3 แบรนด์น้องใหม่ที่เปิดหน้าลุยยานยนต์พลังงานไฟฟ้ายังเหนื่อย “ฟอมม์” ยอดไม่วิ่งต้องอัดโปรโมชันช่วยดาวน์ 1 แสนบาท เหลือผ่อน6,800 บาท/เดือน ส่วนมอเตอร์ไซค์อีวี “อีทราน” สตาร์ตอัพไทยประกาศ ขายโมเดลแรก 1.51 แสนบาท ส่วน “นิว” เพิ่มโปรดักต์ตัวท็อปแบตเตอรี่ใหญ่วิ่งได้ไกลขึ้นราคา 1.2 แสนบาท
ทิศทางยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเริ่มเห็นภาพชัดเจน หลังค่ายรถยนต์นำเข้ามาทำตลาด ไม่ว่าจะเป็นนิสสัน ลีฟ,เกีย โซล อีวี, ฮุนได ไอออนิก,ฮุนได โคนา อิเล็กทริค , จากัวร์ ไอ-เพซ , อาวดี้ อี-ตรอน รวมไปถึงการแจ้งเกิดแบรนด์น้องใหม่ “ฟอมม์” และ “สปา วัน” จากไมน์ โมบิลิตี กลุ่มบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ข้ามชาติรายใหญ่ ไม่น่าจะมีปัญหากับยอดขายที่ยังทำได้น้อย เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี ทว่าผู้ประกอบการรายใหม่ๆ พร้อมพันธมิตรที่กินดีหมีหัวใจเสือ เชื่อมั่นว่าตลาดนี้ยังมีที่ว่างเพียงพอ พบว่าการตอบรับของตลาดยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จำเป็นต้องปรับแผนด้านโปรดักต์และการขายอยู่ตลอด
“ฟอมม์” เจ้าของญี่ปุ่นที่ลงทุนตั้งโรงงานประกอบ “อีวี” ในไทย ซึ่งรถล็อตแรกทยอยส่งมอบตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แต่ยอดขายยังอยู่ในจำนวนจำกัด ล่าสุดเปิดโปรโมชันช่วยเงินดาวน์ 1 แสนบาท จากราคารถ 5.99 แสนบาท (เดิมขายกว่า 6 แสนบาท) โดยที่เหลือให้ดาวน์ 2 หมื่นบาท ผ่อนเดือนละ 6,800 บาท นาน 72 เดือน
ทั้งนี้ “ฟอมม์” ยังมีแผนโรดโชว์ไปตามหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ พร้อมสร้างการรับรู้ผ่านสื่อออนไลน์ เมื่อบวกกับส่วนลด 1 แสนบาท น่าจะช่วยดึงดูดความสนใจได้มากขึ้น
สำหรับ “ฟอมม์ วัน” ติดตั้งมอเตอร์ขับเคลื่อน 2 ตัวแบบ In-Wheel ในล้อคู่หน้า ให้แรงบิด 560 นิวตัน-เมตร ใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไออนขนาด 11.8 กิโลวัตต์ชั่วโมง ชาร์จไฟเต็ม 1 ครั้งรถวิ่งได้ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร โดยรถผลิตที่โรงงานของฟอมม์ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ชลบุรี กำลังการผลิต 1 หมื่นคันต่อปี
อย่างไรก็ตาม ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ที่กำลังเติบโตและมีผู้เล่นหลายรายคือกลุ่ม มอเตอร์ไซค์ที่ส่วนมากนำเข้ามาจากจีน หรือไต้หวัน ส่งผลให้ยอดจดทะเบียน(BEV) ตั้งแต่มกราคม-มิถุนายน 2562 มีทั้งสิ้น 306 คัน มากที่สุดเมื่อเทียบกับรถประเภทอื่น (รถยนต์ 68 คัน ,รถโดยสาร 24 คัน และ รถสามล้อ 22 คัน)
การตอบรับของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่เห็นโอกาส หนึ่งในนั้นคือ กลุ่มสตาร์ตอัพ“อีทราน” ที่ปักธงรบบุกเบิก 2 ล้อไฟฟ้าแบรนด์ไทย จากจุดเริ่มต้นที่พัฒนา ETRAN PROM โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ รถสาธารณะ วินมอเตอร์ไซค์ แต่ด้วยหลากหลายปัจจัยทำให้รถรุ่นดังกล่าวยังไม่สามารถแจ้งเกิดได้
หลังจากลองผิดลองถูกในช่วง1 -2 ปีที่ผ่านมา อีทราน ได้พันธมิตรรายใหญ่อย่างปตท.ที่จะเข้ามาสนับสนุน และล่าสุดในวันที่ 9 เดือน 9 ปี 2019 เตรียมจัดงาน ETRAN Connect the world พร้อมเปิดตัว ETRAN KRAF Limited Edition ที่ผลิต 300 คัน มีให้เลือก 7 สี ราคา 1.5 แสนบาท (ไม่รวมVAT)เปิดให้จองผ่านหน้าเว็บไซต์เท่านั้น
สำหรับ ETRAN KRAF Limited Edition ถือเป็นครั้งแรกกับรถไฟฟ้าของไทย ที่มาพร้อมหัวชาร์จ IEC 62196 Type 2 ที่รองรับการจ่ายไฟ 20A และยังสามารถชาร์จจากระบบไฟบ้าน 8A ได้เช่นกัน หรือจะชาร์จไฟได้ตามสถานีชาร์จที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ
จุดเด่นของรุ่นพิเศษยังมาพร้อมระบบ IoT ที่ช่วยให้ทราบถึงสถานะการสึกหรอของอะไหล่ และช่วยวิเคราะห์ข้อมูลในการขับขี่ผ่าน ETRAN Application ได้ทุกที่ทุกเวลา ขณะที่ภาคการผลิตของรถรุ่นนี้ ผลิตด้วยระบบหุ่นยนต์แขนกลที่ได้มาตรฐาน ใช้เทคนิคออกแบบผิวขั้นสูง ด้วยตัวถังคาร์บอนไฟเบอร์ นํ้าหนักเบา
แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ขนาด 2.88 กิโลวัตต์ชั่วโมง (40 Ah)ชาร์จครั้งเดียววิ่งได้ 180 กิโลเมตร ส่วนแรงบิด 150 นิวตัน-เมตร ทำความเร็วสูงสุดได้ 130 กม./ชม.
“ราคา 1.5 แสนบาท เรามองว่าเป็นราคาที่เหมาะสม ด้วยวัสดุที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี ขั้นตอนผลิตที่พิถีพิถัน สีพ่นตัวถังก็ใช้ยี่ห้อนกแก้ว (GLASURIT) แบตเตอรี่เทคโนโลยีเดียวกันกับนิสสัน ลีฟ ตัวถังผลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์ พร้อมการรับประกันและมีออพชันให้ลูกค้าได้เลือก ซึ่งหลังจากเปิดให้จองออนไลน์ มีฟีดแบ็กก็จากลูกค้าสอบถามข้อมูลเป็นจำนวนมาก ยอดจองเฉลี่ย 10 คัน/วัน โดยรถเริ่มส่งมอบให้กับลูกค้าในไตรมาสแรกปี 2563” นายสรณัญช์ ชูฉัตร ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวและว่า
กลยุทธ์การตลาดของรถรุ่นนี้จะจัดกิจกรรมทดสอบในกรุงเทพฯ พร้อมจับมือกับสถาบันการเงินในการดูแลสินเชื่อให้กับลูกค้า ส่วนช่องทางการขาย จะไม่เน้นการขยายเครือข่ายดีลเลอร์หรือเปิดโชว์รูม แต่จะเน้นสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าโดยตรง
“เราพยายามทำตลาดในรูปแบบใหม่ เพราะรถเราไม่ใช่รถแมส ยกตัวอย่างก่อนจะเปิดตัว มีลูกค้าสนใจ เราก็บอกลูกค้าว่าสามารถมาทดลองได้ที่บริษัทเลย ตรงจุดนี้ทำให้เราคิดว่าต้องสร้างรูปแบบใหม่ของการตลาดขึ้นมา ส่วนแผนงานด้านผลิตภัณฑ์ เรายังไม่ทิ้งโมเดลรุ่นก่อนที่เราได้พัฒนา ทั้ง ETRAN KRAF ในรุ่นปกติ และ ETRAN PROM แต่ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลา”นายสรณัญช์ กล่าวทิ้งท้าย
ขณะที่แบรนด์มอเตอร์ไซค์อีวี “นิว” โดยชาริช โฮลดิ้ง (ขายดูคาติ,ลัมโบร์กินี) ปัจจุบันมียอดจดทะเบียน 7 เดือน(ม.ค.-ก.ค.62) เพียง 42 คัน และเตรียมนำเข้ารถใหม่รุ่น NGT มาทำตลาดช่วงปลายปีนี้ ราคาประมาณ 1.2 แสนบาท ด้วยสเปกแบตเตอรี่ที่ใหญ่ขึ้น ชาร์จไฟเต็มที่ 1 ครั้งรถวิ่งได้ระยะทาง 90-110 กม. ส่วนความเร็วสูงสุดทำได้ 75 กม./ชม.
ก่อนหน้านี้ “นิว” เปิดตัวรถรุ่นที่จดทะเบียนวิ่งบนถนนหลวงได้คือ N-Serie รุ่น N1 ทำความเร็วสูงสุด 65 กม./ชม. ชาร์จไฟเต็ม 1 ครั้งวิ่งได้ระยะทาง 80 กม. จากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด 29 Ah ราคา 98,000 บาท
ความคิดเห็นส่วนตัวจาก จขกท. เอง
1. ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในส่วนของรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าล้วนนั้นยังเป็นอะไรที่ใหม่ในบ้านเรา อย่าว่ารถในผลิตไทยขายไม่ดีเลย รถที่นำเข้ามาก็ไม่ได้ต่างกันสักเท่าไหร่ งานนี้สิ่งที่ขับเคลื่อนธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าได้ก็มีแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น
2. เทคโนโลยีรถไฟฟ้ายังคงมีต้นทุนที่สูงอยู่โดยเฉพาะแบตเตอรี่ แถมยังโดนกำแพงภาษีอีก ราคาเลยดูไกลเกินเอื้อมสำหรับคนทั่วไป
3. มอเตอร์ไซค์ ETRAN ที่แพงเพราะใช้คาร์บอนไฟเบอร์ ถ้าลดวัสดุลงเป็นเหล็กกล้าหรืออะลูมิเนียมราคาน่าจะลงไปได้เยอะ
4. จขกท. เองก็สนับสนุนธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าในไทยให้สามารถอยู่ได้และพัฒนารุ่นใหม่ๆให้ดีขึ้นในอนาคตต่อไป อยากให้มีบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยมไม่แพ้เจ้าตลาด
สุดท้าย
มีคนที่ใช้งาน FOMM ไปลุยน้ำกันมาแล้ว โดยผู้ใช้งานในบริเวณที่เกิดอุทกภัยจากพายุคาจิกิ
รถยนต์ไฟฟ้าลงเขาได้แทบไม่ต้องใช้เบรค แล้วยังได้พลังงานเพิ่มขึ้นด้วย
ที่มาของข่าว :
https://www.thansettakij.com/content/408764
EV หน้ามืด‘ฟอมม์’ลดราคา มอเตอร์ไซค์‘อีทราน-นิว’รุ่นใหม่ทะลุ1แสน
ทิศทางยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเริ่มเห็นภาพชัดเจน หลังค่ายรถยนต์นำเข้ามาทำตลาด ไม่ว่าจะเป็นนิสสัน ลีฟ,เกีย โซล อีวี, ฮุนได ไอออนิก,ฮุนได โคนา อิเล็กทริค , จากัวร์ ไอ-เพซ , อาวดี้ อี-ตรอน รวมไปถึงการแจ้งเกิดแบรนด์น้องใหม่ “ฟอมม์” และ “สปา วัน” จากไมน์ โมบิลิตี กลุ่มบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ข้ามชาติรายใหญ่ ไม่น่าจะมีปัญหากับยอดขายที่ยังทำได้น้อย เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี ทว่าผู้ประกอบการรายใหม่ๆ พร้อมพันธมิตรที่กินดีหมีหัวใจเสือ เชื่อมั่นว่าตลาดนี้ยังมีที่ว่างเพียงพอ พบว่าการตอบรับของตลาดยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จำเป็นต้องปรับแผนด้านโปรดักต์และการขายอยู่ตลอด
“ฟอมม์” เจ้าของญี่ปุ่นที่ลงทุนตั้งโรงงานประกอบ “อีวี” ในไทย ซึ่งรถล็อตแรกทยอยส่งมอบตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แต่ยอดขายยังอยู่ในจำนวนจำกัด ล่าสุดเปิดโปรโมชันช่วยเงินดาวน์ 1 แสนบาท จากราคารถ 5.99 แสนบาท (เดิมขายกว่า 6 แสนบาท) โดยที่เหลือให้ดาวน์ 2 หมื่นบาท ผ่อนเดือนละ 6,800 บาท นาน 72 เดือน
ทั้งนี้ “ฟอมม์” ยังมีแผนโรดโชว์ไปตามหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ พร้อมสร้างการรับรู้ผ่านสื่อออนไลน์ เมื่อบวกกับส่วนลด 1 แสนบาท น่าจะช่วยดึงดูดความสนใจได้มากขึ้น
สำหรับ “ฟอมม์ วัน” ติดตั้งมอเตอร์ขับเคลื่อน 2 ตัวแบบ In-Wheel ในล้อคู่หน้า ให้แรงบิด 560 นิวตัน-เมตร ใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไออนขนาด 11.8 กิโลวัตต์ชั่วโมง ชาร์จไฟเต็ม 1 ครั้งรถวิ่งได้ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร โดยรถผลิตที่โรงงานของฟอมม์ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ชลบุรี กำลังการผลิต 1 หมื่นคันต่อปี
อย่างไรก็ตาม ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% ที่กำลังเติบโตและมีผู้เล่นหลายรายคือกลุ่ม มอเตอร์ไซค์ที่ส่วนมากนำเข้ามาจากจีน หรือไต้หวัน ส่งผลให้ยอดจดทะเบียน(BEV) ตั้งแต่มกราคม-มิถุนายน 2562 มีทั้งสิ้น 306 คัน มากที่สุดเมื่อเทียบกับรถประเภทอื่น (รถยนต์ 68 คัน ,รถโดยสาร 24 คัน และ รถสามล้อ 22 คัน)
การตอบรับของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่เห็นโอกาส หนึ่งในนั้นคือ กลุ่มสตาร์ตอัพ“อีทราน” ที่ปักธงรบบุกเบิก 2 ล้อไฟฟ้าแบรนด์ไทย จากจุดเริ่มต้นที่พัฒนา ETRAN PROM โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ รถสาธารณะ วินมอเตอร์ไซค์ แต่ด้วยหลากหลายปัจจัยทำให้รถรุ่นดังกล่าวยังไม่สามารถแจ้งเกิดได้
หลังจากลองผิดลองถูกในช่วง1 -2 ปีที่ผ่านมา อีทราน ได้พันธมิตรรายใหญ่อย่างปตท.ที่จะเข้ามาสนับสนุน และล่าสุดในวันที่ 9 เดือน 9 ปี 2019 เตรียมจัดงาน ETRAN Connect the world พร้อมเปิดตัว ETRAN KRAF Limited Edition ที่ผลิต 300 คัน มีให้เลือก 7 สี ราคา 1.5 แสนบาท (ไม่รวมVAT)เปิดให้จองผ่านหน้าเว็บไซต์เท่านั้น
สำหรับ ETRAN KRAF Limited Edition ถือเป็นครั้งแรกกับรถไฟฟ้าของไทย ที่มาพร้อมหัวชาร์จ IEC 62196 Type 2 ที่รองรับการจ่ายไฟ 20A และยังสามารถชาร์จจากระบบไฟบ้าน 8A ได้เช่นกัน หรือจะชาร์จไฟได้ตามสถานีชาร์จที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ
จุดเด่นของรุ่นพิเศษยังมาพร้อมระบบ IoT ที่ช่วยให้ทราบถึงสถานะการสึกหรอของอะไหล่ และช่วยวิเคราะห์ข้อมูลในการขับขี่ผ่าน ETRAN Application ได้ทุกที่ทุกเวลา ขณะที่ภาคการผลิตของรถรุ่นนี้ ผลิตด้วยระบบหุ่นยนต์แขนกลที่ได้มาตรฐาน ใช้เทคนิคออกแบบผิวขั้นสูง ด้วยตัวถังคาร์บอนไฟเบอร์ นํ้าหนักเบา
แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ขนาด 2.88 กิโลวัตต์ชั่วโมง (40 Ah)ชาร์จครั้งเดียววิ่งได้ 180 กิโลเมตร ส่วนแรงบิด 150 นิวตัน-เมตร ทำความเร็วสูงสุดได้ 130 กม./ชม.
“ราคา 1.5 แสนบาท เรามองว่าเป็นราคาที่เหมาะสม ด้วยวัสดุที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี ขั้นตอนผลิตที่พิถีพิถัน สีพ่นตัวถังก็ใช้ยี่ห้อนกแก้ว (GLASURIT) แบตเตอรี่เทคโนโลยีเดียวกันกับนิสสัน ลีฟ ตัวถังผลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์ พร้อมการรับประกันและมีออพชันให้ลูกค้าได้เลือก ซึ่งหลังจากเปิดให้จองออนไลน์ มีฟีดแบ็กก็จากลูกค้าสอบถามข้อมูลเป็นจำนวนมาก ยอดจองเฉลี่ย 10 คัน/วัน โดยรถเริ่มส่งมอบให้กับลูกค้าในไตรมาสแรกปี 2563” นายสรณัญช์ ชูฉัตร ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวและว่า
กลยุทธ์การตลาดของรถรุ่นนี้จะจัดกิจกรรมทดสอบในกรุงเทพฯ พร้อมจับมือกับสถาบันการเงินในการดูแลสินเชื่อให้กับลูกค้า ส่วนช่องทางการขาย จะไม่เน้นการขยายเครือข่ายดีลเลอร์หรือเปิดโชว์รูม แต่จะเน้นสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าโดยตรง
“เราพยายามทำตลาดในรูปแบบใหม่ เพราะรถเราไม่ใช่รถแมส ยกตัวอย่างก่อนจะเปิดตัว มีลูกค้าสนใจ เราก็บอกลูกค้าว่าสามารถมาทดลองได้ที่บริษัทเลย ตรงจุดนี้ทำให้เราคิดว่าต้องสร้างรูปแบบใหม่ของการตลาดขึ้นมา ส่วนแผนงานด้านผลิตภัณฑ์ เรายังไม่ทิ้งโมเดลรุ่นก่อนที่เราได้พัฒนา ทั้ง ETRAN KRAF ในรุ่นปกติ และ ETRAN PROM แต่ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลา”นายสรณัญช์ กล่าวทิ้งท้าย
ขณะที่แบรนด์มอเตอร์ไซค์อีวี “นิว” โดยชาริช โฮลดิ้ง (ขายดูคาติ,ลัมโบร์กินี) ปัจจุบันมียอดจดทะเบียน 7 เดือน(ม.ค.-ก.ค.62) เพียง 42 คัน และเตรียมนำเข้ารถใหม่รุ่น NGT มาทำตลาดช่วงปลายปีนี้ ราคาประมาณ 1.2 แสนบาท ด้วยสเปกแบตเตอรี่ที่ใหญ่ขึ้น ชาร์จไฟเต็มที่ 1 ครั้งรถวิ่งได้ระยะทาง 90-110 กม. ส่วนความเร็วสูงสุดทำได้ 75 กม./ชม.
ก่อนหน้านี้ “นิว” เปิดตัวรถรุ่นที่จดทะเบียนวิ่งบนถนนหลวงได้คือ N-Serie รุ่น N1 ทำความเร็วสูงสุด 65 กม./ชม. ชาร์จไฟเต็ม 1 ครั้งวิ่งได้ระยะทาง 80 กม. จากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด 29 Ah ราคา 98,000 บาท
ความคิดเห็นส่วนตัวจาก จขกท. เอง
1. ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในส่วนของรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าล้วนนั้นยังเป็นอะไรที่ใหม่ในบ้านเรา อย่าว่ารถในผลิตไทยขายไม่ดีเลย รถที่นำเข้ามาก็ไม่ได้ต่างกันสักเท่าไหร่ งานนี้สิ่งที่ขับเคลื่อนธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าได้ก็มีแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น
2. เทคโนโลยีรถไฟฟ้ายังคงมีต้นทุนที่สูงอยู่โดยเฉพาะแบตเตอรี่ แถมยังโดนกำแพงภาษีอีก ราคาเลยดูไกลเกินเอื้อมสำหรับคนทั่วไป
3. มอเตอร์ไซค์ ETRAN ที่แพงเพราะใช้คาร์บอนไฟเบอร์ ถ้าลดวัสดุลงเป็นเหล็กกล้าหรืออะลูมิเนียมราคาน่าจะลงไปได้เยอะ
4. จขกท. เองก็สนับสนุนธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าในไทยให้สามารถอยู่ได้และพัฒนารุ่นใหม่ๆให้ดีขึ้นในอนาคตต่อไป อยากให้มีบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยมไม่แพ้เจ้าตลาด
สุดท้าย
มีคนที่ใช้งาน FOMM ไปลุยน้ำกันมาแล้ว โดยผู้ใช้งานในบริเวณที่เกิดอุทกภัยจากพายุคาจิกิ
รถยนต์ไฟฟ้าลงเขาได้แทบไม่ต้องใช้เบรค แล้วยังได้พลังงานเพิ่มขึ้นด้วย
ที่มาของข่าว : https://www.thansettakij.com/content/408764