่การล้มลงของรัฐบาล ร้อยละ 8.24 ระบุว่า การเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม ที่มีประเด็นอ่อนไหว ร้อยละ 8.09 ระบุว่า ประเด็นคดีตากใบ และร้อยละ 6.95 ระบุว่า การก่อรัฐประหารล้มรัฐบาล
อ.นิติจุฬาฯ แนะ อย่างน้อยขอโทษเหยื่อ ‘ตากใบ’ – เยาวชนกะเหรี่ยง ยกเคสค้านเหมืองแร่ ถาม รบ.ไทย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4867106
อ.นิติจุฬาฯ แนะ อย่างน้อยขอโทษครอบครัวเหยื่อ ‘ตากใบ’ เยาวชนกะเหรี่ยง ยกเคสค้านเหมืองแร่ ถาม รบ.ไทย เป็นสมาชิก UNHRC ทำได้ตามที่รับเลือกไหม ?
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม เวลา 17.00 น. ที่ชั้น 22 The Society, Gaysorn Tower คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) ร่วมกับ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จัดเวทีเสวนา ‘THAILAND: HUMAN RIGHTS COUNCIL ความรับผิดชอบต่อสิทธิมนุษยชน ความท้าทายที่ยังคงอยู่ของไทยในที่นั่ง คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council:
UNHRC) โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ชี้จุดท้าทาย ในประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ไทยยังต้องเปลี่ยนแปลง หรือเดินหน้าต่อ
บรรยากาศเวลา 18.30 น. คาเทีย คริริซซี (Katia Chirizzi) รองผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) กล่าวเปิดงาน
เวลา 18.45 น. เข้าสู่ช่วงเสวนาในหัวข้อ ‘ความรับผิดชอบต่อสิทธิมนุษยชน ความท้าทายที่ยังคงอยู่ของไทยในที่นั่ง คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ‘ โดย นายฝาซี ล่าเต๊ะ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, นายอัครชัย ชัยมณีการเกษ หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศและนโยบาย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, น.ส.สัณหวรรณ ศรีสด นักกฎหมายจาก คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ), นายอูเซ็ง ดอเลาะ มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จ.นราธิวาส และ น.ส.พรชิตา ฟ้าประทานไพร นักกิจกรรมเยาวชนชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
ในตอนหนึ่ง น.ส.พรชิตา นักกิจกรรมเยาวชนชาวกะเหรี่ยง กล่าวว่า 5 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2562 เราทำข้อมูล เพื่อสื่อสารเด็นที่ต่อสู้และบริบทของชุมชน ถ้าเราพูดว่าไม่เอาเหมืองแร่ถ่านหิน ถ้ามีข้อมูล บริบทในพื้นที่ และข้อกังวล จึงจะสามารถต่อสู้เพื่อยับยั้งโครงการนี้ได้ เราจึง
1. รวบรวมข้อมูล
2. สื่อสารกับสื่อหลัก สื่อรอง และสื่อต่างประเทศ ถึงโครงการที่จะเกิดขึ้นให้คนข้างนอกเข้าใจ รวมถึงคนที่ไม่รู้ให้ได้รับรู้ว่าเรากำลังจะเจออะไร ทำไมถึงต้องลุกขึ้นมาสู้
3. เราสร้างพลังการเคลื่อนไหว เพื่อทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อปกป้องคนในชุมชน 4.เราใช้กระบวนการยุติธรรม ฟ้องศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอน EIA ซึ่ง EIA ที่บริษัททำขึ้นมา เราพบว่ามีการข้อมูลบิดเบือน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในหลายเรื่อง จึงทำให้เราต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ ว่าชุมชนต้องได้รับสิทธินี้ และกระบวนการยุติธรรม ก็ควรจะมองว่าการลุกขึ้นต่อสู้ของชาวบ้านนี้ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
“ในฐานะที่เป็นนักกิจกรรมเยาวชน ที่ทำประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ในปัจจุบันของไทย เอื้อต่อการปกป้องสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองหรือไม่ ส่วนตัวมองว่า เอื้อน้อยมาก เพราะไม่มีข้อกฎหมายที่คุ้มครองกลุ่มชาติพันธ์เท่าที่ควร ถึงแม้ว่าจะมีการพูดถึงสิทธิชนเผ่าในพื้นที่ ตามอนุสัญญา หรือปฏิญญาสากล แต่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองเท่าที่ควร”
“เราถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกกล่าวหา ตีตราว่าเป็นพวกสกปรก ค้ายา ทำลายป่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา มีการพูดถึงกะเหรี่ยงชาติพันธุ์ ตัดไม้ทำลายป่า จึงทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม เรามองว่าเป็นเรื่องที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน ที่ทำให้เกิดปัญญาหานี้ ไม่ควรมองว่ากลุ่มชาติพันธุ์ เป็นต้นเหตุให้เกิดน้ำท่วม หากรัฐบาลเห็นความสำคัญ ‘ชนเผ่าพื้นเมือง’ ก็อยากให้ส่งเสริม พัฒนาอย่างที่ควรเป็นเหมือนที่ประชาชนทั่วไปควรจะได้รับ” น.ส.พรชิตากล่าว
น.ส.พรชิตากล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นโลกร้อน ที่เป็นปัญหาใหญ่ เรามองว่าคนที่ต้องกล่าวถึงมากที่สุดคือ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ปล่อยมลพิษ ออกสู่ชั้นบรรยากาศ มากกว่าตีตรากลุ่มชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ยังมีข้อกฎหมายที่เอื้อให้นายทุน บริษัทขนาดใหญ่ เกิดการสร้างเหมือง รวมถึงรัฐอนุญาตให้ใช้พื้นที่ โดยไม่ได้มองว่าชุมชนได้รับผลกระทบอะไรบ้าง
“การที่ไทย เป็นสมาชิกคณะมนตรีฯ เรามองว่า คนที่มีส่วนในการเป็นสมาชิกนี้ อาจมองเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในแง่ที่ว่าประเทศเราเคารพสิทธิมนุษยชน แต่ในบริบทประเทศเรา ยังประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะ ‘เหมืองแร่ถ่านหิน’ ชุมชนไม่สามารถมีส่วนร่วมได้ ไม่มีอำนาจต่อรองว่าไม่เห็นด้วย แล้วจะต้องทำอย่างไร แต่กระบวนการต่างๆ รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอามาอ้าง เพื่อสร้างความชอบธรรม เพื่อให้ได้ทำเหมือง”
น.ส.พรชิตากล่าวต่อว่า เรารับรู้อีกหลายๆ ประเด็น เหมือนที่หลายพื้นที่กำลังสู้ ในภาคเหนือของเรา ถูกตั้งเป็นเขตพื้นที่เพื่อการทำเหมือง หลายพื้นที่มาก อย่าง เหมืองแร่ฟลูออไรด์ ซึ่งขัดต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ชุมชนไม่ได้รับรู้อะไรนอกจาก มีหนังสือมาแจ้งว่าจะมีโครงการนี้เกิดขึ้น คนรุ่นใหม่ที่จะต้องอาศัยที่นี่ในอนาคต ก็ไม่มีอำนาจต่อสู้
ในฐานะประชาชน เราสามารถตั้งคำถามนี้ ต่อคณะมนตรีฯ ว่าประเทศเราที่ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก ได้ทำตามที่ได้รับเลือกหรือไม่ รวมถึงจะมีกลไกอะไรบ้างที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับชุมชนที่กำลังต่อสู้กับประเด็นปัญหาอยู่ เราอยากเห็นประเทศนี้มีความเท่าเทียม ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะชนเผ่าพื้นเมืองทุกคนเป็นคนเท่ากันในประเทศนี้
เมื่อถามว่า ระหว่างการต่อสู้เจอประเด็นปัญหาอะไรบ้าง ?
น.ส.พรชิตาเผยว่า มีชาวบ้านถูกฟ้องร้อง 2 คน นักศึกษา 4 คน โดยบริษัทฟ้อง แต่ชั้นตำรวจไม่สั่งฟ้อง เพราะพิจารณาแล้วไม่เข้าข่าย ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่บริษัทนายทุนทำ เพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนไหว สร้างความกลัว
ประเด็นที่สอง ข้อท้าทายคือ เราไม่มีอำนาจต่อรอง ไม่ถูกพูดถึงและยอมรับในสังคม ทำให้ไม่เกิดความชอบธรรม
“จากที่เราทำเพจ ที่ผ่านมาเราเห็นบริษัทเคลื่อนไหว โดยไปคอมเมนต์ ว่าเขามีสิทธิเข้าไปทำตามข้อกฎหมายนี้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรานี้ และบอกว่าชาวบ้านในพื้นที่เขตป่าสงวน มีความผิดในการเข้าไปทำกิน เรารู้สึกว่าเขาพูดถึงสิทธิของเขาเยอะมาก แต่เราไม่มีสิทธิอะไรที่จะพูดได้เลย ทั้งที่เป็นคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่” น.ส.พรชิตากล่าว
บรรยากาศในช่วงท้าย ผู้แทนกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น ว่าในเบื้องต้น ทาง กต.ขอแจ้งรับทราบความคิดเห็นของทุกท่าทานในวันนี้ ขอขอบคุณมากสำหรับข้อคิดเห็น การมีปฏิสัมพันธ์กันในวันนี้ ที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศก็ได้พยายามมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับภาคประชาสังคม หลายท่านก็คงเคยเจอกันในการประชุม 2 ฝ่าย ระหว่างกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศกับองค์กรของท่าน แล้วก็หลายองค์กรก็ได้ร่วมเสวนา หรือการหารือมาก่อนหน้านี้ ขอบขอบคุณอย่างมากให้การสนับสนุนและให้ข้อเสนอแนะในระหว่างรณรงค์หาเสียง จนถึงวันนี้
การที่เราเป็นสมาชิก UNHRC ในครั้งนี้ก็จะช่วยเสริมสร้างความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนแล้วก็เสริมสร้างพลวัตขับเคลื่อนการทำงานด้านสินธิมนุษยชนของไทย ให้กับส่วนราชการและสาธารณชนของไทย ซึ่งก็จะเป็นโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ ได้มาทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันต่อไป
“หลังจากนี้ก่อนที่เราจะเข้าเป็นสมาชิก UNHRC ต่อไปในเดือนมกราคมปีหน้านี้ กระทรวงการต่างประเทศ ก็จะจัดการหารืออีกครั้งกับภาคประชาสังคมแล้วก็จะรับฟังข้อคิดเห็นจาก สำนักงานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ขอเสริมประเด็น เกี่ยวกับกลไกพิเศษภายใต้ UNHRC เป็นข่าวดีที่ไทยเราเองก็กำลังจะรับการมาเยือนแห่งกลไกพิเศษถึง 2 กลไก ในช่วงเดือนธันวานี้ก็จะรับการเยือนแบบเป็นทางการของคณะการทำงานว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่อสตรีและเด็กหญิง และช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ก็จะรับการเยือนของผู้เสนอรายงานพิเศษด้านสิทธิทางสุขภาพ” ผู้แทนกรมองค์การระหว่างประเทศ กล่าว
ผู้แทนกรมองค์การระหว่างประเทศ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวได้รับทราบมาจากผู้จัด ว่ามีคำถามเกี่ยวกับ ประโยชน์ที่ประเทศไทย จะได้รับจากการเป็นสมาชิก UNHRC ในครั้งนี้ ในเบื้องต้นกระทรวงการต่างประเทศก็ประเมินได้ 3 ประการ คือ 1.ประเทศไทยจะสามารถนำพัฒนาการด้านสิทธิมนุยชนในเวทีระหว่างประเทศ มาประยุกต์ใช้กับบริบทในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น การเข้าถึงการรักษาพยาบาล สิทธิในสุขภาพ สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนสิทธิทางการเมืองและพลเรือน นอกจากนี้ ในปัจจุบันก็มีความท้าทายเกิดใหม่ที่กระทบสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นบริบททางภูมิรัฐศาสตร์ ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งกระทบต่อสิทธิมนุษยชนโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นสินธิในการมีอาหาร สิทธิในการเข้าถึงน้ำสะอาด สิทธิทางสุขภาพ สิทธิในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพยั่งยืนและสะอาด ประเด็นเหล่านี้ที่เป็นพัฒนาการใหม่ที่เกิดขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ เราก็จะได้เขาไปติดตามและนำมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย นอกจากนี้ ก็ยังมีภัยคุกคามทางเทคโนโลยีดิจิทัล เราก็จะได้ไปรับฟังแนวปฏิบัติที่ดีของประเทศอื่นๆ และไปร่วมกำหนดนโยบายในเวทีระหว่างประเทศแล้วก็เอามาประยุกต์ให้กับประเทศไทย