Jingle, Pluck และ Hum: เสียงที่ชวนให้หลงใหลจากอวกาศโครงการ " Sonification "




Pillars of Creation เป็นหนึ่งในสถานที่แห่งจักรวาลที่ได้รับการแปลเป็นเสียงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "Sonification" 
ของ Chandra X-ray / Cr. NASA/CXC/SAO; Optical: NASA/STScI


ทุกเสียงเริ่มต้นด้วยการสั่นสะเทือน เมื่อการสั่นสะเทือนเหล่านั้นเดินทางผ่านอากาศ พวกมันสามารถเข้าไปในแก้วหูของมนุษย์ ในที่สุดพวกมันก็จะกลายเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สมองของเราตีความว่าเป็น " เสียง " การสั่นสะเทือนเหล่านี้อาจมาจากหลายแหล่งบนโลกนี้ เช่นเดียวกับในระบบสุริยะของเรา และแม้แต่ทั่วทั้งจักรวาลของเรา

" เสียง " เดินทางในคลื่นและมีคุณสมบัติเฉพาะหลายอย่างที่แตกต่าง หนึ่งในนั้นคือ " ความถี่ " เป็นการวัดจำนวนจุดสูงสุด (หรือร่อง) ของคลื่นที่ผ่านจุดใด
จุดหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง ความถี่มักวัดในหน่วยของเฮิรตซ์ (Hz) ซึ่งเป็นตัวเลขต่อวินาที โดยทั่วไป มนุษย์สามารถได้ยินในช่วง 20 - 20,000 เฮิรตซ์ แต่สัตว์เช่นช้างสามารถได้ยินในช่วงที่ต่ำกว่ามนุษย์ ส่วนสุนัขและแมวมีความไวต่อเสียงที่มีความถี่สูงกว่ามาก

นอกเหนือจากโลกของสัตว์แล้วเสียงสามารถมาจากแหล่งต่างๆได้  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น สภาพอากาศ แผ่นดินไหว หรือแม้แต่หลุมดำก็สามารถสร้างเสียงที่มีความถี่ต่ำได้เช่นกัน ในขณะที่มนุษย์ใช้เสียงเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยี เช่น การถ่ายภาพทางการแพทย์ นักวิจัยยังสามารถนำข้อมูลของวัตถุหรือกระบวนการในโลกธรรมชาติมาแปลงข้อมูลนั้นเป็นเสียง เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งนั้น หรือเพื่อสื่อสารในลักษณะที่แตกต่างออกไป

ไม่ว่าเสียงจะมาจากเส้นเสียงในลำคอของเราหรือพื้นผิวของดวงอาทิตย์ เสียงก็มีบทบาทสำคัญในการทำความเข้าใจโลกและจักรวาลรอบตัวเรา ดังนั้น
ตั้งแต่ปี 2020 นักวิทยาศาสตร์จึงใช้หอดูดาว Chandra X-ray ของ NASA กับเครื่องมืออื่นๆ ทั่วโลกและในอวกาศเพื่อศึกษาจักรวาลผ่านเสียง ในโครงการที่เรียกว่า " sonification "   

ภาพของ Bullet Cluster (หรือที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า 1E 0657-56) ที่ให้การพิสูจน์โดยตรงครั้งแรกของสสารมืด
ในการแปลงข้อมูลนี้เป็นเสียง ข้อมูลจะเลื่อนจากซ้ายไปขวา และข้อมูลแต่ละชั้นจะถูกจำกัดไว้ที่ช่วงความถี่เฉพาะ
ข้อมูลที่แสดงสสารมืดจะแสดงด้วยความถี่ต่ำสุด ในขณะที่รังสีเอกซ์ถูกกำหนดให้เป็นความถี่สูงสุด
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ 

พื้นที่อวกาศส่วนใหญ่นั้นเงียบสงบ ข้อมูลที่รวบรวมโดยกล้องโทรทรรศน์ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนเป็นแผนภูมิ โครงเรื่อง และรูปภาพแบบไม่มีเสียง แต่โครงการ sonification ที่นำโดยเจ้าหน้าที่ของ Chandra X-ray Observatory ของ NASA และโปรแกรม Universe of Learning ของ NASA ได้เปลี่ยนข้อมูลทางดาราศาสตร์จากกล้องโทรทรรศน์ที่ทรงพลังที่สุดในโลกบางตัวให้เป็นเสียง

sonification แต่ละชนิดจะมีเทคนิคในการแปลข้อมูลทางดาราศาสตร์เป็นเสียงของตัวเอง ความพยายามนี้ทำให้สามารถสัมผัสข้อมูลจากแหล่งจักรวาลด้วยความรู้สึกที่แตกต่างออกไปจากการ " ได้ยิน " ซึ่งก่อนหน้า sonification ทำให้เราได้ยินเสียงของศูนย์กลางของทางช้างเผือก ซากซูเปอร์โนวา Cassiopeia A และเนบิวลา Pillars of Creation 

ทั้งนี้ ภาพที่สวยงามที่สุดของจักรวาลบางภาพไม่ใช่ภาพถ่ายจริง ส่วนใหญ่มักเป็นภาพประกอบขององค์ประกอบ หรือประเภทของแสงที่แตกต่างกัน เช่น visible(แสงที่มองเห็นได้)  ultraviolet และ infrared โดยกำหนดสีต่างๆ เพื่อให้เห็นภาพโครงสร้างได้ง่ายขึ้น และเหตุที่นักดาราศาสตร์ไม่กำหนดองค์ประกอบหรือแสงเหล่านั้นให้กับเสียง เพราะมันคือเป้าหมายของโปรเจ็กต์ใหม่ของโครงการ

เมื่อปลายปี 2020 Chandra ได้ยกตัวอย่าง 3 ตัวอย่างจากคุณลักษณะที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในท้องฟ้าสำหรับโครงการ sonification ได้แก่ ใจกลาง
กาแลคซี แคสสิโอเปีย A และ Messier 87 


โปรเจ็กต์การแปลงเสียงของ Chandra เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และนี่ไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่เราได้ยิน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
 
ชิ้นแรกสร้างขึ้นโดยใช้รังสีเอกซ์ แสงที่มองเห็นได้และแสงอินฟราเรด จากการตรวจวัดที่รวบรวมโดยหอสังเกตการณ์ Chandra X-ray Observatory และกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble และ Spitzer เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์ 3 ตัวนี้จับสัญญาณที่แตกต่างกัน พวกมันจึงได้รับ " วิธีการเรียบเรียง " ที่แตกต่างกันในเสียงที่ได้ยิน ภาพจะถูกแปลงเป็นเสียงจากซ้ายไปขวา ด้วยความสว่างของแสงที่ควบคุมระดับเสียง และระดับเสียงที่ควบคุมโดยวัตถุบนภาพที่สูงขึ้นไป
ผลลัพธ์ที่ได้คือเสียงก้องกังวานที่สร้างขึ้นของดวงดาว และเสียงต่ำ ๆสำหรับกลุ่มเมฆฝุ่นยาว ซึ่งค่อย ๆ เบาลงเรื่อยๆจนถึงปลายสุด รอบๆ รอยเปื้อนของแสงจ้าที่หลุมดำมวลมหาศาลอยู่ แต่ sonification ของ Cassiopeia A ทำงานแตกต่างกัน ภาพที่น่าทึ่งของมันแสดงให้เห็นซากซุปเปอร์โนวา ซึ่งเป็นก้อนเมฆหมุนวนเป็นวงกลมที่แผ่ออกด้านนอกราวกับระเบิดแบบสโลว์โมชั่น

ในที่นี้ องค์ประกอบต่างๆ จะถูกเน้นด้วยสีต่างๆ เช่น สีแดงสำหรับซิลิกอน สีเหลืองสำหรับกำมะถัน สีเขียวสำหรับแคลเซียม และสีม่วงสำหรับธาตุเหล็ก
สิ่งเหล่านี้กำหนดให้กับเสียงต่างๆ แทนที่จะเล่นจากซ้ายไปขวา เสียงจะเล่นเมื่อ “cursors” (ตัวชี้ตําแหน่ง) เคลื่อนออกจากศูนย์กลาง

สุดท้ายคือ Pillars of Creation หนึ่งในสถานที่ที่โดดเด่นที่สุดในกาแล็กซี เช่นเดียวกับใจกลางของกาแล็กซี่ เพลงนี้เล่นจากซ้ายไปขวา โดยมีแสงที่มองเห็นได้และรังสีเอกซ์ที่เสริมกันและกัน ด้วยท่วงทำนองที่แตกต่างกันสองเพลง  sonification นี้ฟังดูเหมือนมนุษย์ต่างดาวมากกว่า โดยเริ่มจากการหลั่งไหลของดวงดาวก่อนจะไปถึงก้อนเมฆของเนบิวลา ที่ซึ่งมันส่งเสียงคำรามอันน่าขนลุกราวกับสายลม

Westerlund 2
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ล่าสุดในปี 2021 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โครงการ sonification ของ NASA ได้เปิดตัว "musical pieces" ใหม่ 3 ชิ้น จากการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวฤกษ์ หลุมดำ และกาแล็กซีที่อยู่ห่างไกลจากกล้องโทรทรรศน์ X-ray ในอวกาศ ประกอบด้วยบริเวณที่ดาวก่อตัวขึ้น (Westerlund 2) ทุ่งเศษซากที่ถูกทิ้งไว้โดยดาวระเบิด (เศษซุปเปอร์โนวาของ Tycho) และบริเวณรอบๆ หลุมดำ Messier 87 ที่มีชื่อเสียงที่สุด โดย sonification แต่ละตัวจะมีเทคนิคของตัวเองในการแปลข้อมูลทางดาราศาสตร์เป็นเสียงที่มนุษย์ได้ยิน

Westerlund 2 คือกระจุกดาวอายุน้อยที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 20,000 ปีแสง ในรูปแบบภาพที่มองเห็นได้ ข้อมูลจาก Hubble (สีเขียวและสีน้ำเงิน) เผยให้เห็นเมฆหนาที่ดาวก่อตัวขึ้น และรังสีเอกซ์ที่มองเห็นจาก Chandra จะทะลุผ่านหมอกควันนั้น โดย sonification ของข้อมูลนี้ เสียงจะกวาดจากซ้ายไปขวา ข้ามขอบเขตการมองเห็นด้วยแสงที่สว่างกว่าซึ่งทำให้เกิดเสียงที่ดังกว่า กล่าวคือในขณะที่ Chandra ให้องค์ประกอบเอ็กซ์เรย์สีม่วง เมฆฝุ่น และก๊าซที่ก่อตัวเป็นดาวอย่างหนาแน่นในกระจุกดาว จะสร้างเสียงที่มีความดังแตกต่างกันไปตามความสว่างของแสงในภาพ

สำหรับ เศษซากซุปเปอร์โนวาของ Tycho ที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 9,000 ปีแสงในกลุ่มดาวแคสสิโอเปีย ทำให้เกิดองค์ประกอบที่แตกต่างกันอย่างมากของเสียง โดยเสียงที่มีระดับสูงจะอัดอยู่อย่างหนาแน่นบนพื้นหลังของเสียงฮัมที่มีความถี่ต่ำ  sonification ของมันจะแปลข้อมูลภาพจากศูนย์กลางของซุปเปอร์โนวาขยายออกไปทางขอบด้านนอกเป็นวงกลม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเสียงที่ได้ยิน เมื่อสสารของซุปเปอร์โนวากระจายไปในจักรวาลโดยรอบ 


เศษซากซุปเปอร์โนวาของ Tycho
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ภาพเศษซากซุปเปอร์โนวาของ Tycho นี้มีข้อมูลเอ็กซ์เรย์จาก Chandra ซึ่งมีสีต่างๆ แทนคลื่นความถี่เล็กๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบต่างๆ ที่เคลื่อนที่ทั้งเข้าหาและออกจากโลก ตัวอย่างเช่น สีแดงแสดงถึงธาตุเหล็ก สีเขียวคือซิลิกอน และสีน้ำเงินหมายถึงกำมะถัน โดย sonification จะสอดคล้องกับสีเหล่านั้น นั่นคือ เมื่อแสงสีแดงจะสร้างโน้ตที่ต่ำที่สุด สีน้ำเงินและสีม่วงจะสร้างโน้ตที่มีเสียงสูง เมื่อความเข้มข้นขององค์ประกอบต่างๆ เปลี่ยนไป เสียงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน

แม้สีจะแตกต่างกันไปตามส่วนที่เหลือ แต่โน้ตที่ต่ำที่สุดและสูงสุด (สีแดงและสีน้ำเงิน) จะครองใกล้จุดศูนย์กลางและรวมเข้าด้วยกันด้วยสีอื่นๆของโน้ตระดับกลางที่ขอบของส่วนที่เหลือ ส่วนสีขาวสอดคล้องกับความถี่เต็มช่วงของแสงที่ Chandra สังเกตได้ ซึ่งสว่างที่สุดเมื่อเข้าใกล้ขอบของส่วนที่เหลือ แสงนี้จะถูกแปลงเป็นเสียงโดยตรงเช่นกัน เพื่อการแสดงผลจากความถี่ของแสงเป็นความถี่ของเสียง จึงปรับ octaves ให้ต่ำลง 50 เพื่อให้ตกอยู่ในช่วงการได้ยินของมนุษย์ 

งานดนตรีใหม่ชิ้นที่สามคือ หลุมดำขนาดยักษ์ใน Messier 87 ซึ่งบริเวณโดยรอบของมันได้รับการศึกษามาหลายปีแล้ว ด้วยกล้องโทรทรรศน์หลายขนาด เช่น Chandra (สีน้ำเงิน) และกล้องโทรทรรศน์อาเรย์ขนาดใหญ่มาก - Very Large Array ในนิวเม็กซิโก (สีแดงและสีส้ม) ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าหลุมดำใน M87 กำลังส่งไอพ่นขนาดใหญ่ของอนุภาคที่มีพลัง ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับเมฆก๊าซร้อนจำนวนมากที่ล้อมรอบมัน

หลุมดำขนาดยักษ์ใน Messier 87 ( M87) 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
sonification ของ M87 ในการแปลรังสีเอกซ์และคลื่นวิทยุเป็นเสียง จะสแกนภาพเหมือนเข็มชั่วโมงเคลื่อนที่ตามเข็มนาฬิกา โดยเริ่มที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกา และกวาดตามเข็มนาฬิกาเหมือนเรดาร์ แสงที่อยู่ไกลจากจุดศูนย์กลางจะได้ยินเป็นเสียงแหลมสูง ในขณะที่แสงที่สว่างจะดังกว่า โดยระดับเสียงจากข้อมูลวิทยุจะมีระดับต่ำกว่ารังสีเอกซ์ ซึ่งสอดคล้องกับช่วงความถี่ในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า ขณะที่เข็มชั่วโมงเคลื่อนผ่านอนุภาคพลังงานสูงที่พุ่งออกมาจากหลุมดำ และเมฆก๊าซร้อนจำนวนมหาศาลภายในดาราจักร เสียงพื้นหลังจะเปลี่ยนความถี่และความเข้ม ส่วนเสียงกริ๊งสั้น ๆ แสดงถึงดวงดาวแต่ละดวงที่โคจรรอบหลุมดำหรือดาวนิวตรอน 

นอกจาก sonification ข้างต้นแล้ว NASA ยังมีโครงการ sonification เวอร์ชันต่างๆ อีกหลายเวอร์ชัน รวมถึงแทร็กเดี่ยวที่ให้เสียงสำหรับการสังเกตการณ์จากแหล่งที่มาแต่ละแหล่ง และเวอร์ชันที่รวมข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อสร้างเสียง ด้วยกล้องโทรทรรศน์แต่ละแหล่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือที่แตกต่างกัน  รวมถึงเว็บไซต์เกี่ยวกับเสียงที่เรียกว่า ' A Universe of Sound ' ซึ่งมีเพลงของพัลซาร์ ระบบดวงดาว และคุณลักษณะท้องฟ้าที่โดดเด่น 

การทำงานร่วมกันได้รับแรงผลักดันจากนักวิทยาศาสตร์ด้านการสร้างภาพ Dr. Kimberly Arcand จาก Chandra X-ray Center(CXC), นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ Dr. Matt Russo และนักดนตรี Andrew Santaguida  (จากโครงการ sonification project และ SYSTEM Sounds project)


Chandra X-ray  Observatory หนึ่งในหอดูดาวที่ยิ่งใหญ่ของ NASA 
Cr. NASA/CXC/NGST
Cr.https://scitechdaily.com/jingle-pluck-and-hum-mesmerizing-sounds-from-space/By CHANDRA X-RAY OBSERVATORY
Cr.https://www.space.com/astronomy-images-turned-music-sonification / By Tereza Pultarova 
Cr.https://chandra.si.edu/sound/

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่