ในขณะที่รัฐบาลพยายามผลักดันอีอีซี เพื่อหวังสร้างจุดขายให้ประเทศไทย หลังทุนใหญ่จำนวนมากย้ายฐานไปเวียดนาม โดยเฉพาะช่วงสงครามการค้าที่บริษัทขนาดใหญ่ต่างก็ย้ายฐานการผลิต ทำให้ส้มหล่นกลับตกไปอยู่ที่ประเทศ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
แต่ดูเหมือนคนไทยบางกลุ่มจะไม่อยากได้อีอีซี มีการจัดเสวนาใครได้ใครเสีย
แต่ที่แน่ๆ ประเทศไทยกำลังจะเสียรังวัด!!
ทำให้มีการจัดเวทีคู่ขนานของกลุ่มนักศึกษา เพื่อตอบคำถาม NGO นอกพื้นที่ ที่มาปลุกกระแสต้านอีอีซี ทั้งที่เป็นโอกาสสุดท้ายของไทย ในการกลับมามีเศรษฐกิจที่แข่งขันกับภูมิภาคได้
เริ่มจากประเด็นแรกที่ ”อาจารย์เขียว”หรือ ดร.สมนึก จงมีวศิน ที่เป็นที่รู้จักในหมู่นักขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมของภาคตะวันออก ได้พูดถึง พ.ร.บ. EEC ว่า
"บีบคั้นเร่งพิจารณา EIA เอื้อประโยชน์โครงการต่างๆ"
กำลังทำให้คนไทยสับสน ทั้งที่ข้อเท็จจริง คือ EIA ทำกันมา 2 ปีแล้ว จนอนุมัติทุกขั้นตอน ดังนั้นหาก "อ.เขียว" คิดว่า การทำ EIA ไม่ถูกต้อง ควรฟ้องศาลปกครอง ไม่ใช่มาทำให้ประชาชนสับสน นอกจากนี้ควรยกข้อเท็จจริงมาให้ชัดว่า EIA ข้อใดไม่ผ่าน มิใช่พูดลอยๆ โดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน
ประเด็นต่อมา อ.เขียว "ให้เฝ้าระวังเขตพื้นที่ EECH คือ เขตพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง ซึ่งพื้นที่เหล่านี้รัฐต้องส่งมอบให้ผู้ชนะการประมูลมาสร้างสถานี"
พื้นที่การก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีการระบุพื้นที่ในการก่อสร้างไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่แรกแล้ว ประเทศไทยอยากจะดึงดูดนักลงทุน แต่กล้าๆกลัวๆ ในขณะที่ประเทศสิงค์โปร์ เวียดนาม เค้าจะถามนักลงทุนอยากได้อะไร เพื่อให้มานักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศ แต่ประเทศไทย ยังวนเวียน กับวังวนเดิม กลัวแต่เรื่องเสียผลประโยชน์ เช่นพูดเรื่อง
• เอื้อประโยชน์การใช้ที่ดินให้กับกลุ่มทุนเอื้อ EEC - ทั้งที่ที่ดินก็ให้เช่า ไม่ได้ให้ฟรี
• อ้างถึงการเช่าที่ดิน 99 ปี ทั้งที่จริงๆ แล้ว ให้เช่าช่วงแรกแค่ 50 ปี และเช่าช่วงที่ 2 เพิ่มได้อีก 49 ปี
• พูดถึงต่างชาติเสียภาษี แค่ 17% ก็กลัวคนไทยเสียเปรียบ เป็นต้น
เลยไม่แน่ใจว่าอยากดึงดูดการลงทุนมาประเทศไทยจริงหรือไม่
สุวิทย์ ประธานกรรมการแรงงานรถไฟ อ้างถึง
"รัฐบาลนำพื้นที่มักกะสันร่วมในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ให้กลุ่มทุนสนใจ
และมีข้อสังเกตผู้เข้าประมูลแค่ 2 ราย ต้องการตอบโจทย์ให้ใคร"
ซึ่งข้อเท็จจริงคือ TOR ปิดประตูเสียเปรียบของภาครัฐไว้ทุกข้อ โยกความเสี่ยงทั้งหมดให้เอกชน จนนักลงทุนส่วนใหญ่เผ่นกลับบ้าน แทนที่จะสงสัยว่า ทำไมนักลงทุนเห็น TOR แล้วถอยจนเหลือสองกลุ่ม ไม่ใช่ 2 ราย แต่ละกลุ่มเค้ามีพันธมิตรหลากหลายรายกลับไม่พูดถึง กลับไปมองว่าเอื้อเอกชน ทั้งที่โครงการมีความเสี่ยง แต่มีความจำเป็นต่อประเทศ จึงต้องจูงใจให้คนกล้ามาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ประเทศไทย
สุวิทย์ ยังอ้างอีกว่า "จะต้องสูญเสียพื้นที่ที่มีพันธกิจรถไฟ (มักกะสัน) 150 ไร่ (โอกาสจะกินรวบ 400 ไร่) มีผลกระทบกับคนงานรถไฟ"
แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่เคยมีใครแยแส ปล่อยให้กลายเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม และมั่วสุม บ้างก็อ้างขัดปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 5 แน่นอน
ไม่รู้ว่ากล้าอ้างกันแบบนี้ได้อย่างไร ต่อให้มีปัญหาอะไรก็ไม่มิบังควร
ส่วนเรื่องพื้นที่ 20% ที่ดินบุกรุก และทับซ้อนอยู่นั้น "กลัวว่าจะเกิดค่าโง่เหมือนโฮปเวลล์" ควรจะต้องเลิกเรียกว่า "ค่าโง่" ได้แล้ว เพราะจริงๆ แล้วต้องเรียกว่า "ค่าโกง หรือค่าผิดสัญญา" ในกรณีที่ส่งมอบพื้นที่ให้ไม่ทันตามกำหนด
ซึ่งหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบก็ต้องฝึกรักษาสัญญา มิฉะนั้นก็จะไม่มีใครกล้าร่วมลงทุนกับภาครัฐ
สุมิตรา ประธานชุมชนรถไฟมักกะสัน พูดถึง
"ข้อสงสัยชุมชนมักกะสันจะไปอยู่ในพื้นที่ใดในช่วงระหว่างการก่อสร้าง"
จนทำให้คนสับสนว่า จะไปย้ายทั้งชุมชนมักกะสัน ทั้งที่แท้จริงแล้ว 150 ไร่ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนั้น ไม่ทับซ้อนกับที่อยู่อาศัยของชุมชนมักกะสันเลย ถ้าทางชุมชนฯ อยากจะให้รัฐดูแลอย่างไร ให้เอารายชื่อคนที่จะไม่มีที่อยู่อาศัย มายื่นให้การรถไฟฯ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พื้นที่มักกะสัน ที่รวมในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ พื้นที่แปลง 2 และ 3 ขนาดประมาณ 140 ไร่
ดังนั้นพื้นที่ดังกล่าวจึง ไม่รวมบึงมักกะสัน ไม่รวมพื้นที่โรงงาน ไม่รวมบ้านพักพนักงาน โรงพยาบาล แค่พื้นที่ส่วนหนึ่ง พื้นที่ส่วนนี้เตรียมไว้ทำสถานีรถไฟความเร็วสูง รวมถึงการปรับปรุงการจราจรทางเข้าออกพื้นที่สถานีให้มากขึ้นจากเดิมเข้าออกได้เพียง 1 จุด บน ถ.อโศกมนตรี ให้เข้าออกได้มากขึ้น เพื่อการเชื่อมโยงการเดินทางที่ดี ผู้โดยสารได้ประโยชน์
แต่ในกรณีนี้หากใครดูแผนที่ก็จะรู้ว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย แต่เป็นเพียงวลีที่ต้องการจะปลุกระดม หาแนวร่วม เรียกร้องความเห็นใจ ว่า
รัฐไม่ดูแล
จนอาจจะลืมไปแล้วว่า ไม่ว่าใครอยู่ในยุคนี้ ก็ต้องแข่งขัน ก็ช่วยเหลือตัวเองกันทุกคน
ไม่ใช่เรียกร้องให้ใครมาอุ้ม ทุกคนต้องยืนด้วยลำแข้งของตนเอง
นันทพร ประธานสภาผู้ชม ThaiPBS กล่าวถึง บทบาทของสื่อสาธารณะ มองว่า
"โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ มีผลกระทบกับคนในชุมชนและพี่น้องคนงานรถไฟ
พนักงาน Airport Link เช่น สูญเสียที่อยู่ รายได้ และ อาชีพจะหายไป คนยากจนจะตายกันหมด"
โดยไม่ได้มองมิติที่การรถไฟแห่งประเทศขาดทุนมหาศาล จนต้องให้รัฐบาลมาช่วยอุ้ม และจะให้อุ้มไปตลอดก็คงไม่ไหว และแอร์พอร์ตลิ้งค์เอง ที่วิ่งอยู่ทุกวันก็ปะผุ มีความเสี่ยงมากกับปัญหาการดูแลรักษา รวมถึงจำนวนเที่ยวของการเดินรถไฟฯ ก็ไม่เพียงพอ
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะเข้ามาช่วยปลดหนี้ให้การรถไฟฯ อย่างมหาศาล แต่ไม่เคยถูกพูดถึงเลย และวลีเด็ดที่ว่า
ไม่ขวางความเจริญ แต่ในความเป็นจริง
ประเทศไทยกำลังถอยหลังตกคลอง ในขณะที่ต่างประเทศกำลังเดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน
ที่มา : เวทีรับฟังความคิดเห็น "โครงการรถไฟความเร็วสูง กฏหมายกับผลประโยชน์ ใครได้ใครเสีย ?"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เวทีรับฟังความคิดเห็น "โครงการรถไฟความเร็วสูง กฏหมายกับผลประโยชน์ ใครได้ใครเสีย ?"
เสวนาคู่ขนาน : โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ใครได้ใครเสีย!! คิดสิคิด!!!