ไมโครฟลูมูน (Micro Full Moon) เป็นปรากฏการณ์ "ดวงจันทร์เต็มดวง" ที่อยู่ไกลโลกมากที่สุด ซึ่งจะเกิดขึ้นในจุด apogee ซึ่งเป็นจุดที่ดวงจันทร์หรือดาวเทียมโคจรรอบโลกในระยะทางที่ห่างไกลที่สุด จึงส่งผลให้เราสามารถเห็นดวงจันทร์เต็มดวงได้มีขนาดเล็กกว่าปกติ
ความแตกต่างกันระหว่าง ซูเปอร์มูน กับ ไมโครฟลูมูน
แม้จะไม่มีกฎเป็นสากลว่าดวงจันทร์จะต้องอยู่ห่างจากโลกไปกี่กิโลเมตรจึงถึงนับว่าเป็น ไมโครฟลูมูน แต่ก็มีการกล่าวความแตกต่างของซูเปอร์มูน และ ไมโครฟลูมูนไว้ดังนี้
ไมโครมูน : ดวงจันทร์เต็มดวงหรือดวงจันทร์ดับที่เกิดขึ้นเมื่อศูนย์กลางของดวงจันทร์อยู่ห่างจากศูนย์กลางของโลกมากกว่า 405,000 กิโลเมตร (ประมาณ 251,655 ไมล์)
ซูเปอร์มูน : ดวงจันทร์เต็มดวงหรือดวงจันทร์ดับที่เกิดขึ้นเมื่อศูนย์กลางของดวงจันทร์อยู่ห่างจากศูนย์กลางโลกน้อยกว่า 360,000 กิโลเมตร (ประมาณ 223,694 ไมล์)
ในวันที่ 13 เมษยน 2025 นี้ เราสามารถสังเกตปรากฏการณ์ไมโครฟลูมูนได้ตั้งแต่ช่วง 18.48 น. โดยนายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ผู้ที่สนใจอยากชมปรากฏการณ์นี้จะสามารถสังเกตปรากฏการณ์นี้ได้ตามแนวขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ในวันอาทิตย์ที่ 13 เมษายนนี้ ตั้งแต่เวลา 18.48 น. เป็นต้นไป ซึ่งในเวลานั้น ดวงจันทร์จะอยู่ห่างจากโลกประมาณ 406,000 กม. ทำให้ขนาดของดวงจันทร์ที่ปรากฏให้เห็นจะเล็กกว่าปกติเล็กน้อย และปรากฏการณ์ไมโครฟลูมูนนี้จะยังปรากฏให้เห็นตลอดทั้งคืนจนถึงเช้าวันที่ 14 เมษายนอีกด้วย
นอกจากปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เต็มดวงที่อยู่ไกลโลกมากที่สุดอย่างไมโครฟลูมูนแล้ว ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในปีนี้ หรือที่เรียกว่า “ซูเปอร์ฟูลมูน” จะเกิดขึ้นในคืนวันที่ 5 พฤศจิกายน อีกด้วย โดยดวงจันทร์ที่ปรากฏให้เห็นนั้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย
ที่มา :
https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2025/04/10/spectacular-039micro-full-moon039-to-appear-on-thai-new-year-night
ความหมาย :
https://www.timeanddate.com/astronomy/moon/micro-moon.html
ชวนดูปรากฏการณ์ “ไมโครฟลูมูน” (Micro Full Moon) ในค่ำคืนวันสงกรานต์ปีนี้
ไมโครฟลูมูน (Micro Full Moon) เป็นปรากฏการณ์ "ดวงจันทร์เต็มดวง" ที่อยู่ไกลโลกมากที่สุด ซึ่งจะเกิดขึ้นในจุด apogee ซึ่งเป็นจุดที่ดวงจันทร์หรือดาวเทียมโคจรรอบโลกในระยะทางที่ห่างไกลที่สุด จึงส่งผลให้เราสามารถเห็นดวงจันทร์เต็มดวงได้มีขนาดเล็กกว่าปกติ
ความแตกต่างกันระหว่าง ซูเปอร์มูน กับ ไมโครฟลูมูน
แม้จะไม่มีกฎเป็นสากลว่าดวงจันทร์จะต้องอยู่ห่างจากโลกไปกี่กิโลเมตรจึงถึงนับว่าเป็น ไมโครฟลูมูน แต่ก็มีการกล่าวความแตกต่างของซูเปอร์มูน และ ไมโครฟลูมูนไว้ดังนี้
ไมโครมูน : ดวงจันทร์เต็มดวงหรือดวงจันทร์ดับที่เกิดขึ้นเมื่อศูนย์กลางของดวงจันทร์อยู่ห่างจากศูนย์กลางของโลกมากกว่า 405,000 กิโลเมตร (ประมาณ 251,655 ไมล์)
ซูเปอร์มูน : ดวงจันทร์เต็มดวงหรือดวงจันทร์ดับที่เกิดขึ้นเมื่อศูนย์กลางของดวงจันทร์อยู่ห่างจากศูนย์กลางโลกน้อยกว่า 360,000 กิโลเมตร (ประมาณ 223,694 ไมล์)
ในวันที่ 13 เมษยน 2025 นี้ เราสามารถสังเกตปรากฏการณ์ไมโครฟลูมูนได้ตั้งแต่ช่วง 18.48 น. โดยนายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ผู้ที่สนใจอยากชมปรากฏการณ์นี้จะสามารถสังเกตปรากฏการณ์นี้ได้ตามแนวขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ในวันอาทิตย์ที่ 13 เมษายนนี้ ตั้งแต่เวลา 18.48 น. เป็นต้นไป ซึ่งในเวลานั้น ดวงจันทร์จะอยู่ห่างจากโลกประมาณ 406,000 กม. ทำให้ขนาดของดวงจันทร์ที่ปรากฏให้เห็นจะเล็กกว่าปกติเล็กน้อย และปรากฏการณ์ไมโครฟลูมูนนี้จะยังปรากฏให้เห็นตลอดทั้งคืนจนถึงเช้าวันที่ 14 เมษายนอีกด้วย
นอกจากปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เต็มดวงที่อยู่ไกลโลกมากที่สุดอย่างไมโครฟลูมูนแล้ว ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในปีนี้ หรือที่เรียกว่า “ซูเปอร์ฟูลมูน” จะเกิดขึ้นในคืนวันที่ 5 พฤศจิกายน อีกด้วย โดยดวงจันทร์ที่ปรากฏให้เห็นนั้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย
ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2025/04/10/spectacular-039micro-full-moon039-to-appear-on-thai-new-year-night
ความหมาย : https://www.timeanddate.com/astronomy/moon/micro-moon.html