พวงทอง ภวัครพันธุ์ ชําแหละบทบาท‘กอ.รมน.’
https://www.khaosod.co.th/hot-topics/news_2963570
พวงทอง ภวัครพันธุ์ ชําแหละบทบาท‘กอ.รมน.’ – หลังการแจ้งจับ 12 แกนนำฝ่ายค้านและนักวิชาการ ที่ร่วมในเวทีเสวนาการแก้รัฐธรรมนูญ ที่ จ.ปัตตานี ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทหน้าที่ของ กอ.รมน. หรือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อย่างกว้างขวาง
นางพวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาฯ ที่ทำวิจัยบทบาทกอ.รมน. จึงมีข้อมูลเพื่อประโยชน์ต่อการถกเถียง ดังนี้
●
ที่มาของกอ.รมน.
กอ.รมน.ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2508 เป้าหมายคือการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ โดยการใช้แนวรุกทางการเมือง นอกจากการใช้กำลังทางการทหาร เช่น การจัดตั้งมวลชน การปลูกฝังอุดมการณ์ การพัฒนาชนบท
แต่จะเห็นว่าชื่อเสียงของ กอ.รมน.ในยุคปราบคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะช่วงที่ขบวนการนักศึกษา กรรมกรและชาวนาเข้มแข็ง กอ.รมน.มีชื่อทางการปราบปรามมากกว่าใช้แนวทางทางการเมือง เช่น กรณีถีบลงเขา เผาลงถังแดง เผาหมู่บ้านนาทราย หรือการจัดตั้งมวลชนฝ่ายขวา เป็นภาพลักษณ์กอ.รมน.ช่วงสงครามปราบคอมมิวนิสต์
●
การเติบโตของกอ.รมน.
เมื่อพ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ยกเลิกไป 2543 สมัยรัฐบาลนาย
ชวน หลีกภัย แต่ไม่มีความพยายามยกเลิก กอ.รมน. ยังมีการออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล
ชวน, รัฐบาล
ทักษิณ ชินวัตร ต่ออายุกอ.รมน. และขยายอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ไปในเรื่องอื่นๆ เช่น ในสมัยนาย
ชวน ขยายเรื่องการดูแลป่า สมัยนาย
ทักษิณ มีปัญหายาบ้าระบาดก็ออกคำสั่งให้อำนาจ กอ.รมน.มาดูแลเรื่องการปราบยา ฝ่ายของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเองก็ไม่ตระหนักว่า กอ.รมน.ถูกใช้เป็นกลไกของกองทัพอย่างไรบ้างในทางการเมือง
●
โครงสร้าง กอ.รมน.
สมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ย้ายกอ.รมน.มาสังกัดนายกรัฐมนตรี โดยมีนายกฯ เป็นผอ.รมน. จึงเหมือนกับว่า กอ.รมน.เป็นหน่วยงานพลเรือน
แต่จริงๆ โครงสร้างภายในทั้งหมด ตำแหน่งสำคัญมาจากคนในกองทัพ เช่น เลขาธิการ รองผอ.รมน. รวมไปถึงระดับปฏิบัติการ เช่น ผอ.ระดับต่างๆ ล้วนมาจากทหารทั้งสิ้น ฉะนั้น กอ.รมน.ตั้งแต่ยุคก่อตั้งจนถึงปัจจุบันถูกควบคุมโดยกองทัพมาตลอด
●
การทำงานระหว่างกอ.รมน. กับกองทัพ
ตามหลักการแบ่งงานกันทำ กองทัพไม่มีอำนาจสั่งการหน่วยงานพลเรือน กอ.รมน.คือแขนขาอันหนึ่งของกองทัพ มีทหารเข้าไปกำหนดนโยบาย ได้รับมอบอำนาจมาตั้งแต่ยุคปราบคอมมิวนิสต์ สามารถประสานงานและสั่งการหน่วยงานพลเรือนอื่นๆ ภายใต้ขอบเขตความมั่นคงภายในประเทศ
ในแง่กำลังคน กอ.รมน.ไม่ใหญ่โต แต่สามารถสั่งงานไปที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงสาธารณสุขได้ เครือข่ายในระดับพื้นที่ที่ทำงานให้กับกอ.รมน.ที่สำคัญคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงมวลชนจัดตั้งในระดับท้องถิ่น
●
รูปแบบการระดมมวลชนจัดตั้งของกอ.รมน.
ทุกวันนี้กอ.รมน.ยังหาสมาชิกเพิ่ม สมาชิกเก่าก็ยังระดมมา มีการฝึก-อบรมเข้มข้นขึ้น มีโครงการต่างๆที่ฉีดผ่านมวลชนเหล่านี้เหมือนกัน หรือว่าการเพิ่มเงินเดือนให้หลายกลุ่มในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เช่น กลุ่มอาสาสมัครรักษาดินแดน และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน
กลุ่มมวลชนเหล่านี้ถูกเรียกเข้ามารับการอบรมจากกอ.รมน. เรื่องอุดมการณ์ของชาติ ให้เป็นหูเป็นตาหน่วยงานรัฐ คอยจับตาดูการเคลื่อนไหวโลกโซเชี่ยล มีสายข่าวความมั่นคง มีการต่อผ่านไลน์ เฟซบุ๊กเพื่อแจ้งข่าวให้กอ.รมน.ได้
พูดง่ายๆ ประชาชนถูกเปลี่ยนให้เป็นหูเป็นตา มีโครงการที่เรียกว่า โครงการ‘ตาสับปะรด’ สายข่าวความมั่นคงต่างๆ ตอนนี้ยังกระจายเครือข่ายกว้างขวางมาก ลงไประดับนักเรียนด้วย ทั้งระดับมัธยม อาชีวะ ถูกเรียกไปอบรมเพื่อทำงานเหล่านี้ให้กับรัฐ
ตัวเลขคนที่ผ่านมาอบรมเราหาตัวเลขที่นิ่งไม่ได้ มวลชนกอ.รมน.มี 2 ส่วน ส่วนที่เป็นสมาชิกสังกัดองค์กรชัดเจนยังพอนับได้ เพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่พวกที่ได้รับเงินเดือน มีตำแหน่งไม่เพิ่มเท่าไร
อีกส่วนคือคนที่เข้ารับการอบรม ข้อน่าสังเกตหนึ่งคือ ช่วงกำลังเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งและการทำประชามติรับรองรัฐธรรมนูญ ผบ.ทบ.ขณะนั้นออกมาบอกว่า กอ.รมน.สามารถระดมมวลชนของตัวเองประมาณ 5 แสนคน ให้เข้าร่วมการรณรงค์การทำประชามติได้ด้วย
การปฏิเสธรับการอบรมก็ทำได้ยาก กรณีที่เคยพบคือนักเรียนอาชีวะถูกส่งชื่อให้เข้ารับการอบรมทุกปี สถาบันละประมาณ 100 คน พวกเขาต้องยอมไป หรือบางครั้งกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านขอความร่วมมือให้ลูกบ้านเข้าอบรมให้ครบจำนวนที่ทางการขอมา ก็ต้องส่งไปร่วม
●
หลักสูตรหรืออุดมการณ์ที่ใช้อบรม
การอบรมที่เน้นเรื่องอุดมการณ์หลักของชาติความจริงแล้วเกิดขึ้นเข้มข้นในทุกกลไกของรัฐอยู่แล้ว
แต่การที่กอ.รมน.ลงไปทำคือการเน้นย้ำให้ประชาชนตระหนัก ข้อสำคัญคือการเน้นย้ำให้ประชาชนทำหน้าที่เป็นหูเป็นตา สอดส่องกันและกัน
ด้านหนึ่งเป็นการปรามไม่ให้มีการเคลื่อนไหวที่แตกต่างไปจากอุดมการณ์ของรัฐ แต่เวลาเป็นหูเป็นตาคือการดูความเคลื่อนไหวของประชาชนในพื้นที่ด้วย เช่น ในพื้นที่เสื้อแดงภาคเหนือ-อีสาน ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่กอ.รมน.ให้ความสำคัญ
หากพบว่ามีการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงช่วงต่างๆ เช่น การขึ้นศาลของน.ส.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็กลัวว่าจะมีคนเสื้อแดงมาชุมนุมที่กรุงเทพฯ กลไกเหล่านี้ก็จะส่งข้อมูลให้กับรัฐ เพื่อหาทางสกัดกั้น
หลายคนที่สัมภาษณ์บอกว่า ถึงเวลาก็จะมีคนโทร.เข้ามาถามว่าจะไปไหน จะทำอะไร ด้านหนึ่งเหมือนการเตือน
●
งบประมาณของกอ.รมน.
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ที่มีพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร ออกมา งบประมาณของ กอ.รมน.ก็เพิ่มขึ้นตลอด ตอนนี้ประมาณ 1.2 หมื่นล้านต่อปี ไม่ถือว่าเยอะมาก
แต่กอ.รมน.ใช้วิธีประสานงานของบจากหน่วยงานอื่น เช่น หากจัดการอบรมนักเรียน ยกตัวอย่าง
เบสต์-อรพิมพ์ รักษาผล พูดอบรมที่มหาสารคาม 3,000 คน ใช้งบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ กอ.รมน.มีหน้าที่เพียงเลือกนักพูดเข้าไป เป็นซอฟต์แวร์ เท่ากับกอ.รมน.ใช้งบกระทรวงศึกษาธิการทางอ้อม
●
อุดมการณ์อย่างไรที่จะถูกมองเป็นศัตรู กอ.รมน.
อำนาจหน้าที่ของกอ.รมน.ถูกขยายเพิ่มขึ้นจากยุคคอมมิวนิสต์ จากการอ่านเอกสารบอกว่า ปัญหาความมั่นคงภายในอันหนึ่งเกิดจากการแตกแยกทางความคิดของคนไทย ซึ่งกว้างมาก เขามองว่า ความแตกแยก ความแตกต่างทางความคิดทางการเมืองกำลังทำให้เกิดปัญหาความไม่มั่นคงภายใน แสดงว่า คุณเห็นคนที่คิดต่าง มีแนวทางการเมืองต่างจากคุณ ซึ่งไม่ใช่คอมมิวนิสต์ ไม่มีกลุ่มไหนที่เสนอว่า สังคมไทยควรเป็นคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม แต่เป็นการต่อสู้ทางประชาธิปไตย
กลุ่มที่มีแนวคิดแตกต่างจากรัฐบาลปัจจุบัน หรือรัฐบาลตั้งแต่การรัฐประหารตั้งแต่ปี 2519 คือการเรียกร้องเรื่องสิทธิเสรีภาพ เรื่องประชาธิปไตย กลุ่มคนเหล่านี้กำลังถูกมองเป็นฝ่ายสร้างความไม่มั่นคงให้กับชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตราย
ปัญหาคืออำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน.กว้างมาก แต่ทัศนคติการมองว่าการกระทำอะไรบ้างที่เป็นภัยความมั่นคงนั้นกลับคับแคบมาก
●
การแจ้งข้อหามาตรา 116 ต่อผู้นำฝ่ายค้าน-นักวิชาการในการเสวนาแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคใต้ สะท้อนอะไร
การใช้มาตรา 116 ข้อหายุยงปลุกปั่นที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาคสช.ใช้ข้อหานี้ในการฟ้องร้องจับกุมผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ผู้นำนักศึกษาหลายคน
เขาใช้อำนาจนี้จนลืมไปว่าเราเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยแล้ว สิ่งที่ผู้นำฝ่ายค้านพูดบนเวทีวันนั้นเขาพูดในบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย และพูดในฐานะส.ส. พูดถึงนโยบายที่สัญญากับประชาชนช่วงหาเสียงเลือกตั้ง เป็นการทำหน้าที่ผู้แทนฯจึงมีสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำได้อย่างเต็มที่
ขณะที่ กอ.รมน.ก็ออกมาบอกว่าฝ่ายตัวเองก็มีอำนาจหน้าที่เช่นกัน แต่เป็นการมองประเด็นความมั่นคงด้วยสายตาที่คับแคบมาก
●
การปฏิรูปกอ.รมน. กับการมีอยู่ของกอ.รมน.ในสังคมที่ต้องการประชาธิปไตย
ต้องปฏิรูปแน่ๆ แต่จะปฏิรูปอย่างไรก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมืองพิจารณารูปแบบการปฏิรูปอย่างไร ไทยมีหลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลความมั่นคงจำนวนมาก โดยเฉพาะในอดีตมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) มีบทบาทสำคัญ ขณะนี้สมช.หายไปเลย บทบาททหารนำโด่งขึ้นมาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่คอยกำหนดว่าเรื่องใดบ้างที่กระทบความมั่นคงภายใน
ความมั่นคงภายในเป็นเรื่องที่กว้างมาก เกี่ยวข้องกับการเมือง เศรษฐกิจ แต่เวลาตีความการกระทำอะไรที่กระทบความมั่นคงกลับคับแคบ และถูกผูกขาดโดยทหารอย่างชัดเจนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ถ้าจะมีการปฏิรูป หน่วยงานหรือกลุ่มคนที่จะเข้าไปกำหนดเรื่องความมั่นคงภายในต้องมีทัศนะที่กว้างไกล ทันโลก คำนึงถึงหลักสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยด้วย ไม่ใช่คิดแบบทหาร ใช้แนวคิดแบบทหารในการจัดการ ไม่เช่นนั้นจะเกิด Counterproductive ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองมากขึ้น
ในอนาคตหากฝ่ายประชาธิปไตย ฝ่ายพลเรือนมีอำนาจที่เข้มแข็งทางการเมืองมากขึ้น ก็ต้องปฏิรูป กอ.รมน. โดยคำนึงว่าไม่สามารถเอาเรื่องความมั่นคงของชาติไปอยู่ในมือของทหารเพียงลำพัง นี่คือหลักการสำคัญ
●
บทบาทกอ.รมน.ต่อกระบวนการยุติธรรม
ไม่เห็นว่ามีการเข้าไปแทรกแซงศาลโดยตรง แต่ช่วงประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เปิดช่องให้กอ.รมน.เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการไต่สวนของตำรวจได้ด้วย ซึ่งเป็นการใช้อำนาจทับซ้อน หลายกรณีกอ.รมน.เป็นผู้แจ้งข้อหา คนที่ฟ้องร้องไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการยุติธรรม
●
อำนาจของกอ.รมน.ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
กอ.รมน.มีอำนาจสูงอยู่แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการประกาศ กฎอัยการศึก และพ.ร.ก.ฉุกเฉินที่จะมีอำนาจเพิ่มขึ้นมาก ข้อสำคัญคือ การฟ้องร้องผู้นำฝ่ายค้านและนักวิชาการ คิดว่าสุดท้ายแล้วคนเหล่านี้อาจถูกนำขึ้นศาลทหารเพราะอยู่ในพื้นที่กฎอัยการศึก
ปัญหาอีกข้อคือในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้ามีบทบาทสูงมาก และเมื่อพูดถึงพื้นที่จังหวัดเชื่อว่าผู้ว่าฯ มีอำนาจสูงสุด แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่
มองในกรอบความมั่นคงภายใน ‘แม่ทัพภาค’คือคนที่มีอำนาจสูงที่สุด เพราะคือผอ.รมน. ระดับภาค ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของผอ.รมน.ระดับจังหวัด คือผู้ว่าฯ
หมายความว่า ผู้ว่าฯอยู่ใต้แม่ทัพภาค คือ ข้าราชการพลเรือน เข้าไปอยู่ภายใต้ข้าราชการทหาร ในกรณีที่เกี่ยวกับความมั่นคงภายใน
โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจะไม่ค่อยได้ยินเสียงผู้ว่าฯ แต่จะเห็นบทบาทของแม่ทัพภาคแทน
●
กอ.รมน.ถูกเรียกรัฐบาลน้อย และเสียงวิจารณ์ถ่ายโอน อำนาจจากคสช.
ไม่แน่ใจว่าถ่ายโอนอย่างไร อำนาจกอ.รมน.เยอะมากอยู่แล้วภายใต้พ.ร.บ.มั่นคง 2551 พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ชื่นชอบกอ.รมน.มาก สมัยเป็นผบ.ทบ.ก็เป็นรองผอ.รมน. มาเป็นนายกฯก็เรียกใช้งานกอ.รมน.เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำแผนปรองดอง แผนปฏิรูป และคงใช้งานต่อไป รวมถึงการฟ้องร้อง จับกุม การติดตามความเคลื่อนไหวฝ่ายเห็นต่าง
สังคมไทยปัจจุบันเหมือนอยู่ในยุค 1984 ในระดับท้องถิ่นมี เครือข่ายที่เฝ้าระวังจับตามอง ในพื้นที่โซเชี่ยลมีเดียก็มีคนที่ถูกฝึกมาให้คอยดูซึ่งไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่รัฐ แต่ยังมีมวลชนจัดตั้งด้วย เราอยู่ในยุคที่ถูกจับตามองโดยรัฐมากยิ่งขึ้น ประชาชนก็ต้องระวัง
JJNY : พวงทอง ภวัครพันธุ์ ชําแหละบทบาท‘กอ.รมน.’/อังคณาน้ำตาซึม ทัศนะความมั่นคงบิ๊กแดง ชี้สร้างความหวาดกลัว เรื่องคอมฯ
https://www.khaosod.co.th/hot-topics/news_2963570
พวงทอง ภวัครพันธุ์ ชําแหละบทบาท‘กอ.รมน.’ – หลังการแจ้งจับ 12 แกนนำฝ่ายค้านและนักวิชาการ ที่ร่วมในเวทีเสวนาการแก้รัฐธรรมนูญ ที่ จ.ปัตตานี ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทหน้าที่ของ กอ.รมน. หรือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อย่างกว้างขวาง
นางพวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาฯ ที่ทำวิจัยบทบาทกอ.รมน. จึงมีข้อมูลเพื่อประโยชน์ต่อการถกเถียง ดังนี้
● ที่มาของกอ.รมน.
กอ.รมน.ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2508 เป้าหมายคือการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ โดยการใช้แนวรุกทางการเมือง นอกจากการใช้กำลังทางการทหาร เช่น การจัดตั้งมวลชน การปลูกฝังอุดมการณ์ การพัฒนาชนบท
แต่จะเห็นว่าชื่อเสียงของ กอ.รมน.ในยุคปราบคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะช่วงที่ขบวนการนักศึกษา กรรมกรและชาวนาเข้มแข็ง กอ.รมน.มีชื่อทางการปราบปรามมากกว่าใช้แนวทางทางการเมือง เช่น กรณีถีบลงเขา เผาลงถังแดง เผาหมู่บ้านนาทราย หรือการจัดตั้งมวลชนฝ่ายขวา เป็นภาพลักษณ์กอ.รมน.ช่วงสงครามปราบคอมมิวนิสต์
● การเติบโตของกอ.รมน.
เมื่อพ.ร.บ.ป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ยกเลิกไป 2543 สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย แต่ไม่มีความพยายามยกเลิก กอ.รมน. ยังมีการออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลชวน, รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ต่ออายุกอ.รมน. และขยายอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ไปในเรื่องอื่นๆ เช่น ในสมัยนายชวน ขยายเรื่องการดูแลป่า สมัยนายทักษิณ มีปัญหายาบ้าระบาดก็ออกคำสั่งให้อำนาจ กอ.รมน.มาดูแลเรื่องการปราบยา ฝ่ายของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเองก็ไม่ตระหนักว่า กอ.รมน.ถูกใช้เป็นกลไกของกองทัพอย่างไรบ้างในทางการเมือง
● โครงสร้าง กอ.รมน.
สมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ย้ายกอ.รมน.มาสังกัดนายกรัฐมนตรี โดยมีนายกฯ เป็นผอ.รมน. จึงเหมือนกับว่า กอ.รมน.เป็นหน่วยงานพลเรือน
แต่จริงๆ โครงสร้างภายในทั้งหมด ตำแหน่งสำคัญมาจากคนในกองทัพ เช่น เลขาธิการ รองผอ.รมน. รวมไปถึงระดับปฏิบัติการ เช่น ผอ.ระดับต่างๆ ล้วนมาจากทหารทั้งสิ้น ฉะนั้น กอ.รมน.ตั้งแต่ยุคก่อตั้งจนถึงปัจจุบันถูกควบคุมโดยกองทัพมาตลอด
● การทำงานระหว่างกอ.รมน. กับกองทัพ
ตามหลักการแบ่งงานกันทำ กองทัพไม่มีอำนาจสั่งการหน่วยงานพลเรือน กอ.รมน.คือแขนขาอันหนึ่งของกองทัพ มีทหารเข้าไปกำหนดนโยบาย ได้รับมอบอำนาจมาตั้งแต่ยุคปราบคอมมิวนิสต์ สามารถประสานงานและสั่งการหน่วยงานพลเรือนอื่นๆ ภายใต้ขอบเขตความมั่นคงภายในประเทศ
ในแง่กำลังคน กอ.รมน.ไม่ใหญ่โต แต่สามารถสั่งงานไปที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงสาธารณสุขได้ เครือข่ายในระดับพื้นที่ที่ทำงานให้กับกอ.รมน.ที่สำคัญคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงมวลชนจัดตั้งในระดับท้องถิ่น
● รูปแบบการระดมมวลชนจัดตั้งของกอ.รมน.
ทุกวันนี้กอ.รมน.ยังหาสมาชิกเพิ่ม สมาชิกเก่าก็ยังระดมมา มีการฝึก-อบรมเข้มข้นขึ้น มีโครงการต่างๆที่ฉีดผ่านมวลชนเหล่านี้เหมือนกัน หรือว่าการเพิ่มเงินเดือนให้หลายกลุ่มในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เช่น กลุ่มอาสาสมัครรักษาดินแดน และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน
กลุ่มมวลชนเหล่านี้ถูกเรียกเข้ามารับการอบรมจากกอ.รมน. เรื่องอุดมการณ์ของชาติ ให้เป็นหูเป็นตาหน่วยงานรัฐ คอยจับตาดูการเคลื่อนไหวโลกโซเชี่ยล มีสายข่าวความมั่นคง มีการต่อผ่านไลน์ เฟซบุ๊กเพื่อแจ้งข่าวให้กอ.รมน.ได้
พูดง่ายๆ ประชาชนถูกเปลี่ยนให้เป็นหูเป็นตา มีโครงการที่เรียกว่า โครงการ‘ตาสับปะรด’ สายข่าวความมั่นคงต่างๆ ตอนนี้ยังกระจายเครือข่ายกว้างขวางมาก ลงไประดับนักเรียนด้วย ทั้งระดับมัธยม อาชีวะ ถูกเรียกไปอบรมเพื่อทำงานเหล่านี้ให้กับรัฐ
ตัวเลขคนที่ผ่านมาอบรมเราหาตัวเลขที่นิ่งไม่ได้ มวลชนกอ.รมน.มี 2 ส่วน ส่วนที่เป็นสมาชิกสังกัดองค์กรชัดเจนยังพอนับได้ เพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่พวกที่ได้รับเงินเดือน มีตำแหน่งไม่เพิ่มเท่าไร
อีกส่วนคือคนที่เข้ารับการอบรม ข้อน่าสังเกตหนึ่งคือ ช่วงกำลังเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งและการทำประชามติรับรองรัฐธรรมนูญ ผบ.ทบ.ขณะนั้นออกมาบอกว่า กอ.รมน.สามารถระดมมวลชนของตัวเองประมาณ 5 แสนคน ให้เข้าร่วมการรณรงค์การทำประชามติได้ด้วย
การปฏิเสธรับการอบรมก็ทำได้ยาก กรณีที่เคยพบคือนักเรียนอาชีวะถูกส่งชื่อให้เข้ารับการอบรมทุกปี สถาบันละประมาณ 100 คน พวกเขาต้องยอมไป หรือบางครั้งกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านขอความร่วมมือให้ลูกบ้านเข้าอบรมให้ครบจำนวนที่ทางการขอมา ก็ต้องส่งไปร่วม
● หลักสูตรหรืออุดมการณ์ที่ใช้อบรม
การอบรมที่เน้นเรื่องอุดมการณ์หลักของชาติความจริงแล้วเกิดขึ้นเข้มข้นในทุกกลไกของรัฐอยู่แล้ว
แต่การที่กอ.รมน.ลงไปทำคือการเน้นย้ำให้ประชาชนตระหนัก ข้อสำคัญคือการเน้นย้ำให้ประชาชนทำหน้าที่เป็นหูเป็นตา สอดส่องกันและกัน
ด้านหนึ่งเป็นการปรามไม่ให้มีการเคลื่อนไหวที่แตกต่างไปจากอุดมการณ์ของรัฐ แต่เวลาเป็นหูเป็นตาคือการดูความเคลื่อนไหวของประชาชนในพื้นที่ด้วย เช่น ในพื้นที่เสื้อแดงภาคเหนือ-อีสาน ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่กอ.รมน.ให้ความสำคัญ
หากพบว่ามีการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงช่วงต่างๆ เช่น การขึ้นศาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็กลัวว่าจะมีคนเสื้อแดงมาชุมนุมที่กรุงเทพฯ กลไกเหล่านี้ก็จะส่งข้อมูลให้กับรัฐ เพื่อหาทางสกัดกั้น
หลายคนที่สัมภาษณ์บอกว่า ถึงเวลาก็จะมีคนโทร.เข้ามาถามว่าจะไปไหน จะทำอะไร ด้านหนึ่งเหมือนการเตือน
● งบประมาณของกอ.รมน.
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ที่มีพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร ออกมา งบประมาณของ กอ.รมน.ก็เพิ่มขึ้นตลอด ตอนนี้ประมาณ 1.2 หมื่นล้านต่อปี ไม่ถือว่าเยอะมาก
แต่กอ.รมน.ใช้วิธีประสานงานของบจากหน่วยงานอื่น เช่น หากจัดการอบรมนักเรียน ยกตัวอย่าง เบสต์-อรพิมพ์ รักษาผล พูดอบรมที่มหาสารคาม 3,000 คน ใช้งบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ กอ.รมน.มีหน้าที่เพียงเลือกนักพูดเข้าไป เป็นซอฟต์แวร์ เท่ากับกอ.รมน.ใช้งบกระทรวงศึกษาธิการทางอ้อม
● อุดมการณ์อย่างไรที่จะถูกมองเป็นศัตรู กอ.รมน.
อำนาจหน้าที่ของกอ.รมน.ถูกขยายเพิ่มขึ้นจากยุคคอมมิวนิสต์ จากการอ่านเอกสารบอกว่า ปัญหาความมั่นคงภายในอันหนึ่งเกิดจากการแตกแยกทางความคิดของคนไทย ซึ่งกว้างมาก เขามองว่า ความแตกแยก ความแตกต่างทางความคิดทางการเมืองกำลังทำให้เกิดปัญหาความไม่มั่นคงภายใน แสดงว่า คุณเห็นคนที่คิดต่าง มีแนวทางการเมืองต่างจากคุณ ซึ่งไม่ใช่คอมมิวนิสต์ ไม่มีกลุ่มไหนที่เสนอว่า สังคมไทยควรเป็นคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม แต่เป็นการต่อสู้ทางประชาธิปไตย
กลุ่มที่มีแนวคิดแตกต่างจากรัฐบาลปัจจุบัน หรือรัฐบาลตั้งแต่การรัฐประหารตั้งแต่ปี 2519 คือการเรียกร้องเรื่องสิทธิเสรีภาพ เรื่องประชาธิปไตย กลุ่มคนเหล่านี้กำลังถูกมองเป็นฝ่ายสร้างความไม่มั่นคงให้กับชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตราย
ปัญหาคืออำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน.กว้างมาก แต่ทัศนคติการมองว่าการกระทำอะไรบ้างที่เป็นภัยความมั่นคงนั้นกลับคับแคบมาก
● การแจ้งข้อหามาตรา 116 ต่อผู้นำฝ่ายค้าน-นักวิชาการในการเสวนาแก้รัฐธรรมนูญที่ภาคใต้ สะท้อนอะไร
การใช้มาตรา 116 ข้อหายุยงปลุกปั่นที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาคสช.ใช้ข้อหานี้ในการฟ้องร้องจับกุมผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ผู้นำนักศึกษาหลายคน
เขาใช้อำนาจนี้จนลืมไปว่าเราเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยแล้ว สิ่งที่ผู้นำฝ่ายค้านพูดบนเวทีวันนั้นเขาพูดในบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย และพูดในฐานะส.ส. พูดถึงนโยบายที่สัญญากับประชาชนช่วงหาเสียงเลือกตั้ง เป็นการทำหน้าที่ผู้แทนฯจึงมีสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำได้อย่างเต็มที่
ขณะที่ กอ.รมน.ก็ออกมาบอกว่าฝ่ายตัวเองก็มีอำนาจหน้าที่เช่นกัน แต่เป็นการมองประเด็นความมั่นคงด้วยสายตาที่คับแคบมาก
● การปฏิรูปกอ.รมน. กับการมีอยู่ของกอ.รมน.ในสังคมที่ต้องการประชาธิปไตย
ต้องปฏิรูปแน่ๆ แต่จะปฏิรูปอย่างไรก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมืองพิจารณารูปแบบการปฏิรูปอย่างไร ไทยมีหลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลความมั่นคงจำนวนมาก โดยเฉพาะในอดีตมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) มีบทบาทสำคัญ ขณะนี้สมช.หายไปเลย บทบาททหารนำโด่งขึ้นมาในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่คอยกำหนดว่าเรื่องใดบ้างที่กระทบความมั่นคงภายใน
ความมั่นคงภายในเป็นเรื่องที่กว้างมาก เกี่ยวข้องกับการเมือง เศรษฐกิจ แต่เวลาตีความการกระทำอะไรที่กระทบความมั่นคงกลับคับแคบ และถูกผูกขาดโดยทหารอย่างชัดเจนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
ถ้าจะมีการปฏิรูป หน่วยงานหรือกลุ่มคนที่จะเข้าไปกำหนดเรื่องความมั่นคงภายในต้องมีทัศนะที่กว้างไกล ทันโลก คำนึงถึงหลักสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยด้วย ไม่ใช่คิดแบบทหาร ใช้แนวคิดแบบทหารในการจัดการ ไม่เช่นนั้นจะเกิด Counterproductive ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองมากขึ้น
ในอนาคตหากฝ่ายประชาธิปไตย ฝ่ายพลเรือนมีอำนาจที่เข้มแข็งทางการเมืองมากขึ้น ก็ต้องปฏิรูป กอ.รมน. โดยคำนึงว่าไม่สามารถเอาเรื่องความมั่นคงของชาติไปอยู่ในมือของทหารเพียงลำพัง นี่คือหลักการสำคัญ
● บทบาทกอ.รมน.ต่อกระบวนการยุติธรรม
ไม่เห็นว่ามีการเข้าไปแทรกแซงศาลโดยตรง แต่ช่วงประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เปิดช่องให้กอ.รมน.เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการไต่สวนของตำรวจได้ด้วย ซึ่งเป็นการใช้อำนาจทับซ้อน หลายกรณีกอ.รมน.เป็นผู้แจ้งข้อหา คนที่ฟ้องร้องไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการยุติธรรม
● อำนาจของกอ.รมน.ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
กอ.รมน.มีอำนาจสูงอยู่แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการประกาศ กฎอัยการศึก และพ.ร.ก.ฉุกเฉินที่จะมีอำนาจเพิ่มขึ้นมาก ข้อสำคัญคือ การฟ้องร้องผู้นำฝ่ายค้านและนักวิชาการ คิดว่าสุดท้ายแล้วคนเหล่านี้อาจถูกนำขึ้นศาลทหารเพราะอยู่ในพื้นที่กฎอัยการศึก
ปัญหาอีกข้อคือในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้ามีบทบาทสูงมาก และเมื่อพูดถึงพื้นที่จังหวัดเชื่อว่าผู้ว่าฯ มีอำนาจสูงสุด แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่
มองในกรอบความมั่นคงภายใน ‘แม่ทัพภาค’คือคนที่มีอำนาจสูงที่สุด เพราะคือผอ.รมน. ระดับภาค ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของผอ.รมน.ระดับจังหวัด คือผู้ว่าฯ
หมายความว่า ผู้ว่าฯอยู่ใต้แม่ทัพภาค คือ ข้าราชการพลเรือน เข้าไปอยู่ภายใต้ข้าราชการทหาร ในกรณีที่เกี่ยวกับความมั่นคงภายใน
โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจะไม่ค่อยได้ยินเสียงผู้ว่าฯ แต่จะเห็นบทบาทของแม่ทัพภาคแทน
● กอ.รมน.ถูกเรียกรัฐบาลน้อย และเสียงวิจารณ์ถ่ายโอน อำนาจจากคสช.
ไม่แน่ใจว่าถ่ายโอนอย่างไร อำนาจกอ.รมน.เยอะมากอยู่แล้วภายใต้พ.ร.บ.มั่นคง 2551 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ชื่นชอบกอ.รมน.มาก สมัยเป็นผบ.ทบ.ก็เป็นรองผอ.รมน. มาเป็นนายกฯก็เรียกใช้งานกอ.รมน.เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำแผนปรองดอง แผนปฏิรูป และคงใช้งานต่อไป รวมถึงการฟ้องร้อง จับกุม การติดตามความเคลื่อนไหวฝ่ายเห็นต่าง
สังคมไทยปัจจุบันเหมือนอยู่ในยุค 1984 ในระดับท้องถิ่นมี เครือข่ายที่เฝ้าระวังจับตามอง ในพื้นที่โซเชี่ยลมีเดียก็มีคนที่ถูกฝึกมาให้คอยดูซึ่งไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่รัฐ แต่ยังมีมวลชนจัดตั้งด้วย เราอยู่ในยุคที่ถูกจับตามองโดยรัฐมากยิ่งขึ้น ประชาชนก็ต้องระวัง