(ข่าวจากสมาคมนักเขียนฯ ครับ)
คำประกาศเกียรติ "รางวัลนราธิป" ประจำปี ๒๕๕๗
รางวัลนราธิป ถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๔
อันเป็นปีที่สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ก่อตั้งครบ ๓๐ ปี
ประจวบกับในปี ๒๕๔๔ เดียวกันนี้ เป็นปีครบรอบ ๑๑๐ พรรษา
ของศาสตราจารย์พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (๒๔๓๕ - ๒๕๑๙)
และครบรอบ ๑๐ ปีที่ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลกที่มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
โดย นายประภัสสร เสวิกุล เป็นนายกสมาคมฯ (ในขณะนั้น)
จึงดำริให้มีรางวัลนราธิปขึ้น ทั้งนี้
โดยความเห็นชอบของ ท่านผู้หญิง หม่อมราชวงศ์วิวรรณ เศรษฐบุตร
ทายาทของพระองค์ในการเชิญพระนาม “นราธิป” มาเป็นชื่อรางวัล
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
หรือที่นักเขียนเรียกท่านว่า “พระองค์วรรณ” ได้ทรงเป็นหลักสำคัญให้กับคนรุ่นใหม่
ความคิดทั้งด้านวรรณกรรม การทูต การปกครอง ได้รับการยอมทั้งในประเทศและนานาประเทศ
ท่านเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ที่ได้ตีพิมพ์พระนิพนธ์ “วิทยาวรรณกรรม”
ซึ่งสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยได้จัดพิมพ์รวมเล่มขึ้น
พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานผู้แทนทูตไทยในการเจรจาเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศอินโดจีนของฝรั่งเศส
และเป็นบุคคลสำคัญในการเจรจาให้ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ
ด้วยพระปรีชาดังที่กล่าวมาเมื่อคราวครบชาตกาล ๑๐๐ ปี
ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้พระองค์วรรณเป็นบุคคลสำคัญผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมของโลก
การเชิดชูพระองค์โดยการเชิญพระนาม “นราธิป” มาเป็นชื่อรางวัลนราธิป
จึงเป็นการมอบรางวัลให้กับตัวแทนนักเขียนรุ่นครูในยุคนี้
ที่ได้บุกเบิกนำความก้าวหน้ามาสู่นักเขียนรุ่นใหม่ นำความเจริญมาสู่สังคมไทย
และหากเราได้นำแนวคิดเรื่องความมีเสรีภาพและการเปิดกว้างของพระองค์วรรณฯ มาเป็นข้อคิด
เราย่อมจะสร้างสรรค์วรรณกรรมจากความจริง ความดี ความงามของชาติ
ให้รู้จักชาติของเราเองอย่างถ่องแท้ มีความกล้ากล้าท้าทายต่อสิ่งซึ่งไม่ถูกต้องและอัปลักษณ์
คนรุ่นใหม่ที่แท้จริงต้องทำให้วรรณกรรมพัฒนาก้าวหน้าตามยุคสมัย
ทำให้มากกว่า “นักเขียนนราธิป” ได้ทำไว้เป็นตัวอย่าง
รางวัลนราธิปมอบให้นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ กวี นักแปล และบรรณาธิการอาวุโส
ที่สร้างสรรค์ผลงานมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน และผลงานเป็นที่ยกย่องอย่างกว้างขวาง
ในปี ๒๕๕๗ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ขอประกาศเกียรติให้นักเขียน นักแปล นักหนังสือพิมพ์ และหรือบรรณาธิการอาวุโส
ดังต่อไปนี้ เป็นผู้ได้รับรางวัลนราธิป
- ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์
- หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี
- นางเนาวรัตน์ (ทองรมย์) พลเดช
- นายประยอม ซองทอง (นามปากกา สุดสงวน, ปรง เจ้าพระยา)
- นายไพโรจน์ เกษแม่นกิจ (นามปากกา “รจนโรจน์”)
- นายโรม บุนนาค
- นางลออ พิศิษฐสุนทร
- นายวศิน อินทสระ
- นายวิสุทธิ์ รอบรู้ (นามปากกา แดน กฤษดา)
- หม่อมเจ้าหญิงวุฒิเฉลิม วุฒิชัย (นามปากกา วุฒิเฉลิม)
- นางศรี เกศมณี (นามปากกา สิริมาดา, พัชราสิรี)
- พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี
- พลเอกสายหยุด เกิดผล
- เรืออากาศตรีสุเทพ วงศ์กำแหง
- ศาสตรจารย์พิเศษ ดร.อำภา โอตระกูล
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยซาบซึ้งในความรู้
ความสามารถและประสบการณ์ของผู้มาก่อน
และขอประกาศเกียรติให้ทราบทั่วกัน
นายเจน สงสมพันธุ์
นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๗
เชิญร่วมงานมอบ "รางวัลนราธิป" เสาร์ ๒๔ ม.ค. ที่หอสมุดแห่งชาติ
คำประกาศเกียรติ "รางวัลนราธิป" ประจำปี ๒๕๕๗
รางวัลนราธิป ถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๔
อันเป็นปีที่สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ก่อตั้งครบ ๓๐ ปี
ประจวบกับในปี ๒๕๔๔ เดียวกันนี้ เป็นปีครบรอบ ๑๑๐ พรรษา
ของศาสตราจารย์พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (๒๔๓๕ - ๒๕๑๙)
และครบรอบ ๑๐ ปีที่ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลกที่มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
โดย นายประภัสสร เสวิกุล เป็นนายกสมาคมฯ (ในขณะนั้น)
จึงดำริให้มีรางวัลนราธิปขึ้น ทั้งนี้
โดยความเห็นชอบของ ท่านผู้หญิง หม่อมราชวงศ์วิวรรณ เศรษฐบุตร
ทายาทของพระองค์ในการเชิญพระนาม “นราธิป” มาเป็นชื่อรางวัล
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
หรือที่นักเขียนเรียกท่านว่า “พระองค์วรรณ” ได้ทรงเป็นหลักสำคัญให้กับคนรุ่นใหม่
ความคิดทั้งด้านวรรณกรรม การทูต การปกครอง ได้รับการยอมทั้งในประเทศและนานาประเทศ
ท่านเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ที่ได้ตีพิมพ์พระนิพนธ์ “วิทยาวรรณกรรม”
ซึ่งสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยได้จัดพิมพ์รวมเล่มขึ้น
พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานผู้แทนทูตไทยในการเจรจาเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศอินโดจีนของฝรั่งเศส
และเป็นบุคคลสำคัญในการเจรจาให้ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ
ด้วยพระปรีชาดังที่กล่าวมาเมื่อคราวครบชาตกาล ๑๐๐ ปี
ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้พระองค์วรรณเป็นบุคคลสำคัญผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมของโลก
การเชิดชูพระองค์โดยการเชิญพระนาม “นราธิป” มาเป็นชื่อรางวัลนราธิป
จึงเป็นการมอบรางวัลให้กับตัวแทนนักเขียนรุ่นครูในยุคนี้
ที่ได้บุกเบิกนำความก้าวหน้ามาสู่นักเขียนรุ่นใหม่ นำความเจริญมาสู่สังคมไทย
และหากเราได้นำแนวคิดเรื่องความมีเสรีภาพและการเปิดกว้างของพระองค์วรรณฯ มาเป็นข้อคิด
เราย่อมจะสร้างสรรค์วรรณกรรมจากความจริง ความดี ความงามของชาติ
ให้รู้จักชาติของเราเองอย่างถ่องแท้ มีความกล้ากล้าท้าทายต่อสิ่งซึ่งไม่ถูกต้องและอัปลักษณ์
คนรุ่นใหม่ที่แท้จริงต้องทำให้วรรณกรรมพัฒนาก้าวหน้าตามยุคสมัย
ทำให้มากกว่า “นักเขียนนราธิป” ได้ทำไว้เป็นตัวอย่าง
รางวัลนราธิปมอบให้นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ กวี นักแปล และบรรณาธิการอาวุโส
ที่สร้างสรรค์ผลงานมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน และผลงานเป็นที่ยกย่องอย่างกว้างขวาง
ในปี ๒๕๕๗ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
ขอประกาศเกียรติให้นักเขียน นักแปล นักหนังสือพิมพ์ และหรือบรรณาธิการอาวุโส
ดังต่อไปนี้ เป็นผู้ได้รับรางวัลนราธิป
- ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์
- หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี
- นางเนาวรัตน์ (ทองรมย์) พลเดช
- นายประยอม ซองทอง (นามปากกา สุดสงวน, ปรง เจ้าพระยา)
- นายไพโรจน์ เกษแม่นกิจ (นามปากกา “รจนโรจน์”)
- นายโรม บุนนาค
- นางลออ พิศิษฐสุนทร
- นายวศิน อินทสระ
- นายวิสุทธิ์ รอบรู้ (นามปากกา แดน กฤษดา)
- หม่อมเจ้าหญิงวุฒิเฉลิม วุฒิชัย (นามปากกา วุฒิเฉลิม)
- นางศรี เกศมณี (นามปากกา สิริมาดา, พัชราสิรี)
- พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี
- พลเอกสายหยุด เกิดผล
- เรืออากาศตรีสุเทพ วงศ์กำแหง
- ศาสตรจารย์พิเศษ ดร.อำภา โอตระกูล
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยซาบซึ้งในความรู้
ความสามารถและประสบการณ์ของผู้มาก่อน
และขอประกาศเกียรติให้ทราบทั่วกัน
นายเจน สงสมพันธุ์
นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๗