'7 พรรคฝ่ายค้าน' พร้อมตั้ง กมธ. ศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม
https://www.matichon.co.th/politics/news_1580829
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 14 กรกฎาคม ที่มูลนิธิชีววิถี (Bio Thai) จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ตัวอย่างในการทำการเกษตรแบบผสมผสานโดยไร้สารเคมี 7 พรรคร่วมฝ่ายค้าน ประกอบด้วย พ.ต.อ.
ทวี สอดส่อง ประธานคณะกรรมการ พรรคร่วมฝ่ายค้านและการมีส่วนร่วมของประชาชน นาย
ชวลิต วิชยสุทธิ์ รองหัวหน้าพรรคพท. นาย
อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคพท. ตัวแทนพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) พรรคเพื่อชาติ (พช.) พรรคเศรษฐกิจใหม่ (ศก.) พรรคพลังปวงชนไทย พรรคประชาชาติ (ปช.) และพรรคเสรีรวมไทย รับฟังปัญหาและพบประชาชนประเด็น
“สารพิษตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน”
เพื่อนำข้อมูลใช้ในการอภิปรายต่อสภาผู้แทนราษฎรที่ฝ่ายค้านได้ยื่นญัตติขอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม ซึ่งก่อให้เกิดสารพิษตกค้างต่อเกษตรกรและผู้บริโภค รวมถึงการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเดินหน้าผลักดันให้เกิดเกษตรยั่งยืนด้วย
โดยนาย
วิฑูรย์ เลื่อนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า สารเคมีพาราคอตได้เข้าไปมีผลข้างเคียงทำให้เกิดโรคมะเร็ง เป็นหมัน และเป็นโรคเบาหวานได้ แต่ทางกระทรวงสาธารณสุขกลับบอกว่า ไม่เป็นอะไร สามารถกินพืชผักเหล่านี้ได้ เพียงแค่ล้างก็ปลอดภัยแล้ว แต่พบว่า 56% ของสารเคมี เป็นประเภทดูดซึม ไม่สามารถล้างออกได้ โดยที่พบมากคือ สารคาร์เบนดาซิม ซึ่งหากจะล้างสารเคมีให้ออกทั้งหมด จะต้องใช้วิธีล้างน้ำไหลประมาณ 40 นาทีขึ้นไป ทั้งนี้ ไทยนำเข้าสารเคมีเป็นอันดับ 6 ของโลก มูลค่าการนำเข้าแต่ละปีประมาณ 197 ล้านกิโลกรัมถึง 200 ล้านกิโลกรัม มูลค่า 28,000 ล้านบาท
โดยพบว่า สารอันดับหนึ่งที่นำเข้าคือ ไกลโฟเซต 59.85 ล้านกิโลกรัม รองอันดับสองคือ สารพาราควอต 44.50 ล้านกิโลกรัม ซึ่งพบว่า ในไทยใช้สารเคมีถูกเคมีถูกกฎหมายกว่า 200 รายการ แต่ภาครัฐตรวจสอบความปลอดภัยของสารเคมีเพียงแค่ 11% เท่านั้น จากกการทดสอบปี 2562 มีผักผลไม้ที่มีสารตกค้างถึง 41% ถือว่าเกินค่ามาตรฐาน และพบสารเคมีผิดกฎหมาย 12 ชนิด โดยผักผลไม้ที่พบสารเคมีตกค้าง มีทั้งที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและตลาดสดแม้จะมีหน่วยงานรับรองมาตรฐาน แต่ก็ยังพบว่ามีสารตกค้างอยู่ ซึ่งรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าว
ดังนั้น วันนี้จึงเสนอให้แบนการใช้สารเคมีร้ายแรง ทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาของสารเคมีร้ายแรง โดยมีระบบเตือนภัยให้ประชาชนรับรู้ว่าอาหารนั้นนั้นไม่ปลอดภัย และสร้างทางเลือกให้กับประชาชน ทั้งนี้สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องทำ 3 เรื่อง คือ
1. แบนสารเคมี 3 ชนิด และจำกัดการใช้อย่างเข้มงวด ได้แก่พาราควอต สารกำจัด วัชพืช คอร์ไพริฟอส ไกลโฟเซต ซึ่งเป็นต้นต่อของปัญหาสารเคมีตกค้าง
2. ทำให้ผู้บริโภค ตระหนักถึงปัญหาความไม่ปลอดภัยต่อสารพิษตกค้างในพืชผลทางการเกษตร
และ 3. สร้างทางเลือกให้ประชาชน หากต้องแบนสารเคมี และทางเลือกให้ผู้บริโภค
พ.ต.อ.
ทวี กล่าวว่า พรรคฝ่ายค้าน มีส่วนสำคัญที่จะทำเพื่อประชาชน ไม่ใช่ทำเพื่อต้องการเป็นรัฐบาล ซึ่งทั้ง 7 พรรคมีนโยบายดูแลสุขภาพของประชาชนให้ปลอดภัยจากสารพิษ จึงอยากเป็นปากเสียงให้กับประชาชน เพราะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่มีใครออกมาขับเคลื่อนในเรื่องนี้ โดยการแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องใช้เงิน บางครั้งรัฐบาลเห็นความสำคัญของบริษัทนำเข้าสารเคมีมากกว่าประชาชน ทั้ง 7 พรรคจึงต้องการดูแลสุขภาพประชาชน ทั้งนี้ ในวันที่ 21 กรกฎาคมจะเชิญหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านทั้ง 7 พรรค เพื่อพบปะกับประชาชน และแสดงวิสัยทัศน์ โดยจะทำให้เห็นว่า ความเป็นประชาธิปไตย ประชาชนต้องได้รับประโยชน์ ซึ่งสถานที่อาจจะเป็นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
JJNY : 7 พรรคพร้อมตั้งกมธ.ศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรฯ/รบ.เตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วันฯ
https://www.matichon.co.th/politics/news_1580829
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 14 กรกฎาคม ที่มูลนิธิชีววิถี (Bio Thai) จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ตัวอย่างในการทำการเกษตรแบบผสมผสานโดยไร้สารเคมี 7 พรรคร่วมฝ่ายค้าน ประกอบด้วย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ประธานคณะกรรมการ พรรคร่วมฝ่ายค้านและการมีส่วนร่วมของประชาชน นายชวลิต วิชยสุทธิ์ รองหัวหน้าพรรคพท. นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคพท. ตัวแทนพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) พรรคเพื่อชาติ (พช.) พรรคเศรษฐกิจใหม่ (ศก.) พรรคพลังปวงชนไทย พรรคประชาชาติ (ปช.) และพรรคเสรีรวมไทย รับฟังปัญหาและพบประชาชนประเด็น “สารพิษตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน”
เพื่อนำข้อมูลใช้ในการอภิปรายต่อสภาผู้แทนราษฎรที่ฝ่ายค้านได้ยื่นญัตติขอตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม ซึ่งก่อให้เกิดสารพิษตกค้างต่อเกษตรกรและผู้บริโภค รวมถึงการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเดินหน้าผลักดันให้เกิดเกษตรยั่งยืนด้วย
โดยนายวิฑูรย์ เลื่อนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า สารเคมีพาราคอตได้เข้าไปมีผลข้างเคียงทำให้เกิดโรคมะเร็ง เป็นหมัน และเป็นโรคเบาหวานได้ แต่ทางกระทรวงสาธารณสุขกลับบอกว่า ไม่เป็นอะไร สามารถกินพืชผักเหล่านี้ได้ เพียงแค่ล้างก็ปลอดภัยแล้ว แต่พบว่า 56% ของสารเคมี เป็นประเภทดูดซึม ไม่สามารถล้างออกได้ โดยที่พบมากคือ สารคาร์เบนดาซิม ซึ่งหากจะล้างสารเคมีให้ออกทั้งหมด จะต้องใช้วิธีล้างน้ำไหลประมาณ 40 นาทีขึ้นไป ทั้งนี้ ไทยนำเข้าสารเคมีเป็นอันดับ 6 ของโลก มูลค่าการนำเข้าแต่ละปีประมาณ 197 ล้านกิโลกรัมถึง 200 ล้านกิโลกรัม มูลค่า 28,000 ล้านบาท
โดยพบว่า สารอันดับหนึ่งที่นำเข้าคือ ไกลโฟเซต 59.85 ล้านกิโลกรัม รองอันดับสองคือ สารพาราควอต 44.50 ล้านกิโลกรัม ซึ่งพบว่า ในไทยใช้สารเคมีถูกเคมีถูกกฎหมายกว่า 200 รายการ แต่ภาครัฐตรวจสอบความปลอดภัยของสารเคมีเพียงแค่ 11% เท่านั้น จากกการทดสอบปี 2562 มีผักผลไม้ที่มีสารตกค้างถึง 41% ถือว่าเกินค่ามาตรฐาน และพบสารเคมีผิดกฎหมาย 12 ชนิด โดยผักผลไม้ที่พบสารเคมีตกค้าง มีทั้งที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและตลาดสดแม้จะมีหน่วยงานรับรองมาตรฐาน แต่ก็ยังพบว่ามีสารตกค้างอยู่ ซึ่งรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าว
ดังนั้น วันนี้จึงเสนอให้แบนการใช้สารเคมีร้ายแรง ทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาของสารเคมีร้ายแรง โดยมีระบบเตือนภัยให้ประชาชนรับรู้ว่าอาหารนั้นนั้นไม่ปลอดภัย และสร้างทางเลือกให้กับประชาชน ทั้งนี้สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องทำ 3 เรื่อง คือ
1. แบนสารเคมี 3 ชนิด และจำกัดการใช้อย่างเข้มงวด ได้แก่พาราควอต สารกำจัด วัชพืช คอร์ไพริฟอส ไกลโฟเซต ซึ่งเป็นต้นต่อของปัญหาสารเคมีตกค้าง
2. ทำให้ผู้บริโภค ตระหนักถึงปัญหาความไม่ปลอดภัยต่อสารพิษตกค้างในพืชผลทางการเกษตร
และ 3. สร้างทางเลือกให้ประชาชน หากต้องแบนสารเคมี และทางเลือกให้ผู้บริโภค
พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า พรรคฝ่ายค้าน มีส่วนสำคัญที่จะทำเพื่อประชาชน ไม่ใช่ทำเพื่อต้องการเป็นรัฐบาล ซึ่งทั้ง 7 พรรคมีนโยบายดูแลสุขภาพของประชาชนให้ปลอดภัยจากสารพิษ จึงอยากเป็นปากเสียงให้กับประชาชน เพราะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่มีใครออกมาขับเคลื่อนในเรื่องนี้ โดยการแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องใช้เงิน บางครั้งรัฐบาลเห็นความสำคัญของบริษัทนำเข้าสารเคมีมากกว่าประชาชน ทั้ง 7 พรรคจึงต้องการดูแลสุขภาพประชาชน ทั้งนี้ ในวันที่ 21 กรกฎาคมจะเชิญหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านทั้ง 7 พรรค เพื่อพบปะกับประชาชน และแสดงวิสัยทัศน์ โดยจะทำให้เห็นว่า ความเป็นประชาธิปไตย ประชาชนต้องได้รับประโยชน์ ซึ่งสถานที่อาจจะเป็นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์