ทำไมเราไม่ติดตั้งสถานีอวกาศลงบนดาวหาง และให้ดาวหางพาสถานีไปในอวกาศอันไกลโพ้น

กระทู้คำถาม
เมื่อหลายปีก่อน NASA เคยส่งยานอวกาศไปติดตามดาวหางดวงหนึ่ง อย่างใกล้ชิด จึงสงสัยว่าเราสามารถนำยานลงจอดบนดาวหางได้หรือไม่
หาทำได้   ดาวหางมีวงโคจรที่เป็นวงรีมาก เมื่อระยะไกลสุด ดาวหางจะพาไปศึกษาอวกาศอันไกลโพ้น บางทีดาวหางอาจโคจรไปถึงเมฆออร์ต
ซึ่งเป็นเขตสุดแดนระบบสุริยะ และเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จะได้ศึกษาดวงอาทิตย์  แทนการส่งยานอวกาศไปตาลำพัง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เราสามารถนำยานลงจอดบนดาวหางได้หรือไม่  หาทำได้   ดาวหางมีวงโคจรที่เป็นวงรีมาก เมื่อระยะไกลสุด
ดาวหางจะพาไปศึกษาอวกาศอันไกลโพ้น บางทีดาวหางอาจโคจรไปถึงเมฆออร์ต
ซึ่งเป็นเขตสุดแดนระบบสุริยะ และเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จะได้ศึกษาดวงอาทิตย์  แทนการส่งยานอวกาศไปตาลำพัง


คุณ bgfc ดูคลิปนี้ก่อนนะครับ  นี่คือ Trajectory ของยาน Rosetta ที่ปล่อยออกจากโลก
และเดินทางไป "เทียบ" ดาวหาง 67P  จากคลิปจะเห็นว่านอกจากแรงส่งจากจรวดแล้ว
จะต้องออกแบบการโคจรให้ยานจะต้องทำ gravity assist กับโลกด้วย  เพื่อให้ได้ความเร็วมากพอ
ที่จะ "วิ่งตาม" ดาวหางได้  การโคจรแบบวิ่งตาม  คือวิธีเดียวที่จะเข้าเทียบ และ ลงจอดบนดาวหางได้ครับ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ที่นี้ ..... ปัญหาใหญ่ก็คือ  ดาวหางที่มีคาบยาวอย่างที่คุณ bgfc บอกว่าดวงที่โคจรไปไกลถึงเลยดาว Pluto
ดาวหางพวกนี้จะมีความเร็วสูงมาก ๆ ในช่วงที่มันโคจรขากลับมาหาดวงอาทิตย์  เฉลี่ยแล้วสูงถึง 30 - 50 กิโลเมตร/วินาที
ซึ่ง ..... ความเร็วขนาดนี้  จะต้องใช้จรวดปล่อยขนาดใหญ่มากเลยครับ  ขอยกตัวอย่างจรวดที่ปล่อยยาน New Horizons
ก็ยังเร็วได้แค่ 16.2 กิโลเมตร/วินาที  ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ยากข้อแรกที่จะต้องใช้จรวดที่เร็วกว่าเดิมเกือบ 3 เท่า

เรื่องต่อไป คือ  หากเราสามารถเกาะติด และ ส่ง Probe ลงจอดได้จริง  เราจะต้องรับมือกับ
การหมุนควงของดาวหางด้วย  วัตถุพวกนี้จะหมุนควงตลอดเวลา  ดังนั้น  จึงไม่สะดวกอย่างมาก
ที่ Probe จะทำงานต่าง ๆ ให้เราได้  และยิ่งดาวหางไปไกล  ก็จะมีการ delay ของคลื่นวิทยุที่เราจะ
รับ-ส่ง data , command ต่าง ๆ กับ Probe ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่