💚💚💚มาลาริน/ด่วน!!!ป.ป.ช.ฟ้องศาลฎีกาฯ "นริศร" บรรทัดฐานแรกคดีเสียบบัตรแทนกัน

ด่วน!!!ป.ป.ช.ฟ้องศาลฎีกาฯ "นริศร" บรรทัดฐานแรกคดีเสียบบัตรแทนกัน




ป.ป.ช.ยื่นฟ้อง "นริศร ทองธิราช" อดีตส.ส.เพื่อไทย ต่อศาลฎีกานักการเมือง ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบผิดกฎหมายป.ป.ช.มาตรา 123/1 เป็นบรรทัดฐานคดีแรก ส.ส.เสียบบัตรแทนกัน

คดีส.ส.เสียบบัตรแทนกันซึ่งเพิ่งจะมีการหยิบยกขึ้นมาอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่าง นายยุทธพงษ์ จรัสเสถียร ส.ส.เพื่อไทย กับน.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.ประชาธิปัตย์ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2556




ล่าสุด ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง วันนี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายนริศร ทองธิราช อดีตส.ส. พรรคเพื่อไทย เป็นจำเลยในความผิด มาตรา 123/1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต บัญญัติไว้ว่า กรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต มีอัตราโทษสูงสุด คือ การจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับสูงสุด 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ป.ป.ช.ลงมติชี้มูลความผิด นายนริศร หลักจากมีหลักฐานว่า เป็นผู้กดบัตรแสดงตนอิเล็กทรอนิกส์แทน ส.ส. คนอื่น ในการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2556


https://www.nationtv.tv/main/content/378732419/


อัยการฟ้องศาลฎีกาฯ‘นริศร ทองธิราช’ คดีเสียบบัตรแทนกัน-ป.ป.ช.เหลือสอบอีกหลายสำนวน
เขียนวันที่วันพุธ ที่ 14 สิงหาคม 2562 เวลา 12:13 น.






ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 11.00 น. วันที่ 14 ส.ค. 2562 ที่ศาลฎีกา (สนามหลวง) ฝ่ายพนักงานอัยการ และเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีที่อัยการสูงสุด (อสส.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายนริศร ทองธิราช อดีต ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย กรณีเสียบบัตรแทนกันในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว. โดยมิชอบ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123

รายงานข่าวจากสำนักงาน ป.ป.ช. แจ้งว่า คดีนี้ในส่วนของถอดถอนสิ้นสุดลงไปแล้ว ได้ส่งเรื่องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ดำเนินการหมดแล้ว ส่วนคดีดังกล่าวเป็นเพียงสำนวนเดียวในคดีอาญาจากอีกหลายสำนวนที่อยู่ระหว่างการไต่สวนของสำนักงาน ป.ป.ช. และมี 2 สำนวนที่ถูกส่งให้กับ อสส. แล้ว แต่มีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างอัยการและ ป.ป.ช. ได้แก่ คดีกล่าวหานายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา กรณีไม่ตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญว่าสมาชิกดำเนินการถูกระเบียบหรือไม่ และนายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีต ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย กรณีสลับเปลี่ยนร่างรัฐธรรมนูญ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อปลายปี 2559 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดทางอาญา และถอดถอนนายนริศร นายสมศักดิ์ และนายอุดมเดช โดยกรณีนายนริศร พบพฤติการณ์ปรากฏจากคลิปวีดีโอว่า นายนริศร มีการเสียบบัตรแสดงตนในเครื่องคนอื่น และดึงออกมาเสียบใหม่ โดยเป็นการโหวตในมาตรา 9 และมาตรา 10 ของการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งที่สมาชิกรัฐสภามีเสียงเดียว เสียบบัตรแทนกันไม่ได้ ดังนั้นการกระทำของนายนริศร จึงเข้าข่ายมีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123 และ 123/1 รวมถึงจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ ทั้งที่ไม่ได้มีตำแหน่งเช่นที่ว่า แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ทำให้การลงคะแนนเสียงถูกบิดเบือน 

ส่วนนายอุดมเดช มีความผิดฐานสับเปลี่ยนร่างรัฐธรรมนูญ ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123/1 โดยจะส่งสำนวนและความเห็นแก่อัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงส่งสำนวนและความเห็นให้กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณาถอดถอนต่อไป

นอกจากนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังตรวจสอบพบพฤติการณ์ของนายสมศักดิ์ ในฐานะประธานรัฐสภา ที่ไม่ตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวก่อนจะนำเข้าสู่วาระการประชุม ทั้งที่มีหน้าที่พิจารณาเอกสารให้ครบถ้วน และยิ่งการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง ต้องตรวจดูว่าร่างดังกล่าวสมาชิกรัฐสภาลงนามครบหรือไม่ มีการทำถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ อีกทั้งภายหลังรับหลักการแล้ว ไม่ชัดเจนในคำสั่งการแปรญัตติ มีการสรุปวันแปรญัตติภายใน 15 วัน ซึ่งตามปกติควรนับตั้งแต่วันที่มีการโหวต แต่นายสมศักดิ์นับเวลาตั้งแต่วันที่รับหลักการ ส่งผลให้เหลือเวลาแปรญัตติแค่ 1 วัน ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยแล้วว่า กระทำไปโดยมิชอบ ดังนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงชี้มูลความผิดทางอาญาแก่นายสมศักดิ์ด้วย ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123/1 

ทั้งนี้นายอุดมเดช นายนริศร และนายสมศักดิ์ เคยถูกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ถอดถอนจากตำแหน่งไปแล้ว




https://www.isranews.org/isranews-news/79397-isranews-79397.html

นักการเมืองดูไว้เป็นตัวอย่างนะคะ  ตัวอย่างไม่ดีค่ะ

ต่อไปอย่าทำอย่างนี้.....



แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่