ผลแห่งการถอนความมั่นหมายในธรรมทั้งปวง
โดยความหมายสี่สถาน
ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง “ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง”
แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ปฏิปทาอันสมควรแก่การ
เพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในกรณีนี้ :-
ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักษุ
ไม่มั่นหมาย ใน จักษุ
ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็น จักษุ
ไม่มั่นหมายจักษุ ว่าของเรา ;
ไม่มั่นหมาย ซึ่ง รูปทั้งหลาย
ไม่มั่นหมาย ใน รูปทั้งหลาย
ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็น รูปทั้งหลาย
ไม่มั่นหมายรูป ท. ว่าของเรา ;
ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักขุวิญญาณ
ไม่มั่นหมาย ใน จักขุวิญญาณ
ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็น จักขุวิญญาณ
ไม่มั่นหมายจักขุวิญญาณ ว่าของเรา ;
ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักขุสัมผัส
ไม่มั่นหมาย ใน จักขุสัมผัส
ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็น จักขุสัมผัส
ไม่มั่นหมายจักขุสัมผัส ว่าของเรา ;
ไม่มั่นหมาย ซึ่ง เวทนา
ไม่มั่นหมาย ใน เวทนา
ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็น เวทนา
ไม่มั่นหมายเวทนา ว่าของเรา
ซึ่งเป็นเวทนาอันเกิดจากจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม อันเป็นอทุกขมสุขก็ตาม.
(ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วย
ข้อความทำนองเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งหมวดจักษุข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร ต่าง
กันแต่ชื่อเท่านั้น).
ไม่มั่นหมาย ซึ่ง สิ่งทั้งปวง
ไม่มั่นหมาย ใน สิ่งทั้งปวง
ไม่มั่นหมาย โดยความเป็น สิ่งทั้งปวง
ไม่มั่นหมายสิ่งทั้งปวง ว่าของเรา.
ภิกษุนั้น เมื่อไม่มั่นหมายอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก, เมื่อไม่ถือมั่นก็
ไม่สะดุ้ง, เมื่อไม่สะดุ้งก็ปรินิพพานเฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ ปรินิพฺพายติ) นั่นเทียว. เธอ
นั้น ย่อม รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว กิจ
อื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. ( )
ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ “ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง
นั้น”.
(ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตนของตน (สุญฺโญ).
ไม่มีอะไรที่จะเปรียบเทียบได้อีกนั้นแหละ)
- สฬา. สํ. ๑๘/๒๖/๓๓.
ว่าด้วยปรินิพพานเฉพาะตน
โดยความหมายสี่สถาน
ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง “ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง”
แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ปฏิปทาอันสมควรแก่การ
เพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุท. ! ภิกษุในกรณีนี้ :-
ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักษุ
ไม่มั่นหมาย ใน จักษุ
ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็น จักษุ
ไม่มั่นหมายจักษุ ว่าของเรา ;
ไม่มั่นหมาย ซึ่ง รูปทั้งหลาย
ไม่มั่นหมาย ใน รูปทั้งหลาย
ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็น รูปทั้งหลาย
ไม่มั่นหมายรูป ท. ว่าของเรา ;
ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักขุวิญญาณ
ไม่มั่นหมาย ใน จักขุวิญญาณ
ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็น จักขุวิญญาณ
ไม่มั่นหมายจักขุวิญญาณ ว่าของเรา ;
ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักขุสัมผัส
ไม่มั่นหมาย ใน จักขุสัมผัส
ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็น จักขุสัมผัส
ไม่มั่นหมายจักขุสัมผัส ว่าของเรา ;
ไม่มั่นหมาย ซึ่ง เวทนา
ไม่มั่นหมาย ใน เวทนา
ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็น เวทนา
ไม่มั่นหมายเวทนา ว่าของเรา
ซึ่งเป็นเวทนาอันเกิดจากจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม อันเป็นอทุกขมสุขก็ตาม.
(ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วย
ข้อความทำนองเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งหมวดจักษุข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร ต่าง
กันแต่ชื่อเท่านั้น).
ไม่มั่นหมาย ซึ่ง สิ่งทั้งปวง
ไม่มั่นหมาย ใน สิ่งทั้งปวง
ไม่มั่นหมาย โดยความเป็น สิ่งทั้งปวง
ไม่มั่นหมายสิ่งทั้งปวง ว่าของเรา.
ภิกษุนั้น เมื่อไม่มั่นหมายอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก, เมื่อไม่ถือมั่นก็
ไม่สะดุ้ง, เมื่อไม่สะดุ้งก็ปรินิพพานเฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ ปรินิพฺพายติ) นั่นเทียว. เธอ
นั้น ย่อม รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว กิจ
อื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. ( )
ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ “ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง
นั้น”.
(ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตนของตน (สุญฺโญ).
ไม่มีอะไรที่จะเปรียบเทียบได้อีกนั้นแหละ)
- สฬา. สํ. ๑๘/๒๖/๓๓.