พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
..............
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร (๑๓๒)
[๕๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์สนทนากะภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลา ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถา
ประกอบด้วยธรรม และกล่าวอุเทศและวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ
[๕๓๖] ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ทรงหลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา
ครั้นแล้วจึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใคร หนอแลสนทนากะพวกภิกษุ ในอุปัฏฐานศาลา ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถา
ประกอบด้วยธรรม และกล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
ท่านพระอานนท์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า
ดูกรอานนท์ เธอสนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม
ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างไรเล่า ฯ
[๕๓๗] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ สนทนากะภิกษุทั้งหลาย
ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างนี้ว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้ง
ธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตาย ในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราช
ผู้มีเสนาใหญ่ นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล ผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวัน และกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ
๕๓๘] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว อย่างไร คือ
รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ
[๕๓๙] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว อย่างไร คือ
ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ใน กาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ
[๕๔๐] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง อย่างไร คือ
รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ในกาลอนาคต
พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต
ดูกรท่านผู้มี อายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ
[๕๔๑] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง อย่างไร คือ
ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ในกาลอนาคต
พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต
ดูกรท่านผู้มี อายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ
[๕๔๒] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน อย่างไร คือ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง
ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็น สัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ
ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ
[๕๔๓] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรม ปัจจุบันอย่างไร
คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดย ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ
ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดย ความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ
ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็ง เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาใน วิญญาณบ้าง
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรม ปัจจุบัน ฯ
[๕๔๔] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง
ก็บุคคล ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้นๆ ได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับ มัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้ อาจหาญ
ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างนี้แล ฯ
[๕๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ดีแล้วๆ เธอสนทนา กะภิกษุทั้งหลาย
ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม ได้กล่าว อุเทศและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ
ย่อมเรียกบุคคล ... นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ดังนี้ถูกแล้ว ฯ
[๕๔๖] ดูกรอานนท์ ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร ฯลฯ
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร ฯลฯ
ดูกร อานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร ฯลฯ
ดูกร อานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร ฯลฯ
ดูกร อานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร ฯลฯ
ดูกร อานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร ฯลฯ
ดูกร อานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ
[๕๔๗] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล ...
นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่ง เจริญ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ อานันทภัทเทกรัตตสูตร ที่ ๒
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๗๑๑๕-๗๒๒๒ หน้าที่ ๓๐๑-๓๐๕.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=7115&Z=7222&pagebreak=0
ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
..............
๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร (๑๓๒)
[๕๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์สนทนากะภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลา ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถา
ประกอบด้วยธรรม และกล่าวอุเทศและวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ
[๕๓๖] ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ทรงหลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา
ครั้นแล้วจึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใคร หนอแลสนทนากะพวกภิกษุ ในอุปัฏฐานศาลา ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถา
ประกอบด้วยธรรม และกล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
ท่านพระอานนท์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า
ดูกรอานนท์ เธอสนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม
ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างไรเล่า ฯ
[๕๓๗] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ สนทนากะภิกษุทั้งหลาย
ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์
ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างนี้ว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใดเห็นแจ้ง
ธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตาย ในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราช
ผู้มีเสนาใหญ่ นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล ผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวัน และกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ
๕๓๘] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว อย่างไร คือ
รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ
[๕๓๙] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว อย่างไร คือ
ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ใน กาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ
[๕๔๐] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง อย่างไร คือ
รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ในกาลอนาคต
พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต
ดูกรท่านผู้มี อายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ
[๕๔๑] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง อย่างไร คือ
ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้นๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ ในกาลอนาคต
พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต
พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต
ดูกรท่านผู้มี อายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ
[๕๔๒] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน อย่างไร คือ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง
ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็น สัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ
ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ
[๕๔๓] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรม ปัจจุบันอย่างไร
คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดย ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ
ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดย ความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ
ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็ง เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง
ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาใน วิญญาณบ้าง
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรม ปัจจุบัน ฯ
[๕๔๔] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ ยังไม่มาถึง
สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง
ก็บุคคล ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้นๆ ได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ
ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับ มัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้
มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้ อาจหาญ
ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างนี้แล ฯ
[๕๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ดีแล้วๆ เธอสนทนา กะภิกษุทั้งหลาย
ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม ได้กล่าว อุเทศและวิภังค์ของ
บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ
ย่อมเรียกบุคคล ... นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ดังนี้ถูกแล้ว ฯ
[๕๔๖] ดูกรอานนท์ ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร ฯลฯ
ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร ฯลฯ
ดูกร อานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร ฯลฯ
ดูกร อานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร ฯลฯ
ดูกร อานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร ฯลฯ
ดูกร อานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ
ดูกรอานนท์ ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร ฯลฯ
ดูกร อานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน ฯ
[๕๔๗] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล ...
นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่ง เจริญ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ อานันทภัทเทกรัตตสูตร ที่ ๒
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๗๑๑๕-๗๒๒๒ หน้าที่ ๓๐๑-๓๐๕.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=7115&Z=7222&pagebreak=0