ว่าด้วย บุคคลผู้ที่ เล็งเห็นอัตตา และ ไม่ล็งเห็นอัตตา ...

อัตตสมนุปัสสนากถา
๖๓] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นด้วยเหตุมี ประมาณเท่าไร
ก็บุคคลเมื่อเล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา ถ้าเวทนา
ไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา    
       อานนท์! หรือเล็งเห็นอัตตา ดังนี้ว่า
เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลยจะว่า อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่เพราะฉะนั้น   อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา
        อานนท์! บรรดาความเห็น ๓ อย่างนั้น
ผู้ที่กล่าว อย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา เขาจะพึงถูกซักถามอย่างนี้ว่า
อาวุโส เวทนามี ๓ อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา บรรดาเวทนา ๓ ประการนี้  ท่านเล็งเห็นอันไหนโดยความเป็นอัตตา

    อานนท์ ในสมัยใด อัตตา เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา  คงเสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น
     อานนท์ ในสมัยใดอัตตาเสวยทุกขเวทนาไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่ทุกขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น
ในสมัยใด อัตตาเสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา คงเสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น

      ดูกรอานนท์ เวทนาแม้ที่เป็นสุขก็ดี แม้ที่เป็นทุกข์ก็ดี แม้ที่เป็นอทุกขมสุขก็ดีล้วนไม่เที่ยง เป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งขึ้น มีความสิ้นความเสื่อม ความคลาย และความดับไปเป็นธรรมดา
เมื่อเขาเสวยสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า  นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อสุขเวทนาอันนั้นดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว
เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเราต่อทุกขเวทนาอันนั้นแล
ดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไป
แล้ว เมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเราต่ออทุกขมสุขเวทนาอันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว
ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า  เวทนาเป็นอัตตาของเรานั้น

เมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นเวทนาอันไม่เที่ยง   เกลื่อนกล่นไปด้วยสุขและทุกข์
มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็น  อัตตาในปัจจุบันเท่านั้น เพราะเหตุนั้นแหละ
    อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา

เมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นเวทนาอันไม่เที่ยง   เกลื่อนกล่นไปด้วยสุขและทุกข์
มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็น  อัตตาในปัจจุบันเท่านั้น เพราะเหตุนั้นแหละ
     อานนท์! ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้  ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า  ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา
เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า ในรูปขันธ์ล้วนๆ ก็ยังมิได้มีความเสวยอารมณ์อยู่ทั้งหมด ในรูปขันธ์นั้น ยังจะเกิดอหังการว่าเป็นเราได้หรือ ฯ
      ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า ถ้าเวทนา ไม่เป็นอัตตา
ของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา แม้ด้วยคำดังกล่าว แล้วนี้
ส่วนผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย อัตตาของเราไม่  ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า
อาวุโส ก็เพราะเวทนาจะต้องดับไปทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เหลือเศษ เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับไปยังจะเกิดอหังการว่า เป็นเราได้หรือ ในเมื่อขันธ์นั้นๆ ดับไปแล้ว ฯ
      ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า  เวทนาไม่เป็นอัตตา
ของเราแล้ว อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาเลยก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่
เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ฯ

วิมุตตจิตตตา
[๖๔] ดูกรอานนท์ คราวใดเล่า ภิกษุไม่เล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ไม่เล็งเห็นอัตตา
ว่าไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ ไม่เล็งเห็นว่าอัตตายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา

ภิกษุนั้น เมื่อเเห็นอยู่อย่างนี้  ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก และเมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะทกสะท้าน เมื่อไม่สะทกสะท้านย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตน ทั้งรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

     อานนท์!  ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ทิฐิว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์ยังมีอยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์
ไม่มีอยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย   สัตว์มีอยู่ก็หา
มิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้ กะภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ การกล่าวของบุคคลนั้นไม่สมควร ฯ
      ข้อนั้น เพราะเหตุไร
      ดูกรอานนท์ ชื่อ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ บัญญัติ ทางแห่งบัญญัติ  การแต่งตั้ง
ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญา วัฏฏะยังเป็นไปอยู่ตราบใด วัฏฏสงสาร ยังคงหมุนเวียนอยู่ตราบนั้น    ......①......

เพราะรู้ยิ่ง วัฏฏสงสารนั้น ภิกษุจึงหลุดพ้น ข้อที่มี   ทิฐิว่า ใครๆ ย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นภิกษุ
ผู้หลุดพ้น  เพราะรู้ยิ่งวัฏฏสงสารนั้น  นั้นไม่สมควร ฯ
.
ป.ล.
สรุปได้ว่า:-
(ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นอัตตาหรือเป็นอัตตาและ
อัตตาก็ใช่หรืออัตตาก็ไม่ใช่หรือไม่ใช่อัตตาก็ไใช่หรือไม่ใช่อัตตาก็ไม่ใช่
เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับไปแล้ว.)
เข้าใจว่า ..เป็นเช่นนั้นเอง
เหมือนไฟ🔥ดับเฉพาะ.ต่อหน้าเรา. ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ  ????อีก.

☀️🌕🌘🌑🌎⭐️🌕🌖🌘🌑🌍⭐️🌕🌖🌘🌑🌏⭐️🌕🌟✨

.....
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่