นักดาราศาสตร์จับตาดาวหางดวงใหม่ คาดว่าจะเป็น "ผู้มาเยือนจากนอกระบบสุริยะ"
ซึ่งถูกค้นพบเป็นดวงที่ 2 ต่อจาก "โอมัวมัว"
ดาวหางดวงนี้ คือ
C/2019 Q4 หรือ Borisov เพิ่งถูกค้นพบเมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา
โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่น Gennady Borisov ซึ่งแม้จะยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ
ว่ามันคือผู้มาเยือนจากนอกระบบสุริยะแน่นอน แต่ก็คาดกันว่าน่าจะใช่ และมันกำลังได้รับความสนใจ
จาก NASA และ ESA อย่างมาก
ตอนนี้ดาวหางบอริซอฟกำลังเดินทางเข้ามาในระบบสุริยะ มันมุ่งหน้าเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์เรื่อย ๆ
ล่าสุดอยู่ที่ระยะห่างประมาณ 420 ล้านกิโลเมตร แต่ถึงอย่างนั้นมันจะไม่เข้าใกล้เกินวงโคจรดาวอังคาร
โดยจะโคจรตัดระนาบสุริยวิถีในวันที่ 26 ตุลาคมนี้ และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดที่ระยะ 300 ล้านกิโลเมตร
ในวันที่ 8 ธันวาคมนี้
ดาวหางบอริซอฟเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 150,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พอ ๆ กับ "โอมัวมัว"
ซึ่งเมื่อพิจารณาจากความเร็ว (สูง) นี้แล้ว NASA คาดว่าไม่ใช่แค่มันจะเดินทางมาจากนอกระบบสุริยะเท่านั้น
แต่มันจะเดินทางกลับออกไปสู่ Interstellar Space เหมือนกับโอมัวมัวด้วย
อย่างไรก็ตาม นอกจากวงโคจรคร่าว ๆ แล้ว ตอนนี้นักดาราศาสตร์ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับดาวหางดวงนี้มากนัก
เบื้องต้นประมาณขนาด (นิวเคลียส) ว่าอยู่ที่ระหว่าง 2-16 กิโลเมตร ส่วนรายละเอียดอื่นต้องศึกษากันต่อไป
หมายเหตุ : นักดูดาวสามารถยลโฉมดาวหางบอริซอฟได้ผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดกลางขึ้นไป
โดยจะสังเกตเห็นชัดเจนที่สุดในช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ และยังคงเห็นได้ยาวไปจนถึงเมษายนปีหน้า
หลังจากนั้นจะสามารถสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่เท่านั้น จนถึงเดือนตุลาคมปีหน้าค่ะ
ข้อมูลจาก
https://www.nasa.gov/feature/jpl/newly-discovered-comet-is-likely-interstellar-visitor
พบดาวหางดวงใหม่ คาดเป็น "ผู้มาเยือนจากนอกระบบสุริยะ" อีกดวง
นักดาราศาสตร์จับตาดาวหางดวงใหม่ คาดว่าจะเป็น "ผู้มาเยือนจากนอกระบบสุริยะ"
ซึ่งถูกค้นพบเป็นดวงที่ 2 ต่อจาก "โอมัวมัว"
ดาวหางดวงนี้ คือ C/2019 Q4 หรือ Borisov เพิ่งถูกค้นพบเมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา
โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่น Gennady Borisov ซึ่งแม้จะยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ
ว่ามันคือผู้มาเยือนจากนอกระบบสุริยะแน่นอน แต่ก็คาดกันว่าน่าจะใช่ และมันกำลังได้รับความสนใจ
จาก NASA และ ESA อย่างมาก
ตอนนี้ดาวหางบอริซอฟกำลังเดินทางเข้ามาในระบบสุริยะ มันมุ่งหน้าเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์เรื่อย ๆ
ล่าสุดอยู่ที่ระยะห่างประมาณ 420 ล้านกิโลเมตร แต่ถึงอย่างนั้นมันจะไม่เข้าใกล้เกินวงโคจรดาวอังคาร
โดยจะโคจรตัดระนาบสุริยวิถีในวันที่ 26 ตุลาคมนี้ และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดที่ระยะ 300 ล้านกิโลเมตร
ในวันที่ 8 ธันวาคมนี้
ดาวหางบอริซอฟเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 150,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พอ ๆ กับ "โอมัวมัว"
ซึ่งเมื่อพิจารณาจากความเร็ว (สูง) นี้แล้ว NASA คาดว่าไม่ใช่แค่มันจะเดินทางมาจากนอกระบบสุริยะเท่านั้น
แต่มันจะเดินทางกลับออกไปสู่ Interstellar Space เหมือนกับโอมัวมัวด้วย
อย่างไรก็ตาม นอกจากวงโคจรคร่าว ๆ แล้ว ตอนนี้นักดาราศาสตร์ยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับดาวหางดวงนี้มากนัก
เบื้องต้นประมาณขนาด (นิวเคลียส) ว่าอยู่ที่ระหว่าง 2-16 กิโลเมตร ส่วนรายละเอียดอื่นต้องศึกษากันต่อไป
หมายเหตุ : นักดูดาวสามารถยลโฉมดาวหางบอริซอฟได้ผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดกลางขึ้นไป
โดยจะสังเกตเห็นชัดเจนที่สุดในช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้ และยังคงเห็นได้ยาวไปจนถึงเมษายนปีหน้า
หลังจากนั้นจะสามารถสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่เท่านั้น จนถึงเดือนตุลาคมปีหน้าค่ะ
ข้อมูลจาก
https://www.nasa.gov/feature/jpl/newly-discovered-comet-is-likely-interstellar-visitor