"เจริญอานาปานสติแล้วจะมีผลอย่างไร"

ขออนุญาติ อธิบายสรุปกระทู้     "การเอาสติมาระลึกที่ลมหายใจ" เพียงพอไหม "จะทำให้แจ้งนิพพาน"
ที่อาจจะอธิบายรวบรัด และชื่อของกระทู้ อาจทำให้ผู้ปฏิบัติทั้งหลายเข้าใจผิดได้ แต่เพื่อความไม่ประมาท
และเพื่อกันความเข้าใจผิดในธรรม และจะได้ไม่เป็นโทษแก่ผมเองด้วย จึงขออธิบายอย่างนี้ครับ

ตามกระทู้ชื่อ   "การเอาสติมาระลึกที่ลมหายใจ" เพียงพอไหม "จะทำให้แจ้งนิพพาน"
ความหมายจริงๆ ของคำว่า "การเอาสติมาระลึกที่ลมหายใจ" นั้น คือ "อานาปานสติ "ตรงนี้อาจทำให้ผู้อ่าน
เกิดความเข้าใจผิดได้ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ และขออธิบายสรุป ซึ่งผมจะชี้เฉพาะคีย์หลักๆ แต่อาจจะยาว
ซักหน่อย  ค่อยๆอ่านทำความเข้าใจ.. ขอบคุณครับ


************************

เจริญอานาปานสติแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
การเจริญ "อานาปานสติ" เป็น การเจริญ "สติปัฏฐาน" เป็นไปได้ทั้ง 4 หมวด ทั้ง กาย เวทนา จิต และธรรม
หากเจริญ "อานาปานสติ " ถูกต้องจะทำให้ มรรคมีองค์ 8 บริบูรณ์
หากเจริญ "อานาปานสติ " ถูกต้องจะทำให้ โพชฌงค์ 7 (องค์แห่งการตรัสรู้) ถึงความเต็มรอบ
หากเจริญ "อานาปานสติ " ถูกต้องจะทำให้ เกิดอินทรียสังวรขึ้น
หากเจริญ "อานาปานสติ " ถูกต้องแล้วเป็นทั้ง "สมถะ" และ "วิปัสสนา"
และ อินทรียสังวร นั้นทำให้เกิด การสำรวม กาย วาจา รวมไปถึงใจด้วย  ทำให้ศีลบริบูรณ์
เมื่อศีลบริบูรณ์ จึงทำให้ไม่ผู้ปฏิบัติ ไม่เดือดร้อน กาย ใจ เป็นส่วนไปเกื้อกูล สนับสนุน ให้จิต เป็นสมาธิได้ง่าย

********************

แสดงไปตามลำดับ ตามนี้ครับ

การเตรียมกำลังใจ และการวางจิต
1. ผู้ปฏิบัติพึงสำรวจตนเอง ถึงอินทรีย์ 5 และ พละ 5 ของตน คือ ดูกำลังใจของตน ที่จะเพียรเพื่อความ
ความหลุดพ้นมีมากแค่ไหน ผู้ปฏิบัติพึงหวังว่า "เราปฏิบัติเพื่อละวาง เพื่อความพ้นทุกข์" ไม่ใช่เพื่อ สะสมบุญ
บารมี เพื่อไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม โดยตั้งกำลังใจว่า "อานาปาสติที่เราเพียรนี้ เพื่อมรรคผลนิพพาน
" และทำกำลังใจว่า "ไม่มีทางใดแม้ซักทางอย่างเช่นการวอนขอสิ่งศักดิ์จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง นอกจากหนทางนี้
คือ มรรคมีองค์ 8 ที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว"  ถ้ากำลังใจของนักปฏิบัติเป็นอย่างนี้ สังโยชน์ในข้อ "สีลัพพตปรามาส"
นั้นได้ถูกละลงได้ชั่วคราว

2. ผู้เริ่มปฏิบัติ ตั้งกำลังใจมั่นไว้ว่า
"จะปฏิบติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยการทำอานาปนสตินี้"  และมั่นใจเลยว่า
"การหมั่นเอาสติมารู้ที่ลมนี้" (อานาปานสติ) จะทำให้ถึงพระนิพพานได้จริง... ปักความเชื่อใจลงในคำสอนของ
"พระพุทธเจ้า"ทิ้งความสงสัยไปก่อน "  ถ้ากำลังใจของนักปฏิบัติเป็นอย่างนี้ สังโยชน์ในข้อ "วิจิกิจฉา"
นั้นได้ถูกละลงได้ชั่วคราว


การทำกำลังใจตาม 2 ข้อนี้ จะทำให้ อินทรีย์ 5 และ พละ5 ของผู้นั้นมีกำลังมากตามไปด้วย ในข้อของ ศรัทธา
และความเพียรนี่คือจิตที่เป็นไปพร้อมเพื่อจะทำให้เกิดขึ้นของมรรคจิต โดยมุ่งที่ขั้นต้นคือ การบรรลุธรรมขั้น
"พระโสดาบัน" ละสังโยชน์ 3 ข้อ เบื้องต่ำ.. ที่เป็นเครื่องผูก เครื่องร้อยรัดจิต ให้ติดอยู่ในสังสารวัฏ ...   
ซึ่งหนึ่งข้อที่เหลือ คือ "สักกายทิฐิ" จะถูกละอย่างถาวรก็ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติเจริญ "อานาปานสติ" จนเห็นความไม่เที่ยง
ว่างจากตัวตน ที่มีสภาพเป็นอย่างนี้อยู่ตามธรรมชาติแล้ว แต่เพราะความไม่รู้(อวิชชา) ปิดปังสภาวะความเป็นจริงนี้..
ถ้าผู้ปฏิบัติเข้าไปเห็นแจ้งในส่วนนี้ ผลคือ ความเห็น ที่คิดว่าเป็นเรา เป็นของเรา จะขาดลง "สักกายทิฐิ" จะถูกละไปถาวร
และมีผลให้สังโยชน์อีก 2 ข้อข้างต้น ถูกละให้ขาดไปถาวร คือ "สีลัพพตปรามาส" และ "วิจิกิจฉา"...  คราวนี้สิ่งที่
นักปฏิบัติต้องทำ คือ ข้อของ "ละสักกายทิฐิ"  จะเห็นสภาพไตรลักษณ์ได้อย่างไร?... คำตอบทั้งหมดอยู่ในกระทู้นี้แล้ว
ดังนี้ครับ


********************

" อานาปานสติ "

ก่อนปฏิบัติต้องทำกำลังใจ ให้ในวันๆหนึ่ง ให้มีสติกลับมาระลึกรู้ที่ลมหายใจให้ได้มากที่สุด นำการระลึกถึงลมสอดแทรกไป
ทุกกิจกรรมในชีวิต ที่พอทำได้ ให้มากที่สุด... โดยความคิดเหล่านี้ คือมรรคในข้อ "สัมมาสังกัปปะ" คือความดำริออก
จากกาม ไม่พยาบาท เบียดเบียน... เมื่อผู้ปฏิบัติมีความคิดที่จะเจริญสติขึ้น มรรคข้อนี้บริบูรณ์ เพราะเมื่อมีสติ ความพอใจ
ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส(กาม) ขณะจิตที่มีสตินั้น ย่อมขาดลง ความคิดที่อาฆาตพยาบาท ก็ถูกสติ ทำให้ขาดลงเช่นกัน...
ความคิดของผู้ปฏิบัติจะเจริญอานาปานสตินั้น คือการเจริญมรรคข้อ "สัมมาสังกัปปะ"

หมายเหตุ
***ผู้ปฏิบัติที่ศึกษา "อานาปานสติ" พึงสังเกตุคำพระพุทธเจ้า "ทุกคำ" ว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายทุกคำ โดยไม่เว้นแม้แต่คำเดียว***


ภาคปฏิบัติ
เริ่มต้น ผมจะไม่ลงรายละเอียดถึงขั้นตอนปฏิบัติมากนัก ในข้อนี้ผมจะแสดงเพียงข้อหลักๆ ผู้ปฏิบัติต้องหาสมดุลแห่งธรรม
ว่าจะเร่งรัด หรือผ่อน ในเวลาใด ผมจะเพียงชี้ให้เห็น "ความอัศจรรย์ของอานาปานสติ ที่พระพุทธองค์ทรงบอกสอนไว้"
ว่าน่าอัศจรรย์เพียงใด ที่เป็นเหตุเป็นผล เกื้อกูล สนับสนุนเป็นเนื้อเดียวกัน โดยทั้งหมด


1. ผู้ปฏิบัติกระทำตามพระพุทธเจ้า ดังนี้       
" มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก "


การปฏิบัติ คือ.............
ผู้ปฏิบัติหมั่นคอยมีสติมาระลึกที่ลมหายใจที่เข้า - ออก   ทำเพียงแค่เท่านี้แต่...

สิ่งที่เกิดขณะนั้น คือ.............
เมื่อมีสติระลึกลมหายใจ คือ "การเจริญสติ" จะเกิด"อินทรียสังวร"ขึ้น จิตไม่แส่ส่าย เป็นเครื่องปิดกั้น "อกุศล" เป็นเหตุทำให้เกิดศีล
และศีล เป็นเหตุให้ มรรคในข้อ "สัมมาวาจา"  "สัมมากัมมันตะ" และ  "สัมมาอาชีวะ" ถึงความบริบูรณ์ไปด้วย
เมื่อเพียรปฏิบัติ"อานาปานสติ" มรรคในข้อ "สัมมาวายะมะ" ถึงความบริบูรณ์ไปด้วย ดังนี้
ผู้ปฏิบัติที่เพียรปฏิบัติ "อานาปานติ"
จะเกิดสภาวะ คือ เพียรเอาสติที่อยู่กับลมหายใจ เท่ากับ
เราประคองจิตไว้(รู้ลม) เพื่อไม่ให้อกุศลเกิด
เราประคองจิตไว้(รู้ลม) เพื่อละอกุศลที่เกิด
เราประคองจิตไว้(รู้ลม) เพื่อให้กุศลเกิดขึ้น
**ประคองจิตไว้ (ความตั้งใจเพียรในการรู้ลม)

อีกทั้ง "สติสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบจาก การเจริญ "อานาปานสติ" โดยเอาสติมารู้ที่ลมหายใจนี้
อีกทั้งเป็น "กายคตาสติ" ด้วย
ซึ่งการทำ" อานาปานสติ "ในขั้นนี้เป็น "สมถะ" ที่เกิดจากเอาสติที่เกาะอยู่ที่ลมหายใจให้เป็นเครื่องอยู่
เป็น "วิหารธรรม"

***
**

ในขั้นแรกนี้ เป็นเพียงสติที่อยู่กับลมหายใจ ... จนสติเกิดบ่อยขึ้นถี่ขึ้น และจดจ่อกับลมได้นานขึ้น
แต่จิตที่มักจะไหลไปรวมกับลมหายใจ จึงต้องยกขึ้น "อานาปานสติ" อีกขั้นหนึ่ง ดังนี้

********************


2. ผู้ปฏิบัติกระทำตามพระพุทธเจ้า ดังนี้       

"เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว   เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น"



การปฏิบัติ คือ.............
เมื่อผู้ปฏิบัติมีเครื่องอยู่ให้จิตได้เกาะ โดยเอาสติมารู้อยู่ที่ลมหายใจ เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นว่า การเจริญสติอย่างนี้
เห็นว่ามีความตั้งมั่นที่เพียงพอ โดยอาศัยความค้นหาสมดุลในตนเอง ยกขึ้นอีกขั้น โดยการ สังเกตุถึงลมหายใจ
ที่ไหลเข้า -ไหลออกนั้น สั้น หรือ ยาว ด้วยการเอาสติเข้าไปรู้ชัดซึ่งอาการ ที่สั้น-ยาว แตกต่างกันไป
ทำเพียงแค่เท่านี้แต่


สิ่งที่เกิดขณะนั้น คือ.............
การที่มีสติรู้ที่ลมหายนั้น เมื่อ พิจารณาว่า ลมหายใจนั้น "สั้น" หรือ "ยาว" มรรคในข้อ "สัมมาสติ" ถึงความบริบูรณ์  
และเป็นการเจริญ สติปัฏฐาน ทั้ง 4 หมวด คือ

กาย(บางส่วน)
***การพิจารณาลมหายใจเข้า-ออก ว่า สั้นหรือยาว นั้นคือการเจริญ "สติปัฏฐานหมวดกาย" "เป็นผู้มีปกติพิจารณา
เห็นกายในกายอยู่"

เวทนา(บางส่วน)
***ในบางขณะที่ พิจารณาว่า ลมหายใจ "สั้นหรือยาว" อยู่นั้น "เกิดมีความสุข" ขึ้นในจิต ระหว่างนั้น ผู้ปฏิบัติมีสติ
รู้ว่ามี "สุข"เกิดขึ้น นั่นคือการเจริญ "สติปัฏฐานหมวดเวทนา" "เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า หายใจออก"

จิต(บางส่วน)
***ในบางขณะที่ พิจารณาว่า ลมหายใจ "สั้นหรือยาว" อยู่นั้น "เกิดความตั้งมั่นใน" ในจิต ระหว่างนั้น ผู้ปฏิบัติม
ีสติรู้ว่า "เราเป็นผู้ทำให้จิตเกิดความตั้งมั่น" ขึ้น นั่นคือการเจริญ "สติปัฏฐานหมวดจิต" "เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็น
จิตในจิตอยู่"

ธรรม(บางส่วน)
***ในบางขณะที่ พิจารณาว่า ลมหายใจ "สั้นหรือยาว" อยู่นั้น "เห็นความไม่เที่ยง แปรปวน แล้วความดับไป  "  
ผู้ปฏิบัติมีสติเห็น "ธรรมชาติของกฏไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ปวนแปร และดับลง" นั่นคือการเจริญ "สติปัฏฐานหมวดธรรม"
จนถึงธรรมในขั้นสุดท้ายของสติปัฏฐาน คือ "เห็นความสลัดคืน" (จิตหลุดพ้น)


ในขณะที่ผู้ปฏิบัติ พิจารณาว่า ลมหายใจ "สั้นหรือยาว" อยู่นั้น มีผู้รู้หนึ่ง เห็นสภาวะทั้งหลายในข้างต้นเหล่านี้ นั่นคือ
การเจริญสติปัฏฐานในหมวดต่างๆสลับกันไปเรื่อยๆขึ้นอยู่กับว่าจิตเข้าไป เห็นอะไร และการเจริญอยู่อย่างนี้ คือ
"การเจริญวิปัสนา" แท้ๆ ที่ปราศจากการคิดแต่เป็นการ "เห็น" สภาวะต่างๆในสติปัฏฐานทั้ง 4

การที่เรามี"วิหารธรรม
" อยู่ที่ ลมหายใจ แล้วพิจารณาถึงอาการเข้า-ออก อยู่นั้น ชื่อว่าได้เป็นการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมอยู่
"ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบ
และเมื่อเพียรรู้ลมหายใจเข้า-ออก ว่า สั้นหรือยาว อยู่นั้น "วิริยสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบ
เมื่อเกิดความเพียรอยู่นั้น ปิติที่ไม่อิงอามิส ก็เกิดขึ้น "ปีติสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบ
เมื่อเกิดปิติ มีผลให้ กายและจิตก็สงบระงับลง ความสุขก็เกิดขึ้น "ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบ
กายที่สงบระงับ มีสุขอยู่จิตก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิ "สมาธิสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบ
เมื่อจิตตั้งมั่น เข้าไปเพ่งเฉพาะ ซึ่งความตั่งมั่นนั้น ก็เกิดความเป็นกลาง "อุเบกขาสัมโพชฌงค์" ก็ถึงความเต็มรอบ
โพชฌงค์ทั้ง7 ก็ถึงความเต็มรอบเพราะเจริญ "อานาปานสติ"  นี้


**********

และมรรคในข้อ "สัมมาสมาธิ" ก็ถึงความบริบูรณ์พร้อม. ด้วยการเจริญสัมมาสติ อย่างต่อเนื่อง

จิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง อยู่นั้น เข้าไปเห็น สภาพตามธรรมชาติ ที่แปรปวนเกิด-ดับ บังคับไม่ได้อยู่นั้น ขึ้นชื่อว่า "รู้ทุกข์"
รู้ลมหายใจอยู่นั้น เห็นต้นเหตุที่ทำให้เกิด เวทนา >ตัณหา>แล้วไปสร้างอุปาทาน "รู้เหตุให้เกิดทุกข์"
แต่ละขณะที่อารมณ์ต่างๆเกิดขึ้นแล้ว สติอยู่ที่ลมหายใจ.. อารมณ์ที่พอใจไม่พอใจ ขาดลง เห็นการดับลง(ยังไม่ใช่นิโรธ
ดับสนิท)เป็นขณะ เห็นถึงความดับของของตัณหา "รู้ความดับไปของทุกข์"
รู้ว่า การดับของตัณหา (ความทะยานอยาก) ทำอย่างไร คือ "รู้ทางดับทุกข์"
จึงกลับไปในข้อที่หนึ่งของมรรค คือ "สัมมาทิฐิ" ก็ถึงความบริบูรณ์พร้อม

มรรคมีองค์ 8 จึงถึงความบริบูรณพร้อม เช่นเดียว กับ โพชฌงค์ 7 และ สติปัฏฐาน4  ด้วยการเจริญ "อานาปานสติ"
ทุกครั้งที่กลับมารู้ที่ลมหายใจนั้น อาหารของวิญญานได้ดับลง อ่อนกำลังลง ละความเพลินในอารมณ์ เมื่อความเพลินถูกละ
เวทนา ตัณหา ก็ไม่เกิด เพราะถูกสติตัดไปตั้งแต่เราเอาสติไปรู้ที่ลม เมื่อตัณหาไม่เกิด อุปทานความยึด ของใหม่ก็ไม่เกิด
ของเก่าก็ถูกลดกำลัง  ภพของจิตซึ่งนำไปสู่ ชาติ ชรา มรณะฯลฯ...  ก็ไม่เกิดขึ้น ....  อนุสัยอันนอนเนื่องอยู่ก็ถูกถอดถอน
ออกด้วยแม้ "เจริญอานาปานสติ" ใช้เวลาแค่เพียงลัดนิ้วมือ ดังคำพระพุทธองค์  อานิสงค์มากมายนัก ผมเองไม่อาจพรรณา
ได้หมดแต่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย มีมรรคผลนิพพาน เป็น"แก่นสาร" เป็น"จุดหมาย" อานาปานสตินี้ก็เป็นมรรควิธีหนึ่งที่ น่าจะลอง
นำไปปฏิบัติอีกมรรควิธีนึง


********************

สรุปการปฏิบัติอย่างนี้
ผู้ปฏิบัติอานาปานสติ มีความเพียรอยู่อย่างน
1.เพียรเอาสติมาระลึกอยู่ที่ลมหายใจเข้า - ออก
2.เมื่อสติชัดขึ้น บ่อยขึ้น พิจารณาว่า ลมหายใจเข้า - ออก นั้น สั้นหรือยาว
3.ขณะรู้ที่ลมหายใจเข้า - ออกนั้น ว่ายาวหรือสั้น มีสภาวะใดแทรกมาที่จิต รู้ กาย ,เวทนา, จิต ,หรือธรรม อ่าน
รายละเอียดในเกี่ยวกับ สติปัฏฐานในพระสูตร ... กลับมาอยู่ในวิหารธรรม คือลมหายใจ **ข้อนี้ระวัง รู้แล้วต้องละ
สภาวะทั้งกาย ,เวทนา, จิต ,หรือธรรม จะไม่เข้าไปคิดแทรกแซง ไม่เข้าไปอยู่ในสิ่งนั้น เสี่ยงต่อการเข้าไปผูกติดกับ
อารมณ์นั้น จิตจะไม่ตั้งมั่น



ต่อครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่