.......................................................ดีเอสไอเร่งส่งความเห็นแย้ง อัยการไม่ฟ้อง “อนันต์ อัศวโภคิน” ประเด็น "ข้อกฎหมาย-เจตนา" ใช้ชื่อถือครองที่ดินแทน “ธัมมชโย” หักค่าขายส่วนหนึ่งเข้ากระเป๋า พัวพันการฟอกเงินผ่าน "เอ็ม-โฮม" ยก 5 ข้อโต้อัยการ ชี้ “ศุภชัย” ตั้งนอมินี
กรณีที่สำนักงานอัยการคดีพิเศษ มีความเห็นไม่ฟ้อง นายอนันต์ อัศวโภคิน นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชื่อดัง ผู้ต้องหาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งสำนวนในคดีสมคบกันฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงินที่ได้มาจากการยักยอกฉ้อโกงสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ซื้อที่ดิน ต.คลองสอง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เนื้อที่รวม 312 ไร่ 1 งาน 17.6 ตารางวา และหุ้นของบริษัท เอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัด โดยวิธีการสั่งจ่ายเช็คจำนวน 11 ฉบับ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 321,400,000 บาท
วานนี้ (31 ต.ค.) ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างตรวจสอบสำนวนว่า ประเด็นความเห็นมีข้อแตกต่างกันอย่างไรก่อนเสนอให้ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ ให้พิจารณาอีกครั้ง หากไม่มีความเห็นแย้งคดีก็จะยุติลงในชั้นอัยการที่สั่งไม่ฟ้อง แต่ถ้าอธิบดีดีเอสไอมีความเห็นแย้ง ยืนยันว่าสมควรสั่งฟ้องนายอนันต์ สำนวนจะถูกส่งไปให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด ซึ่งผลการพิจารณาของอัยการสูงสุดจะถือเป็นที่สุดเด็ดขาด
แหล่งข่าวจากดีเอสไอระบุว่า สำนวนคดีสบคบฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงินของนายอนันต์ ขณะนี้อยู่ที่กลุ่มงานความเห็นแย้ง ซึ่งดีเอสไอสามารถพิจารณาสำนวนคดีได้โดยไม่มีกรอบระยะเวลา ว่าจะต้องส่งไปยังอัยการเมื่อใด แต่ต้องอยู่ในอายุความ
สำหรับประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในการตรวจสอบเพื่อทำความเห็นแย้งไปยังอัยการสูงสุด มีทั้งประเด็นข้อกฎหมาย เจตนาในการใช้ชื่อไปถือครองที่ดินแทนพระธัมมชโย การรับซื้อที่ดินจากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น ในราคาต่ำกว่าราคาประเมิน
“เงินจากการขายที่ดินไม่ได้ถูกโอนไปให้พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย หรือมูลนิธิอุบาสิกาจันทร์หางนกยูงทั้งหมด แต่หักเข้ากระเป๋าไว้ 189 ล้านบาท นอกจากนี้ที่ดินแปลงดังกล่าวยังเกี่ยวพันกับการเทคโอเวคบริษัท เอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัด ของนายศุภชัย ซึ่งเป็นความผิดฐานฟอกเงินอยู่ด้วย” แหล่งข่าวระบุ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ถูกจับตามองคืออัยการสำนักงานคดีพิเศษ ที่มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีดังกล่าว อยู่ในช่วงที่นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ เป็นอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ปัจจุบันนายวงศ์สกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นอัยการสูงสุด
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/852896?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral
'ดีเอสไอ' หักอัยการเชือด 'อนันต์' มั่นใจหลักฐานมัดเจ้าสัวใหญ่พันฟอกเงิน
กรณีที่สำนักงานอัยการคดีพิเศษ มีความเห็นไม่ฟ้อง นายอนันต์ อัศวโภคิน นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชื่อดัง ผู้ต้องหาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งสำนวนในคดีสมคบกันฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงินที่ได้มาจากการยักยอกฉ้อโกงสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ซื้อที่ดิน ต.คลองสอง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เนื้อที่รวม 312 ไร่ 1 งาน 17.6 ตารางวา และหุ้นของบริษัท เอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัด โดยวิธีการสั่งจ่ายเช็คจำนวน 11 ฉบับ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 321,400,000 บาท
วานนี้ (31 ต.ค.) ว่าที่ร้อยตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างตรวจสอบสำนวนว่า ประเด็นความเห็นมีข้อแตกต่างกันอย่างไรก่อนเสนอให้ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ ให้พิจารณาอีกครั้ง หากไม่มีความเห็นแย้งคดีก็จะยุติลงในชั้นอัยการที่สั่งไม่ฟ้อง แต่ถ้าอธิบดีดีเอสไอมีความเห็นแย้ง ยืนยันว่าสมควรสั่งฟ้องนายอนันต์ สำนวนจะถูกส่งไปให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด ซึ่งผลการพิจารณาของอัยการสูงสุดจะถือเป็นที่สุดเด็ดขาด
แหล่งข่าวจากดีเอสไอระบุว่า สำนวนคดีสบคบฟอกเงินและร่วมกันฟอกเงินของนายอนันต์ ขณะนี้อยู่ที่กลุ่มงานความเห็นแย้ง ซึ่งดีเอสไอสามารถพิจารณาสำนวนคดีได้โดยไม่มีกรอบระยะเวลา ว่าจะต้องส่งไปยังอัยการเมื่อใด แต่ต้องอยู่ในอายุความ
สำหรับประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในการตรวจสอบเพื่อทำความเห็นแย้งไปยังอัยการสูงสุด มีทั้งประเด็นข้อกฎหมาย เจตนาในการใช้ชื่อไปถือครองที่ดินแทนพระธัมมชโย การรับซื้อที่ดินจากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น ในราคาต่ำกว่าราคาประเมิน
“เงินจากการขายที่ดินไม่ได้ถูกโอนไปให้พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย หรือมูลนิธิอุบาสิกาจันทร์หางนกยูงทั้งหมด แต่หักเข้ากระเป๋าไว้ 189 ล้านบาท นอกจากนี้ที่ดินแปลงดังกล่าวยังเกี่ยวพันกับการเทคโอเวคบริษัท เอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัด ของนายศุภชัย ซึ่งเป็นความผิดฐานฟอกเงินอยู่ด้วย” แหล่งข่าวระบุ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ถูกจับตามองคืออัยการสำนักงานคดีพิเศษ ที่มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดีดังกล่าว อยู่ในช่วงที่นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ เป็นอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ปัจจุบันนายวงศ์สกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นอัยการสูงสุด https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/852896?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral