http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=35&item=440
แก้ไขลิ้งค์ ถ้าเปิดจากพันทิพย์ไม่ขึ้น ลงก็อปปี้ไปเปิดนะครับ
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์
ธัมมานุปัสสนานิเทส
[เห็นธรรมในธรรมภายใน]
[๔๔๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
[นีวรณปัพพะ]
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อกามฉันทะภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะภายในจิตของเรามีอยู่
หรือเมื่อกามฉันทะภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะภายในจิตของเราไม่มี
อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น
จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว
จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง กามฉันทะที่ละได้แล้ว
จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
เมื่อพยาบาทภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อถีนมิทธะภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ
เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ
เมื่อวิจิกิจฉาภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่าวิจิกิจฉาภายในจิตของเรามีอยู่
หรือเมื่อวิจิกิจฉาภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาภายในจิตของเราไม่มี
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น
จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว
จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว
จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
[โพชฌังคปัพพะ]
เมื่อสติสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ภายในจิตของเรามีอยู่
หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ภายในจิตของเราไม่มี
อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใดรู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ
เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ
เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตของเรามีอยู่
หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตของเราไม่มี
อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว
จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น
ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตเข้าไปในธรรมภายนอก
[เห็นธรรมในธรรมภายนอก]
[๔๕๐] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกเนืองๆ อยู่เป็นอย่างไร
[นีวรณปัพพะ]
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อกามฉันทะของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะของเขาผู้นั้นมีอยู่
หรือเมื่อกามฉันทะของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะของเขาผู้นั้นไม่มี
อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่งกามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
เมื่อพยาบาทของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อถีนมิทธะของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ
เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ
เมื่อวิจิกิจฉาของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาของเขาผู้นั้นมีอยู่
หรือเมื่อวิจิกิจฉาของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาของเขาผู้นั้นไม่มี
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่งวิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
[โพชฌังคปัพพะ]
เมื่อสติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่
หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี
อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์
ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ
เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ
เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่
เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า อุเบกขา-สัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี
อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น
ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตเข้าไปในธรรมทั้งภายในและภายนอก
[เห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอก]
[๔๕๑] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอกเนืองๆอยู่ เป็นอย่างไร
[นีวรณปัพพะ]
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะมีอยู่
หรือเมื่อกามฉันทะไม่มี ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะไม่มี
อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง กามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
เมื่อพยาบาทมีอยู่ ฯลฯ เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ฯลฯ เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ฯลฯ
เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่
หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มี
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
[โพชฌังคปัพพะ]
เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่
หรือเมื่อสติสัม-โพชฌงค์ไม่มี ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มี
อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ
เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ
เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่
เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มี ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มี
อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใดรู้ชัดเหตุนั้นด้วย
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก
[๔๕๒] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ
มีนิเทสว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง
ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด
นี้เรียกว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี
เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี
ประกอบแล้ว ด้วยการพิจารณาเห็นเนืองๆ นี้
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ
[๔๕๓] บทว่า อยู่ มีนิเทสว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่
รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่
[๔๕๔] บทว่า มีความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่าความเพียร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร
[๔๕๕] บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทสว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี
เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี
ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ
[๔๕๖] บทว่า มีสติ มีนิเทสว่า สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยสตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ
[๔๕๗] บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทสว่าโลก เป็นไฉน
ธรรมเหล่านั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่าโลก
อภิชฌา เป็นไฉนความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ
ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใดนี้เรียกว่า อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉนความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ
ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี
ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว
ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก
ธัมมานุปัสสนานิเทส จบ
สุตตันตภาชนีย์ จบ
ธรรมานุปัสสนา คือ การรู้ไปถึง"เหตุ"แห่งธรรมนั้นๆ
แก้ไขลิ้งค์ ถ้าเปิดจากพันทิพย์ไม่ขึ้น ลงก็อปปี้ไปเปิดนะครับ
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์
ธัมมานุปัสสนานิเทส
[เห็นธรรมในธรรมภายใน]
[๔๔๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
[นีวรณปัพพะ]
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อกามฉันทะภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะภายในจิตของเรามีอยู่
หรือเมื่อกามฉันทะภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะภายในจิตของเราไม่มี
อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง กามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
เมื่อพยาบาทภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อถีนมิทธะภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ
เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ
เมื่อวิจิกิจฉาภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่าวิจิกิจฉาภายในจิตของเรามีอยู่
หรือเมื่อวิจิกิจฉาภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาภายในจิตของเราไม่มี
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
[โพชฌังคปัพพะ]
เมื่อสติสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ภายในจิตของเรามีอยู่
หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ภายในจิตของเราไม่มี
อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใดรู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ
เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ฯลฯ
เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตของเรามีอยู่
หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตไม่มี ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ภายในจิตของเราไม่มี
อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น
ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตเข้าไปในธรรมภายนอก
[เห็นธรรมในธรรมภายนอก]
[๔๕๐] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกเนืองๆ อยู่เป็นอย่างไร
[นีวรณปัพพะ]
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อกามฉันทะของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะของเขาผู้นั้นมีอยู่
หรือเมื่อกามฉันทะของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะของเขาผู้นั้นไม่มี
อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่งกามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
เมื่อพยาบาทของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อถีนมิทธะของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ
เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ
เมื่อวิจิกิจฉาของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาของเขาผู้นั้นมีอยู่
หรือเมื่อวิจิกิจฉาของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาของเขาผู้นั้นไม่มี
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่งวิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
[โพชฌังคปัพพะ]
เมื่อสติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่
หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี
อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์
ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อปีติสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ
เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ฯลฯ
เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นมีอยู่
เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี ก็รู้ชัดว่า อุเบกขา-สัมโพชฌงค์ของเขาผู้นั้นไม่มี
อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น
ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว
ย่อมน้อมจิตเข้าไปในธรรมทั้งภายในและภายนอก
[เห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอก]
[๔๕๑] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอกเนืองๆอยู่ เป็นอย่างไร
[นีวรณปัพพะ]
ภิกษุในศาสนานี้ เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะมีอยู่
หรือเมื่อกามฉันทะไม่มี ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะไม่มี
อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง กามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
เมื่อพยาบาทมีอยู่ ฯลฯ เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ฯลฯ เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ฯลฯ
เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่
หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มี
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
[โพชฌังคปัพพะ]
เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่
หรือเมื่อสติสัม-โพชฌงค์ไม่มี ก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มี
อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ
เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ฯลฯ
เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่
เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มี ก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มี
อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด รู้ชัดเหตุนั้นด้วย
อนึ่ง ความเจริญบริบูรณ์แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใดรู้ชัดเหตุนั้นด้วย
ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก
[๔๕๒] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ
มีนิเทสว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง
ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด
นี้เรียกว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี
เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี
ประกอบแล้ว ด้วยการพิจารณาเห็นเนืองๆ นี้
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ
[๔๕๓] บทว่า อยู่ มีนิเทสว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่
รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า อยู่
[๔๕๔] บทว่า มีความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่าความเพียร
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร
[๔๕๕] บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทสว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี
เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี
ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ
[๔๕๖] บทว่า มีสติ มีนิเทสว่า สติ เป็นไฉน
สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ อันใด นี้เรียกว่า สติ
ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี
เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยสตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ
[๔๕๗] บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทสว่าโลก เป็นไฉน
ธรรมเหล่านั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่าโลก
อภิชฌา เป็นไฉนความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ
ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใดนี้เรียกว่า อภิชฌา
โทมนัส เป็นไฉนความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ
ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส
อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ
เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไปด้วยดี
ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว
ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก
ธัมมานุปัสสนานิเทส จบ
สุตตันตภาชนีย์ จบ