ภาพถ่ายจากอวกาศหลอนๆต้อนรับฮาโลวีน

เทศกาลวันฮาโลวีนใกล้เข้ามาถึงทุกทีแล้ว ผู้คนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ก็คงจะเตรียมพร้อมมาร่วมฉลองในเทศกาลนี้กันอย่างคึกคัก บ้างก็เตรียมชุดธีมสยองขวัญไว้แล้ว หรืออาจจะแค่เตรียมทำตะเกียงฟักทอง ไว้ตกแต่งสถานที่ให้สวยเก๋ เข้ากับเทศกาล
ในอวกาศก็มีภาพที่หลอนๆด้วยเช่นกัน

ภาพดวงอาทิตย์ คล้ายตะเกียงฟักทองปีศาจ Jack O'Lanter

ภาพจาก NASA/GSFC/SDO
      
 โดยเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2562 เว็บไซต์ fox6now.com รายงานว่า ภาพถ่ายดังกล่าวถูกบันทึกไว้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2557 โดยสาเหตุที่ทำให้ดวงอาทิตย์มีแสงสว่างคล้ายใบหน้าของฟักทองฮาโลวีน สืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวของสนามแม่เหล็กที่มีความซับซ้อนบนชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีรังสีอัลตราไวโอเลตอีก 2 ชุด ที่มีความยาวคลื่นต่างกัน จนเกิดการเผาไหม้ออกมามากกว่าจุดอื่น ๆ เกิดเป็นสีทองและเหลือง ในลักษณะที่เหมาะแก่การฉลองฮาโลวีนสุด ๆ 
Cr.https://hilight.kapook.com/

Halloween Asteroid


ดาวเคราะห์น้อย 2015 TB145 หรือที่เรียกกันว่า Halloween Asteroid เนื่องจากมีรูปร่างหน้าตาบางมุมคล้ายกับกะโหลกมนุษย์ มันกำลังโคจรกลับมาใกล้โลกอีกครั้งหลังวันฮาโลวีนในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ปี 2018 นักดาราศาสตร์เตรียมศึกษาทำความรู้จักกับเจ้าสิ่งประหลาดในห้วงอวกาศชิ้นนี้ให้มากขึ้นกว่าเดิม 
Halloween Asteroid ถูกค้นพบเมื่อปี 2015 มันโคจรเข้ามาใกล้โลกที่สุดในวันฮาโลวีน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2015 ที่ระยะห่างจากโลก 486,000 กม. ไกลกว่าดวงจันทร์ของเรานิดเดียว (ดวงจันทร์ห่างจากโลกเฉลี่ย 384,400 กม.)
Cr.https://www.takieng.com/

ภาพ "ใบหน้าบนดาวแดง"


หลอนอมตะสำหรับภาพใบหน้าบนดาวอังคารซึ่งแท้จริงแล้วคือคลองที่อยู่บนดาวแดงนั่นเอง โดยยานอวกาศไวกิ้ง 1 (Viking 1) ได้บนภาพ "ใบหน้าบนดาวแดง" เมื่อปี 2519 และหลายคนที่ได้เห็นภาพนี้ต่างก็จินตนาการว่าต้องเป็นมนุษย์ดาวอังคารสร้างไว้แน่ๆ (ภาพนาซา) 

ภาพคล้ายดวงตาแห่ง "ซอรอน" (Sauron) 


นี่ไม่ใช่ดวงตาแห่ง "ซอรอน" (Sauron) ใน "ลอร์ด ออฟ เดอะริง" แต่เป็นวงแหวนฝุ่นที่อยู่รอบๆ ดาว "โฟมาโลท์" (Fomalhaut) อันสุกสว่าง ซึ่งบันทึกภาพโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อหลายปีที่ผ่านมา (ภาพนาซา/อีซา)

"เนบิวลาหัวกะโหลก" (Skull Nebula) 


ตรงตัวสำหรับภาพอวกาศนี้ "เนบิวลาหัวกะโหลก" (Skull Nebula) ซึ่งอยู่ไกลจากโลก 1,600 ปีแสง มองเห็นได้ในกลุ่มดาวซีตัส (Cetus) ซึ่งเป็นชื่อปีศาจทะเล

ภาพกลุ่มก๊าซและฝุ่นของเนบิวลา เอ็นจีซี 1999 (NGC 1999) 


ไม่ใช่ลอร์ดโวลเดอร์มอร์แห่ง "แฮร์รี่ พอตเตอร์" แต่เป็นภาพกลุ่มก๊าซและฝุ่นของเนบิวลา เอ็นจีซี 1999 (NGC 1999) โดยในภาพจะเห็นดาวอายุน้อยที่สว่างสดใสชื่อว่า "วี 380 โอไรออนิส" (V380 Orionis) ทำให้เนบิวลาดูมีชีวิตชีวา แต่กลุ่มก๊าซและฝุ่นที่เย็นยะเยือกก็หนาแน่นมากจนบดบังแสงสว่างที่อยู่เบื้องหลังเนบิวลาทั้งหมด (ภาพนาซา/กลุ่มฮับเบิลเฮอริเทจ/นิวไซแอนทิสต์)

รูปร่างหลอน “เนบิวลา” เย็นจัดที่สุดในเอกภพ


เนบิวลาบูเมอแรงจากกล้องอัลมา (เครดิต: Bill Saxton; NRAO/AUI/NSF; NASA/Hubble; Raghvendra Sahai)

เนบิวลาบูเมอแรง (Boomerang Nebula) จัดเป็นสถานที่อันเย็นจัดที่สุดในเอกภพ โดยมีอุณหภูมิเพียง 1 เคลวินหรือ -272.2 องศาเซลเซียส นับเป็นอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในอวกาศ ซึ่งไซน์เดลีระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุอัลมา (Atacama Large Millimeter/submillimeter Array: ALMA) ที่ชิลี ศึกษาเนบิวลาดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติอันเย็นจัดและประเมินรูปร่างที่แท้จริงของเนบิวลานี้ และพบว่ารูปร่างจริงดูหลอนเหมือนผี
Cr.http://www.electron.rmutphysics.com/

"ปิศาจแห่งแคสซิโอเปีย"


NASA/ESA/STSCI เนบิวลา IC 63 หรือ "เนบิวลาผี" ในกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย ซึ่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลบันทึกภาพไว้เมื่อปี 2016

"เนบิวลาผี" (Ghost nebula) หรือ "ปิศาจแห่งแคสซิโอเปีย" ซึ่งเป็นภาพของกลุ่มฝุ่นและก๊าซ IC 63 ที่ส่องแสงสว่างในกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย (Cassiopeia) ห่างจากโลก 550 ปีแสง
ส่วนของเนบิวลาที่ดูคล้ายกับหมอกควันหรือผ้าคลุมสีขาวของดวงวิญญาณนั้น ที่จริงคือก๊าซไฮโดรเจนที่สัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตจนเกิดการเรืองแสงขึ้น โดยรังสีดังกล่าวแผ่มาจากดาวฤกษ์ยักษ์สีฟ้า Gamma Cassiopeiae ที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งดาวฤกษ์นี้ปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาเท่ากับดวงอาทิตย์ 34,000 ดวง ทำให้เนบิวลาผีต้องสลายตัวไปอย่างช้า ๆ
Cr.https://www.bbc.com/

"โจรสลัดแห่งท้องฟ้าซีกโลกใต้" 


 ESO  เนบิวลา NGC 2467 หรือ "เนบิวลากะโหลกไขว้" ซึ่งกล้องโทรทรรศน์ MPG/ESO บันทึกภาพไว้เมื่อปี 2003

ภาพแสดงให้เห็นบริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ใหม่จำนวนมากในเนบิวลากะโหลกไขว้ หรือเนบิวลา NGC 2467 ฉายา "โจรสลัดแห่งท้องฟ้าซีกโลกใต้" ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากโลก 13,000 ปีแสง
นักดาราศาสตร์บอกว่า ส่วนที่ดำมืดเหมือนเบ้าตากลวงโบ๋ของหัวกะโหลกนั้น คือบริเวณที่มีฝุ่นหนาแน่นจนแสงจากดวงดาวที่อยู่ด้านในไม่สามารถหลุดรอดออกมาได้ นอกจากนี้ เนบิวลากะโหลกไขว้ไม่ได้เป็นเนบิวลาเดี่ยว แต่ประกอบด้วยกลุ่มดาวหลากหลายที่มารวมตัวกัน และเคลื่อนที่เกาะกลุ่มด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน
เนบิวลากะโหลกไขว้อยู่ในกลุ่มดาว Puppis ซึ่งเป็นศัพท์ที่มาจากคำว่า "ท้ายเรือ" ในภาษาฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในสามกลุ่มดาวซีกโลกใต้ที่มีความหมายเกี่ยวกับการเดินเรือ
Cr.https://www.bbc.com/

ขอบคุณข้อมูลทั้งหมด
Cr.https://www.clipmass.com/story/54792
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่