รุบไบยาท(ต) วรรณกรรมเอกผู้อาภัพ กับมุมมองการหาความสุข

    รุไบยาต หรือ รุไบยาท ประพันธ์โดย โอมาร์ คัยยาม หรือ ชื่อในภาษาอาหรับว่า "ฆิยาษุดดีน อะบุลฟาติฮฺ อุมัร บิน อิบรอฮีม อัลคอยยาม"
เป็นหนึ่งในมรดกเพียงเล็กน้อยจากทั้งหมดอันน้อยนิดของ โอมาร์ คัยยาม ประวัติของเขาก็ไม่ต่างอะไรจากสิ่งที่เขาทิ้งไว้คือมีน้อยมากเขาเป็นทั้ง
นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ เราอาจจะเปรียบกับเขาได้ดั่ง เลโอนาร์โด ดา วินชี แห่งเปอร์เซียก็ไม่ผิดแปลกไปนักเพราะสิ่งที่พวกเขาทั้งสองเหลือไว้นั้นคือสุดยอดของงานศิลปะ แต่แล้วเหตุอันใดที่ทำให้กวีนิพนธ์เอกชิ้นนี้เป็นดั่งไม่ท่อนมาขัดกงล้อแห่งคุณธรรมของหมู่พี่น้องอาหรับร่วมสายเลือดหละ แต่เราต้องไปขอบคุณ คุณเอ็ดเวิร์ด โคเวลล์ ที่ไปพบ และขอบคุณ คุณเอ็ดเวิร์ด  ฟิตซ์เจอรัลด์ ที่ได้แปลเป็นโครงกวีแบบอังกฤษแต่แปล5ครั้งดั้นไม่เหมือนกันเลยสักครั้ง  ผมเองก็ไม่ใช่ผู้ช้ำยุทธในทางการศาสนาอิสลามมากนักถ้าพี่น้องชาวมุสลิมมาอ่านมาเจอะข้อผิดก็มาติติง ทิ้งไว้เป็นความรู้ก็ได้นะครับ 
ในศาสนาอิสลาม มีสิ่งที่เรียกว่า ฮะรอม เป็นคำศัพท์นิติบัญญัติอิสลาม จากภาษาอาหรับ วิธีการสะกดอื่น ๆ มีเช่น หะรอม, ฮารอม ในภาษาพูดคำว่า ฮะรอม เพี้ยนเป็น ฮาหร่าม ฮะรอม คือกฎบัญญัติห้าม ที่มุกัลลัฟ (มุสลิมผู้อยู่ในศาสนนิติภาวะ) ทุกคนต้องละเว้น (วิกิมาเอง) ซึ้ง โอมาร์ คัยยาม เลือกที่จะบอกเล่าเรื่องราวความสุขของมนุษย์ในแบบตามความเป็นจริงไม่อิงสัจธรรมมากนัก พูดกันง่ายๆคือจะเน้นหนักไปทางด้านของวันถุนิยมแต่มีกึ่มๆสัจนิยม ซึ่ง รุไบยาต
จะเน้นความสุข ความสำราญ เหล้า สุรา นารี และตรงนี้แหละตรงนี้เลยคือไปผิดกับ ฮารอม คือ การผิดประเวณี  การดื่มสุราเมรัยและเสพยาเสพติด 
การอยู่กับการละเล่นบันเทิง การฟังหรือขับร้องเพลงและเล่นดนตรี การใช้ภาชนะทำด้วยทองคำและเงิน(ข้อนี้ผมไม่ค่อยมั่นใจ) แต่คือถ้ามองกันตามหลักของศาสนาคือผิด แต่ถ้ามองในความเป็นแค่ปัจเจกชนหละเพราะทุกคนต้องการมีความสุข แต่ใน  รุไบยาต ก็ยังมีการสรรเสิญพระผู้เป็นเจ้าและมีการสอดแทรกหลักการดำเนินชีวิตและการวางตัวและแง่คิดอีกมากมาย ซึ่งหลังจากที่ผมอ่าน รุไบยาต จบผมได้อ่าน The art of happiness ต่อซึ่งเปิดมาบทแรกบรรทัดต่อจากหัวข้อ องค์ทะไลลามะกล่าวว่า "ฉันเชื่อว่าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของมนุษย์คือการแสวงหาความสุข นั่นชัดเจนแน่นอนอยู่แล้ว ไม่ว่าคนคนนั้นจะนับถือศาสนาหรือไม่ ไม่ว่าคนคนนั้นจะศาสนาใด เราทุกคนล้วนแล้วแต่แสวงหาสิ่งที่ดีกว่าให้กับชีวิต ดังนั้น ฉันคิดว่าเราต่างหาความสุขเป็นจุดหมายปลายทาง" ซึ่งผมเลยคิดมาได้ว่า โอมาร์ คัยยาม เขาต้องเห็นความละเอียดในจิตใจของมนุษย์สิเขาต้องเห็นอะไรสักอย่างสิแต่ด้วยความที่
รุไบยาต นั้นมีบางช่วงไปขัดกับหลัก ฮะรอม จึงทำให้กวีนิพนธ์เล่มนี้ถูกฟังลืมเหมือนหนังสือไทยบางเล่มที่ถูกขังลืมไปสักระยะนึง แต่เมื่อ รุไบยาต ถูกปัดฝุ่นแล้วนำกลับมาทำแปลใหม่ทำไมกวีนิพนธ์เล่มนี้จึงกลายเป็นกวีนิพนธ์ซึ่งมีชื่อเสียงได้หละทั้งๆที่เคยถูกขังลืม เพราะเนื้อหาที่บอกเล่าถายใน รุไบยาต นั้นเป็นสัจธรรมในชีวิตจริงมากซึ่งในมุมมองของแนวคิดตะวันตกคือ นี้แหละคือใช่เลยโดนใจมากผมก็ไม่รู้จะอธิบายยังไงแต่คือถ้าให้เทียบก็อาจเป็น
มัชฌิมาปฏิปทา แต่อาจเท่าๆหน่อยเพราะดื่มเพื่อลืม กะเอ้า....!!! ดื่ม!!!  เพื่อฉล่องนี้ออกมาบ่อยไปหน่อย แต่ใน รุไบยาต มีการสอดแทรกการดำเนินชีวิตที่เป็นแนวทางดับ ทุกหาสุขในแบบที่เราได้ยินมาทุกๆวันตาม youtube ทั่วไปเลยเป็นแนวทางที่ร่วมสมัยมากและผมว่ามันเหมาะสำหรับคนที่อยากจะแสวงหาสุขในแบบสัจจะธรรมของโลก ณ ปัจจุบัน คือ เป็น มัชฌิมาปฏิปทา ที่เราสุขทั้งทางกายและใจได้ลงตัว คือสำหรับผมกวีนิพนเรื่องนี้ก็ถือว่าเปิดมุมมองการหาความสุขได้ไปอีกแบบ ที่นอกจากหนังสือธรรมะ และหนังสือให้กำลังใจ มันคือรสชาติที่กลมกล่อมและลงตัว สำหรับใครสนใจก็มีฉบับแปลไทย โดยผู้แปลหลายคนมาก ผมแนะนำของ คุณแคน สังคีต(พิมาน แจ่มจรัส)ฉบับหลังปี 2550 เพราะแกแปร อารมณ์ของ โอมาร์ คัยยัม มาร้อยกรองด้วยความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง คือมันลงตัวในแบบบรรยากาศไทยมากๆแนะนำเลยอ่านง่ายด้วย ส่วนใครมีความรู้เรื่องคำและมีความอดทนขึ้นมาก็เชิญอ่านของ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ อันนี้เป็นบทแปลไทยแบบแรกเลยและแปลเป็นกาพย์ซึ่งไพเราะมากซึ่งมีโหลดนะถ้าผมจำไม่ผิดแต่ผมไปอ่านที่หอสมุดแห่งชาติ 200กว่าบท
ซึ่งผมได้มีโอกาศอ่านถึง 4แบบ ในความรู้สึกของผม ถ้าต้องการความสวยของภาษาแนะนำของ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และ ไรน่าน อรุณรังษี
แต่ถ้าอ่านเพลิน แคน สังคีต(พิมาน แจ่มจรัส)ฉบับหลังปี 2550 แปปเดียวจบเชื่อผม แต่ของ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ อันนี้ต้องมีพื้นฐานด้านศัพท์ภาษาไทยมานิสนุงเพราะเป็นภาษาที่เก่าเพราะพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2457 ก็สำหรับใครมีอะไรแนะนำหรือพูดคุยก็สามารถคุยได้เลยนะครับผมชอบการแรกเปลี่ยนแนวคิดเอามากๆ ขอบคุณครับ

ปล. วิมานทะลาย ของ หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง ได้กล่าวถึงรุไบยาตว่า “ปราชญ์โอมา ไคยามได้กล่าวไว้ว่า ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัว ยิ้มเยาะเล่นหัว เต้นยั่วเหมือนฝัน เป็นความจริงที่จับใจข้าพเจ้ายิ่งนัก ยิ่งกว่านั้น ข้าพเจ้ายังรู้สึกว่า โอมา ไคยาม เขียนบทนี้ในเวลาที่จิตใจปลอดโปร่งเป็นสุข ด้วยวิจารณญาณอันประเสริฐ สามารถแลเห็นความจริง ความฝัน ความทุกข์ ความสุขแห่งมนุษย์ได้โดยถ่องแท้ ละคร…ละครแห่งชีวิต ละครแห่งโลก” สายนิยายไทยจะรู้เลยว่า
รุไบยาต ค่อนข้างมีอิธิพลต่อวรรณกรรมไทยสมัยนั้นมาก (วิกิอีกแล้ว)

ขอบคุณข้อมูลจาก:
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%84%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1
อมตะกวีนิพนธ์ของ โอมาร์ คัยยัม สำนวนแปล แคน สังคีต
รุไบยาต กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (ของหอสมุดแห่งชาติ)
 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่