อาหารอินทรีย์ หรือ อาหารออร์แกนิค (Organic Foods) คือ อาหารที่ได้จากผลิตผลทางเกษตรที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาปราบศัตรูพืช และไม่มีการฉายรังสี ที่จัดว่าเป็นวัตถุที่เป็นอันตรายทางการเกษตร และไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ตัดต่อพันธุกรรม แม้อาหารอินทรีย์จะมีราคาแพงกว่าอาหารทั่วไปแต่มีข้อดีคือทำให้ผู้บริโภคแน่ใจได้ว่าปลอดภัยจากอันตรายทางเคมี โดยเฉพาะจากวัตถุที่เป็นอันตรายทางการเกษตรซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลายในผักและผลไม้แทบทุกชนิด จากกระแสสิ่งแวดล้อมและการตื่นตัวในการรักษาสุขภาพกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาสนใจซื้อสินค้าเกษตรกรรมอินทรีย์มากขึ้น[1] การรับรองมาตรฐานเป็นการสร้างหลักประกันให้แก่ผู้บริโภคว่ากระบวนการผลิตได้มาตรฐานตามที่กำหนด การรับรองมาตรฐานจึงเป็นพลังรูปแบบใหม่ที่ผลักดันความเปลี่ยนแปลงทั้งต่อระบบการผลิตและชีวิตเกษตรกร โดยการผลิตที่ผลักดันความเปลี่ยนแปลงทั้งต่อระบบการผลิตและชีวิตเกษตรกร[2]
ข้อมูลจากการศึกษาแนวทางการบริหารงานส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวเชิงพาณิชย์ตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ ของสำนักงานเกษตรอำเภอภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[3] สะท้อนปัจจัยที่เอื้อต่อการวางแผนฯ ให้ประสบผลสำเร็จคือหน่วยงานมีบุคลากรที่มีความรู้ และรับผิดชอบงานด้านสารสนเทศโดยตรง การวางแผนงานส่งเสริมฯ เป็นไปอย่างมีส่วนร่วมกับหน่วยงานและองค์กรเกษตรกรในท้องถิ่น ปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จคือการติดตามผลการปฏิบัติงาน การจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ การมีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่เป็นระยะเวลานานทำให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ รวมถึงปัจจัยที่เอื้อต่อการประเมินผลงานให้สำเร็จคือการประเมินผลความคิดเห็นขององค์กรด้านการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
การทำงานของโครงการพยายามกระตุ้นให้เกิดการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย มีการจัดกิจกรรมต่างๆ หลากหลายร่วมกันกับโรงเรียน เกษตรกร ผู้นำชุมชน และอื่นๆ โดยการจัดฐานการเรียนรู้การปลูกพืชอินทรีย์ ฐานเรียนรู้ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก ฐานเรียนรู้แปรรูปเพิ่มมูลค่า ฐานเรียนรู้ การตลาด ฐานเรียนรู้ตลาดนัดสีเขียวกินสบายใจ [4]
ในขณะที่งานศึกษาและทำความเข้าใจผู้บริโภคคนไทยต่ออาหารเกษตรอินทรีย์ทางด้านทัศนคติ ความตั้งใจ และพฤติกรรมการซื้ออาหารเกษตรอินทรีย์สะท้อนให้เห็นว่า ทัศนคติของผู้บริโภคต่ออาหารเกษตรอินทรีย์แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ คือ ด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ และองค์ประกอบด้านแหล่งกำเนิดท้องถิ่น[5] ดังนั้นจะเห็นว่า การทำงานของภาคีเครือข่ายที่หลากหลายเป็นภาพสะท้อนการทำกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วมที่จะนำไปสู่การสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการยกระดับการผลิตอาหารอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานและเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคต่อไป
อ้างอิง
[1] รัตนา สีดี. (2561). ความตั้งใจที่จะซื้ออาหารอินทรีย์ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(3): 135-146.
[2] เนตรดาว เถาถวิล. (2556). การสร้างความเป็นมาตรฐานในระบบเกษตรอินทรีย์. วารสารสังคมศาสตร์. 25(1): 107-137.
[3] วนิดา ช้างเทศ และ รศ.พิธันดร นิตยสุทธิ์. (2553). แนวทางการบริหารงานส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวเชิงพาณิชย์ตามแนวทางเกษตรอินทรีย์
ของสำนักงานเกษตรอำเภอภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 27(1): 123-141.
[4] การจัดกิจกรรมศูนย์เรียนรู้กินสบายใจ อ.วารินชำราบ บ้านกะสวนฟาร์ม บ้านโนนสมบูรณ์ ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี.
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ FB "กินสบายใจ"
“มาตรฐานเกษตรอินทรีย์” ผลักดันความเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตและชีวิตเกษตรกร
ข้อมูลจากการศึกษาแนวทางการบริหารงานส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวเชิงพาณิชย์ตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ ของสำนักงานเกษตรอำเภอภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[3] สะท้อนปัจจัยที่เอื้อต่อการวางแผนฯ ให้ประสบผลสำเร็จคือหน่วยงานมีบุคลากรที่มีความรู้ และรับผิดชอบงานด้านสารสนเทศโดยตรง การวางแผนงานส่งเสริมฯ เป็นไปอย่างมีส่วนร่วมกับหน่วยงานและองค์กรเกษตรกรในท้องถิ่น ปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จคือการติดตามผลการปฏิบัติงาน การจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ การมีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่เป็นระยะเวลานานทำให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ รวมถึงปัจจัยที่เอื้อต่อการประเมินผลงานให้สำเร็จคือการประเมินผลความคิดเห็นขององค์กรด้านการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
การทำงานของโครงการพยายามกระตุ้นให้เกิดการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย มีการจัดกิจกรรมต่างๆ หลากหลายร่วมกันกับโรงเรียน เกษตรกร ผู้นำชุมชน และอื่นๆ โดยการจัดฐานการเรียนรู้การปลูกพืชอินทรีย์ ฐานเรียนรู้ปุ๋ยหมัก น้ำหมัก ฐานเรียนรู้แปรรูปเพิ่มมูลค่า ฐานเรียนรู้ การตลาด ฐานเรียนรู้ตลาดนัดสีเขียวกินสบายใจ [4] ในขณะที่งานศึกษาและทำความเข้าใจผู้บริโภคคนไทยต่ออาหารเกษตรอินทรีย์ทางด้านทัศนคติ ความตั้งใจ และพฤติกรรมการซื้ออาหารเกษตรอินทรีย์สะท้อนให้เห็นว่า ทัศนคติของผู้บริโภคต่ออาหารเกษตรอินทรีย์แบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบ คือ ด้านความปลอดภัยและสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ และองค์ประกอบด้านแหล่งกำเนิดท้องถิ่น[5] ดังนั้นจะเห็นว่า การทำงานของภาคีเครือข่ายที่หลากหลายเป็นภาพสะท้อนการทำกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วมที่จะนำไปสู่การสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการยกระดับการผลิตอาหารอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานและเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคต่อไป
อ้างอิง
[1] รัตนา สีดี. (2561). ความตั้งใจที่จะซื้ออาหารอินทรีย์ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(3): 135-146.
[2] เนตรดาว เถาถวิล. (2556). การสร้างความเป็นมาตรฐานในระบบเกษตรอินทรีย์. วารสารสังคมศาสตร์. 25(1): 107-137.
[3] วนิดา ช้างเทศ และ รศ.พิธันดร นิตยสุทธิ์. (2553). แนวทางการบริหารงานส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวเชิงพาณิชย์ตามแนวทางเกษตรอินทรีย์
ของสำนักงานเกษตรอำเภอภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 27(1): 123-141.
[4] การจัดกิจกรรมศูนย์เรียนรู้กินสบายใจ อ.วารินชำราบ บ้านกะสวนฟาร์ม บ้านโนนสมบูรณ์ ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี.
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ FB "กินสบายใจ"