กาแล็คซี่ อัญมณีทับทิมพันเม็ด : THOUSAND-RUBY GALAXY
มองออกไปด้านเบื้องหน้าของทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy) ห่างจากโลก 12 ล้านปีแสง บริเวณกลุ่มดาวงูไฮดร้า (Hydra) แขนกังหันที่โดดเด่นคือแนวฝุ่นหมอก โดยมีกระจุกดาว (Star cluster) หนุ่มสาวสีฟ้าสาดแสงออกมา ส่วนดาวสีแดงวัยชรากระจายไปตาม แนวของวงแขนสลับตำแหน่งกัน อย่างเหมาะเจาะสวยงามคล้ายดั่ง อัญมณีทับทิมแห่งจักรวาล (Universe)
จึงถูกตั้งฉายาว่าทับทิมพันเม็ด มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 40,000 ปีแสง และยังมีอีกชื่อเรียกว่า The Southern Pinwheel หมายถึง กังหันลมกระดาษในภูมิภาคใต้เนื่องจากอยู่ในทางทิศใต้ของกลุ่มดาวงูไฮดร้า ที่ห่างไกลและภายในโครงสร้างมีความเข้มข้นสูงของรังสีเอ๊กซ์ หลงเหลือจาก ดาวนิวตรอน (Neutrons star) และหลุมดำ (Black Hole)
Cr.
http://www.sunflowercosmos.org/Amazing-universe-thousand-ruby-galaxy.html
“วัตถุของโฮแอก” ดาราจักรวงแหวนสุดงดงาม
ดาราจักรชนิดวงแหวน ที่มีชื่อว่า “วัตถุของโฮแอก” (Hoag’s Object) คือดาราจักรที่มีรูปร่างคล้ายวงแหวนที่สมบูรณ์แบบ ที่เต็มไปด้วยปริศนาในกลุ่มดาวงู ซึ่งกำลังกลายเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากทางนาซาได้ทำการเปิดเผยภาพถ่ายภาพใหม่ของมันออกมา
วัตถุของโฮแอก ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก ด้วยฝีมือของ “อาร์ต โฮแอก” เมื่อ ค.ศ. 1950 เป็นดาราจักรที่มีความกว้าง 100,000 ปีแสง (ใหญ่กว่าทางช้างเผือกของเราเล็กน้อย) ที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์มวลมากสีน้ำเงินจำนวนมหาศาล รายล้อมสสารส่องสว่างที่ส่วนใจกลาง และอยู่ห่างจากโลกไปราวๆ 600 ล้านปีแสง
ดาราจักรวงแหวนที่เห็นนี้ นับว่าเป็นหนึ่งในปริศนานับร้อยนับพันของจักรวาล ที่นักดาราศาสตร์ยังไม่อาจไขได้ และเราก็ไม่อาจทราบได้เลยด้วยซ้ำว่า เพราะเหตุใดวัตถุของโฮแอกจึงมีรูปร่างออกมางดงามได้ดังที่เห็น
หากสังเกตให้ดีจะสามารถเห็นได้ว่าวงแหวนที่ประกอบขึ้นมาเป็นวัตถุของโฮแอก นั้นแท้จริงแล้วไม่ได้มีเพียงวงเดียว แต่มีสภาพคล้ายวงแหวนหลายวงซ้อนกันโดยมี “ช่องว่าง” ระหว่างวงแหวน ซึ่งนักดาราศาสตร์สันนิษฐานกันว่าอาจเกิดขึ้นได้จาก
1. การที่มีดาราจักรขนาดเล็กซ้อนอยู่ในดาราจักรขนาดใหญ่กว่า
2. วงแหวนประหลาดของดาราจักรนี้ เป็นเพียงภาพลวงตาที่เกิดจากเลนส์ความโน้มถ่วง
3. การชนกันของดาราจักรสองอันที่ทำให้รูบนดาราจักรอันหนึ่ง ก่อนที่ดาราจักรที่เล็กกว่าจะถูกแรงดึงดูดดึงจน ดาราจักรทั้งสองรวมเป็นอันเดียวกัน
คงต้องขอบคุณนักธรณีฟิสิกส์อย่างคุณ Benoit Blanco และกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ไม่น้อยเลย ที่ทำให้เราได้มีโอกาสชมภาพถ่ายใหม่ล่าสุดของดาราจักรสุดประหลาดชิ้นนี้
ที่มา livescience, thesun และ asgardia
Cr.
https://www.catdumb.tv/hoags-object-378/
เนบิวลากระดูกงูเรือ (The Great Carina Nebula )
ภายในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือจะมีเนบิวลาขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า เนบิวลากระดูกงูเรือ หรือที่เรียกกันว่าเนบิวลาใหญ่ในกระดูกงูเรือ (The Great Carina Nebula ) ดังภาพข้างต้น ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 7,500 ปีแสง
ภายในเนบิวลานี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ (มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ไม่น้อยกว่า 50 ถึง 100 เท่า) นับสิบดวง ณ บริเวณใจกลางของกาแล็กซีนั้นมีฝุ่นและแก๊สที่หนาทึบที่เป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์จำนวนมาก ทั้งนี้ภายในเนบิวลากระดูกงูเรือนั้นมีดาวฤกษ์ที่นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจและเฝ้าศึกษามากดาวฤกษ์ดวงหนึ่งชื่อว่า ดาวอีต้า คารินี (Eta Carinae) ซึ่งมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 100 เท่า ที่ระดับมวลดังกล่าวนักดาราศาสตร์จึงจัดให้ดาวดวงนี้อยู่ในประเภทดาวฤกษ์มวลมาก เมื่อถึงวาระสุดท้ายหรือถึงเวลาที่ดาวดวงนี้สิ้นอายุขัย ความร้อนแลความดันมหาศาลที่เกิดขึ้นภายในดาวจะทำให้เกิดการระเบิดใหญ่ที่เรียกว่า ซุปเปอร์โนวาขึ้น ถึงเวลานี้ดาวทั้งดวงจะฉีกออกเป็นธุลีและสาดเศษส่วนของดาวออกไปในอวกาศด้วยความเร็วที่สูงมาก
Cr.
http://www.narit.or.th/index.php/apod/794
NGC 3242 หรือ “Ghost of Jupiter”
NGC 3242 คือ เนบิวลาดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,400 ปีแสง ในกลุ่มดาวงูไฮดรา (Hydra constellation) มีขนาดปรากฏที่มองเห็นจากโลก 25 พิลิปดา ใกล้เคียงกับขนาดปรากฏของดาวพฤหัสบดี จึงมีชื่อเล่นว่า “ผีดาวพฤหัสบดี (Ghost of Jupiter)”
เนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary nebula) เป็นจุดจบของดาวฤกษ์มวลใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ แก๊สที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของดาวฤกษ์ถูกเป่ากระจายออกไปเป็นรัศมีกว่า 9 ล้านล้านกิโลเมตร หรือประมาณ 1 ปีแสง ทิ้งใจกลางที่เป็นแก่นของดาวฤกษ์เอาไว้ เรียกว่า “ดาวแคระขาว”
ทั้งนี้ที่เรียกว่า “เนบิวลาดาวเคราะห์” นั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์แต่อย่างใด เพียงแต่ในสมัยโบราณ นักดาราศาสตร์ยังไม่มีกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายมากนัก จึงเข้าใจผิดว่าเนบิวลาประเภทนี้เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง
ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-NEO / CDK700/ FLI16803
A-TRT-88
Cr.
https://www.facebook.com/TRTpics/posts/1997689453874147
M16 Eagle Nebula เนบิวลารูปนกอินทรี
(บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์แห่งชาติซีกฟ้าใต้ ดำเนินงานโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในฟิลเตอร์ R, G, B, และ H-alpha เปิดหน้ากล้องรวมเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง)
เป็นกระจุกดาวเปิดอายุน้อยในกลุ่มดาวงู และเป็นหนึ่งในบรรดาวัตถุท้องฟ้าที่มีชื่อเสียง เป็นที่สังเกตเห็นได้ง่าย ผู้ค้นพบคือ ฌอง-ฟิลิปป์ เดอ เชโซส์ (Jean-Philippe de Cheseaux) ในราวปี พ.ศ. 2288-2289 อยู่ในพื้นที่เกี่ยวเนื่องกับเนบิวลาจางๆ หรือย่านเอช 2 ที่ขึ้นบัญชีไว้ในรหัส ไอซี 4703 เป็นย่านก่อตัวของดาวฤกษ์ใหม่ที่อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 7,000 ปีแสง และมีส่วนของ “หอคอย” มีขนาดถึง 9.5 ปีแสงหรือเก้าสิบล้านล้านกิโลเมตร
ภาพถ่ายเนบิวลาจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อปี พ.ศ. 2538 ทำให้เราเข้าใจกระบวนการภายในเนบิวลามากยิ่งขึ้น ภายในเนบิวลาอินทรีมีย่านที่เรียกว่า “เสาแห่งการก่อกำเนิด” (Pillars of Creation) ซึ่งเป็นย่านก่อตัวดาวฤกษ์ใหม่ที่ใหญ่มาก มีพื้นที่มืดเป็นส่วนเล็กๆ ที่เชื่อว่าน่าจะเป็นโปรโตสตาร์
(ภาพนี้มีชื่อว่า เสาแห่งการก่อกำเนิด (Pillars of Creation) เป็นหนึ่งในภาพถ่ายที่โด่งดังจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่ แสดงให้เห็นการก่อตัวของกลุ่มดาวฤกษ์ในเนบิวลาอินทรี ที่อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 7,000 ปีแสง)
ในปี พ.ศ. 2548 กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์สามารถถ่ายภาพโครงสร้างคล้ายเสาเช่นนี้ได้ในบริเวณกลุ่มดาวค้างคาว ซึ่งเป็นย่านก่อตัวเป็นดาวฤกษ์ใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าที่พบในเนบิวลาอินทรีมาก เรียกชื่อว่า “ขุนเขาแห่งการก่อกำเนิด” (Mountains of Creation)
เมื่อนำภาพถ่ายจากกล้องฮับเบิลรวมกับภาพถ่ายรังสีเอ็กซ์ ที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราทำให้มองเห็นแหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์ (จากดาวฤกษ์ใหม่) ซึ่งไม่สัมพันธ์กับโครงสร้างรูปเสา แต่กระจายเป็นหย่อมๆ ทั่วบริเวณ ข้อมูลนี้แสดงว่าอาจจะมีการก่อตัวของดาวฤกษ์ใหม่สูงสุดในเนบิวลาอินทรีเมื่อประมาณหนึ่งล้านปีมาแล้ว ส่วนโปรโตสตาร์ในส่วนกระจายแก๊สในโครงสร้างเสาอาจจะมีความร้อนไม่มากเพียงพอที่จะแผ่รังสีเอ็กซ์ออกมาได้
ราวต้นปี พ.ศ. 2550 นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ที่แสดงว่า โครงสร้างเสาได้ถูกทำลายลงโดยการระเบิดของซูเปอร์โนวาแห่งหนึ่งเมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว แต่แสงที่แสดงรูปร่างใหม่ของเนบิวลายังเดินทางมาไม่ถึงโลกจนกว่าจะถึงสหัสวรรษหน้า
Cr.
https://www.amarintv.com/lifestyle-update/articles-1258/386461/
นี่คือสุดยอดภาพดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย ปี 62 ประเภทวัตถุในห้วงอวกาศลึก
รางวัลชนะเลิศ นายกีรติ คำคงอยู่ ชื่อภาพ “เจ้าแห่งพญาอินทรี The Eagle Nebula”
Cr.
https://siamrath.co.th/n/95899 (ดูภาพรางวัลเพิ่มเติม )
B72 Snake Nebula
เนบิวลางู หรือ Snake Nebula เป็นเนบิวลามืด (Dark Nebula) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 650 ปีแสง บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกลุ่มดาว ใกล้กับเขตติดต่อกับกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) และกลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius) มีขนาดไม่ใหญ่นักแต่มีรูปร่างเด่นแปลกตา คือมีลักษณะเหมือนตัวอักษร เอส (S) ดูคล้ายงู จึงมีชื่อเรียกว่า Snake Nebula
เนบิวลามืด คือ ก้อนเมฆโมเลกุลที่เย็นจัด ประกอบด้วยก๊าซและฝุ่นที่มีองค์ประกอบหลัก คือ คาร์บอนซึ่งดูดซับแสงของดวงดาว เมื่อก้อนเมฆเหล่านี้ได้รับพลังงานจากดวงดาวจะไม่ปล่อยพลังงานออกมาในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น แต่จะปล่อยออกมาในช่วงคลื่นอินฟราเรดแทน ดังนั้นเนบิวลามืดจึงดูดำทึบ แต่เมื่อมีดวงดาวระยิบระยับในทางช้างเผือก เป็นฉากหลัง เราจึงมองเห็นได้ชัดจากการที่มันบังแสงดาวที่อยู่ฉากหลัง
ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803
A-TRT-67
Cr.
https://www.facebook.com/TRTpics/photos/b72-snake-nebulaเนบิวลางู-หรือ-snake-nebula-เป็นเนบิวลามืด-dark-nebula-อยู่ห่างจ/1922127861430307/
ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมด
ความสวยงามที่อยู่ภายในกลุ่มดาวงู
มองออกไปด้านเบื้องหน้าของทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy) ห่างจากโลก 12 ล้านปีแสง บริเวณกลุ่มดาวงูไฮดร้า (Hydra) แขนกังหันที่โดดเด่นคือแนวฝุ่นหมอก โดยมีกระจุกดาว (Star cluster) หนุ่มสาวสีฟ้าสาดแสงออกมา ส่วนดาวสีแดงวัยชรากระจายไปตาม แนวของวงแขนสลับตำแหน่งกัน อย่างเหมาะเจาะสวยงามคล้ายดั่ง อัญมณีทับทิมแห่งจักรวาล (Universe)
จึงถูกตั้งฉายาว่าทับทิมพันเม็ด มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว 40,000 ปีแสง และยังมีอีกชื่อเรียกว่า The Southern Pinwheel หมายถึง กังหันลมกระดาษในภูมิภาคใต้เนื่องจากอยู่ในทางทิศใต้ของกลุ่มดาวงูไฮดร้า ที่ห่างไกลและภายในโครงสร้างมีความเข้มข้นสูงของรังสีเอ๊กซ์ หลงเหลือจาก ดาวนิวตรอน (Neutrons star) และหลุมดำ (Black Hole)
Cr.http://www.sunflowercosmos.org/Amazing-universe-thousand-ruby-galaxy.html
“วัตถุของโฮแอก” ดาราจักรวงแหวนสุดงดงาม
ดาราจักรชนิดวงแหวน ที่มีชื่อว่า “วัตถุของโฮแอก” (Hoag’s Object) คือดาราจักรที่มีรูปร่างคล้ายวงแหวนที่สมบูรณ์แบบ ที่เต็มไปด้วยปริศนาในกลุ่มดาวงู ซึ่งกำลังกลายเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากทางนาซาได้ทำการเปิดเผยภาพถ่ายภาพใหม่ของมันออกมา
วัตถุของโฮแอก ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก ด้วยฝีมือของ “อาร์ต โฮแอก” เมื่อ ค.ศ. 1950 เป็นดาราจักรที่มีความกว้าง 100,000 ปีแสง (ใหญ่กว่าทางช้างเผือกของเราเล็กน้อย) ที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์มวลมากสีน้ำเงินจำนวนมหาศาล รายล้อมสสารส่องสว่างที่ส่วนใจกลาง และอยู่ห่างจากโลกไปราวๆ 600 ล้านปีแสง
ดาราจักรวงแหวนที่เห็นนี้ นับว่าเป็นหนึ่งในปริศนานับร้อยนับพันของจักรวาล ที่นักดาราศาสตร์ยังไม่อาจไขได้ และเราก็ไม่อาจทราบได้เลยด้วยซ้ำว่า เพราะเหตุใดวัตถุของโฮแอกจึงมีรูปร่างออกมางดงามได้ดังที่เห็น
หากสังเกตให้ดีจะสามารถเห็นได้ว่าวงแหวนที่ประกอบขึ้นมาเป็นวัตถุของโฮแอก นั้นแท้จริงแล้วไม่ได้มีเพียงวงเดียว แต่มีสภาพคล้ายวงแหวนหลายวงซ้อนกันโดยมี “ช่องว่าง” ระหว่างวงแหวน ซึ่งนักดาราศาสตร์สันนิษฐานกันว่าอาจเกิดขึ้นได้จาก
1. การที่มีดาราจักรขนาดเล็กซ้อนอยู่ในดาราจักรขนาดใหญ่กว่า
2. วงแหวนประหลาดของดาราจักรนี้ เป็นเพียงภาพลวงตาที่เกิดจากเลนส์ความโน้มถ่วง
3. การชนกันของดาราจักรสองอันที่ทำให้รูบนดาราจักรอันหนึ่ง ก่อนที่ดาราจักรที่เล็กกว่าจะถูกแรงดึงดูดดึงจน ดาราจักรทั้งสองรวมเป็นอันเดียวกัน
คงต้องขอบคุณนักธรณีฟิสิกส์อย่างคุณ Benoit Blanco และกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ไม่น้อยเลย ที่ทำให้เราได้มีโอกาสชมภาพถ่ายใหม่ล่าสุดของดาราจักรสุดประหลาดชิ้นนี้
ที่มา livescience, thesun และ asgardia
Cr. https://www.catdumb.tv/hoags-object-378/
เนบิวลากระดูกงูเรือ (The Great Carina Nebula )
ภายในกลุ่มดาวกระดูกงูเรือจะมีเนบิวลาขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า เนบิวลากระดูกงูเรือ หรือที่เรียกกันว่าเนบิวลาใหญ่ในกระดูกงูเรือ (The Great Carina Nebula ) ดังภาพข้างต้น ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 7,500 ปีแสง
ภายในเนบิวลานี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ (มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ไม่น้อยกว่า 50 ถึง 100 เท่า) นับสิบดวง ณ บริเวณใจกลางของกาแล็กซีนั้นมีฝุ่นและแก๊สที่หนาทึบที่เป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์จำนวนมาก ทั้งนี้ภายในเนบิวลากระดูกงูเรือนั้นมีดาวฤกษ์ที่นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจและเฝ้าศึกษามากดาวฤกษ์ดวงหนึ่งชื่อว่า ดาวอีต้า คารินี (Eta Carinae) ซึ่งมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 100 เท่า ที่ระดับมวลดังกล่าวนักดาราศาสตร์จึงจัดให้ดาวดวงนี้อยู่ในประเภทดาวฤกษ์มวลมาก เมื่อถึงวาระสุดท้ายหรือถึงเวลาที่ดาวดวงนี้สิ้นอายุขัย ความร้อนแลความดันมหาศาลที่เกิดขึ้นภายในดาวจะทำให้เกิดการระเบิดใหญ่ที่เรียกว่า ซุปเปอร์โนวาขึ้น ถึงเวลานี้ดาวทั้งดวงจะฉีกออกเป็นธุลีและสาดเศษส่วนของดาวออกไปในอวกาศด้วยความเร็วที่สูงมาก
Cr.http://www.narit.or.th/index.php/apod/794
NGC 3242 หรือ “Ghost of Jupiter”
NGC 3242 คือ เนบิวลาดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,400 ปีแสง ในกลุ่มดาวงูไฮดรา (Hydra constellation) มีขนาดปรากฏที่มองเห็นจากโลก 25 พิลิปดา ใกล้เคียงกับขนาดปรากฏของดาวพฤหัสบดี จึงมีชื่อเล่นว่า “ผีดาวพฤหัสบดี (Ghost of Jupiter)”
เนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary nebula) เป็นจุดจบของดาวฤกษ์มวลใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ แก๊สที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของดาวฤกษ์ถูกเป่ากระจายออกไปเป็นรัศมีกว่า 9 ล้านล้านกิโลเมตร หรือประมาณ 1 ปีแสง ทิ้งใจกลางที่เป็นแก่นของดาวฤกษ์เอาไว้ เรียกว่า “ดาวแคระขาว”
ทั้งนี้ที่เรียกว่า “เนบิวลาดาวเคราะห์” นั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์แต่อย่างใด เพียงแต่ในสมัยโบราณ นักดาราศาสตร์ยังไม่มีกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายมากนัก จึงเข้าใจผิดว่าเนบิวลาประเภทนี้เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง
ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-NEO / CDK700/ FLI16803
A-TRT-88
Cr.https://www.facebook.com/TRTpics/posts/1997689453874147
M16 Eagle Nebula เนบิวลารูปนกอินทรี
(บันทึกโดยกล้องโทรทรรศน์แห่งชาติซีกฟ้าใต้ ดำเนินงานโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในฟิลเตอร์ R, G, B, และ H-alpha เปิดหน้ากล้องรวมเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง)
เป็นกระจุกดาวเปิดอายุน้อยในกลุ่มดาวงู และเป็นหนึ่งในบรรดาวัตถุท้องฟ้าที่มีชื่อเสียง เป็นที่สังเกตเห็นได้ง่าย ผู้ค้นพบคือ ฌอง-ฟิลิปป์ เดอ เชโซส์ (Jean-Philippe de Cheseaux) ในราวปี พ.ศ. 2288-2289 อยู่ในพื้นที่เกี่ยวเนื่องกับเนบิวลาจางๆ หรือย่านเอช 2 ที่ขึ้นบัญชีไว้ในรหัส ไอซี 4703 เป็นย่านก่อตัวของดาวฤกษ์ใหม่ที่อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 7,000 ปีแสง และมีส่วนของ “หอคอย” มีขนาดถึง 9.5 ปีแสงหรือเก้าสิบล้านล้านกิโลเมตร
ภาพถ่ายเนบิวลาจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อปี พ.ศ. 2538 ทำให้เราเข้าใจกระบวนการภายในเนบิวลามากยิ่งขึ้น ภายในเนบิวลาอินทรีมีย่านที่เรียกว่า “เสาแห่งการก่อกำเนิด” (Pillars of Creation) ซึ่งเป็นย่านก่อตัวดาวฤกษ์ใหม่ที่ใหญ่มาก มีพื้นที่มืดเป็นส่วนเล็กๆ ที่เชื่อว่าน่าจะเป็นโปรโตสตาร์
(ภาพนี้มีชื่อว่า เสาแห่งการก่อกำเนิด (Pillars of Creation) เป็นหนึ่งในภาพถ่ายที่โด่งดังจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่ แสดงให้เห็นการก่อตัวของกลุ่มดาวฤกษ์ในเนบิวลาอินทรี ที่อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 7,000 ปีแสง)
ในปี พ.ศ. 2548 กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์สามารถถ่ายภาพโครงสร้างคล้ายเสาเช่นนี้ได้ในบริเวณกลุ่มดาวค้างคาว ซึ่งเป็นย่านก่อตัวเป็นดาวฤกษ์ใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าที่พบในเนบิวลาอินทรีมาก เรียกชื่อว่า “ขุนเขาแห่งการก่อกำเนิด” (Mountains of Creation)
เมื่อนำภาพถ่ายจากกล้องฮับเบิลรวมกับภาพถ่ายรังสีเอ็กซ์ ที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราทำให้มองเห็นแหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์ (จากดาวฤกษ์ใหม่) ซึ่งไม่สัมพันธ์กับโครงสร้างรูปเสา แต่กระจายเป็นหย่อมๆ ทั่วบริเวณ ข้อมูลนี้แสดงว่าอาจจะมีการก่อตัวของดาวฤกษ์ใหม่สูงสุดในเนบิวลาอินทรีเมื่อประมาณหนึ่งล้านปีมาแล้ว ส่วนโปรโตสตาร์ในส่วนกระจายแก๊สในโครงสร้างเสาอาจจะมีความร้อนไม่มากเพียงพอที่จะแผ่รังสีเอ็กซ์ออกมาได้
ราวต้นปี พ.ศ. 2550 นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ที่แสดงว่า โครงสร้างเสาได้ถูกทำลายลงโดยการระเบิดของซูเปอร์โนวาแห่งหนึ่งเมื่อประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว แต่แสงที่แสดงรูปร่างใหม่ของเนบิวลายังเดินทางมาไม่ถึงโลกจนกว่าจะถึงสหัสวรรษหน้า
Cr.https://www.amarintv.com/lifestyle-update/articles-1258/386461/
นี่คือสุดยอดภาพดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย ปี 62 ประเภทวัตถุในห้วงอวกาศลึก
รางวัลชนะเลิศ นายกีรติ คำคงอยู่ ชื่อภาพ “เจ้าแห่งพญาอินทรี The Eagle Nebula”
Cr.https://siamrath.co.th/n/95899 (ดูภาพรางวัลเพิ่มเติม )
B72 Snake Nebula
เนบิวลางู หรือ Snake Nebula เป็นเนบิวลามืด (Dark Nebula) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 650 ปีแสง บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกลุ่มดาว ใกล้กับเขตติดต่อกับกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) และกลุ่มดาวแมงป่อง (Scorpius) มีขนาดไม่ใหญ่นักแต่มีรูปร่างเด่นแปลกตา คือมีลักษณะเหมือนตัวอักษร เอส (S) ดูคล้ายงู จึงมีชื่อเรียกว่า Snake Nebula
เนบิวลามืด คือ ก้อนเมฆโมเลกุลที่เย็นจัด ประกอบด้วยก๊าซและฝุ่นที่มีองค์ประกอบหลัก คือ คาร์บอนซึ่งดูดซับแสงของดวงดาว เมื่อก้อนเมฆเหล่านี้ได้รับพลังงานจากดวงดาวจะไม่ปล่อยพลังงานออกมาในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น แต่จะปล่อยออกมาในช่วงคลื่นอินฟราเรดแทน ดังนั้นเนบิวลามืดจึงดูดำทึบ แต่เมื่อมีดวงดาวระยิบระยับในทางช้างเผือก เป็นฉากหลัง เราจึงมองเห็นได้ชัดจากการที่มันบังแสงดาวที่อยู่ฉากหลัง
ภาพ : ตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์/ กีรติ คำคงอยู่
TRT-SBO/ CDK17/ FLI16803
A-TRT-67
Cr.https://www.facebook.com/TRTpics/photos/b72-snake-nebulaเนบิวลางู-หรือ-snake-nebula-เป็นเนบิวลามืด-dark-nebula-อยู่ห่างจ/1922127861430307/
ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมด