เปิดตัวหนังสือ
‘โฮโมดีอุส ประวัติย่อของวันพรุ่งนี้’
“เริ่มต้นเมื่อมนุษย์สร้างพระเจ้าขึ้นมา จบลงเมื่อมนุษย์ต้องการเป็นพระเจ้าเสียเอง”
วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2562 เวลา 13.00-17.00 น. ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน
หลังจากที่สำนักพิมพ์ยิปซีตีพิมพ์หนังสือ
‘เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ’ (Sapiens: A Brief History of Humankind) ผลงานของ ยูวัล โนอาห์ แฮรารี ศาสตราจารย์ประจำคณะประวัติศาสตร์ที่ Hebrew University of Jerusalem ซึ่งเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์ยุคกลาง และประวัติศาสตร์ทางทหาร และได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีจากนักอ่าน รวมทั้งบุคลากรในแวดวงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านมานุษยวิทยา สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ และเป็นการจุดประเด็นคำถามที่ว่า “มนุษย์เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร” จนกระทั่งเกิดการพูดถึงหนังสือเล่มนี้ในแง่มุมต่างๆ อย่างกว้างขวาง
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ยิปซีจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มที่ 3 ของยูวัล โนอาห์ แฮรารี ‘
21 บทเรียนสำหรับศตวรรษที่ 21’ (21 Lessons for the 21st Century) ที่พูดถึงวิกฤตและ 21 บทเรียนที่เราต้องเผชิญและข้ามผ่านในศตวรรษที่ 21 หนังสือเล่มนี้ได้รับเสียงชื่นชมจากผู้อ่านว่าเป็นเสมือนคู่มือในการรู้เท่าทันวิกฤตและนำบทเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิต
อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้อดีตทำให้เรารู้ความเป็นมาของเผ่าพันธุ์เรา การอยู่กับปัจจุบันทำให้เรามองเห็นทางออกเพื่อเผชิญวิกฤต และการรู้เท่าทันอนาคตทำให้เรามองเห็นสิ่งที่รออยู่เบื้องหน้าว่าเราจะต้องเดินไปในทิศทางใด ดังนั้นสำนักพิมพ์ยิปซีจึงได้นำเสนอผลงานสร้างชื่อเล่มสุดท้ายในซีรีส์ของยูวัล นั่นคือ ‘โฮโมดีอุส ประวัติย่อของวันพรุ่งนี้’ (Homo Deus: A Brief History of Tomorrow) ที่จะทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ การรับมือกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตลอดจนถึงการเข้าใจตัวตนว่าเราสวมบทบาทใดในโลกใบนี้ และ ‘มนุษย์’ ตัวเล็กๆ อย่างเราทำอะไรกับอนาคตได้บ้าง
ยูวัล นักวิชาการประวัติศาสตร์วัย 40 ผู้สนใจการค้นหาตัวตนภายใน และใช้เวลาปีละไม่ต่ำกว่า 30 วันในการปฏิบัติธรรม ใช้ชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า ‘Homo Deus’ หรือ ‘Human God’ เพื่อสะท้อนให้เห็น คอนเซปต์สำคัญที่ว่า จากเผ่าพันธุ์วานรสองขาที่มีความสามารถในการ ‘แต่งเรื่อง’ เรากำลังก้าวข้ามขอบเขตไปสู่การทำตัวเสมือนพระเจ้าซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั่นเอง
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงอย่างเดียวที่ครองโลกได้ในระยะเวลาอันสั้น เราก้าวกระโดดเข้าสู่โลกของนวัตกรรมและเทคโนโลยี และใช้องค์ความรู้เหล่านี้ในการเขียนแผนที่ของโลกขึ้นใหม่ เราจัดการกับปัญหาสำคัญของมนุษย์ในศตวรรษที่ 16 อย่างการขาดแคลนอาหารและโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนในยุโรปนับล้านต่อปี เราสามารถยับยั้งเชื้อกาฬโรคที่แพร่ระบาดทั่วยุโรปและเอเชียในศตวรรษที่ 13 ฯลฯ เราใช้วิทยาการด้านการแพทย์จัดการกับโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ความก้าวหน้าทางการแพทย์ก็ทำให้มนุษย์มีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น อย่างไรก็ตาม มนุษย์เรายังต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บชนิดใหม่ๆ อาทิ มีคนมากมายที่เสียชีวิตจากการบริโภคอาหารมากเกินไป เสียชีวิตจากโรคชรามากกว่าการติดเชื้อจากโรคร้าย มีการฆ่าตัวตายมากกว่าที่เสียชีวิตจากสงคราม ผู้ก่อการร้าย หรืออาชญากรรม หรือกระทั่งในสหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิตจากการกินอาหารขยะมากกว่าระเบิดพลีชีพของกลุ่มอัลกออิดะฮ์เสียอีก
ถึงอย่างนั้นมนุษย์ก็ยังมีความเชื่อว่าพวกเราสามารถ ‘แต่ง’ เรื่องราวในอนาคตของเราเองด้วย เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างไร้ข้อจำกัด ที่นับวันจะเดินสวนทางกับแนวคิดทางด้านศีลธรรม ในขณะที่มนุษย์มองว่าผู้สั่งสมเทคโนโลยีและอยู่เหนือทุนนิยมคือผู้ที่มีอำนาจ เรากลับละเลยสิ่งที่อยู่ภายใน เราลืมไปว่าวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบคำถามได้ทุกอย่าง เรายังต้องมี ‘ชุดศีลธรรม’ เพื่อตัดสินใจในเรื่องที่ละเอียดอ่อน อย่างเช่น ผลประโยชน์ส่วนรวม ชีวิต หรือกระทั่งความเป็นความตาย
ยูวัลนำเสนอภาพอนาคตอันใกล้ให้เราเห็นว่า ในวันที่เราใช้ ‘เทคโนโลยี’ ในการขับเคลื่อนโลก อาทิ การที่เราพึ่งพา ‘อัลกอริทึม’ ในคอมพิวเตอร์จนกลายเป็นปัจจัยที่ห้าของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้โดรน รถยนต์ไร้คนขับ การเขียนเพลง แต่งนวนิยาย สร้างภาพจำลองสามมิติ เอไอ หรือกระทั่งการสร้างอวัยวะเทียม... แต่หากเราขาด ‘ชุดศีลธรรม’ (moral code) ในการวิเคราะห์ปัญหา อนาคตที่นำโดย ‘มนุษย์’ ที่ต้องการก้าวสู่ความเป็น ‘พระเจ้า’ จะเดินไปในทิศทางใด
นี่คือหนังสือที่สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลกไม่แพ้ Sapiens: A Brief History of Humankind ซึ่งทำให้บุคคลสำคัญระดับโลกอย่าง บิล เกตส์ และมาร์ก ซัคเคอร์เบิร์กต้องหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับเอไอ มากล่าวถึงมากขึ้นหลังจากที่ทั้งคู่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้
มาร่วมตั้งคำถามและค้นหาคำตอบว่าด้วยอนาคตของมนุษยชาติร่วมกัน ใน ‘โฮโมดีอุส: ประวัติย่อของวันพรุ่งนี้’ ผลงานมาสเตอร์พีซอีกเล่มของยูวัล โนอาห์ แฮรารี ที่แปลไปแล้วกว่า 50 ประเทศ และทำยอดขายกว่าหลายล้านเล่มทั่วโลก
เกี่ยวกับผู้เขียน
ยูวัล โนอาห์ แฮรารี (Yuval Noah Harari) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวยิวที่เกิดและเติบโตในประเทศอิสราเอล ปัจจุบันมีอายุ 41 ปี เป็นผู้เขียนหนังสือขายดีระดับนานาชาติอย่าง Sapiens: A Brief History of Humankind และ Homo Deus: A Brief History of Tomorrow
แฮรารี เรียนจบทั้งปริญญาตรี โท และเอกด้านประวัติศาสตร์ หลังจากจบปริญญาเอกเมื่อปี พ.ศ. 2545 ก็มาเป็นนักวิจัย (ทำ Postdoctoral) ร่วมกับ Yad Hanadiv หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ Rothschild Foundation
ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจำคณะประวัติศาสตร์ที่ Hebrew University of Jerusalem ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่จบปริญญาตรีและโท ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์ยุคกลาง และประวัติศาสตร์ทางทหาร
@@@@@
เกี่ยวกับผู้แปล
ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยได้รับ ปริญญาตรีสาขาชีววิทยา จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทสาขาชีวเคมี จากภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และปริญญาเอกสาขาอณูพันธุศาสตร์ (Molecular Genetics) จาก Kumamoto University ประเทศญี่ปุ่น
ในอดีตทำงานในฐานะ ‘นักวิจัย’ ในศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แต่ปัจจุบันเป็น ‘นักสื่อสารวิทยาศาสตร์’ ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์ สวทช. โดยมีภารกิจหลักคือ การสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ ทำให้คนไทยเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งรู้สึกสนุกและสนใจอยากเรียนรู้เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการเขียนบทความ จัดทำสคริปต์รายการ ทำอินโฟกราฟิก และวิดีโอรายการวิทยาศาสตร์ต่างๆ เพื่อนำผลงานวิจัยและความรู้ทั่วไปด้านวิทยาศาสตร์ไปสู่คนไทยในวงกว้าง นอกจากนี้ยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในผู้จัดอีเวนต์หรือการประกวดต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ ครอบคลุมด้านเมกเกอร์ อวกาศ และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เช่น การประกวด FameLab
ดร.นำชัย มีงานเขียนและงานแปลอยู่อย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันมีหนังสือที่เขียน แปล หรือร่วมเขียนและแปล กับผู้อื่นมากกว่า 30 เล่ม สำหรับงานเขียนเคยมีคอลัมน์ในนิตยสารต่างๆ หลายหัว ปัจจุบันยังเขียนให้กับคอลัมน์ ‘โลกในมือคุณ’ ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และคอลัมน์ ‘วิทย์คิดไม่ถึง’ ในนิตยสารสารคดี สำหรับงานแปลระดับมาสเตอร์พีซ เช่น กำเนิดสปีชีส์ ของชาร์ลส์ ดาร์วิน (นำชัย ชีววิวรรธน์และคณะ, 2558, สำนักพิมพ์สารคดี) และ คอสมอส ของคาร์ล เซแกน (นำชัย ชีววิวรรธน์และคณะ, 2560, สำนักพิมพ์สารคดี) ส่วนงานเขียนรวมเล่มล่าสุดคือ ชุด ‘เธอ’ ประกอบด้วยเรื่อง อย่าชวนเธอไปดูหนังรัก และ อยากชวนเธอไปอำผี (2560, สำนักพิมพ์มติชน) หนังสือ สู่ชีวิตอมตะ (เทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์ศตวรรษที่ 21) (2545, สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด) ของดร.นำชัย ติดอยู่ในบัญชีรายชื่อ ‘100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์’ ที่เขียนขึ้นโดยคนไทยและตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2537-2548 ที่คัดเลือกจากหนังสือวิทยาศาสตร์กว่า 700 เล่ม
นอกจากที่กล่าวไปแล้ว ยังเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ อย่างหลากหลายหัวข้อ รวมไปถึงด้านการเขียนและบรรณาธิการบทความวิทยาศาสตร์และหนังสือวิทยาศาสตร์อีกด้วย
@@@@@
เกี่ยวกับผู้แปล
ธิดา จงนิรามัยสถิต เป็นวิศวกรผู้หลงรักตัวอักษร เคยลังเลอยู่ระหว่างวิศวกรรมศาสตร์หรืออักษรศาสตร์ แต่ในที่สุดก็ได้สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์จากรั้วจามจุรี ต่อด้วยปริญญาโทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจาก มจธ. ได้ทำงานในสายวิชาชีพวิศวกรเป็นเวลา 11 ปีเต็ม เป็นผู้ชำนาญการด้านระบบอาคารอัตโนมัติและการจัดการพลังงาน รวมถึงเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ก่อนจะออกมาตั้งบริษัทซอฟต์แวร์ของตนเองด้านการบริหารทรัพยากรอาคารและการจัดการข้อมูลพลังงาน
ปัจจุบันได้ทำทั้งงานด้านวิศวกรรมศาสตร์และอักษรศาสตร์ โดยมีงานอดิเรกเป็นอาสาสมัครเขียนและแปลบทความในสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดียภาคภาษาไทย เป็นผู้ดูแลสถานีย่อยดาราศาสตร์กับสถานีย่อยโลกวรรณศิลป์ มีผลงานแปลหนังสือออกมาแล้วหลายเล่ม เช่น วิถีแมนเดลา (2553, โพสต์บุ๊กส์) โลกที่เต็มไปด้วยปีศาจ ของคาร์ล เซแกน (2558, โพสต์บุ๊กส์) คอสมอส ของคาร์ล เซแกน (2560, สำนักพิมพ์สารคดี) และหนังสือแนว popular science อีกหลายเล่ม รวมถึง 21 บทเรียนสำหรับศตวรรษที่ 21 ของสำนักพิมพ์ยิปซี นอกจากนี้ยังเป็นผู้แปลนวนิยายแฟนตาซีในจักรวาลของโทลคีน ได้แก่ ตำนานแห่งซิลมาริล ตำนานบุตรแห่งฮูริน และ ตำนานเบเรนและลูธิเอน (แพรวเยาวชน)
งานเปิดตัวหนังสือ "โฮโมดีอุส ประวัติย่อของวันพรุ่งนี้"
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทางสำนักพิมพ์ยิปซีจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มที่ 3 ของยูวัล โนอาห์ แฮรารี ‘21 บทเรียนสำหรับศตวรรษที่ 21’ (21 Lessons for the 21st Century) ที่พูดถึงวิกฤตและ 21 บทเรียนที่เราต้องเผชิญและข้ามผ่านในศตวรรษที่ 21 หนังสือเล่มนี้ได้รับเสียงชื่นชมจากผู้อ่านว่าเป็นเสมือนคู่มือในการรู้เท่าทันวิกฤตและนำบทเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิต
อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้อดีตทำให้เรารู้ความเป็นมาของเผ่าพันธุ์เรา การอยู่กับปัจจุบันทำให้เรามองเห็นทางออกเพื่อเผชิญวิกฤต และการรู้เท่าทันอนาคตทำให้เรามองเห็นสิ่งที่รออยู่เบื้องหน้าว่าเราจะต้องเดินไปในทิศทางใด ดังนั้นสำนักพิมพ์ยิปซีจึงได้นำเสนอผลงานสร้างชื่อเล่มสุดท้ายในซีรีส์ของยูวัล นั่นคือ ‘โฮโมดีอุส ประวัติย่อของวันพรุ่งนี้’ (Homo Deus: A Brief History of Tomorrow) ที่จะทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ การรับมือกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตลอดจนถึงการเข้าใจตัวตนว่าเราสวมบทบาทใดในโลกใบนี้ และ ‘มนุษย์’ ตัวเล็กๆ อย่างเราทำอะไรกับอนาคตได้บ้าง
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงอย่างเดียวที่ครองโลกได้ในระยะเวลาอันสั้น เราก้าวกระโดดเข้าสู่โลกของนวัตกรรมและเทคโนโลยี และใช้องค์ความรู้เหล่านี้ในการเขียนแผนที่ของโลกขึ้นใหม่ เราจัดการกับปัญหาสำคัญของมนุษย์ในศตวรรษที่ 16 อย่างการขาดแคลนอาหารและโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนในยุโรปนับล้านต่อปี เราสามารถยับยั้งเชื้อกาฬโรคที่แพร่ระบาดทั่วยุโรปและเอเชียในศตวรรษที่ 13 ฯลฯ เราใช้วิทยาการด้านการแพทย์จัดการกับโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ความก้าวหน้าทางการแพทย์ก็ทำให้มนุษย์มีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น อย่างไรก็ตาม มนุษย์เรายังต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บชนิดใหม่ๆ อาทิ มีคนมากมายที่เสียชีวิตจากการบริโภคอาหารมากเกินไป เสียชีวิตจากโรคชรามากกว่าการติดเชื้อจากโรคร้าย มีการฆ่าตัวตายมากกว่าที่เสียชีวิตจากสงคราม ผู้ก่อการร้าย หรืออาชญากรรม หรือกระทั่งในสหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิตจากการกินอาหารขยะมากกว่าระเบิดพลีชีพของกลุ่มอัลกออิดะฮ์เสียอีก
ถึงอย่างนั้นมนุษย์ก็ยังมีความเชื่อว่าพวกเราสามารถ ‘แต่ง’ เรื่องราวในอนาคตของเราเองด้วย เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างไร้ข้อจำกัด ที่นับวันจะเดินสวนทางกับแนวคิดทางด้านศีลธรรม ในขณะที่มนุษย์มองว่าผู้สั่งสมเทคโนโลยีและอยู่เหนือทุนนิยมคือผู้ที่มีอำนาจ เรากลับละเลยสิ่งที่อยู่ภายใน เราลืมไปว่าวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตอบคำถามได้ทุกอย่าง เรายังต้องมี ‘ชุดศีลธรรม’ เพื่อตัดสินใจในเรื่องที่ละเอียดอ่อน อย่างเช่น ผลประโยชน์ส่วนรวม ชีวิต หรือกระทั่งความเป็นความตาย
ยูวัลนำเสนอภาพอนาคตอันใกล้ให้เราเห็นว่า ในวันที่เราใช้ ‘เทคโนโลยี’ ในการขับเคลื่อนโลก อาทิ การที่เราพึ่งพา ‘อัลกอริทึม’ ในคอมพิวเตอร์จนกลายเป็นปัจจัยที่ห้าของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้โดรน รถยนต์ไร้คนขับ การเขียนเพลง แต่งนวนิยาย สร้างภาพจำลองสามมิติ เอไอ หรือกระทั่งการสร้างอวัยวะเทียม... แต่หากเราขาด ‘ชุดศีลธรรม’ (moral code) ในการวิเคราะห์ปัญหา อนาคตที่นำโดย ‘มนุษย์’ ที่ต้องการก้าวสู่ความเป็น ‘พระเจ้า’ จะเดินไปในทิศทางใด
นี่คือหนังสือที่สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลกไม่แพ้ Sapiens: A Brief History of Humankind ซึ่งทำให้บุคคลสำคัญระดับโลกอย่าง บิล เกตส์ และมาร์ก ซัคเคอร์เบิร์กต้องหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับเอไอ มากล่าวถึงมากขึ้นหลังจากที่ทั้งคู่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้
มาร่วมตั้งคำถามและค้นหาคำตอบว่าด้วยอนาคตของมนุษยชาติร่วมกัน ใน ‘โฮโมดีอุส: ประวัติย่อของวันพรุ่งนี้’ ผลงานมาสเตอร์พีซอีกเล่มของยูวัล โนอาห์ แฮรารี ที่แปลไปแล้วกว่า 50 ประเทศ และทำยอดขายกว่าหลายล้านเล่มทั่วโลก
เกี่ยวกับผู้เขียน
ยูวัล โนอาห์ แฮรารี (Yuval Noah Harari) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวยิวที่เกิดและเติบโตในประเทศอิสราเอล ปัจจุบันมีอายุ 41 ปี เป็นผู้เขียนหนังสือขายดีระดับนานาชาติอย่าง Sapiens: A Brief History of Humankind และ Homo Deus: A Brief History of Tomorrow
แฮรารี เรียนจบทั้งปริญญาตรี โท และเอกด้านประวัติศาสตร์ หลังจากจบปริญญาเอกเมื่อปี พ.ศ. 2545 ก็มาเป็นนักวิจัย (ทำ Postdoctoral) ร่วมกับ Yad Hanadiv หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ Rothschild Foundation
ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจำคณะประวัติศาสตร์ที่ Hebrew University of Jerusalem ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่จบปริญญาตรีและโท ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์โลก ประวัติศาสตร์ยุคกลาง และประวัติศาสตร์ทางทหาร
ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยได้รับ ปริญญาตรีสาขาชีววิทยา จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทสาขาชีวเคมี จากภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และปริญญาเอกสาขาอณูพันธุศาสตร์ (Molecular Genetics) จาก Kumamoto University ประเทศญี่ปุ่น
ในอดีตทำงานในฐานะ ‘นักวิจัย’ ในศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แต่ปัจจุบันเป็น ‘นักสื่อสารวิทยาศาสตร์’ ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์ สวทช. โดยมีภารกิจหลักคือ การสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ ทำให้คนไทยเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งรู้สึกสนุกและสนใจอยากเรียนรู้เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการเขียนบทความ จัดทำสคริปต์รายการ ทำอินโฟกราฟิก และวิดีโอรายการวิทยาศาสตร์ต่างๆ เพื่อนำผลงานวิจัยและความรู้ทั่วไปด้านวิทยาศาสตร์ไปสู่คนไทยในวงกว้าง นอกจากนี้ยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในผู้จัดอีเวนต์หรือการประกวดต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ ครอบคลุมด้านเมกเกอร์ อวกาศ และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เช่น การประกวด FameLab
ดร.นำชัย มีงานเขียนและงานแปลอยู่อย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันมีหนังสือที่เขียน แปล หรือร่วมเขียนและแปล กับผู้อื่นมากกว่า 30 เล่ม สำหรับงานเขียนเคยมีคอลัมน์ในนิตยสารต่างๆ หลายหัว ปัจจุบันยังเขียนให้กับคอลัมน์ ‘โลกในมือคุณ’ ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และคอลัมน์ ‘วิทย์คิดไม่ถึง’ ในนิตยสารสารคดี สำหรับงานแปลระดับมาสเตอร์พีซ เช่น กำเนิดสปีชีส์ ของชาร์ลส์ ดาร์วิน (นำชัย ชีววิวรรธน์และคณะ, 2558, สำนักพิมพ์สารคดี) และ คอสมอส ของคาร์ล เซแกน (นำชัย ชีววิวรรธน์และคณะ, 2560, สำนักพิมพ์สารคดี) ส่วนงานเขียนรวมเล่มล่าสุดคือ ชุด ‘เธอ’ ประกอบด้วยเรื่อง อย่าชวนเธอไปดูหนังรัก และ อยากชวนเธอไปอำผี (2560, สำนักพิมพ์มติชน) หนังสือ สู่ชีวิตอมตะ (เทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์ศตวรรษที่ 21) (2545, สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด) ของดร.นำชัย ติดอยู่ในบัญชีรายชื่อ ‘100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์’ ที่เขียนขึ้นโดยคนไทยและตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2537-2548 ที่คัดเลือกจากหนังสือวิทยาศาสตร์กว่า 700 เล่ม
นอกจากที่กล่าวไปแล้ว ยังเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ อย่างหลากหลายหัวข้อ รวมไปถึงด้านการเขียนและบรรณาธิการบทความวิทยาศาสตร์และหนังสือวิทยาศาสตร์อีกด้วย
ธิดา จงนิรามัยสถิต เป็นวิศวกรผู้หลงรักตัวอักษร เคยลังเลอยู่ระหว่างวิศวกรรมศาสตร์หรืออักษรศาสตร์ แต่ในที่สุดก็ได้สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์จากรั้วจามจุรี ต่อด้วยปริญญาโทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจาก มจธ. ได้ทำงานในสายวิชาชีพวิศวกรเป็นเวลา 11 ปีเต็ม เป็นผู้ชำนาญการด้านระบบอาคารอัตโนมัติและการจัดการพลังงาน รวมถึงเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ก่อนจะออกมาตั้งบริษัทซอฟต์แวร์ของตนเองด้านการบริหารทรัพยากรอาคารและการจัดการข้อมูลพลังงาน
ปัจจุบันได้ทำทั้งงานด้านวิศวกรรมศาสตร์และอักษรศาสตร์ โดยมีงานอดิเรกเป็นอาสาสมัครเขียนและแปลบทความในสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดียภาคภาษาไทย เป็นผู้ดูแลสถานีย่อยดาราศาสตร์กับสถานีย่อยโลกวรรณศิลป์ มีผลงานแปลหนังสือออกมาแล้วหลายเล่ม เช่น วิถีแมนเดลา (2553, โพสต์บุ๊กส์) โลกที่เต็มไปด้วยปีศาจ ของคาร์ล เซแกน (2558, โพสต์บุ๊กส์) คอสมอส ของคาร์ล เซแกน (2560, สำนักพิมพ์สารคดี) และหนังสือแนว popular science อีกหลายเล่ม รวมถึง 21 บทเรียนสำหรับศตวรรษที่ 21 ของสำนักพิมพ์ยิปซี นอกจากนี้ยังเป็นผู้แปลนวนิยายแฟนตาซีในจักรวาลของโทลคีน ได้แก่ ตำนานแห่งซิลมาริล ตำนานบุตรแห่งฮูริน และ ตำนานเบเรนและลูธิเอน (แพรวเยาวชน)