เรากำลังจะจบ Series Block Trade กันแล้วนะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน แล้วหากยังมีคนสนใจเราช่วยเป็นกำลังใจให้เราต่อด้วยนะครับ และเราจะทำการจัดทำสรุปข้อมูล Block Trade รายวันส่งลงในกระทู้ pantip โดยอยากให้ทุกคนร่วมกัน Comment ข้อมูลที่อยากได้ เพื่อให้พวกเราสามารถสรุปข้อมูลออกมาให้มีประสิทธิภาพ
- พวกเราจะลงบทความหลักใ
นทุกวันพฤหัสเวลา 17.00 น. ของทุกสัปดาห์ใน Pantip
- พวกเราจะลงเกล็ดความรู้ , สรุปข้อมูล Block Trade และแนวโน้มของทุกเช้าใน Line Square และ Facebook ของเรา
เราต้องขอโทษทุกท่านที่ยังตอบคำถามได้ไม่ครบทั้งทางหลังไมค์ เฟส ไลน์ เราจะพยายามรีบตอบคำถามให้นะครับ
รวมบทความเกี่ยวกับ Block Trade ของพวกเรา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://ppantip.com/topic/37751186 >> ผมคิดว่าทุกวันนี้ตลาดหุ้นไทยเปลี่ยนไปแล้ว (อยากให้ทุกคนได้อ่าน)
https://ppantip.com/topic/37767278 >> [ตอนจบ] ผมคิดว่าทุกวันนี้ตลาดหุ้นไทยเปลี่ยนไปแล้ว (อยากให้ทุกคนได้อ่าน)
https://ppantip.com/topic/37784213 >> ภาพลวงตาและความผิดเพี้ยนของปริมาณการซื้อขายสิ้นวัน
https://ppantip.com/topic/37787501 >> นักลงทุนรายย่อยกำลังฆ่าฟันกันเอง และตลาดหุ้นห้ามลงต่อ!
https://ppantip.com/topic/37812688 >> การจัดฉากของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทย
https://ppantip.com/topic/37824913 >> ตั้งสติและเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะตลาดด้วยเหตุและผล (อยากให้ทุกคนได้อ่าน)
https://ppantip.com/topic/39077450 >> Block Trade และสงครามค่าธรรมเนียม วิกฤตใหม่ของตลาดหุ้นไทย ตอนที่ 1
https://ppantip.com/topic/39105177 >> รู้ทันรายใหญ่ ! กับการใช้ Block Trade ในการลงทุนหุ้นไทย <<Block Trade ตอนที่ 2>>
https://ppantip.com/topic/39118208 >> วันนี้ คือ จุดวัดใจของนักลงทุน Block Trade ! และแนวโน้มต่อจากนี้ <<บทความเสริม>>
หลังจากที่ทุกท่านได้ทราบกันแล้วว่า Block Trade ส่งผลอย่างไรต่อ “หุ้น” และรายใหญ่สามารถใช้ประโยชน์ในการสร้างความได้เปรียบได้อย่างไรบ้าง? วันนี้พวกเราจะพาทุกท่านเข้าสู่เนื้อหาสำคัญคือ
การเปิดดูไพ่บนมือรายใหญ่ในธุรกรรม Block Trade เพื่อให้ทุกท่านได้กระจ่างชัดและวางแผนตั้งรับ โดยพวกเรามั่นใจว่า หลังจากท่านอ่านบทความนี้จบจะต้องช่วยเปิดโลกของการวิเคราะห์หุ้นในอีกมิติหนึ่งที่เป็นประโยชน์อย่างแน่นอน...อ่านให้จบกันนะครับ
“ในการวิเคราะห์หุ้น Volume คือสิ่งสำคัญ แต่การวิเคราะห์อนุพันธ์ OI สำคัญกว่า” นี่คือสิ่งที่นักลงทุนผู้เชี่ยวชาญในตลาด TFEX หลายท่านรับรู้และเข้าใจ โดยนำมาใช้วิเคราะห์กันมาอย่างเงียบๆ มาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีผู้ใดออกมาเปิดเผยความจริงว่า พวกเขาได้ใช้ OI แทนที่ Volume กันมานานแล้ว แล้วสิ่งที่เรียกว่า OI นั้นคืออะไร? พวกเราจะอธิบายให้ทุกท่านได้ทราบกันครับ เพราะมันจะเป็น “ตัวแปรสำคัญ” ที่ช่วยเฉลยพอร์ต Block Trade ของรายใหญ่อย่างหมดเปลือกครับ
ทำความรู้จัก OI
Open Interest หรือ OI หมายถึง จำนวนคู่สัญญาทั้งหมดของ Futures ตัวนั้นๆ ที่มีอยู่ในระบบ หรือที่เรียกว่า “สถานะคงค้าง” ตัวอย่าง เช่น ปัจจุบัน S50U19 มีค่า OI เท่ากับ 300,000 แปลว่า มีนักลงทุนที่มีความเห็นไม่ตรงกันใน S50U19 และกำลังเป็นคู่สัญญากันอยู่ 300,000 คู่ ซึ่ง OI เป็นข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาเฉพาะในตลาดตราสารอนุพันธ์ และจัดอยู่ในหมวดของ Volume Analysis ที่สามารถใช้ในการยืนยันแนวโน้มของตลาด โดยเป็นตัวแปรสะสมที่จะสรุปข้อมูลทุกสิ้นวันทำการเท่านั้น
แล้วนักลงทุนจะใช้ประโยชน์กับข้อมูล OI อย่างไร ?
ความจริงแล้วนั้น เหล่านักลงทุนไม่ได้อยากทราบว่า OI มีค่าเป็นเท่าใด แต่พวกเขาอยากทราบว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า OI นั้นบ่งบอกถึง “ความมั่นใจของทิศทางราคา” โดยพวกท่านลองพิจารณาดูนะครับ ถ้าหากวันนี้ตลาดกำลังเป็นเทรนขาขึ้น แล้วปรากฏว่า OI ปรับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้นแปลว่า กลุ่มคนที่ถือนั้นมาถูกทางแล้ว โดยกำลังมั่นใจในทิศทางอย่างต่อเนื่อง จึงทำการเปิดสถานะสะสมเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งนี่คือประโยชน์แบบลับๆ ที่นักลงทุนในตลาด TFEX ใช้ OI กันอยู่ครับ
จากนี้ต่อไปพวกท่านก็จะสามารถรับรู้ได้แล้วนะครับ ว่านักลงทุนต่างชาติหรือกองทุน เมื่อพวกเขาทำการ Long และ Short เพื่อเปิดสถานะเพิ่มหรือปิดสถานะทำกำไร ก็เพียงแค่มองไปดู OI ว่าเพิ่มหรือลดก็จะสามารถตอบได้ทันที และนี่เป็นอีกหนึ่งประโยชน์ที่เราสามารถนำไปใช้ได้ง่ายเพียงนิดเดียว … แต่หากพวกเราต้องแจ้งว่า
สิ่งที่เราพูดมาทั้งหมดเป็นความจริงเพียงไม่ถึงครึ่ง พวกท่านจะโกรธเราไหมครับ? จากนี้พวกเราจะขออธิบายให้พวกท่านรับรู้ถึงความจริงส่วนที่เหลือกันต่อครับ
OI ซับซ้อนกว่าที่คิด!
อ้าว! … อุตส่าห์ทำความเข้าใจเรื่อง OI และยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ดูเหมือนทุกอย่างจะสอดคล้องกันหมด แล้วทำไมพวกเราจึงบอกว่ายังไม่ถูกต้องทั้งหมด นั่นเพราะความจริงแล้ว OI ในตลาดมีความซับซ้อนมากกว่าที่คิด และพวกเราไม่ต้องการให้ทุกท่านนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง เรามาทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกันดีกว่าครับ
รูปแสดงการเกิดขึ้นของ Open Interest และ กรณีการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 กรณี
จากรูปแสดงให้เห็นว่า OI นั้นเกิดขึ้นจากนักลงทุนรายใหม่ 2 คน ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน โดยคนหนึ่งมองขึ้น (Long) ในขณะที่อีกคนนั้นมองลง (Short) จึงทำการเปิดสถานะมาเดิมพันความคิดของตนเอง และกลายเป็นคู่สัญญากัน แต่หลังจากนั้น ธุรกรรมในตลาดสามารถทำให้ OI เปลี่ยนแปลงได้ 3 กรณี กล่าวคือ...
กรณีที่ 1 นักลงทุนที่อยากเปิด Long เพิ่ม มาพบกับนักลงทุนที่อยากเปิด Short เพิ่ม โดยในที่นี้จะเป็นลักษณะคล้ายกับที่อธิบายไปข้างต้น ซึ่งจะทำให้ค่า OI ในระบบปรับตัวเพิ่มขึ้น
กรณีที่ 2 หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากเปิดเพิ่ม แต่อีกฝ่ายเลือกที่จะปิด โดยในการปิดสถานะนั้น เขาอาจทำเพื่อ Cut loss หรือ Take Profit ก็เป็นได้ และในกรณีการพบกันในความต้องการที่แตกต่างกันนั้น ทำให้มือใหม่หลายคนอาจสับสนว่าจะเป็นอย่างไร แล้วจะปิดสถานะได้หรือไม่? ในเมื่ออีกฝั่งไม่ยอมปิด แต่นั่นคือความเข้าใจผิด เพราะการปิดแบบนี้จะหมายถึง การโอนไปให้นักลงทุนท่านอื่นถือสถานะต่อจากท่าน และในกรณีนี้เองที่ OI ในระบบจะ ไม่เปลี่ยนแปลง
กรณีที่ 3 กรณีสุดท้ายนี้ คือ การพบกันของผู้ที่ต้องการปิดสถานะ กับผู้ที่ต้องปิดสถานะ ก็เป็นกรณีเดียวกันกับกรณีแรกแต่ตรงกันข้าม ดังนั้นแบบนี้ OI ในระบบจะลดลง
แปลว่าเราก็ใช้ OI กันไม่ได้แล้ว?
ข่าวดีครับ … เพราะ OI กลับมาสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในธุรกรรม Block Trade !!
ทุกคนรับรู้ว่า Block Trade ก็เป็น Futures อย่างหนึ่ง แล้วทำไมเราจึงบอกว่าสามารถใช้ได้ดี? มันควรจะเกิดกรณีที่ซับซ้อนแบบเดียวกับที่เรากล่าวไปข้างต้น มิใช่หรือ? คำตอบคือ ไม่ใช่เลยครับ! เพราะโครงสร้างของธุรกรรม Block Trade เป็นแบบ 2 มิติอย่างง่าย ไม่ซับซ้อน คือเปิดต้องพบเปิด และเมื่อปิดต้องพบปิด โดยไม่มีมือที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้อง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ขออธิบายเพิ่มเติมนะครับ พวกท่านจำขั้นตอนการทำ Block Trade กันได้ใช่ไหมครับ? มันคือการตกลงกันของคน 2 คน คือ นักลงทุนกับทาง Broker ดังนั้น ไม่มีทางจะมีมือที่สามในตลาด Block Trade ! กล่าวคือ เมื่อนักลงทุนตัดสินใจเปิด Broker ก็จะเปิดสถานะเช่นกัน และเมื่อใดที่นักลงทุนตัดสินใจปิด Broker ก็จะต้องปิดเช่นเดียวกัน ไม่มีทางที่คู่สัญญาจะถูกโอนไปให้คนอื่นรับช่วงต่อ มันจึงง่ายต่อการวิเคราะห์เมื่อเทียบกับการซื้อขาย Futures ในตลาดปกติ
เปิดไพ่ !! บนมือรายใหญ่ กับการใช้ Block Trade ในตลาดหุ้นไทย <<Block Trade Series ตอนที่ 3>>
- พวกเราจะลงบทความหลักในทุกวันพฤหัสเวลา 17.00 น. ของทุกสัปดาห์ใน Pantip
- พวกเราจะลงเกล็ดความรู้ , สรุปข้อมูล Block Trade และแนวโน้มของทุกเช้าใน Line Square และ Facebook ของเรา
เราต้องขอโทษทุกท่านที่ยังตอบคำถามได้ไม่ครบทั้งทางหลังไมค์ เฟส ไลน์ เราจะพยายามรีบตอบคำถามให้นะครับ
รวมบทความเกี่ยวกับ Block Trade ของพวกเรา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลังจากที่ทุกท่านได้ทราบกันแล้วว่า Block Trade ส่งผลอย่างไรต่อ “หุ้น” และรายใหญ่สามารถใช้ประโยชน์ในการสร้างความได้เปรียบได้อย่างไรบ้าง? วันนี้พวกเราจะพาทุกท่านเข้าสู่เนื้อหาสำคัญคือ การเปิดดูไพ่บนมือรายใหญ่ในธุรกรรม Block Trade เพื่อให้ทุกท่านได้กระจ่างชัดและวางแผนตั้งรับ โดยพวกเรามั่นใจว่า หลังจากท่านอ่านบทความนี้จบจะต้องช่วยเปิดโลกของการวิเคราะห์หุ้นในอีกมิติหนึ่งที่เป็นประโยชน์อย่างแน่นอน...อ่านให้จบกันนะครับ
“ในการวิเคราะห์หุ้น Volume คือสิ่งสำคัญ แต่การวิเคราะห์อนุพันธ์ OI สำคัญกว่า” นี่คือสิ่งที่นักลงทุนผู้เชี่ยวชาญในตลาด TFEX หลายท่านรับรู้และเข้าใจ โดยนำมาใช้วิเคราะห์กันมาอย่างเงียบๆ มาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีผู้ใดออกมาเปิดเผยความจริงว่า พวกเขาได้ใช้ OI แทนที่ Volume กันมานานแล้ว แล้วสิ่งที่เรียกว่า OI นั้นคืออะไร? พวกเราจะอธิบายให้ทุกท่านได้ทราบกันครับ เพราะมันจะเป็น “ตัวแปรสำคัญ” ที่ช่วยเฉลยพอร์ต Block Trade ของรายใหญ่อย่างหมดเปลือกครับ
ทำความรู้จัก OI
Open Interest หรือ OI หมายถึง จำนวนคู่สัญญาทั้งหมดของ Futures ตัวนั้นๆ ที่มีอยู่ในระบบ หรือที่เรียกว่า “สถานะคงค้าง” ตัวอย่าง เช่น ปัจจุบัน S50U19 มีค่า OI เท่ากับ 300,000 แปลว่า มีนักลงทุนที่มีความเห็นไม่ตรงกันใน S50U19 และกำลังเป็นคู่สัญญากันอยู่ 300,000 คู่ ซึ่ง OI เป็นข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาเฉพาะในตลาดตราสารอนุพันธ์ และจัดอยู่ในหมวดของ Volume Analysis ที่สามารถใช้ในการยืนยันแนวโน้มของตลาด โดยเป็นตัวแปรสะสมที่จะสรุปข้อมูลทุกสิ้นวันทำการเท่านั้น
แล้วนักลงทุนจะใช้ประโยชน์กับข้อมูล OI อย่างไร ?
ความจริงแล้วนั้น เหล่านักลงทุนไม่ได้อยากทราบว่า OI มีค่าเป็นเท่าใด แต่พวกเขาอยากทราบว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า OI นั้นบ่งบอกถึง “ความมั่นใจของทิศทางราคา” โดยพวกท่านลองพิจารณาดูนะครับ ถ้าหากวันนี้ตลาดกำลังเป็นเทรนขาขึ้น แล้วปรากฏว่า OI ปรับตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้นแปลว่า กลุ่มคนที่ถือนั้นมาถูกทางแล้ว โดยกำลังมั่นใจในทิศทางอย่างต่อเนื่อง จึงทำการเปิดสถานะสะสมเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งนี่คือประโยชน์แบบลับๆ ที่นักลงทุนในตลาด TFEX ใช้ OI กันอยู่ครับ
จากนี้ต่อไปพวกท่านก็จะสามารถรับรู้ได้แล้วนะครับ ว่านักลงทุนต่างชาติหรือกองทุน เมื่อพวกเขาทำการ Long และ Short เพื่อเปิดสถานะเพิ่มหรือปิดสถานะทำกำไร ก็เพียงแค่มองไปดู OI ว่าเพิ่มหรือลดก็จะสามารถตอบได้ทันที และนี่เป็นอีกหนึ่งประโยชน์ที่เราสามารถนำไปใช้ได้ง่ายเพียงนิดเดียว … แต่หากพวกเราต้องแจ้งว่า สิ่งที่เราพูดมาทั้งหมดเป็นความจริงเพียงไม่ถึงครึ่ง พวกท่านจะโกรธเราไหมครับ? จากนี้พวกเราจะขออธิบายให้พวกท่านรับรู้ถึงความจริงส่วนที่เหลือกันต่อครับ
OI ซับซ้อนกว่าที่คิด!
อ้าว! … อุตส่าห์ทำความเข้าใจเรื่อง OI และยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ดูเหมือนทุกอย่างจะสอดคล้องกันหมด แล้วทำไมพวกเราจึงบอกว่ายังไม่ถูกต้องทั้งหมด นั่นเพราะความจริงแล้ว OI ในตลาดมีความซับซ้อนมากกว่าที่คิด และพวกเราไม่ต้องการให้ทุกท่านนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง เรามาทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกันดีกว่าครับ
รูปแสดงการเกิดขึ้นของ Open Interest และ กรณีการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 กรณี
จากรูปแสดงให้เห็นว่า OI นั้นเกิดขึ้นจากนักลงทุนรายใหม่ 2 คน ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน โดยคนหนึ่งมองขึ้น (Long) ในขณะที่อีกคนนั้นมองลง (Short) จึงทำการเปิดสถานะมาเดิมพันความคิดของตนเอง และกลายเป็นคู่สัญญากัน แต่หลังจากนั้น ธุรกรรมในตลาดสามารถทำให้ OI เปลี่ยนแปลงได้ 3 กรณี กล่าวคือ...
กรณีที่ 1 นักลงทุนที่อยากเปิด Long เพิ่ม มาพบกับนักลงทุนที่อยากเปิด Short เพิ่ม โดยในที่นี้จะเป็นลักษณะคล้ายกับที่อธิบายไปข้างต้น ซึ่งจะทำให้ค่า OI ในระบบปรับตัวเพิ่มขึ้น
กรณีที่ 2 หากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากเปิดเพิ่ม แต่อีกฝ่ายเลือกที่จะปิด โดยในการปิดสถานะนั้น เขาอาจทำเพื่อ Cut loss หรือ Take Profit ก็เป็นได้ และในกรณีการพบกันในความต้องการที่แตกต่างกันนั้น ทำให้มือใหม่หลายคนอาจสับสนว่าจะเป็นอย่างไร แล้วจะปิดสถานะได้หรือไม่? ในเมื่ออีกฝั่งไม่ยอมปิด แต่นั่นคือความเข้าใจผิด เพราะการปิดแบบนี้จะหมายถึง การโอนไปให้นักลงทุนท่านอื่นถือสถานะต่อจากท่าน และในกรณีนี้เองที่ OI ในระบบจะ ไม่เปลี่ยนแปลง
กรณีที่ 3 กรณีสุดท้ายนี้ คือ การพบกันของผู้ที่ต้องการปิดสถานะ กับผู้ที่ต้องปิดสถานะ ก็เป็นกรณีเดียวกันกับกรณีแรกแต่ตรงกันข้าม ดังนั้นแบบนี้ OI ในระบบจะลดลง
แปลว่าเราก็ใช้ OI กันไม่ได้แล้ว?
ข่าวดีครับ … เพราะ OI กลับมาสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในธุรกรรม Block Trade !!
ทุกคนรับรู้ว่า Block Trade ก็เป็น Futures อย่างหนึ่ง แล้วทำไมเราจึงบอกว่าสามารถใช้ได้ดี? มันควรจะเกิดกรณีที่ซับซ้อนแบบเดียวกับที่เรากล่าวไปข้างต้น มิใช่หรือ? คำตอบคือ ไม่ใช่เลยครับ! เพราะโครงสร้างของธุรกรรม Block Trade เป็นแบบ 2 มิติอย่างง่าย ไม่ซับซ้อน คือเปิดต้องพบเปิด และเมื่อปิดต้องพบปิด โดยไม่มีมือที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้อง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้