กาลครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ หากยังจำกันได้เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อ สำนักงาน EEC เปิดเผยว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2562 ได้มีการเปิดรับซองยื่นข้อเสนอโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โดยมี “กองทัพเรือ” เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 290,000 ล้านบาท แต่แล้วเรื่องราวดราม่า ที่ทำให้สังคมจับตาก็เกิดขึ้น เรียกได้ว่าต้องติดตามแบบตาไม่กระพริบ
ดราม่าที่ 1: เดิมทีรัฐบอกว่าในการยื่นซอง ต้องมีผลตอบแทนขั้นต่ำให้รัฐ 59,000 ล้านบาท ทำให้เอกชนผู้ร่วมประมูลต้องกดเครื่องคิดเลขกันยกใหญ่ แต่แล้วเป็นที่น่าสังเกตว่ามีการเลื่อนการยื่นเอกสารจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ไปเป็นวันที่ 30 เมษายน พร้อมกับปลดล็อคผลตอบแทนรัฐ ทำเอาทุกคนงง โดยใช้คำว่า ผลตอบแทนรัฐเท่าไหร่ก็ได้ โดยรัฐคาดหวัง 59,000 ล้านบาท ซึ่งแปลชัดๆ ว่า กรอกผลตอบแทนรัฐเป็น 0 บาทก็ได้ ไม่จำเป็นต้องแบ่งรายได้รัฐถึง 59,000 ล้านบาท ดังนั้น ผู้เข้าประมูลก็ไม่จำเป็นต้องทำสนามบินให้มีขนาดใหญ่ เพื่อได้ผลตอบแทนสูงอีกต่อไป ภาพเมืองการบิน อาจเหลือแค่เพิ่มเทอร์มินัล สมการในการคำนวณผู้โดยสารจากเดิม 50 ล้านคนต่อไป ก็ลดไปเหลือซักประมาณ 10 ล้านคน เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน แต่ความน่าสนใจของโครงการก็ลดลงอย่างน่าเสียดาย เหลือเพียงรายเดียวที่ถูกโครงการไฮสปีดค้ำคอ ทำให้ต้องทำสนามบินให้ใหญ่ เพื่อให้ผู้โดยสารเพียงพอต่อไฮสปีด
ดราม่าที่ 2: เมื่อกลุ่มซีพีและพันธมิตรยื่นซองเกินบ่าย 3 ไป 9 นาที ในขณะที่ขั้นตอนรับเอกสารทั้ง 3 ราย แล้วเสร็จตอน 3 ทุ่ม ทำให้เกิดดราม่าพยายามเทคนิเคิลน็อคเอ้าซีพีก่อนการเปิดซอง ทำให้ซีพีเดินหน้ายื่นฟ้องศาลปกครอง โดยก่อนวันตัดสินตุลาการ ได้สรุปว่า การที่เอกชนได้มาลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 12.20 น. และนั่งรอในห้องพักคอย จนถึงเวลา 16.45 น. ทร.จึงเรียกเอกชนเข้าไปตรวจรับซองเอกสารและรับเงินค่าธรรมเนียมจนไปเสร็จสิ้นเมื่อเวลา 18.00 นั้น เป็นการกระบวนการตรวจสอบที่ครบถ้วน โดยไม่ถือระยะเวลาปิดรับซองที่ 15.00 น. เป็นสาระสำคัญ และประกอบกับ ทร.ยังได้ตรวจรับเอกสารไปจนถึงเวลา 21.00 น. พฤติการณ์แสดงให้เห็นได้ว่า ทร. รับเอกสารของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาแล้ว ตุลาการผู้แถลงคดีทำความเห็นให้เพิกถอนมติ กพอ.ทร. ที่ 182/2562 โดยให้ผู้ถูกฟ้องรับพิจารณาซองข้อเสนอของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาตั้งแต่วันที่มติมีผลใช้บังคับ และดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดต่อไป ส่วนคำพิพากษาอื่นให้ยก แต่แล้ว 1 คืนต่อมา ผลการการพิพากษาศาลปกครองออกมาว่า ยกฟ้อง ทำให้ซีพีอาจต้องไปอุทธรณ์ต่อ ซึ่งต้องลุ้นกันต่อไปว่าผลจะออกมาเช่นไร
ดราม่าที่ 3: เมื่อซองตัวเลขข้อเสนอการเงิน ของกลุ่มที่คาดว่าจะแพ้ฟาวส์นั้น กลับเสนอราคาน่าจะสูงกว่าที่รัฐคาดหวังไว้ถึง 3 เท่า หรือประมาณ 180,000 ล้านบาท จากที่รัฐเคยขอไว้แค่ 59,000 ล้านบาท ทำให้การตัดสิทธิ์ 9 นาที เป็นการตัดเงินที่รัฐน่าจะได้ไปด้วยประมาณ120,000 ล้านบาท เพราะคาดกันว่ากลุ่มนี้ น่าจะทำสนามบินแบบใหญ่ เพื่อตอบสนองผู้โดยสารของรถไฟความเร็วสูง จึงต้องไปรอผลอุทธรณ์ว่าจะกลับมาลุ้นได้หรือไม่
ดราม่าที่ 4: หากผู้ชนะประมูลสนามบิน เสนอผลตอบแทนให้รัฐต่ำกว่า 59,000 ล้านบาท และทำสนามบินแบบเล็ก ก็หมายถึง ผู้โดยสารรถไฟไฮสปีดจะไม่เพียงพอตามที่อีอีซีเคยคาดการณ์ไว้ แถมยังไม่การันตีผู้โดยสารอีกด้วย เท่ากับว่า เกิดคำถามตัวเบ่อเร่อ ว่าเมื่อผู้โดยสารจากสนามบินไม่มาตามเป้า โครงการไฮสปีดจะเดินหน้าต่อหรือไม่
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ของถูกไม่มีดี ของดีไม่มีถูก ทั้งหมดนี้คือเรื่องราว ที่ยังคงต้องติดตามว่า ผู้ชนะการประมูลจะเสนอราคามาสูงกว่า 59,000 ล้านบาทหรือไม่ และจากข่าวลือที่ว่า มีหนึ่งรายที่เสนอสูงกว่าที่รัฐคาดหวังถึง 3 เท่า จะผ่านการอุทธรณ์กลับมายังสนามแข่งได้หรือไม่ คงไม่มีใครตอบได้ เพราะวันนี้ซองที่ 3 ยังไม่ได้เปิด ในฐานะผู้ชม คงต้องติดตามกันต่อไป ว่าผู้ชนะคือประเทศไทย ที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการประมูลหรือไม่?
ของถูกไม่มีดี ของดีไม่มีถูก กับการถอดบทเรียนดราม่า ราคาแพงของการประมูลสนามบินอู่ตะเภา!!
ดราม่าที่ 1: เดิมทีรัฐบอกว่าในการยื่นซอง ต้องมีผลตอบแทนขั้นต่ำให้รัฐ 59,000 ล้านบาท ทำให้เอกชนผู้ร่วมประมูลต้องกดเครื่องคิดเลขกันยกใหญ่ แต่แล้วเป็นที่น่าสังเกตว่ามีการเลื่อนการยื่นเอกสารจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ไปเป็นวันที่ 30 เมษายน พร้อมกับปลดล็อคผลตอบแทนรัฐ ทำเอาทุกคนงง โดยใช้คำว่า ผลตอบแทนรัฐเท่าไหร่ก็ได้ โดยรัฐคาดหวัง 59,000 ล้านบาท ซึ่งแปลชัดๆ ว่า กรอกผลตอบแทนรัฐเป็น 0 บาทก็ได้ ไม่จำเป็นต้องแบ่งรายได้รัฐถึง 59,000 ล้านบาท ดังนั้น ผู้เข้าประมูลก็ไม่จำเป็นต้องทำสนามบินให้มีขนาดใหญ่ เพื่อได้ผลตอบแทนสูงอีกต่อไป ภาพเมืองการบิน อาจเหลือแค่เพิ่มเทอร์มินัล สมการในการคำนวณผู้โดยสารจากเดิม 50 ล้านคนต่อไป ก็ลดไปเหลือซักประมาณ 10 ล้านคน เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน แต่ความน่าสนใจของโครงการก็ลดลงอย่างน่าเสียดาย เหลือเพียงรายเดียวที่ถูกโครงการไฮสปีดค้ำคอ ทำให้ต้องทำสนามบินให้ใหญ่ เพื่อให้ผู้โดยสารเพียงพอต่อไฮสปีด
ดราม่าที่ 2: เมื่อกลุ่มซีพีและพันธมิตรยื่นซองเกินบ่าย 3 ไป 9 นาที ในขณะที่ขั้นตอนรับเอกสารทั้ง 3 ราย แล้วเสร็จตอน 3 ทุ่ม ทำให้เกิดดราม่าพยายามเทคนิเคิลน็อคเอ้าซีพีก่อนการเปิดซอง ทำให้ซีพีเดินหน้ายื่นฟ้องศาลปกครอง โดยก่อนวันตัดสินตุลาการ ได้สรุปว่า การที่เอกชนได้มาลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 12.20 น. และนั่งรอในห้องพักคอย จนถึงเวลา 16.45 น. ทร.จึงเรียกเอกชนเข้าไปตรวจรับซองเอกสารและรับเงินค่าธรรมเนียมจนไปเสร็จสิ้นเมื่อเวลา 18.00 นั้น เป็นการกระบวนการตรวจสอบที่ครบถ้วน โดยไม่ถือระยะเวลาปิดรับซองที่ 15.00 น. เป็นสาระสำคัญ และประกอบกับ ทร.ยังได้ตรวจรับเอกสารไปจนถึงเวลา 21.00 น. พฤติการณ์แสดงให้เห็นได้ว่า ทร. รับเอกสารของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาแล้ว ตุลาการผู้แถลงคดีทำความเห็นให้เพิกถอนมติ กพอ.ทร. ที่ 182/2562 โดยให้ผู้ถูกฟ้องรับพิจารณาซองข้อเสนอของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาตั้งแต่วันที่มติมีผลใช้บังคับ และดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดต่อไป ส่วนคำพิพากษาอื่นให้ยก แต่แล้ว 1 คืนต่อมา ผลการการพิพากษาศาลปกครองออกมาว่า ยกฟ้อง ทำให้ซีพีอาจต้องไปอุทธรณ์ต่อ ซึ่งต้องลุ้นกันต่อไปว่าผลจะออกมาเช่นไร
ดราม่าที่ 3: เมื่อซองตัวเลขข้อเสนอการเงิน ของกลุ่มที่คาดว่าจะแพ้ฟาวส์นั้น กลับเสนอราคาน่าจะสูงกว่าที่รัฐคาดหวังไว้ถึง 3 เท่า หรือประมาณ 180,000 ล้านบาท จากที่รัฐเคยขอไว้แค่ 59,000 ล้านบาท ทำให้การตัดสิทธิ์ 9 นาที เป็นการตัดเงินที่รัฐน่าจะได้ไปด้วยประมาณ120,000 ล้านบาท เพราะคาดกันว่ากลุ่มนี้ น่าจะทำสนามบินแบบใหญ่ เพื่อตอบสนองผู้โดยสารของรถไฟความเร็วสูง จึงต้องไปรอผลอุทธรณ์ว่าจะกลับมาลุ้นได้หรือไม่
ดราม่าที่ 4: หากผู้ชนะประมูลสนามบิน เสนอผลตอบแทนให้รัฐต่ำกว่า 59,000 ล้านบาท และทำสนามบินแบบเล็ก ก็หมายถึง ผู้โดยสารรถไฟไฮสปีดจะไม่เพียงพอตามที่อีอีซีเคยคาดการณ์ไว้ แถมยังไม่การันตีผู้โดยสารอีกด้วย เท่ากับว่า เกิดคำถามตัวเบ่อเร่อ ว่าเมื่อผู้โดยสารจากสนามบินไม่มาตามเป้า โครงการไฮสปีดจะเดินหน้าต่อหรือไม่
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ของถูกไม่มีดี ของดีไม่มีถูก ทั้งหมดนี้คือเรื่องราว ที่ยังคงต้องติดตามว่า ผู้ชนะการประมูลจะเสนอราคามาสูงกว่า 59,000 ล้านบาทหรือไม่ และจากข่าวลือที่ว่า มีหนึ่งรายที่เสนอสูงกว่าที่รัฐคาดหวังถึง 3 เท่า จะผ่านการอุทธรณ์กลับมายังสนามแข่งได้หรือไม่ คงไม่มีใครตอบได้ เพราะวันนี้ซองที่ 3 ยังไม่ได้เปิด ในฐานะผู้ชม คงต้องติดตามกันต่อไป ว่าผู้ชนะคือประเทศไทย ที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการประมูลหรือไม่?