ทำไมเพื่อนร่วมงาน (หลายๆท่าน) และฝ่ายบุคคล (ก็อีกหลายๆท่าน) ชอบคอยเป็นห่วงเพื่อนพนักงานเวลาพวกเค้าไม่อยู่ในออฟฟิศด้วย

เหมือนว่าพวกเพื่อนพนักงานออฟฟิศจะคอยมีความเป็นห่วงเป็นใย อยากรับทราบความเป็นไปตลอดเวลาเลย ยิ่งไม่พูดเยอะ ก็เหมือนโหมเชื้อไฟให้พวกเขาเป็นห่วงมากขึ้นยิ่งๆขึ้นเป็นทวีคูณ 100 เท่า 1,000 ทวี จนบางครั้งเหมือนจะปั่นให้เรื่องเป็นแบบน้ำผึ้งหยดเดียว (stir it big)

ทำไมการเคารพสิทธิส่วนบุคคลเรื่องการลางานตามกฎหมาย (labor law) ข้อบังคับการทำงาน (work rules) คู่มือพนักงาน (employee handbook) ถึงได้ถูกมองข้ามในสังคมการทำงานเหมือนเป็นเรื่องปกติของมนุษย์เงินเดือนในสังคมคนไทย (กรณีทำงานออฟฟิศทั่วไป ไม่ใช่พวกฝ่ายผลิตในโรงงานที่อาจจะต้องมีกฎแยกต่างหากเพราะจะกระทบสายการผลิตได้กรณีคนลาพร้อมๆกัน)

เพื่อนร่วมงานที่ชอบแสดงอาการเป็นห่วงออกนอกหน้าแบบสม่ำเสมอ ก็มักจะมีเหตุผลเดียวคือ “เกรงว่า” งานของตนเองจะไม่เดินเดี๋ยวจะกระทบองค์กร... ทำไมพวกเขาไม่คิดว่า หัวหน้าของคนที่ลางานมีหน้าที่ “จัดการ” ให้งานของแผนกเขาเดินได้หรือมีจุดติดให้น้อยที่สุด หรือสามารถใช้เทคโนโลยีสื่อสารของโลกปัจจุบันสอบถามกับคนที่ลางานได้อย่างฉับไว

ที่ทำงานของเพื่อนๆ มีวัฒนธรรมการลาเป็นแบบไหนกันบ้างครับ...

ส่วนตัวของผมเอง การลางาน

1. เป็นเรื่องระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง
2. เมื่อต้องการจัดการงาน ก็เป็นเรื่องของหัวหน้าและลูกน้องอีก
3. การลาพักร้อน ลากิจ ลาป่วยพนักงานมีสิทธิ์ใช้ได้เต็มที่ตามกฎเกณฑ์ของกฎหมาย... กรณีลาป่วย คงไม่ต้องถึงวันที่ลูกน้องเดินมาบอกว่า พี่ครับผมป่วยเป็นเนื้องอกในสมอง ดิฉันป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หนูป่วยเป็นต้อกระจก บราๆๆๆ อื่นๆอีกมากมาย... เพราะคนไม่ใช่เครื่องจักร การที่พนักงานจะลางานเพื่อลดความเครียดสะสมที่จะนำมาสู่โรคร้ายแรงในภายภาคหน้า, มันไม่ใช่เรื่องหนักหนาอะไรเลย ถ้าพนักงานด้วยกันเข้าใจในความเป็นมนุษย์ด้วยกัน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่