ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมาตั้งแต่ก่อนเริ่มเปิดประมูล นึกดีใจที่ชาตินี้จะได้มีวาสนาได้นั่งรถไฟไฮสปีดในบ้านเราเสียที ไม่ต้องระเห็ดไปนั่งถึงต่างประเทศ แต่ดูท่าทีแล้ว ฝันอาจจะสลายเมื่อรัฐบาลลุงตู่ เวอร์ชั่น 2 นี้ ปิดดีลโครงการนี้ไม่ลง และมีแนวโน้มว่าจะยืดเยื้อไปอีกยาว
ต้องยอมรับว่าในสมัยรัฐบาลลุงตู่เวอร์ชั่น 1 ทำให้ประชาชนตาดำๆ ที่เฝ้าติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเมกะโปรเจกต์ต่างๆหัวใจพองโต ด้วยการให้ความหวังว่าประเทศไทยจะมีเครื่องจักรทางเศรษฐกิจตัวใหม่ ในนาม "อีอีซี" ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจของบ้านเราให้โตขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งขณะนั้นแม่ทัพเศรษฐกิจอย่าง ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ก็มุ่งมั่นเดินสายโปรโมทโครงการอีอีซี ชักชวนนักลงทุนจากทั่วโลกให้มาลงทุนในประเทศไทย กันคึกคัก มีนักลงทุนต่างชาติมาดูงานบ้านเรามากหน้าหลายตา
แต่เพียงชั่วเวลาไม่นานหลังจากมีการเลือกตั้ง และจัดทัพรัฐบาลใหม่ แม้จะเป็นรัฐบาลลุงตู่เหมือนเดิม แต่การโยกย้ายสลับเปลี่ยนตำแหน่งดูไม่ค่อยจะลงตัว เมื่ออำนาจจึงถูกเปลี่ยนมือ จึงส่งผลกระทบอย่างจังกับโครงการอีอีซี ดูอย่างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินตอนนี้ปะไร ได้ผู้ชนะมาร่วมปี แต่ยังไม่สามารถจบดีลเซ็นสัญญาได้สักที
ทีแรกก็นึกตะหงิดใจว่า CPH ที่นำโดยเจ้าสัวธนินท์ แห่งซีพี ผู้ชนะการประมูล น่าจะเป็นฝ่ายยึกยัก ยืดเยื้อเองหรือเปล่า แต่เมื่อข้อมูลจากสื่อต่างๆที่เกาะติดโครงการนี้ คุ้ยแคะไส้ในของโครงการนี้ออกมาเป็นระลอก ยิ่งสาวยิ่งเจอปมต่างๆ ลึกลับซับซ้อนกว่าฉากหน้าที่เห็น โดยเฉพาะเมื่อย้อนไปอ่านที่คุณศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีคมนาคม คุณอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและรัฐมนตรีสาธารณสุข พรรคภูมิใจไทย ที่มีการให้สัมภาษณ์ดุเดือดมาหลายรอบ ว่ากำหนดเส้นตายที่ CPH จะมาลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูง คือวันที่ 15 ตุลาคมเท่านั้น หากว่า ไม่มาเซ็นสัญญาตามนัด จะถือว่าผิดสัญญา แถมขู่ฟ่อๆว่าจะริบเงินประกัน 2,000 ล้านบาท และจะขึ้นบัญชีดำอีก
แต่จู่ๆ คุณศักดิ์สยาม กลับเป็นผู้ผิดนัดเสียเอง แถลงข่าววันต่อมาว่าต้องเลื่อนการเซ็นสัญญาออกไปก่อน อาจจะเป็นวันที่ 25 ตุลาคม หรือไม่ก็ได้ กลายเป็นหนังคนละม้วนไปเลย โดยสาเหตุที่เลื่อน คุณศักดิ์สยาม บอกกับสื่อว่า ก็เพราะผลการเจรจาร่างสัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญาครั้งล่าสุด มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากบอร์ดรถไฟ
ทางคณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงนัด กลุ่ม CPH ไปลงนามสัญญาอีกครั้ง อาจจะเป็นวันที่ 25 ตุลาคม หรือไม่ก็ได้ เป็นอำนาจของคณะกรรมการคัดเลือกฯที่จะเลือกวันเวลาที่เหมาะสม แต่วันลงนามสัญญาต้องไม่เกินวันที่ 7 พฤศจิกายน ซึ่งเป็น วันสุดท้ายที่กลุ่ม CPH ยืนราคา ไม่มีการขีดเส้นตายเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา
ก็ไม่รู้ว่าถึงวันเวลาดังกล่าว CPH จะยอมจรดปากการเซ็นสัญญาหรือไม่ ไม่มีใครสามารถบอกได้ ซึ่งปัญหาใหญ่ที่ยังไม่ยอมลงนามเสียทีทั้งที่โดนบีบจากรัฐทุกวิถีทางนั้น ก็ยังคงเป็นเรื่องการส่งมอบพื้นที่ของ รฟท.ที่ไม่สามารถให้ความเชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ให้ได้ทั้งหมด แม้คุณศักดิ์สยาม จะให้สัมภาษณ์ว่า การส่งมอบพื้นที่ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2–3 ปี หากไม่ทันจะเปิดให้มีการขยายเวลาได้อยู่แล้ว แต่ในสัญญากำหนดให้ก่อสร้างเสร็จใน 5 ปี ปีที่ 6–15 รัฐจึงจะทยอยผ่อนจ่ายให้เป็นเวลา 10 ปี ถ้าต้องขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีกปีสองปี เพราะเหตุรัฐส่งมอบพื้นที่ให้ไม่ได้ เอกชนก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ 2 แสนกว่าล้านบาทเพิ่มขึ้นอีกมากเลยทีเดียว
ขณะเดียวกันก็ย้อนกลับไปฟังคำสัมภาษณ์ของเจ้าสัวธนินท์ เมื่อครั้นออกงานเปิดตัวหนังสือ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว Exclusive Talk” แกพูดถึงเรื่องรถไฟความเร็วสูง บางช่วงบางตอน ว่า
"CP มีนโยบายจะไม่ลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยง มากกว่า 30% แต่กรณีของโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน ประกอบด้วย สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา มองว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยง แต่มีโอกาสสำเร็จได้ ถ้ารัฐบาลมีความเข้าใจ"
นี้น่าจะทำให้หลายๆคนตีความประโยคทองนี้ไปได้หลายรูปแบบ แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบซีพีเป็นทุนเดิม และไม่เข้าใจบริบทที่เอกชนกำลังเผชิญเรื่องรถไฟไฮสปีด ก็คงจะยิ่งตีความไปในทางลบมากขึ้น แต่สำหรับคนที่ติดตามความเคลื่อนไหวและเอาใจช่วยโครงการรถไฟความเร็วสูงสายนี้มาตั้งแต่ต้น คงได้แต่บอกว่าเรื่องนี้เอกชนเข้ามาเป็นเบี้ยตัวหนึ่งในเกมส์การเมืองเท่านั้น เรื่องนี้จะจบอย่างไร ต้องติดตามห้ามกระพริบตา ?
ไฮสปีดเชื่อมสนามบิน...ตอนจบจะเป็นอย่างไร หากนักการเมืองไทยยังบู๊กันไม่จบ!!
ต้องยอมรับว่าในสมัยรัฐบาลลุงตู่เวอร์ชั่น 1 ทำให้ประชาชนตาดำๆ ที่เฝ้าติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเมกะโปรเจกต์ต่างๆหัวใจพองโต ด้วยการให้ความหวังว่าประเทศไทยจะมีเครื่องจักรทางเศรษฐกิจตัวใหม่ ในนาม "อีอีซี" ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจของบ้านเราให้โตขึ้นแบบก้าวกระโดด ซึ่งขณะนั้นแม่ทัพเศรษฐกิจอย่าง ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ก็มุ่งมั่นเดินสายโปรโมทโครงการอีอีซี ชักชวนนักลงทุนจากทั่วโลกให้มาลงทุนในประเทศไทย กันคึกคัก มีนักลงทุนต่างชาติมาดูงานบ้านเรามากหน้าหลายตา
แต่เพียงชั่วเวลาไม่นานหลังจากมีการเลือกตั้ง และจัดทัพรัฐบาลใหม่ แม้จะเป็นรัฐบาลลุงตู่เหมือนเดิม แต่การโยกย้ายสลับเปลี่ยนตำแหน่งดูไม่ค่อยจะลงตัว เมื่ออำนาจจึงถูกเปลี่ยนมือ จึงส่งผลกระทบอย่างจังกับโครงการอีอีซี ดูอย่างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินตอนนี้ปะไร ได้ผู้ชนะมาร่วมปี แต่ยังไม่สามารถจบดีลเซ็นสัญญาได้สักที
ทีแรกก็นึกตะหงิดใจว่า CPH ที่นำโดยเจ้าสัวธนินท์ แห่งซีพี ผู้ชนะการประมูล น่าจะเป็นฝ่ายยึกยัก ยืดเยื้อเองหรือเปล่า แต่เมื่อข้อมูลจากสื่อต่างๆที่เกาะติดโครงการนี้ คุ้ยแคะไส้ในของโครงการนี้ออกมาเป็นระลอก ยิ่งสาวยิ่งเจอปมต่างๆ ลึกลับซับซ้อนกว่าฉากหน้าที่เห็น โดยเฉพาะเมื่อย้อนไปอ่านที่คุณศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีคมนาคม คุณอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและรัฐมนตรีสาธารณสุข พรรคภูมิใจไทย ที่มีการให้สัมภาษณ์ดุเดือดมาหลายรอบ ว่ากำหนดเส้นตายที่ CPH จะมาลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูง คือวันที่ 15 ตุลาคมเท่านั้น หากว่า ไม่มาเซ็นสัญญาตามนัด จะถือว่าผิดสัญญา แถมขู่ฟ่อๆว่าจะริบเงินประกัน 2,000 ล้านบาท และจะขึ้นบัญชีดำอีก
แต่จู่ๆ คุณศักดิ์สยาม กลับเป็นผู้ผิดนัดเสียเอง แถลงข่าววันต่อมาว่าต้องเลื่อนการเซ็นสัญญาออกไปก่อน อาจจะเป็นวันที่ 25 ตุลาคม หรือไม่ก็ได้ กลายเป็นหนังคนละม้วนไปเลย โดยสาเหตุที่เลื่อน คุณศักดิ์สยาม บอกกับสื่อว่า ก็เพราะผลการเจรจาร่างสัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญาครั้งล่าสุด มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากบอร์ดรถไฟ
ทางคณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงนัด กลุ่ม CPH ไปลงนามสัญญาอีกครั้ง อาจจะเป็นวันที่ 25 ตุลาคม หรือไม่ก็ได้ เป็นอำนาจของคณะกรรมการคัดเลือกฯที่จะเลือกวันเวลาที่เหมาะสม แต่วันลงนามสัญญาต้องไม่เกินวันที่ 7 พฤศจิกายน ซึ่งเป็น วันสุดท้ายที่กลุ่ม CPH ยืนราคา ไม่มีการขีดเส้นตายเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา
ก็ไม่รู้ว่าถึงวันเวลาดังกล่าว CPH จะยอมจรดปากการเซ็นสัญญาหรือไม่ ไม่มีใครสามารถบอกได้ ซึ่งปัญหาใหญ่ที่ยังไม่ยอมลงนามเสียทีทั้งที่โดนบีบจากรัฐทุกวิถีทางนั้น ก็ยังคงเป็นเรื่องการส่งมอบพื้นที่ของ รฟท.ที่ไม่สามารถให้ความเชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ให้ได้ทั้งหมด แม้คุณศักดิ์สยาม จะให้สัมภาษณ์ว่า การส่งมอบพื้นที่ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2–3 ปี หากไม่ทันจะเปิดให้มีการขยายเวลาได้อยู่แล้ว แต่ในสัญญากำหนดให้ก่อสร้างเสร็จใน 5 ปี ปีที่ 6–15 รัฐจึงจะทยอยผ่อนจ่ายให้เป็นเวลา 10 ปี ถ้าต้องขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีกปีสองปี เพราะเหตุรัฐส่งมอบพื้นที่ให้ไม่ได้ เอกชนก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ 2 แสนกว่าล้านบาทเพิ่มขึ้นอีกมากเลยทีเดียว
ขณะเดียวกันก็ย้อนกลับไปฟังคำสัมภาษณ์ของเจ้าสัวธนินท์ เมื่อครั้นออกงานเปิดตัวหนังสือ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว Exclusive Talk” แกพูดถึงเรื่องรถไฟความเร็วสูง บางช่วงบางตอน ว่า "CP มีนโยบายจะไม่ลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยง มากกว่า 30% แต่กรณีของโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน ประกอบด้วย สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา มองว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยง แต่มีโอกาสสำเร็จได้ ถ้ารัฐบาลมีความเข้าใจ"