สื่อญี่ปุ่นเผย 'ค่ายรถญี่ปุ่น-จีน' แห่ล็อบบี้รัฐบาลไทยขอรับมาตรการสนับสนุน 'โตโยต้า' นำทัพล็อบบี้รถยนต์ไฮบริด ชิงโอกาสช่วงยอดขายรถอีวีจีนกำลังซึมลง
เว็บไซต์นิกเกอิเอเชียรายงานว่า ทั้งค่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นและค่ายรถยนต์จีนกำลังแข่งกันล็อบบี้นักการเมืองไทย เพื่อช่วงชิงโอกาสในประเทศที่ถูกขนานนามว่าเป็น “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” ในจังหวะที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ของจีนกำลังซบเซาลง
นายอากิโอะ โตโยดะ ประธานบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ได้เข้าพบกับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยเมื่อเดือนที่แล้วที่กรุงเทพ เพื่อหารือแนวทางยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยโดยรวม ตั้งแต่ซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนไปจนถึงผู้ผลิตรถยนต์ โดยโตโยดะเน้นย้ำถึงความสำคัญของไทยในฐานะ “ศูนย์กลางการผลิตและการพัฒนา” ขณะที่นายกรัฐมนตรีแสดงความพร้อมของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมรถยนต์ไฮบริด
“ด้วยความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่ชะลอตัวลง โตโยต้ามองว่านี่เป็นโอกาสที่ดีในการเร่งผลักดันความพยายามในการล็อบบี้ของบริษัท” แหล่งข่าวจากรัฐบาลญี่ปุ่นในไทยกล่าว
นอกจากนี้ โตโยดะและเหล่าผู้บริหารโตโยต้ายังได้พบกับนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย ระหว่างการเดินทางเยือนญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน โดยโตโยต้าได้ให้คำมั่นที่จะลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไทย "สนับสนุนสิทธิประโยชน์สำหรับรถกระบะและรถยนต์ไฮบริด"
“โตโยต้าเป็นหนึ่งในบริษัทไม่กี่แห่งที่สามารถล็อบบี้บุคคลสำคัญหลากหลายกลุ่มได้ รวมถึงนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ข้าราชการระดับสูงอย่างณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้มีอิทธิพลที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้จากข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพบว่า ยอดขายรถยนต์ใหม่ในไทยลดลง 27% ในเดือนม.ค. - พ.ย. 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 518,659 คัน ซึ่งสอดคล้องกับการคัดกรองสินเชื่อรถยนต์ที่เข้มงวดขึ้น โดยยอดขายรถอีวีลดลง 5% เหลือ 61,443 คัน หลังจากที่ยอดขายเคยเพิ่มขึ้นเกือบ 8 เท่าในปี 2566 อยู่ที่ราว 76,000 คัน
ในทางตรงกันข้าม ยอดขายรถยนต์ไฮบริดมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 32% ในช่วงเดือนม.ค. - พ.ย. อยู่ที่ 105,434 คัน โดยรถยนต์โตโยต้า ยาริส ครอส เป็นหนึ่งในรุ่นที่ขายดีเป็นพิเศษ
สื่อญี่ปุ่นระบุว่า ในเดือนก.ค. รัฐบาลไทยตัดสินใจคงอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ไฮบริดที่ 6% โดยยกเลิกแผนการใช้โครงสร้างภาษีใหม่ปีหน้าที่จะเก็บเพิ่ม 2% ทุกๆ สองปีออกไปก่อน และมีการให้สิทธิประโยชน์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นเช่นกัน รวมถึงเงินอุดหนุนสูงสุด 100,000 บาทต่อคัน เพื่อเป้าหมายผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์อย่างน้อย 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด ภายในปี 2573
ขณะเดียวกันยังมีการเพิ่มแรงจูงใจทางภาษีสำหรับรถยนต์ไฮบริดในกลุ่ม Mild Hybrid (MHEV) โดยฮิโรทากะ อุชิดะ หุ้นส่วนของบริษัทอาเธอร์ ดี ลิตเติล กล่าวว่า บริษัทในยุโรปและบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งได้ใช้เทคโนโลยี MHEV ไปแล้ว มาตรการนี้จึงอาจมองได้ว่าเป็นการโต้คืนบริษัทอีวีจีนที่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษในปัจจุบัน
นอกจากค่ายรถญี่ปุ่นแล้ว บรรดา "ค่ายรถจีน" ก็พยายามล็อบบี้ไทยเช่นกัน ซึ่งมาตรการอุดหนุนรถอีวีกำหนดให้ผู้รับการอุดหนุนต้องผลิตรถยนต์ในไทยในปี 2567 ให้เท่ากับจำนวนที่นำเข้าในปี 2565 และ 2566 และขยายการผลิตเพิ่มขึ้น 50% ในปี 2568
อย่างไรก็ดี เมื่อความต้องการรถยนต์ชะลอตัวลง บรรดาค่ายรถยนต์จีน เช่น เกรท วอลล์ มอเตอร์ และ เอ็มจี มอเตอร์ ต่างก็เรียกร้องให้รัฐบาลไทยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ดังกล่าวลง
เมื่อต้นเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลตกลงที่จะเลื่อนเส้นตายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงปี 2568 และมากกว่านั้น พร้อมอนุญาตให้มีการนำรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าจากจีนสามารถนำกลับออกไปขายในประเทศอื่นได้ และเป็นที่คาดว่ารัฐบาลจะลดจำนวนการนำเข้าจากปี 2565 และ 2566 ที่จะนำมาคำนวณในเป้าหมายการผลิตด้วย
แหล่งข่าวผู้บริหารจากบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นรายใหญ่แห่งหนึ่งกล่าวว่า “เนื่องจากรัฐบาลไทยต้องการดึงดูดผู้ผลิตอีวีจากจีนให้เข้ามาในประเทศตั้งแต่แรก จึงไม่สามารถเร่งรัดให้พวกเขาปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้ได้อย่างเข้มงวดนัก”
ขณะที่ผู้บริหารจากบริษัทรถยนต์จีนรายหนึ่งในไทยกล่าวว่า “เราคาดไม่ถึงว่า ตลาดไทยจะหดตัวลงมากขนาดนี้จากระเบียบสินเชื่อรถที่เข้มงวดขึ้น การผ่อนคลายโควต้าจึงเป็นเรื่องปกติ”
“ขึ้นอยู่กับว่าตลาดจะตกต่ำลงขนาดไหนในอนาคต ผู้ผลิตอีวีบางรายกำลังคิดว่า การไม่รับการอุดหนุนอาจจะดีกว่าเพื่อที่จะไม่ต้องถูกกำหนดให้ผลิต” ผู้บริหารจากบริษัทรถยนต์จีนรายหนึ่งกล่าว
ทั้งนี้ ภาวะขาลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย ซึ่งยอดขายในปี 2567 ลดลงไปถึงระดับที่เทียบได้กับช่วงวิกฤติโควิด-19 และวิกฤติการเงินโลก คาดว่าจะยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ และแม้ว่ามาตรการอุดหนุนสำหรับรถยนต์อีวีจะยังคงมากกว่าที่ให้กับรถยนต์ไฮบริด แต่เป็นที่คาดว่าผู้ผลิตรถญี่ปุ่นซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 70% จะยังคงเดินหน้าล็อบบี้เพื่อผลักดันการออกมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทมากขึ้นต่อไป
อ้างอิง: nikkei
สื่อญี่ปุ่นชี้ 'โตโยต้า' เร่งล็อบบี้ไทย ขอสนับสนุนรถไฮบริดเหนืออีวีจีน
เว็บไซต์นิกเกอิเอเชียรายงานว่า ทั้งค่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นและค่ายรถยนต์จีนกำลังแข่งกันล็อบบี้นักการเมืองไทย เพื่อช่วงชิงโอกาสในประเทศที่ถูกขนานนามว่าเป็น “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” ในจังหวะที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ของจีนกำลังซบเซาลง
นายอากิโอะ โตโยดะ ประธานบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ได้เข้าพบกับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยเมื่อเดือนที่แล้วที่กรุงเทพ เพื่อหารือแนวทางยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยโดยรวม ตั้งแต่ซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนไปจนถึงผู้ผลิตรถยนต์ โดยโตโยดะเน้นย้ำถึงความสำคัญของไทยในฐานะ “ศูนย์กลางการผลิตและการพัฒนา” ขณะที่นายกรัฐมนตรีแสดงความพร้อมของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมรถยนต์ไฮบริด
“ด้วยความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่ชะลอตัวลง โตโยต้ามองว่านี่เป็นโอกาสที่ดีในการเร่งผลักดันความพยายามในการล็อบบี้ของบริษัท” แหล่งข่าวจากรัฐบาลญี่ปุ่นในไทยกล่าว
นอกจากนี้ โตโยดะและเหล่าผู้บริหารโตโยต้ายังได้พบกับนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย ระหว่างการเดินทางเยือนญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน โดยโตโยต้าได้ให้คำมั่นที่จะลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไทย "สนับสนุนสิทธิประโยชน์สำหรับรถกระบะและรถยนต์ไฮบริด"
“โตโยต้าเป็นหนึ่งในบริษัทไม่กี่แห่งที่สามารถล็อบบี้บุคคลสำคัญหลากหลายกลุ่มได้ รวมถึงนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ข้าราชการระดับสูงอย่างณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้มีอิทธิพลที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน” แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้จากข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพบว่า ยอดขายรถยนต์ใหม่ในไทยลดลง 27% ในเดือนม.ค. - พ.ย. 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 518,659 คัน ซึ่งสอดคล้องกับการคัดกรองสินเชื่อรถยนต์ที่เข้มงวดขึ้น โดยยอดขายรถอีวีลดลง 5% เหลือ 61,443 คัน หลังจากที่ยอดขายเคยเพิ่มขึ้นเกือบ 8 เท่าในปี 2566 อยู่ที่ราว 76,000 คัน
ในทางตรงกันข้าม ยอดขายรถยนต์ไฮบริดมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 32% ในช่วงเดือนม.ค. - พ.ย. อยู่ที่ 105,434 คัน โดยรถยนต์โตโยต้า ยาริส ครอส เป็นหนึ่งในรุ่นที่ขายดีเป็นพิเศษ
สื่อญี่ปุ่นระบุว่า ในเดือนก.ค. รัฐบาลไทยตัดสินใจคงอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ไฮบริดที่ 6% โดยยกเลิกแผนการใช้โครงสร้างภาษีใหม่ปีหน้าที่จะเก็บเพิ่ม 2% ทุกๆ สองปีออกไปก่อน และมีการให้สิทธิประโยชน์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นเช่นกัน รวมถึงเงินอุดหนุนสูงสุด 100,000 บาทต่อคัน เพื่อเป้าหมายผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์อย่างน้อย 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมด ภายในปี 2573
ขณะเดียวกันยังมีการเพิ่มแรงจูงใจทางภาษีสำหรับรถยนต์ไฮบริดในกลุ่ม Mild Hybrid (MHEV) โดยฮิโรทากะ อุชิดะ หุ้นส่วนของบริษัทอาเธอร์ ดี ลิตเติล กล่าวว่า บริษัทในยุโรปและบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งได้ใช้เทคโนโลยี MHEV ไปแล้ว มาตรการนี้จึงอาจมองได้ว่าเป็นการโต้คืนบริษัทอีวีจีนที่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษในปัจจุบัน
นอกจากค่ายรถญี่ปุ่นแล้ว บรรดา "ค่ายรถจีน" ก็พยายามล็อบบี้ไทยเช่นกัน ซึ่งมาตรการอุดหนุนรถอีวีกำหนดให้ผู้รับการอุดหนุนต้องผลิตรถยนต์ในไทยในปี 2567 ให้เท่ากับจำนวนที่นำเข้าในปี 2565 และ 2566 และขยายการผลิตเพิ่มขึ้น 50% ในปี 2568
อย่างไรก็ดี เมื่อความต้องการรถยนต์ชะลอตัวลง บรรดาค่ายรถยนต์จีน เช่น เกรท วอลล์ มอเตอร์ และ เอ็มจี มอเตอร์ ต่างก็เรียกร้องให้รัฐบาลไทยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ดังกล่าวลง
เมื่อต้นเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลตกลงที่จะเลื่อนเส้นตายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงปี 2568 และมากกว่านั้น พร้อมอนุญาตให้มีการนำรถยนต์ไฟฟ้าที่นำเข้าจากจีนสามารถนำกลับออกไปขายในประเทศอื่นได้ และเป็นที่คาดว่ารัฐบาลจะลดจำนวนการนำเข้าจากปี 2565 และ 2566 ที่จะนำมาคำนวณในเป้าหมายการผลิตด้วย
แหล่งข่าวผู้บริหารจากบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นรายใหญ่แห่งหนึ่งกล่าวว่า “เนื่องจากรัฐบาลไทยต้องการดึงดูดผู้ผลิตอีวีจากจีนให้เข้ามาในประเทศตั้งแต่แรก จึงไม่สามารถเร่งรัดให้พวกเขาปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้ได้อย่างเข้มงวดนัก”
ขณะที่ผู้บริหารจากบริษัทรถยนต์จีนรายหนึ่งในไทยกล่าวว่า “เราคาดไม่ถึงว่า ตลาดไทยจะหดตัวลงมากขนาดนี้จากระเบียบสินเชื่อรถที่เข้มงวดขึ้น การผ่อนคลายโควต้าจึงเป็นเรื่องปกติ”
“ขึ้นอยู่กับว่าตลาดจะตกต่ำลงขนาดไหนในอนาคต ผู้ผลิตอีวีบางรายกำลังคิดว่า การไม่รับการอุดหนุนอาจจะดีกว่าเพื่อที่จะไม่ต้องถูกกำหนดให้ผลิต” ผู้บริหารจากบริษัทรถยนต์จีนรายหนึ่งกล่าว
ทั้งนี้ ภาวะขาลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย ซึ่งยอดขายในปี 2567 ลดลงไปถึงระดับที่เทียบได้กับช่วงวิกฤติโควิด-19 และวิกฤติการเงินโลก คาดว่าจะยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ และแม้ว่ามาตรการอุดหนุนสำหรับรถยนต์อีวีจะยังคงมากกว่าที่ให้กับรถยนต์ไฮบริด แต่เป็นที่คาดว่าผู้ผลิตรถญี่ปุ่นซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 70% จะยังคงเดินหน้าล็อบบี้เพื่อผลักดันการออกมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทมากขึ้นต่อไป
อ้างอิง: nikkei