สำหรับทุกวันนี้ความคิดทางกฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงและได้พัฒนาไปมากแล้ว ทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับเอกชนด้วยกัน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า สามารถที่จะนำมาใช้ในสัญญา หรือยึดเป็นหลักทางการค้า แวดวงธุรกิจได้ ซึ่งเอกชนเองสามารถที่จะทำการตกลง หรือทำสัญญาได้หลายๆเรื่อง เมื่อเกิดปัญหาทีไม่สามารถตกลงกันได้เรียกกันว่า ข้อพิพาท ขึ้นมานั้นก็สามารถที่จะหาจุดยุติได้โดยอาศัยคนกลางมาทำการตัดสิน วิธีการอนุญาโตตุลาการนี้จะมีข้อดีที่ไม่ต้องเสียเวลา ไม่อาย มีความยืดหยุ่น
ดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้น จากลักษณะของอนุญาโตตุลาการโดยทั่วไปแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดจากการผิดสัญญาของคู่สัญญา ที่ได้ทำไว้อย่างสมัครใจเท่านั้น จากกฎหมายของประเทศแล้วไม่นิยมนำมาเพื่อเป็นการยุติ หรือตัดสินในกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาหรือตกลงกันไว้ระหว่างคู่กรณี ซึ่งเรียกว่า compulsory arbitration แต่กลับตรงกันข้าม เพราะเป็นเรื่องของเสรีภาพของการทำสัญญา ซึ่งกฎหมายก็ได้ปล่อยให้มีการจัดการ หรือตกลงอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามสัญญาเหล่านั้นก็จะมีขอบเขต มีการระบุว่ามีข้อพิพาท หรือขัดแย้งอะไรบ้างที่สามารถจัดการ หรือยุติด้วยอนุญาโตตุลาการ
ซึ่งในข้อพิพาทที่ทางอนุญาโตตุลาการจะเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นจะเป็นเรื่องของความสงบ ศีลธรรมที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมเท่านั้น ในประเทศไทยได้ตีความหมายในมุมกว้างว่าการที่จะยุติ หรือระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการนั้นจะต้องเป็นข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาททางแพ่งเท่านั้น
จากข้างต้นที่ว่าอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสัญญา ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างนั้นต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับของสัญญาที่ได้ร่วมกันทำหรือตกลงกันไว้ ซึ่งทางกฎหมายถือว่าเป็นนิติกรรม
ไม่เพียงเท่านี้ เพราะอนุญาโตตุลาการนั้นไม่ได้มีบทบาท หรือเกี่ยวข้องกับสัญญาเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อเกิดข้อพิพาท หรือเหตุต่างๆที่ขัดแย้งกันนั้น จะต้องอาศัยความช่วยเหลือจากศาลในกระบวนการวินิจฉัย และการชี้ขาดจากในข้อพิพาทเหล่านั้นเช่นกัน ไม่สามารถแยกออกมาได้โดยเด็ดขาด จึงตัดไปได้เลยสำหรับความคิดที่ว่าจะทำให้อนุญาโตตุลาการนั้นเป็นการพิจารณาคดีที่มีรูปแบบเป็นเอกชนอย่างเต็มตัว อย่าลืมไปเสียว่าอนุญาโตตุลาการก็เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมนั่นเอง
พูดถึงความแตกต่างในการตัดสิน หรือพิจารณาคดี ระหว่างการทำงานในรูปแบบของศาลกับอนุญาโตตุลาการ มีดังต่อไปนี้ สำหรับศาลนั้นได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาอย่างถาวรในการพิจารณาคดีทั้งหมด ซึ่งในกระบวนหรือวิธีการนั้นมีเครื่องมืออย่างกฎหมายคอยบังคับใช้ การดำเนินงานก็เป็นไปตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพยาน การอุทรณ์ คำตัดสิน หรือฎีกาต่างๆ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา สำหรับคดีที่เป็นข้อขัดแย้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นทางศาลเองก็ต้องนำกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อมาปรับและนำมาใช้เช่นกัน
แต่อนุญาโตตุลาการถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณา หรือชี้ขาดในข้อพิพาท ข้อขัดแย้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น การแต่งตั้งและให้อำนาจคนกลางในการตัดสินหรือชี้ขาดก็ขึ้นอยู่กับความสมัครของคู่พิพาท หรือคู่กรณี อนุญาโตตุลาการจะหมดหน้าที่ บทบาทก็ต่อเมื่อได้ทำการตัดสินและทำการชี้ขาดไปแล้ว ในจุดนี้จะมีข้อแตกต่างไปจากการทำงานของศาล คือเมื่อหมดหน้าที่ศาลก็ยังมีอำนาจ หน้าที่เพื่อตัดสินในกรณีอื่นๆอยู่ ทางด้านการทำงานของอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นรูปแบบง่ายๆที่เป็นไปตามความต้องการของคู่กรณีที่เห็นพ้องตรงกัน แต่ต้องยึดหลักความยุติธรรม และให้โอกาสคู่กรณีทั้งสองฝ่ายในการต่อสู้หรือชี้แจ้งกันอย่างเป็นธรรม เรื่องการตัดสินทางอนุญาโตตุลาการนั้น จะใช้หลักความยืดหยุ่น กฎหมายต่างๆไม่ว่าจะเป็นประเพณี หรือขนบธรรมเนียมต่างๆ มาใช้เพื่อชี้ขาด ไม่จำเป็นต้องพึ่งกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตาม อนุญาโตตุลาการก็ไม่สามารถที่จะบังคับให้คู่พิพาท หรือคู่กรณีคนใดคนหนึ่งทำตามคำชี้ขาดของตนได้ จึงต้องพึ่งศาลในการบังคับ ออกกฎหมายเรียกพยาน หรือการคุ้มครองในช่วงเวลาที่เป็นข้อพิพาท หรือยังไม่ได้รับคำตัดสิน ซึ่งถือว่าเป็นความร่วมมือของศาลและอนุญาโตตุลาการเพื่อให้รูปแบบข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาทได้ดำเนินการไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จากความเข้าใจที่ว่าศาลเป็นตัวที่ก่อให้เกิดความล่าช้า หรือเข้ามาแทรกแซงในการตัดสินของอนุญาโตตุลาการนั้น ไม่ได้เป็นอย่างที่คิดเลย ศาลไม่ได้เป็นตัวถ่วง หรือเข้ามาแทรกแซงเกินไปจนทำให้เกิดความล่าช้าอย่างแน่นอน และในการตัดสินศาลเองจะไม่รื้อคดีขึ้นมาทบทวน ไม่ว่าคำตัดสินเหล่านั้นจะถูกต้อง หรือมีข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงไหน นอกจากเป็นคำตัดสินที่ขัดต่อความสงบและศีลธรรม ที่เมื่อศาลเองเห็นว่าทำการตัดสินที่ไม่ถูกต้องก็จะรื้อเรื่องขึ้นมาเพื่อตรวจสอบขั้นตอนในการดำเนินงานของอนุญาโตตุลาการว่าได้ทำการตัดสินอย่างไรในลักษณะไหน และเป็นธรรมหรือไม่ก็เท่านั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เครดิต
https://thac.or.th/article/views/1
https://thac.or.th/article/views/2
อนุญาโตตุลาการ
ดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้น จากลักษณะของอนุญาโตตุลาการโดยทั่วไปแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทที่เกิดจากการผิดสัญญาของคู่สัญญา ที่ได้ทำไว้อย่างสมัครใจเท่านั้น จากกฎหมายของประเทศแล้วไม่นิยมนำมาเพื่อเป็นการยุติ หรือตัดสินในกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาหรือตกลงกันไว้ระหว่างคู่กรณี ซึ่งเรียกว่า compulsory arbitration แต่กลับตรงกันข้าม เพราะเป็นเรื่องของเสรีภาพของการทำสัญญา ซึ่งกฎหมายก็ได้ปล่อยให้มีการจัดการ หรือตกลงอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามสัญญาเหล่านั้นก็จะมีขอบเขต มีการระบุว่ามีข้อพิพาท หรือขัดแย้งอะไรบ้างที่สามารถจัดการ หรือยุติด้วยอนุญาโตตุลาการ
ซึ่งในข้อพิพาทที่ทางอนุญาโตตุลาการจะเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นจะเป็นเรื่องของความสงบ ศีลธรรมที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมเท่านั้น ในประเทศไทยได้ตีความหมายในมุมกว้างว่าการที่จะยุติ หรือระงับข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการนั้นจะต้องเป็นข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาททางแพ่งเท่านั้น
จากข้างต้นที่ว่าอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสัญญา ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างนั้นต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับของสัญญาที่ได้ร่วมกันทำหรือตกลงกันไว้ ซึ่งทางกฎหมายถือว่าเป็นนิติกรรม
ไม่เพียงเท่านี้ เพราะอนุญาโตตุลาการนั้นไม่ได้มีบทบาท หรือเกี่ยวข้องกับสัญญาเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อเกิดข้อพิพาท หรือเหตุต่างๆที่ขัดแย้งกันนั้น จะต้องอาศัยความช่วยเหลือจากศาลในกระบวนการวินิจฉัย และการชี้ขาดจากในข้อพิพาทเหล่านั้นเช่นกัน ไม่สามารถแยกออกมาได้โดยเด็ดขาด จึงตัดไปได้เลยสำหรับความคิดที่ว่าจะทำให้อนุญาโตตุลาการนั้นเป็นการพิจารณาคดีที่มีรูปแบบเป็นเอกชนอย่างเต็มตัว อย่าลืมไปเสียว่าอนุญาโตตุลาการก็เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมนั่นเอง
พูดถึงความแตกต่างในการตัดสิน หรือพิจารณาคดี ระหว่างการทำงานในรูปแบบของศาลกับอนุญาโตตุลาการ มีดังต่อไปนี้ สำหรับศาลนั้นได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาอย่างถาวรในการพิจารณาคดีทั้งหมด ซึ่งในกระบวนหรือวิธีการนั้นมีเครื่องมืออย่างกฎหมายคอยบังคับใช้ การดำเนินงานก็เป็นไปตามกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพยาน การอุทรณ์ คำตัดสิน หรือฎีกาต่างๆ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา สำหรับคดีที่เป็นข้อขัดแย้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นทางศาลเองก็ต้องนำกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อมาปรับและนำมาใช้เช่นกัน
แต่อนุญาโตตุลาการถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อพิจารณา หรือชี้ขาดในข้อพิพาท ข้อขัดแย้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น การแต่งตั้งและให้อำนาจคนกลางในการตัดสินหรือชี้ขาดก็ขึ้นอยู่กับความสมัครของคู่พิพาท หรือคู่กรณี อนุญาโตตุลาการจะหมดหน้าที่ บทบาทก็ต่อเมื่อได้ทำการตัดสินและทำการชี้ขาดไปแล้ว ในจุดนี้จะมีข้อแตกต่างไปจากการทำงานของศาล คือเมื่อหมดหน้าที่ศาลก็ยังมีอำนาจ หน้าที่เพื่อตัดสินในกรณีอื่นๆอยู่ ทางด้านการทำงานของอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นรูปแบบง่ายๆที่เป็นไปตามความต้องการของคู่กรณีที่เห็นพ้องตรงกัน แต่ต้องยึดหลักความยุติธรรม และให้โอกาสคู่กรณีทั้งสองฝ่ายในการต่อสู้หรือชี้แจ้งกันอย่างเป็นธรรม เรื่องการตัดสินทางอนุญาโตตุลาการนั้น จะใช้หลักความยืดหยุ่น กฎหมายต่างๆไม่ว่าจะเป็นประเพณี หรือขนบธรรมเนียมต่างๆ มาใช้เพื่อชี้ขาด ไม่จำเป็นต้องพึ่งกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตาม อนุญาโตตุลาการก็ไม่สามารถที่จะบังคับให้คู่พิพาท หรือคู่กรณีคนใดคนหนึ่งทำตามคำชี้ขาดของตนได้ จึงต้องพึ่งศาลในการบังคับ ออกกฎหมายเรียกพยาน หรือการคุ้มครองในช่วงเวลาที่เป็นข้อพิพาท หรือยังไม่ได้รับคำตัดสิน ซึ่งถือว่าเป็นความร่วมมือของศาลและอนุญาโตตุลาการเพื่อให้รูปแบบข้อขัดแย้ง หรือข้อพิพาทได้ดำเนินการไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จากความเข้าใจที่ว่าศาลเป็นตัวที่ก่อให้เกิดความล่าช้า หรือเข้ามาแทรกแซงในการตัดสินของอนุญาโตตุลาการนั้น ไม่ได้เป็นอย่างที่คิดเลย ศาลไม่ได้เป็นตัวถ่วง หรือเข้ามาแทรกแซงเกินไปจนทำให้เกิดความล่าช้าอย่างแน่นอน และในการตัดสินศาลเองจะไม่รื้อคดีขึ้นมาทบทวน ไม่ว่าคำตัดสินเหล่านั้นจะถูกต้อง หรือมีข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงไหน นอกจากเป็นคำตัดสินที่ขัดต่อความสงบและศีลธรรม ที่เมื่อศาลเองเห็นว่าทำการตัดสินที่ไม่ถูกต้องก็จะรื้อเรื่องขึ้นมาเพื่อตรวจสอบขั้นตอนในการดำเนินงานของอนุญาโตตุลาการว่าได้ทำการตัดสินอย่างไรในลักษณะไหน และเป็นธรรมหรือไม่ก็เท่านั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้