มีใครเคยสังเกตไหมว่า แอปพลิเคชั่นเกมที่เราโหลดมาเล่นนั้นมาจากประเทศอะไร บางเกมเห็นภาพสวยราวกับอนิเมะ ตัวเกมคาวาอี้ หรือเกมมีเสียงพากย์ญี่ปุ่น ก็ทำให้หลายๆ คนนึกว่าเป็นเกมจากญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์โดนใจคนทั้งโลก แต่พอโหลดมาเล่นจริงกลับกลายเป็นเกมจีนหรือเกาหลีใต้ซะงั้น หรือบางเกมอารมณ์เหมือนเกมฝรั่งแต่พอโหลดจริงๆ อ้าวเกมฮ่องกงหรือนี้ หรือบางเกมดูทางด้านกายภาพกับแมคคานิคเกมจีนแน่นอน แต่ทำไมกลายเป็นเกมญี่ปุ่นแทนซึ่งบางคนก็รับได้หากตัวเกมสนุก และเล่นได้ไหลลื่นไม่มีบัคก็พอไม่ว่าเกมประเทศอะไร แต่บางครั้งก็รู้สึกหัวร้อนเนื่องจากเล่นไม่สนุกกว่าที่คิดจนต้องลบทิ้งไป
ในยุคที่ใครๆ ก็สามารถผลิตแอปฯ เกมป้อนสู่ตลาดกันมาอย่างไม่ขาดสาย แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า เกมที่เราเห็นในโฆษณาทั้งบิลบอร์ด อินเตอร์เน็ต หรือระบบดูโฆษณาในแอปพลิเคชั่น โดยเฉพาะหากคุณไม่ร็จักบริษัทที่พัฒนาเกม จะค้นหาผ่านกูเกิลก็เสียเวลาใช่ย่อย ซึ่งคุณมีวิธีง่ายๆ ในการเช็คว่าเกมนี้มาจากประเทศอะไรในเวลาไม่ถึง 10 วิ (ถ้าอ่านภาษาอังกฤษได้) นั่นคือ...
"ข้อมูลติดต่อของนักพัฒนาซอร์ฟแวร์"
หมายเหตุ เปรียบเทียบจาก Play Store เพราะเราไม่ได้ใช้ iOS
วิธ๊การก็ไม่ยาก เพียงแค่เลือกแอปฯ เกมที่ต้องการ เลื่อนหน้าจอไปยัง
ข้อมูลติดต่อของนักพัฒนาซอร์ฟแวร์ แล้วกดเข้าไปชมเลย ซึ่งข้อมูลที่ปรากฎนั้นส่วนมากจะเป็นทั้งภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษาเกาหลี, ภาษารัสเซีย และภาษาญี่ปุ่น ซึ่งการระบุข้อมูลเบื้องต้นส่วนมากจะเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ว่าเกมนั้นจะพัฒนาที่ไหน ข้อมูลจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แต่บางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ จะมีการระบุข้อมูลเป็นภาษาเกาหลีด้วย แต่น้อยมาก
เกมนี้หลายคนนึกว่ามาจากจีน แต่พอเช็คแล้วมันคือเกมฮ่องกง
ถ้าไม่บอกว่านี่คือเกมสิงค์โปร ก็คงนึกว่าเกมญี่ปุ่นหรือเกมจีน
เกมในตำนานที่แฟนๆ ชาวไทยรู้จักกันดี แต่เกมนี้ถูกพัฒนาที่ฮ่องกง ไม่ใช่เกมจีนอย่างที่ใครๆ คิดกัน
ทีนี้ เกมที่พัฒนาจากประเทศญี่ปุ่น จะมีความอินดี้ต่างจากชาวบ้านอย่างมาก ก็คือ การระบุ ข้อมูลติดต่อของนักพัฒนาซอร์ฟแวร์ นั้นจะใช้
ภาษาญี่ปุ่นล้วนๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นแบบฮิรางานะ หรือฮิรางานะ+คันจิ ซึ่งจะทำให้เราทราบได้ทันทีว่า เกมที่เล่นเป็นเกมญี่ปุ่นแน่นอน
เกม FGO สุดที่รัก ถ้าจะสมัครงานต้องมีสกิลภาษาญี่ปุ่นกันหน่อย
ได้ประโยชน์อย่างไรจากวิธีนี้?
หลักๆ เลยก็คือทำให้ผู้ใช้สามารถรู้ได้ว่าเกมที่เราเล่นมาจากประเทศอะไร พัฒนากันที่ไหน ซึ่งดูแล้วอาจจะไม่ใช่เรื่องจำเป็น
หากเกมที่คุณเล่นชอบใจ จะผลิตที่ไหนก็ไม่สำคัญ แต่มันจะมีประโยชน์แฝงดังนี้
1. จับผิดนักการตลาด ที่บอกว่า "แอปเกมสุดดังส่งตรงจากญี่ปุ่น" "แอปเกมคาวาอี้ สไตล์อนิเมะญี่ปุ่น" หรือแม้แต่ "สุดยอดเกมดังจากต่างประเทศ (แต่ไม่ได้ระบุว่าประเทศอะไร)" ตรงส่วนนี้ไม่ได้ต้องการจับผิดตัวเกมจนตกเป็นจำเลย เพราะตัวเกมก็มีแมคคานิกที่สนุก แต่ทำให้คุณได้รู้แหล่งที่มาของเกมเพื่อไปจับผิดผู้นำเข้าเกมมาเปิดในไทยว่ามีความซื่อสัตย์มากน้อยแค่ไหน ซึ่งนักการตลาดทั้งหลายคงต้องทำการบ้านดีๆ หน่อยว่าหากจะโปรโมทเกมสักเกมนึง จะบอกแหล่งผู้พัฒนาโดยตรง หรือจะอ้างอิงสไตล์เกมเพื่อดึงดูดลูกค้า เพราะมันมีผลต่อความน่าเชื่อถือผู้นำเข้ามาให้บริการด้วย
2. เพื่อแสดงความเห็นได้อย่างเหมาะสม ในกรณีที่ต้องการแสดงความเห็นเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงหรือแก้ไขนั้น การใช้ภาษาท้องถิ่นของผู้พัฒนาจะช่วยสร้างการดึงดูดนักพัฒนาได้ง่ายขึ้น รองมาก็คือภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล แต่ถ้าเราคอมเมนต์ด้วยภาษาไทยโอกาสโดนมองข้ามจะสูงมาก (ยกเว้นว่าเกมนี้มีฐานผู้เล่นในไทยสูง, เกมที่เปิดเซิร์ฟอินเตอร์, เกมที่รองรับภาษาไทย) ซึ่งจะมีโอกาสช่วยสนับสนุนในการปรับปรุงเกมที่ตอบโจทย์ได้ดียิ่งขึ้น
แต่... ต้องพิมพ์เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์เท่านั้น หากพิมพ์ไปในลักษณะเชิงด่าทอ หรือข้อความสั้นๆ หรือข้อความที่อ่านไม่รู้เรื่อง โอกาสโดนเมินสูง และยังทำให้ภาพลักษณ์ในสายตาชาวโลกที่มาดูคะแนนรีวิวดูแย่ลงยิ่งขึ้น
3. เสริมความรู้ให้กับนักรีวิวเกม นักแคสเกม นักเขียนบทความวงการเกม
4. เพื่อวางแผนทำงานต่างประเทศ หากเราศึกษาว่านักพัฒนาเกมนั้นอยู่ที่ไหน และอยากเปิดประสบการณ์ทำงานโกอินเตอร์ การศึกษาข้อมูลที่อยู่บริษัทฯ และการเตรียมความพร้อมด้านภาษา ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยวางแผนในการสมัครงานได้
ทำไมแอปเกมญี่ปุ่นมีน้อยมาก
ส่วนมากเกมและแอปจะถูกล็อกโซนซึ่งคาดว่าเพื่อความง่ายต่อการจัดระเบียบภายในเกม หรือง่ายต่อการให้บริการ (ซึ่งหลายๆ คนก็ใช้วิธีมุด VPN มาเล่นกันแทน) จึงทำให้เกมที่ครองตลาดในไทยจะมาจากฮ่องกง (ที่บอกว่าเกมจีนๆ ส่วนมากอยู่ฮ่องกง), สิงค์โปร, มาเลเซีย, ไซปรัส, ไอร์แลน, เกาหลีใต้ และจีน (เอาจริงๆ นะ เกมจีนที่โกอินเตอร์มีน้อยกว่าที่คิด)
หมายเหตุ
1. จะมีบางเกมระบุว่าพัฒนาในที่ KL นั้นจะเป็นเขตเกาลูน Kowloon ซึ่งบางเกมที่พัฒนาในฮ่องกงจะมีระบุ Central ด้วย กับอีกกรณีนึงก็คือพัฒนาในกัวลาลัมเปอร์ นอกจากนี้ผู้พัฒนาเกมที่บอกว่ามาจากจีน บางส่วนจะบอกจบแค่มณฑลก็มี
ทั้ง 2 เกมนี้เป็นเกมฮ่องกงทั้งคู่ แต่คนละเขตกัน
2. ไม่ได้มีเกมญี่ปุ่นที่บอกข้อมูลนักพัฒนาซอร์ฟแวร์ที่ระบุแค่ภาษาญี่ปุ่น เพราะบางเกมก็ระบุเป็นภาษาอังกฤษได้ กับบางเกมระบุทั้ง 2 ภาษา แต่เป็นส่วนน้อยมาก
บางครั้งเกมที่พัฒนาจากญี่ปุ่นก็ใส่ข้อมูลภาษาอังกฤษด้วย แต่น้อยมาก
ลองทายดูว่าเกมอะไร?
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์แก่ทุกๆ ท่านนะครับ
แอปพลิเคชั่นเกมในสมาร์ทโฟนเป็นของประเทศอะไร คุณเช็คได้ไม่ถึง 10 วินาที (สำหรับหุ่นเขียว)
ในยุคที่ใครๆ ก็สามารถผลิตแอปฯ เกมป้อนสู่ตลาดกันมาอย่างไม่ขาดสาย แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า เกมที่เราเห็นในโฆษณาทั้งบิลบอร์ด อินเตอร์เน็ต หรือระบบดูโฆษณาในแอปพลิเคชั่น โดยเฉพาะหากคุณไม่ร็จักบริษัทที่พัฒนาเกม จะค้นหาผ่านกูเกิลก็เสียเวลาใช่ย่อย ซึ่งคุณมีวิธีง่ายๆ ในการเช็คว่าเกมนี้มาจากประเทศอะไรในเวลาไม่ถึง 10 วิ (ถ้าอ่านภาษาอังกฤษได้) นั่นคือ...
"ข้อมูลติดต่อของนักพัฒนาซอร์ฟแวร์"
หมายเหตุ เปรียบเทียบจาก Play Store เพราะเราไม่ได้ใช้ iOS
วิธ๊การก็ไม่ยาก เพียงแค่เลือกแอปฯ เกมที่ต้องการ เลื่อนหน้าจอไปยัง ข้อมูลติดต่อของนักพัฒนาซอร์ฟแวร์ แล้วกดเข้าไปชมเลย ซึ่งข้อมูลที่ปรากฎนั้นส่วนมากจะเป็นทั้งภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษาเกาหลี, ภาษารัสเซีย และภาษาญี่ปุ่น ซึ่งการระบุข้อมูลเบื้องต้นส่วนมากจะเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ว่าเกมนั้นจะพัฒนาที่ไหน ข้อมูลจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด แต่บางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ จะมีการระบุข้อมูลเป็นภาษาเกาหลีด้วย แต่น้อยมาก
หลักๆ เลยก็คือทำให้ผู้ใช้สามารถรู้ได้ว่าเกมที่เราเล่นมาจากประเทศอะไร พัฒนากันที่ไหน ซึ่งดูแล้วอาจจะไม่ใช่เรื่องจำเป็น หากเกมที่คุณเล่นชอบใจ จะผลิตที่ไหนก็ไม่สำคัญ แต่มันจะมีประโยชน์แฝงดังนี้
1. จับผิดนักการตลาด ที่บอกว่า "แอปเกมสุดดังส่งตรงจากญี่ปุ่น" "แอปเกมคาวาอี้ สไตล์อนิเมะญี่ปุ่น" หรือแม้แต่ "สุดยอดเกมดังจากต่างประเทศ (แต่ไม่ได้ระบุว่าประเทศอะไร)" ตรงส่วนนี้ไม่ได้ต้องการจับผิดตัวเกมจนตกเป็นจำเลย เพราะตัวเกมก็มีแมคคานิกที่สนุก แต่ทำให้คุณได้รู้แหล่งที่มาของเกมเพื่อไปจับผิดผู้นำเข้าเกมมาเปิดในไทยว่ามีความซื่อสัตย์มากน้อยแค่ไหน ซึ่งนักการตลาดทั้งหลายคงต้องทำการบ้านดีๆ หน่อยว่าหากจะโปรโมทเกมสักเกมนึง จะบอกแหล่งผู้พัฒนาโดยตรง หรือจะอ้างอิงสไตล์เกมเพื่อดึงดูดลูกค้า เพราะมันมีผลต่อความน่าเชื่อถือผู้นำเข้ามาให้บริการด้วย
2. เพื่อแสดงความเห็นได้อย่างเหมาะสม ในกรณีที่ต้องการแสดงความเห็นเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงหรือแก้ไขนั้น การใช้ภาษาท้องถิ่นของผู้พัฒนาจะช่วยสร้างการดึงดูดนักพัฒนาได้ง่ายขึ้น รองมาก็คือภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล แต่ถ้าเราคอมเมนต์ด้วยภาษาไทยโอกาสโดนมองข้ามจะสูงมาก (ยกเว้นว่าเกมนี้มีฐานผู้เล่นในไทยสูง, เกมที่เปิดเซิร์ฟอินเตอร์, เกมที่รองรับภาษาไทย) ซึ่งจะมีโอกาสช่วยสนับสนุนในการปรับปรุงเกมที่ตอบโจทย์ได้ดียิ่งขึ้น
แต่... ต้องพิมพ์เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์เท่านั้น หากพิมพ์ไปในลักษณะเชิงด่าทอ หรือข้อความสั้นๆ หรือข้อความที่อ่านไม่รู้เรื่อง โอกาสโดนเมินสูง และยังทำให้ภาพลักษณ์ในสายตาชาวโลกที่มาดูคะแนนรีวิวดูแย่ลงยิ่งขึ้น
3. เสริมความรู้ให้กับนักรีวิวเกม นักแคสเกม นักเขียนบทความวงการเกม
4. เพื่อวางแผนทำงานต่างประเทศ หากเราศึกษาว่านักพัฒนาเกมนั้นอยู่ที่ไหน และอยากเปิดประสบการณ์ทำงานโกอินเตอร์ การศึกษาข้อมูลที่อยู่บริษัทฯ และการเตรียมความพร้อมด้านภาษา ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยวางแผนในการสมัครงานได้
ทำไมแอปเกมญี่ปุ่นมีน้อยมาก
ส่วนมากเกมและแอปจะถูกล็อกโซนซึ่งคาดว่าเพื่อความง่ายต่อการจัดระเบียบภายในเกม หรือง่ายต่อการให้บริการ (ซึ่งหลายๆ คนก็ใช้วิธีมุด VPN มาเล่นกันแทน) จึงทำให้เกมที่ครองตลาดในไทยจะมาจากฮ่องกง (ที่บอกว่าเกมจีนๆ ส่วนมากอยู่ฮ่องกง), สิงค์โปร, มาเลเซีย, ไซปรัส, ไอร์แลน, เกาหลีใต้ และจีน (เอาจริงๆ นะ เกมจีนที่โกอินเตอร์มีน้อยกว่าที่คิด)
หมายเหตุ
1. จะมีบางเกมระบุว่าพัฒนาในที่ KL นั้นจะเป็นเขตเกาลูน Kowloon ซึ่งบางเกมที่พัฒนาในฮ่องกงจะมีระบุ Central ด้วย กับอีกกรณีนึงก็คือพัฒนาในกัวลาลัมเปอร์ นอกจากนี้ผู้พัฒนาเกมที่บอกว่ามาจากจีน บางส่วนจะบอกจบแค่มณฑลก็มี