ว่าด้วย ปฏิปทาเป็นเครื่องสะดวก...

แก่การเพิกถอนความมั่นหมายสิ่ง
ทั้งปวง


ภิกษุ ท. !  เราจักแสดง  “ปฏิปทาอันสะดวกแก่การเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง” 
แก่พวกเธอ.  พวกเธอจงฟัง  จงทำในใจให้ดี  เราจักกล่าว.  ปฏิปทาอันสะดวกแก่การ
เพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง  เป็นอย่างไรเล่า ?  

ภิกษุ ท. !  ก็ภิกษุย่อมมั่นหมาย  ซึ่ง  สิ่งใด  
มั่นหมาย  ใน  สิ่งใด
มั่นหมาย โดย ความเป็นสิ่งใด  
มั่นหมายสิ่งใด  ว่าของเรา,  
สิ่งที่เขามั่น.หมายนั้น  ย่อมเป็นโดยประการอื่นจากที่เขามั่นหมายนั้น.  
สัตว์โลกผู้ข้องอยู่ในภพ  เพลิดเพลินอยู่ในภพนั่นแหละ  
จักะเป็นผู้มีความเป็นโดยประการอื่น. 

ภิกษุ ท. !  ขันธ์  ธาตุ  อายตนะ  มีอยู่มีประมาณเท่าใด ; 5666666
ภิกษุ ย่อม ไม่มั่นหมายแม้ ซึ่ง ขันธ์ ธาตุ  อายตนะ  นั้น  
ไม่มั่นหมายแม้  ใน  ขันธ์ธาตุ  อายตนะนั้น  
ไม่มั่นหมายแม้  โดย  ความเป็นขันธ์ธาตุอายตนะนั้น  
ไม่มั่นหมายขันธ์ธาตุอายตนะนั้น  ว่าของเรา.  
ภิกษุนั้น  เมื่อไม่มั่นหมายอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก,  
เมื่อไม่ถือมั่นก็ ไม่สะดุ้ง,  เมื่อไม่สะดุ้งก็ปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว,  
เธอนั้น  ย่อมรู้ชัดว่า “  ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว 
กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว  กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้  มิได้มีอีก”  ดังนี้. 

ภิกษุ ท. !  นี้แล  คือ  “ปฏิปทาเป็นเครื่องสะดวกแก่การเพิกถอนความมั่นหมาย
ทั้งปวง” .

(คำว่า ถอนความมั่นหมายโดยความหมายสี่สถาน นั้น คือ  
๑. ไม่มั่นหมายซึ่งสิ่งนั้น  
๒. ไม่มั่นหมายในสิ่งนั้น  
๓. ไม่มั่นหมายโดยเป็นสิ่งนั้น  
๔. ไม่มั่นหมายว่าสิ่งนั้นของเรา  ดังนี้. 
หยุดถือมั่น – หยุดหวั่นไหว(ตามกระแส.)นั้นแหละ
ด้วยวิธีปฏิบัติอย่างเดียวกันกับที่ทรงแสดงในอนัตตลักขณสูตร)

- สฬา. สํ. ๑๘/๒๘/๓๔.
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  พระไตรปิฎก ปฏิบัติธรรม โลก (Earth)
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่