สวัสดีครับ วันนี้ .... วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่จะมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่สำคัญ คือ Supermoon ครับ
ชื่อของปรากฏการณ์ SuperMoon นี้ ไม่ได้ถูกตั้งชื่อโดยนักดาราศาสตร์ แต่ถูกตั้งชื่อโดย "โหร" ชาวอเมริกัน Richard Nolle
ในปี 1979 และก็ได้เรียกกันอย่างติดปากตลอดมาครับ ปรากฏการณ์นี้ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย มันคือการโคจรของดวงจันทร์
รอบโลกเราแบบธรรมดานี่เอง Supermoon คือตำแหน่งการโคจรที่ "ใกล้สุด" ของดวงจันทร์ เรียกว่าตำแหน่ง PERIGEE (เปริจี)
เราให้คำจำกัดความของคำว่า Supermoon เมื่อดวงจันทร์มีระยะห่างจากศูนย์กลางโลกตั้งแต่ 360,000 กิโลเมตรลงมา
และ Micromoon หรือดวงจันทร์ไกลโลกมากที่สุด เมื่อดวงจันทร์มีระยะห่างจากศูนย์กลางโลกตั้งแต่ 400,000 กิโลเมตรขึ้นไป
คำว่า Perigee - Apogee มาจากรากฐานภาษาละตินเก่า คือ Perigēum - Apogēum ครับ
ภาพนี้ แสดงถึงตำแหน่งโคจร ใกล้สุด และ ไกลสุด ของดวงจันทร์
และเมื่อดวงจันทร์ใกล้โลกแบบนี้ ขนาดปรากฏจึงใหญ่ขึ้น 14% และสว่างมากกว่าเดิม 30%
ภาพจริงของขนาด Supermoon ปี 2017
Supermoon ในวันนี้ สามารถดูได้ตลอดคืนจนถึงเช้าวันพุธที่ 20 เลยครับ แต่หากเอาแบบละเอียดจริง ๆ
ดวงจันทร์จะเข้าใกล้โลกมากที่สุดไปแล้วเมื่อเวลา 16:22 น. ของวันนี้ (19 กุมภาพันธ์) ที่ระยะ 356,763 กิโลเมตร
แต่ในเวลานั้นดวงจันทร์ยังไม่ขึ้นที่ประเทศไทย เราจึงต้องดูคืนนี้ครับ ในคืนนี้ดวงจันทร์จะเริ่มขึ้นเวลา 18:28 น. ทางทิศตะวันออก
และตำแหน่งดวงจันทร์จะเลื่อนไปอยู่กลางท้องฟ้าตรงศีรษะเราเวลา 00:40 คืนนี้ (เช้าวันที่ 20) ..... และจะอยู่บนฟ้ายาวไป
จนถึงเวลา 6 โมงเช้าวันที่ 20 จึงจะตกดินทางทิศตะวันตกครับ
รายละเอียดขอเสนอเท่านี้ สวัสดีครับ
รายละเอียดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ SuperMoon ในคืนนี้ครับ
ชื่อของปรากฏการณ์ SuperMoon นี้ ไม่ได้ถูกตั้งชื่อโดยนักดาราศาสตร์ แต่ถูกตั้งชื่อโดย "โหร" ชาวอเมริกัน Richard Nolle
ในปี 1979 และก็ได้เรียกกันอย่างติดปากตลอดมาครับ ปรากฏการณ์นี้ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย มันคือการโคจรของดวงจันทร์
รอบโลกเราแบบธรรมดานี่เอง Supermoon คือตำแหน่งการโคจรที่ "ใกล้สุด" ของดวงจันทร์ เรียกว่าตำแหน่ง PERIGEE (เปริจี)
เราให้คำจำกัดความของคำว่า Supermoon เมื่อดวงจันทร์มีระยะห่างจากศูนย์กลางโลกตั้งแต่ 360,000 กิโลเมตรลงมา
และ Micromoon หรือดวงจันทร์ไกลโลกมากที่สุด เมื่อดวงจันทร์มีระยะห่างจากศูนย์กลางโลกตั้งแต่ 400,000 กิโลเมตรขึ้นไป
คำว่า Perigee - Apogee มาจากรากฐานภาษาละตินเก่า คือ Perigēum - Apogēum ครับ
ภาพนี้ แสดงถึงตำแหน่งโคจร ใกล้สุด และ ไกลสุด ของดวงจันทร์
และเมื่อดวงจันทร์ใกล้โลกแบบนี้ ขนาดปรากฏจึงใหญ่ขึ้น 14% และสว่างมากกว่าเดิม 30%
ภาพจริงของขนาด Supermoon ปี 2017
Supermoon ในวันนี้ สามารถดูได้ตลอดคืนจนถึงเช้าวันพุธที่ 20 เลยครับ แต่หากเอาแบบละเอียดจริง ๆ
ดวงจันทร์จะเข้าใกล้โลกมากที่สุดไปแล้วเมื่อเวลา 16:22 น. ของวันนี้ (19 กุมภาพันธ์) ที่ระยะ 356,763 กิโลเมตร
แต่ในเวลานั้นดวงจันทร์ยังไม่ขึ้นที่ประเทศไทย เราจึงต้องดูคืนนี้ครับ ในคืนนี้ดวงจันทร์จะเริ่มขึ้นเวลา 18:28 น. ทางทิศตะวันออก
และตำแหน่งดวงจันทร์จะเลื่อนไปอยู่กลางท้องฟ้าตรงศีรษะเราเวลา 00:40 คืนนี้ (เช้าวันที่ 20) ..... และจะอยู่บนฟ้ายาวไป
จนถึงเวลา 6 โมงเช้าวันที่ 20 จึงจะตกดินทางทิศตะวันตกครับ
รายละเอียดขอเสนอเท่านี้ สวัสดีครับ