พุทธวจน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงมรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมาร
และเสนามารแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังมรรคานั้น. ก็มรรคาเป็น
เครื่องย่ำยีมารและเสนามารเป็นไฉน. คือ โพชฌงค์ ๗
...........................................................................................
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า มาเถิด
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลัง
ปัญญา
แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดังนี้ แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอน
กำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของเรา
นี้ อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง
อะไรเป็นความต่างกัน ของพระสมณ-
*โคดมหรือของพวกเรา คือว่าธรรมเทศนาของพวกเรา กับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรือ
อนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระสมณโคดม.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มี
วาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลาย พึงถามอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายที่นิวรณ์๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง
ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง มีอยู่หรือ?
พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์
ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของ
ตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของตถาคตนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็ปริยายที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง เป็นไฉน?
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้กามฉันทะในภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้กามฉันทะใน
ภายนอกก็เป็นนิวรณ์ คำว่า กามฉันทนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ กามฉันท-
*นิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้พยาบาทในภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้พยาบาทในภายนอก
ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า พยาบาทนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ พยาบาทนิวรณ์นั้น
ก็เป็น ๒ อย่าง.
.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้
ถีนะก็เป็นนิวรณ์ แม้
มิทธะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ถีนมิทธ-
*นิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ ถีนมิทธนิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
แม้อุทธัจจะก็เป็นนิวรณ์
แม้กุกกุจจะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์นั้น ก็เป็น
๒ อย่าง.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้วิจิกิจฉาใน
ธรรมทั้งหลายภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้
วิจิกิจฉาใน
ธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นนิวรณ์ คำว่า วิจิกิจฉานิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ
แม้โดยปริยายนี้ วิจิกิจฉานิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ปริยายนี้แล ที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่างนี้.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็ปริยายที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง เป็นไฉน?
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้สติใน
ธรรมทั้งหลายในภายในก็เป็นสติสัมโพชฌงค์
แม้สติใน
ธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ คำว่า สติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมา
สู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ สติสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
.แม้
ธรรมทั้งหลายในภายใน ที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตราถึงความพินิจพิจารณา
ด้วยปัญญา ก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ แม้
ธรรมทั้งหลายในภายนอกที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาด้วยปัญญา ก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คำว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้ค
วามเพียรทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ แม้ความ
เพียรทางจิตก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้
วิริยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้
ปีติที่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ แม้
ปีติที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ คำว่า ปีติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้
ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็น ๒ อย่าง.
.ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
แม้ความสงบกายก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
แม้ความสงบจิตก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คำว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดย
ปริยายนี้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็น ๒ อย่าง.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
แม้สมาธิที่มีวิตกวิจารก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์
แม้สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร ก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ คำว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้
โดยปริยายนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้ความวางเฉยใน
ธรรมทั้งหลายในภายใน ก็เป็นอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ แม้ความวางเฉยใน
ธรรมทั้งหลายในภายนอก ก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ คำว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็น
๒ อย่าง.
.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ปริยายนี้แล ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง.
เปิดธรรมที่ถูกปิด พุทธวจน ! ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมาร และเสนามารแก่เธอทั้งหลาย
พุทธวจน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงมรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมาร
และเสนามารแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังมรรคานั้น. ก็มรรคาเป็น
เครื่องย่ำยีมารและเสนามารเป็นไฉน. คือ โพชฌงค์ ๗
...........................................................................................
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลัง
ปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดังนี้ แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอน
กำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของเรา
นี้ อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน ของพระสมณ-
*โคดมหรือของพวกเรา คือว่าธรรมเทศนาของพวกเรา กับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรือ
อนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระสมณโคดม.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มี
วาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลาย พึงถามอย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ! ก็ปริยายที่นิวรณ์๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง
ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง มีอยู่หรือ?
พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของ
ตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของตถาคตนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็ปริยายที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง เป็นไฉน?
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้กามฉันทะในภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้กามฉันทะใน
ภายนอกก็เป็นนิวรณ์ คำว่า กามฉันทนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ กามฉันท-
*นิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้พยาบาทในภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้พยาบาทในภายนอก
ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า พยาบาทนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ พยาบาทนิวรณ์นั้น
ก็เป็น ๒ อย่าง.
.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้ถีนะก็เป็นนิวรณ์ แม้มิทธะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า ถีนมิทธ-
*นิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ ถีนมิทธนิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้อุทธัจจะก็เป็นนิวรณ์ แม้กุกกุจจะก็เป็นนิวรณ์ คำว่า
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์นั้น ก็เป็น
๒ อย่าง.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายภายในก็เป็นนิวรณ์ แม้
วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นนิวรณ์ คำว่า วิจิกิจฉานิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ
แม้โดยปริยายนี้ วิจิกิจฉานิวรณ์นั้น ก็เป็น ๒ อย่าง.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ปริยายนี้แล ที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่างนี้.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็ปริยายที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง เป็นไฉน?
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายในก็เป็นสติสัมโพชฌงค์
แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ คำว่า สติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมา
สู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ สติสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
.แม้ธรรมทั้งหลายในภายใน ที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตราถึงความพินิจพิจารณา
ด้วยปัญญา ก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ แม้ธรรมทั้งหลายในภายนอกที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตรา
ถึงความพินิจพิจารณาด้วยปัญญา ก็เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คำว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้ความเพียรทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ แม้ความ
เพียรทางจิตก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้
วิริยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้ปีติที่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ แม้
ปีติที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ คำว่า ปีติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้
ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็น ๒ อย่าง.
.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้ความสงบกายก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
แม้ความสงบจิตก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คำว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดย
ปริยายนี้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็น ๒ อย่าง.
. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้สมาธิที่มีวิตกวิจารก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์
แม้สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร ก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ คำว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้
โดยปริยายนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.
.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! แม้ความวางเฉยในธรรมทั้งหลายในภายใน ก็เป็นอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ แม้ความวางเฉยในธรรมทั้งหลายในภายนอก ก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ คำว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็น
๒ อย่าง.
.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ปริยายนี้แล ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง.