Hubble Space Telescope
ในโอกาสครบรอบ 18 ปีของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) เมื่อวันที่ 24 เมษายน ปี 2008 สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Space Tele scope Science Institute) ได้เผยภาพกาแล็กซี่ชนกันที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อนมากถึง 59 ภาพ
ภาพจากกล้องอวกาศฮับเบิลเกือบทั้งหมดคือส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจที่ชื่อว่า GOALS (Great Observatories All-sky LIRG Survey) ซึ่งใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอ็กซ์จันทรา (Chandra X-ray Observa tory) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศกาแล็กซี่ (Galaxy Evolution Explorer) สำรวจจักรวาลร่วมกัน
กาแล็กซี่ชนกันเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาในจักรวาล และเกิดขึ้นเมื่อครั้งจักรวาลยังเยาว์วัยมากกว่าในปัจจุบัน เพราะในขณะนั้นจักรวาลยังมีขนาดเล็ก กาแล็กซีจึงอยู่ใกล้กัน ทำให้มีโอกาสชนกันได้ง่าย
และในอนาคตข้างหน้า กาแล็กซี่ทางช้างเผือกจะชนกับกาแล็กซี่ แอนโดรเมดา (Andromeda galaxy) และจะกลายเป็นกาแล็กซีใหม่ชื่อ มิลโกเมดา (Milkome da)
Andromeda galaxy
กาแล็กซี่ชนกัน เกิดจากแรงดึงดูดของกาแล็กซี่ทำให้มันเคลื่อนที่เข้าหากัน การชนกันของสองกาแล็กซี่หรือหลายกาแล็กซี่ไม่ทำให้กาแล็กซี่พังทลายลงแต่อย่างใด แต่กาแล็กซี่เหล่านั้นจะรวมกันเป็นกาแล็กซี่หนึ่งเดียว และมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วยรูปทรงแปลกๆ
นอกจากนั้นการรวมกันยังให้กำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่จำนวนมหาศาลจากก๊าซและฝุ่นด้วย ดาวฤกษ์เกิดใหม่จะเห็นเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน และแต่ละดวงจะอยู่ห่างกันหลายปีแสงส่วนดาวฤกษ์เก่าแก่จะเป็นสีแดง
ต่อไปนี้คือภาพกาแล็กซี่ชนกันบางส่วนที่ สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เผยแพร่ต่อสาธารณชน
Arp 148
Credit: NASA, ESA, the Hubble Heritage (STScI/AURA)-ESA/Hubble Collaboration, and A. Evans (University of Virginia, Charlottesville/NRAO/Stony Brook University)
Arp 148 อยู่ห่างจากโลก 500 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Constellation Ursa Major) การชนกันของสองกาแล็กซี่ เป็นผลทำให้กาแล็กซี่หนึ่งมีรูปทรงคล้ายวงแหวน อีกกาแล็กซี่หนึ่งมีรูปทรงยาวเรียวในแนวตั้งฉากกับวงแหวนซึ่งบ่งชี้ว่า การชนกันกำลังดำเนินต่อไป
ผลจากการชนกันทำให้เกิดคลื่นกระแทก (Shockwave) ซึ่งดูดสสารจากใจกลางกาแล็กซี่ไปยังขอบของวงแหวน
Markarian 273
Markarian 273 อยู่ห่างจากโลก 500 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ มีรูปทรงคล้ายแปรงสีฟัน ด้ามแปรงมีความยาวถึง 1,300 ปีแสง ซึ่งเป็นหลักฐานที่ชี้ว่ากาแล็กซี่หนึ่งที่กำลังเข้าไปชนกับอีกกาแล็กซี่หนึ่ง
จุดเด่นของ Markarian 273 คือมีบริเวณที่ให้กำเนิดดาวฤกษ์ที่มีความหนาแน่นมาก ดวงฤกษ์ดวงใหม่ขนาด 60 เท่าของดวงอาทิตย์เกิดขึ้นในบริเวณนี้ทุกปี
ESO 593-8
ESO 593-8 อยู่ห่างจากโลก 650 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาวคนยิงธนู (Constella tion Sagittarius) เกิดจากการชนของสองกาแล็กซี่ในแนวตัดขวาง ทำให้ขณะนี้มันมีรูปทรงคล้ายหิ่งห้อยกำลังบินในอวกาศ และเกิดกระจุกดาวเกิดใหม่ซึ่งเห็นเป็นสีฟ้าจำนวนมาก
นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ไม่มีใครคาดเดาได้เลยว่า ในที่สุดมันจะมีรูปร่างอย่างไร
Arp 256
Arp 256 อยู่ห่างจากโลก 350 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาววาฬ (Constellation Cetus) นี่คือกาแล็กซี่รูปเกลียวหรือกาแล็กซี่กังหัน (Spiral Galaxies) ที่กำลังเคลื่อนที่เข้าชนกันดูคล้ายดอกไม้ไฟในอวกาศ แรงดึงดูดโน้มถ่วงของสองกาแล็กซี่กาแล็กซีทำให้เกิดหางซึ่งเป็นบริเวณของก๊าซ ฝุ่นและดาวฤกษ์
บริเวณสีฟ้าคือกระจุกดาวเกิดใหม่ซึ่งมีความสว่างกว่าดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะหลายหมื่นล้านเท่า
NGC 6240
NGC 6240 อยู่ห่างจากโลก 400 ล้านปีแสง ในกลุ่มดาวคนแบกงู (Constellation Ophiuchus) เกิดจากการชนกันของสองกาแล็กซี่ขนาดเล็กเมื่อ 30 ล้านปีก่อน
รูปทรงของมันคล้ายเต่าทะเล การชนกันนอกจากให้กำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่แล้ว ยังจุดชนวนให้เกิดการระเบิดซุปเปอร์โนวาอีกด้วย
การสำรวจโดยกล้องโทรทรรศน์รังสีเอ็กซ์พบว่า หลุมดำยักษ์สองหลุมซึ่งอยู่ห่างกัน 3,000 ปีแสงกำลังเคลื่อนที่เข้าไปรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
Arp 272
นี่คือการชนกันของสองกาแล็กซี่รูปเกลียวหรือกาแล็กซี่กังหันที่มีแขนอันสวยงามคือ NGC 6050 และ IC 1179 สมาชิกของกระจุกกาแล็กซี่เฮอร์คิวลิส ในกลุ่มดาวเฮอร์คิวลิส (Constellation Hercules) ห่างจากโลก 450 ล้านปีแสง
การชนกันเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น โดยแขนของทั้งสองกาแล็กซี่กำลังแตะกัน ซึ่งเป็นภาพที่หาดูได้ยากมาก
NGC 3690
NGC 3690 หรือ Arp 299 เกิดจากกาแล็กซี่ IC 694 และ NGC 3690 ชนกันเมื่อ 700 ล้านปีที่ผ่านมา ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ ห่างจากโลก 150 ล้านปีแสง การชนกันให้กำเนิดดาวฤกษ์จำนวนมหาศาล
นักดาราศาสตร์พบว่าเกิดการระเบิดซุปเปอร์โนวา 6 ครั้งในบริเวณขอบกาแล็กซี่ในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา
เอ็นจีซี 4038 (NGC4038)
ดาราจักรเอ็นจีซี 4038 (NGC4038) และ เอ็นจีซี 4039 (NGC4039) ภาพนี้ถ่ายจากกล้องโทรทัศน์บนโลก ส่วนที่เห็นอยู่กลางภาพคล้ายรูปหัวใจนั้นคือดาราจักรทั้ง 2 ระบบที่รวมตัวเข้าหากัน ซึ่งที่จริงแล้วขอบเขตของดาราจักรทั้งสองไม่ได้มีเพียงแค่นั้น แต่ยังรวมห้วงอวกาศที่อยู่รอบนอกอีกด้วย
ผลจากการชนกันหรือรวมตัวเข้าหากันนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงดึงดูดที่ยึดเหนี่ยวดาราจักรอยู่ เส้น 2 เส้นที่เห็นคล้ายหนวดแมลงที่งอกออกมา
จากหัวใจนั้นก็เป็นปรากฏการณ์อันเป็นผลจากการชนกัน ดังนั้นดาราจักรนี้ (หมายถึง 2 ดาราจักรที่รวมกันอยู่นี้) จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
ดาราจักรหนวดแมลง (Antennae galaxy)
ส่วนที่เห็นเป็นสีฟ้าและฟ้าอมขาวในภาพนั้นคือกลุ่มดาวฤกษ์ที่เกิดใหม่ทั้งสิ้น ซึ่งในภาพนี้ได้ขยายมาให้ชม 2 บริเวณ จะเห็นได้ว่าเพียงแค่ 2 บริเวณนี้ก็เห็นดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวนนับไม่ถ้วนแล้ว
(Cr.
http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/Galaxy/GalaxyCollision.htm)
ขอขอบคุณข้อมูลและขออนุญาตินำมาจาก
มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.
Cr. มติชน คอลัมน์ โลกสามมิติ
โดย บัณฑิต คงอินทร์ bandish.k@psu.ac.th
Cr.
http://www.marinerthai.net/sara/viewsara1225.php
ขอบคุณภาพจาก (Credit : ESA/Hubble & NASA, A. Adamo et al.)
Cr.
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1521630
การปะทะกันของแกแลกซี่ในอดีตจากกล้องกล้องอวกาศฮับเบิล
ภาพจากกล้องอวกาศฮับเบิลเกือบทั้งหมดคือส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจที่ชื่อว่า GOALS (Great Observatories All-sky LIRG Survey) ซึ่งใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) กล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอ็กซ์จันทรา (Chandra X-ray Observa tory) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศกาแล็กซี่ (Galaxy Evolution Explorer) สำรวจจักรวาลร่วมกัน
กาแล็กซี่ชนกันเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาในจักรวาล และเกิดขึ้นเมื่อครั้งจักรวาลยังเยาว์วัยมากกว่าในปัจจุบัน เพราะในขณะนั้นจักรวาลยังมีขนาดเล็ก กาแล็กซีจึงอยู่ใกล้กัน ทำให้มีโอกาสชนกันได้ง่าย
และในอนาคตข้างหน้า กาแล็กซี่ทางช้างเผือกจะชนกับกาแล็กซี่ แอนโดรเมดา (Andromeda galaxy) และจะกลายเป็นกาแล็กซีใหม่ชื่อ มิลโกเมดา (Milkome da)
นอกจากนั้นการรวมกันยังให้กำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่จำนวนมหาศาลจากก๊าซและฝุ่นด้วย ดาวฤกษ์เกิดใหม่จะเห็นเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน และแต่ละดวงจะอยู่ห่างกันหลายปีแสงส่วนดาวฤกษ์เก่าแก่จะเป็นสีแดง
ต่อไปนี้คือภาพกาแล็กซี่ชนกันบางส่วนที่ สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เผยแพร่ต่อสาธารณชน
ผลจากการชนกันทำให้เกิดคลื่นกระแทก (Shockwave) ซึ่งดูดสสารจากใจกลางกาแล็กซี่ไปยังขอบของวงแหวน
จุดเด่นของ Markarian 273 คือมีบริเวณที่ให้กำเนิดดาวฤกษ์ที่มีความหนาแน่นมาก ดวงฤกษ์ดวงใหม่ขนาด 60 เท่าของดวงอาทิตย์เกิดขึ้นในบริเวณนี้ทุกปี
นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ไม่มีใครคาดเดาได้เลยว่า ในที่สุดมันจะมีรูปร่างอย่างไร
บริเวณสีฟ้าคือกระจุกดาวเกิดใหม่ซึ่งมีความสว่างกว่าดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะหลายหมื่นล้านเท่า
รูปทรงของมันคล้ายเต่าทะเล การชนกันนอกจากให้กำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่แล้ว ยังจุดชนวนให้เกิดการระเบิดซุปเปอร์โนวาอีกด้วย
การสำรวจโดยกล้องโทรทรรศน์รังสีเอ็กซ์พบว่า หลุมดำยักษ์สองหลุมซึ่งอยู่ห่างกัน 3,000 ปีแสงกำลังเคลื่อนที่เข้าไปรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
การชนกันเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น โดยแขนของทั้งสองกาแล็กซี่กำลังแตะกัน ซึ่งเป็นภาพที่หาดูได้ยากมาก
NGC 3690
NGC 3690 หรือ Arp 299 เกิดจากกาแล็กซี่ IC 694 และ NGC 3690 ชนกันเมื่อ 700 ล้านปีที่ผ่านมา ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ ห่างจากโลก 150 ล้านปีแสง การชนกันให้กำเนิดดาวฤกษ์จำนวนมหาศาล
นักดาราศาสตร์พบว่าเกิดการระเบิดซุปเปอร์โนวา 6 ครั้งในบริเวณขอบกาแล็กซี่ในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา
เอ็นจีซี 4038 (NGC4038)
ดาราจักรเอ็นจีซี 4038 (NGC4038) และ เอ็นจีซี 4039 (NGC4039) ภาพนี้ถ่ายจากกล้องโทรทัศน์บนโลก ส่วนที่เห็นอยู่กลางภาพคล้ายรูปหัวใจนั้นคือดาราจักรทั้ง 2 ระบบที่รวมตัวเข้าหากัน ซึ่งที่จริงแล้วขอบเขตของดาราจักรทั้งสองไม่ได้มีเพียงแค่นั้น แต่ยังรวมห้วงอวกาศที่อยู่รอบนอกอีกด้วย
ผลจากการชนกันหรือรวมตัวเข้าหากันนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแรงดึงดูดที่ยึดเหนี่ยวดาราจักรอยู่ เส้น 2 เส้นที่เห็นคล้ายหนวดแมลงที่งอกออกมา
จากหัวใจนั้นก็เป็นปรากฏการณ์อันเป็นผลจากการชนกัน ดังนั้นดาราจักรนี้ (หมายถึง 2 ดาราจักรที่รวมกันอยู่นี้) จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
ดาราจักรหนวดแมลง (Antennae galaxy)
ส่วนที่เห็นเป็นสีฟ้าและฟ้าอมขาวในภาพนั้นคือกลุ่มดาวฤกษ์ที่เกิดใหม่ทั้งสิ้น ซึ่งในภาพนี้ได้ขยายมาให้ชม 2 บริเวณ จะเห็นได้ว่าเพียงแค่ 2 บริเวณนี้ก็เห็นดาวฤกษ์เกิดใหม่จำนวนนับไม่ถ้วนแล้ว
(Cr.http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/Galaxy/GalaxyCollision.htm)
ขอขอบคุณข้อมูลและขออนุญาตินำมาจาก
มารีนเนอร์ไทยดอทคอม | MarinerThai.
Cr. มติชน คอลัมน์ โลกสามมิติ
โดย บัณฑิต คงอินทร์ bandish.k@psu.ac.th
Cr. http://www.marinerthai.net/sara/viewsara1225.php
ขอบคุณภาพจาก (Credit : ESA/Hubble & NASA, A. Adamo et al.)
Cr.https://www.thairath.co.th/news/foreign/1521630