ดาวหางลีโอนาร์ด C/2021 A1 ในเดือนมกราคม 2021 เป็นดาวหางดวงที่สิบสามที่ Leonard ค้นพบ
โดยมีรัศมีก๊าซสีน้ำเงินและหางฝุ่นตรง Cr.Michael Mattiazzo
เดือนธันวาคมเป็นเดือนที่เต็มไปด้วยเหตุการณ์ท้องฟ้าจริง ๆ เนื่องจากวัตถุบินที่หายากมากจะมาเยือนโลกเป็นครั้งแรกและอาจเป็นครั้งสุดท้ายที่จะได้เห็น คือดาวหางที่กำลังเดินทางข้ามอวกาศด้วยความเร็ว 158,084 ไมล์ต่อชั่วโมง ที่ชื่อว่า C/2021 A1 (ลีโอนาร์ด)
ดาวหาง C/2021 A1 (ลีโอนาร์ด) ยังที่รู้จักในชื่อ " ดาวหางคริสต์มาส " เป็นดาวหางที่ดีที่สุดและสว่างที่สุดที่โคจรผ่านโลกในปี 2021 นี้ จะมองเห็นได้ตลอดเดือนธันวาคม 2021 จนถึงเดือนมกราคม 2022 และจะเข้าใกล้โลกมากที่สุด (ประมาณ 34.9 ล้านกม.หรือ 21.7 ล้านไมล์) ในวันที่ 12 ธันวาคมโดยจะมองเห็นได้ในซีกโลกเหนือในช่วงก่อนรุ่งสางตลอดครึ่งแรกของเดือน และจะต่ำลงในท้องฟ้าตะวันออกตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคมเป็นต้นไป
จากนั้นหกวันต่อมา ในวันที่ 18 ธันวาคม ดาวหางจะโคจรผ่านดาวศุกร์ในระยะใกล้เป็นพิเศษเพียง 2.6 ล้านไมล์ (4.2 ล้านกม.) และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดวันที่ 3 มกราคม 2022 ที่ระยะทางประมาณ 56 ล้านไมล์ (0.6 AUหรือ 90 ล้านกม.) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วดาวหางจะสว่างที่สุดในช่วงนี้
แม้ดาวหางจะปรากฏบนท้องฟ้ายามเย็นสำหรับผู้ชมในซีกโลกทั้งสองและมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่การมองเห็นจะดีที่สุดควรผ่านกล้องส่องทางไกลหรือกล้องโทรทรรศน์ในบริเวณท้องฟ้ามืด ขณะที่นักดาราศาสตร์เตือนว่าสภาพอากาศเลวร้ายอาจขัดขวางการดูดาวหางได้ อย่างไรก็ตาม เดือนธันวาคมอาจจะเป็นโอกาสเดียวที่จะได้เห็นมันก่อนที่จะหายไปตลอดกาล
เส้นทางที่คาดการณ์ไว้ของดาวหางลีโอนาร์ด (C/2021 A1) Cr. NASA/JPL
ดาวหางถูกค้นพบว่ามุ่งตรงมายังโลกตั้งแต่วันที่ 3 มกราคมปี 2021 ที่ Mount Lemmon Observatory ในเมือง Tucson รัฐแอริโซนาโดยนักดาราศาสตร์ Greg Leonard ตามรายงานของ Sky & Telescope ระบุว่า วัตถุท้องฟ้าน่าจะใช้เวลา 35,000 ปีที่ผ่านมาเดินทางสู่ดวงอาทิตย์ ในปีหน้าวันที่ 3 มกราคม 2022 หลังจากเคลื่อนผ่านโลกของเรา จากนั้นเราอาจจะไม่เห็นดาวหางนี้อีก
เนื่องจากในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผู้สังเกตการณ์สังเกตเห็นบางสิ่งที่แปลกประหลาด นั่นคือ ดาวหางควรจะได้รับความสว่างตามแนวทางดวงอาทิตย์ภายในปลายเดือนธันวาคมและต้นมกราคม โดยในอีกสี่ห้าวันข้างหน้า มันควรจะมองเห็นได้จากซีกโลกใต้ และจะสุกสกายบนท้องฟ้าของออสเตรเลียในวันคริสต์มาสที่จะมาถึง แต่ดูเหมือนว่ามันเริ่มค่อยๆจางลง ตอนนี้ C/2021 AI Comet Leonard กำลังถูกตั้งสมมติฐานที่เป็นไปได้มากที่สุดคืออาจจะแตกสลายจากการพุ่งเข้าหาดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์บอกว่า ยังเร็วเกินไปที่จะเรียกดาวหางลีโอนาร์ดว่าผู้เคราะห์ร้าย
นักดาราศาสตร์สมัครเล่น Mr. Michael Mattiazzo จากรัฐวิกตอเรีย ผู้ดูแลเว็บไซต์ Southern Comet Homepage กล่าวว่า ดาวหางน่าสนใจที่จะศึกษาเพราะมันยากต่อการทำนาย บางครั้งก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์ประหลาดใจหรือผิดหวัง ทั้งนี้ Mattiazzo สังเกตดาวหางมาตั้งแต่ปี 1986 และค้นพบวัตถุท้องฟ้าหลายแห่งในทศวรรษที่ผ่านมา จากประสบการณ์ของเขา เขามั่นใจว่าดาวหางคริสต์มาสกำลังมีปัญหาเล็กน้อยและน่าจะกำลังเอาตัวรอดจากเส้นเขตแดนของดวงอาทิตย์ ซึ่งเขาจะยังคงเฝ้าดูต่อไป
ดาวหางลีโอนาร์ดจะเข้าใกล้ดาวศุกร์ในวันที่ 18 ธันวาคม
Cr.Michael Mattiazzo (created using Sky Safari Pro)
ดาวหางผู้มาเยือนรายนี้ มีคุณลักษณะที่น่าทึ่งคือมันเป็นดาวหางที่เร็วมาก ด้วยความเร็ว 158,084 ไมล์ต่อชม. (254,412 กม./ชม. หรือ 70.67 กม./วินาที) เมื่อเทียบกับโลก ถึงแม้มันจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วอย่างเหลือเชื่อผ่านพื้นที่อันกว้างใหญ่ของระบบสุริยะของเรา แต่สำหรับสายตาของเรา พวกมันดูเหมือนจะเคลื่อนไหวช้าเนื่องจากระยะทางที่ไกลมาก
ศาสตราจารย์ Jonti Horner กล่าวว่า ดาวหางน่าจะเป็นก้อนน้ำแข็งและเศษหินที่หลงเหลือจากการก่อตัวของระบบสุริยะเมื่อ 4.5 พันล้านปีก่อน มันเคลื่อน ที่ในวงโคจรรูปวงรี อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 3,700 เท่ามากกว่าเรา แม้จะใช้ความเร็วสูงถึง 70 กิโลเมตรต่อวินาที แต่ต้องใช้เวลาหลายหมื่นปีกว่าจะมาถึงเรา ศาสตราจารย์ Horner คาดว่าครั้งสุดท้ายที่มันผ่านระบบสุริยะชั้นในน่าจะเป็น 80,000 ปีที่แล้ว และจะไปโคจรรอบดวงอาทิตย์ในวันที่ 3 ม.ค. 2022 ยังดีที่มันเข้าใกล้โลกก่อนจะไปถึงดวงอาทิตย์ ทำให้เราได้เห็นความสวยงาม เพราะเมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น มันจะร้อนมากและแตกออกได้
ข้อดีอีกอย่าง ในวันที่ 18 ธันวาคมที่จะถึงนี้ ดาวหางจะได้สัมผัสกับดาวศุกร์อย่างใกล้ชิดที่สุดเพียง 4 ล้านกิโลเมตร นั่นจะทำให้ดาวหางเข้าใกล้ดาวศุกร์ได้ใกล้เคียงที่สุดในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ จากนั้นทุกคืนมันจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ บนท้องฟ้าจนในคืนคริสต์มาส สำหรับความสวยงามของมัน เท่าที่ดาวหางดำเนินไป ยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะมีความงดงามเท่าดาวหาง Lovejoy ซึ่งเป็นดาวหางคริสต์มาสที่ยิ่งใหญ่ในปี 2011 หรือไม่
ดาวหาง Lovejoy พุ่งผ่านก่อนรุ่งสางใกล้ Roma ในรัฐควีนส์แลนด์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2011 ( Cr.Wikimedia: Naskies )
แผนที่ท้องฟ้าของ NASA นี้จะแสดงตำแหน่งของดาวหางลีโอนาร์ดในท้องฟ้ายามค่ำคืน ตั้งแต่วันที่ 14 - 25 ธันวาคม 2021
(Cr.ภาพ: NASA/JPL-Caltech)
เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ก้อนน้ำแข็งขนาดยักษ์เหล่านี้เริ่มหลั่งสารบางส่วนออกมา ก่อตัวเป็นรัศมีรอบๆวัตถุ ฝุ่นและก๊าซที่อยู่ด้านหลัง
ทำให้เกิดหางที่ยาวมาก ดาวหางส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากขอบน้ำแข็งของระบบสุริยะของเรา และมองเห็นได้เมื่อเดินทางผ่านระบบสุริยะชั้นใน
ที่โลกตั้งอยู่ ในช่วงโคจรยาวของดวงอาทิตย์
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
Christmas Comet : ดาวหางคริสต์มาสที่อาจหายไปตลอดกาล
จากนั้นหกวันต่อมา ในวันที่ 18 ธันวาคม ดาวหางจะโคจรผ่านดาวศุกร์ในระยะใกล้เป็นพิเศษเพียง 2.6 ล้านไมล์ (4.2 ล้านกม.) และจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดวันที่ 3 มกราคม 2022 ที่ระยะทางประมาณ 56 ล้านไมล์ (0.6 AUหรือ 90 ล้านกม.) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วดาวหางจะสว่างที่สุดในช่วงนี้
ศาสตราจารย์ Jonti Horner กล่าวว่า ดาวหางน่าจะเป็นก้อนน้ำแข็งและเศษหินที่หลงเหลือจากการก่อตัวของระบบสุริยะเมื่อ 4.5 พันล้านปีก่อน มันเคลื่อน ที่ในวงโคจรรูปวงรี อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 3,700 เท่ามากกว่าเรา แม้จะใช้ความเร็วสูงถึง 70 กิโลเมตรต่อวินาที แต่ต้องใช้เวลาหลายหมื่นปีกว่าจะมาถึงเรา ศาสตราจารย์ Horner คาดว่าครั้งสุดท้ายที่มันผ่านระบบสุริยะชั้นในน่าจะเป็น 80,000 ปีที่แล้ว และจะไปโคจรรอบดวงอาทิตย์ในวันที่ 3 ม.ค. 2022 ยังดีที่มันเข้าใกล้โลกก่อนจะไปถึงดวงอาทิตย์ ทำให้เราได้เห็นความสวยงาม เพราะเมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น มันจะร้อนมากและแตกออกได้
ข้อดีอีกอย่าง ในวันที่ 18 ธันวาคมที่จะถึงนี้ ดาวหางจะได้สัมผัสกับดาวศุกร์อย่างใกล้ชิดที่สุดเพียง 4 ล้านกิโลเมตร นั่นจะทำให้ดาวหางเข้าใกล้ดาวศุกร์ได้ใกล้เคียงที่สุดในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ จากนั้นทุกคืนมันจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ บนท้องฟ้าจนในคืนคริสต์มาส สำหรับความสวยงามของมัน เท่าที่ดาวหางดำเนินไป ยังคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะมีความงดงามเท่าดาวหาง Lovejoy ซึ่งเป็นดาวหางคริสต์มาสที่ยิ่งใหญ่ในปี 2011 หรือไม่