แบ่งเค้กลงตัว! 'ฝ่ายค้าน-รัฐบาล' จัดโควตา กมธ.สภา พรรคจิ๋วจ่อคุย ขอสักตำแหน่ง
https://www.khaosod.co.th/politics/news_2864917
‘ชวน’ นั่งหัวโต๊ะ แบ่งเค้กกรรมาธิการ ด้าน 10 พรรคเล็ก เจรจา ขอประธานกมธ. 1 ตำแหน่ง
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 6 ก.ย. ที่อาคารรัฐสภา เกียกกาย นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการการประชุม ภายหลังนัดทุกพรรคการเมืองประชุมจัดสรรโควตาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ที่มีจำนวน 35 คณะ
โดยมีตัวแทนจากพรรคการเมือง อาทิ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย, นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ประธานที่ปรึกษาพรรคภูมิใจไทย, นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา, นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ในฐานะรองประธานกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) พรรคประชาธิปัตย์ และ นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ หัวหน้าพรรคพลเมืองไทย ในฐานะผู้ประสานงาน 10 พรรคเล็ก
นาย
ชวนได้แจ้งที่ประชุมก่อนเข้าสู่วาระว่า ที่ต้องนัดหมายแต่ละพรรคเพราะอยากให้การแต่งตั้ง กมธ. สามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ที่มีจำนวน 35 คณะ ได้เสร็จสิ้นภายในสัปดาห์นี้เพื่อให้กมธ. แต่ละชุดได้ปฏิบัติหน้าได้ทันที นอกจากนี้ทางพรรคเล็กจำนวน 10 พรรคยังได้ส่งเรื่องมายังประธานฯ ว่า 10 พรรคเล็กได้รวมตัวกันเพื่อขอตำแหน่งประธานกรรมาธิการจำนวน 1 คณะ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับอัตราส่วนตำแหน่งประธานกมธ.ที่แต่ละพรรคจะได้รับนั้น ตามการคำนวณของคณะทำงานดำเนินการรองรับภารกิจการแต่งตั้งกมธ. ที่จัดทำ ระบุว่า จะมี 8 พรรคการเมืองที่ได้รับการจัดสรรโควต้า
ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย จำนวน 10 คณะ, พรรคพลังประชารัฐ จำนวน 8 คณะ, พรรคอนาคตใหม่ จำนวน 6 คณะ, พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 4 คณะ, พรรคภูมิใจไทย จำนวน 4 คณะ, พรรคเสรีรวมไทย จำนวน 1 คณะ, พรรคชาติไทยพัฒนา จำนวน 1 คณะ และ พรรคประชาชาติ จำนวน 1 คณะ
ขณะที่ประเด็นการร้องขอตำแหน่งประธานกมธ.ฯ ของกลุ่มพรรคการเมืองขนาดเล็กนั้น ข้อสังเกตของคณะทำงานระบุว่า ตามรัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติที่ระบุถึงการรวมกลุ่มของกลุ่มการเมือง ดังนั้นการคำนวนจำนวนประธานกมธ. ที่พึงมีของแต่ละพรรค ต้องยึดตามรัฐธรรมนญ มาตรา 128 วรรคแปด โดยไม่นำการรวมกลุ่มพรรคการเมืองมาคำนวณเพื่อหาจำนวนตำแหน่งประธานกมธ.
ทั้งนี้มีรายงานข่าวแจ้งว่าสำหรับ ตำแหน่งประธานกมธ. ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์, พรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา ลงตัวเป็นเบื้องต้นแล้ว โดยพรรคประชาธิปัตย์ จะได้ กมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ, กมธ.แก้ไขหนี้สินแห่งชาติ, กมธ.พาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา และ กมธ.แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม
ขณะที่พรรคภูมิใจไทย จะได้ กมธ.การสาธารณสุข, กมธ.การท่องเที่ยว, กมธ.คมนาคม และ กมธ.การกีฬา, ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา จะได้ กมธ.การที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
JJNY : จัดโควตา กมธ.สภา พรรคจิ๋วจ่อคุย ขอสักตำแหน่งฯ/"ยักษ์รับเหมา" ครึ่งปีแรกรายได้หด เค้กงานใหม่ออกช้า-backlog ร่อยหรอ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_2864917
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 6 ก.ย. ที่อาคารรัฐสภา เกียกกาย นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการการประชุม ภายหลังนัดทุกพรรคการเมืองประชุมจัดสรรโควตาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ที่มีจำนวน 35 คณะ
โดยมีตัวแทนจากพรรคการเมือง อาทิ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย, นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ประธานที่ปรึกษาพรรคภูมิใจไทย, นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา, นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ในฐานะรองประธานกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) พรรคประชาธิปัตย์ และ นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ หัวหน้าพรรคพลเมืองไทย ในฐานะผู้ประสานงาน 10 พรรคเล็ก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับอัตราส่วนตำแหน่งประธานกมธ.ที่แต่ละพรรคจะได้รับนั้น ตามการคำนวณของคณะทำงานดำเนินการรองรับภารกิจการแต่งตั้งกมธ. ที่จัดทำ ระบุว่า จะมี 8 พรรคการเมืองที่ได้รับการจัดสรรโควต้า
ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย จำนวน 10 คณะ, พรรคพลังประชารัฐ จำนวน 8 คณะ, พรรคอนาคตใหม่ จำนวน 6 คณะ, พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 4 คณะ, พรรคภูมิใจไทย จำนวน 4 คณะ, พรรคเสรีรวมไทย จำนวน 1 คณะ, พรรคชาติไทยพัฒนา จำนวน 1 คณะ และ พรรคประชาชาติ จำนวน 1 คณะ
ขณะที่ประเด็นการร้องขอตำแหน่งประธานกมธ.ฯ ของกลุ่มพรรคการเมืองขนาดเล็กนั้น ข้อสังเกตของคณะทำงานระบุว่า ตามรัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติที่ระบุถึงการรวมกลุ่มของกลุ่มการเมือง ดังนั้นการคำนวนจำนวนประธานกมธ. ที่พึงมีของแต่ละพรรค ต้องยึดตามรัฐธรรมนญ มาตรา 128 วรรคแปด โดยไม่นำการรวมกลุ่มพรรคการเมืองมาคำนวณเพื่อหาจำนวนตำแหน่งประธานกมธ.
ทั้งนี้มีรายงานข่าวแจ้งว่าสำหรับ ตำแหน่งประธานกมธ. ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์, พรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา ลงตัวเป็นเบื้องต้นแล้ว โดยพรรคประชาธิปัตย์ จะได้ กมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ, กมธ.แก้ไขหนี้สินแห่งชาติ, กมธ.พาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา และ กมธ.แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม
ขณะที่พรรคภูมิใจไทย จะได้ กมธ.การสาธารณสุข, กมธ.การท่องเที่ยว, กมธ.คมนาคม และ กมธ.การกีฬา, ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา จะได้ กมธ.การที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม