ถึงแม้ว่าทางคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือบอร์ดอีอีซี ได้เห็นชอบความคืบหน้าการดำเนินการของ 2 โครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม หรือ EIA แล้ว โดยคาดว่าจะมีการลงนามสัญญาร่วมทุนกับเอกชนผู้ชนะโครงการได้ภายในเดือน ก.ค.นี้
แต่สำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 นั้นเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ และวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ตั้งโครงการอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่หน้าท่า 550 ไร่ และพื้นที่หลังท่า 450 ไร่ ความยาวหน้าท่ารวมกัน 2,229 เมตร ซึ่งหลังจากที่ก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ และวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และรับสินค้าผ่านท่า (สินค้าด้านปิโตรเคมี และก๊าซธรรมชาติ) ได้เพิ่มอีก 19 ล้านตันต่อปี ในอีก 20 ปีข้างหน้า
สำหรับแผนการพัฒนานั้นจะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน
• ส่วนแรกจะดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย งานถมทะเลพื้นที่ 1,000 ไร่ เพื่อรองรับการก่อสร้างท่าเทียบเรือสินค้าเหลว ก๊าซธรรมชาติ และพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมด้านพลังงาน งานขุดลอกร่องนํ้า และแอ่งกลับเรือความลึก 16 เมตร งานระบบสาธารณูปโภค งานอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือบริเวณท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3
• ส่วนที่ 2 จะเป็นการก่อสร้างท่าเทียบเรือบนพื้นที่ถมทะเล เพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้า โดยแบ่งเป็น ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 2 ท่า มีพื้นที่ 200 ไร่ ความยาวหน้าท่า 814 เมตร ท่าเทียบเรือก๊าซ 3 ท่ามีพื้นที่ 200 ไร่ ความยาวหน้าท่า 1,415 เมตร ท่าเทียบเรือบริการ รวมถึงคลังสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับก๊าชธรรมชาติ 150 ไร่
ผู้ที่ชนะการประมูลคือ
กลุ่มกิจการร่วมค้า กัลฟ์และพีทีทีแทงค์ ประกอบด้วย บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) และบริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม บมจ.ปตท. (PTT) โดยร่วมกันถือหุ้นในสัดส่วน 70% และ 30% ตามลำดับ ระยะเวลา 30 ปี วงเงิน 45,480 ล้านบาท สามารถเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2567
ทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ. เปิดเผยความคืบหน้าว่า ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นแล้วจำนวน 3 ครั้ง และได้เสนอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เรียบร้อยแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างรอกรมเจ้าท่าเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 4 เกี่ยวกับการถมทะเล คาดจะมีขึ้นในปลายเดือน ก.ค.-ส.ค.62 นี้ หากประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นด้วย ก็จะสามารถนำโครงการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และเซ็นสัญญากับภาคเอกชนเป็นลำดับถัดไป
สำหรับการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 4 จะมีผลออกมาอย่างไร จะราบรื่นหรือไม่ราบรื่น เพราะที่ผ่านมานั้น แม้การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ผ่านแล้วก็ตาม แต่ในส่วนของการวิเคราะห์ผลกระทบสุขภาพ (EHIA) ยังไม่มีความชัดเจนว่าผ่านหรือไม่ผ่าน อย่าลืมว่าในอดีตที่ผ่านมานั้นมีหลายๆ โครงการที่การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมผ่านไปได้ด้วยดี แต่ในด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสุขภาพกลับไม่สามารถผ่านไปได้ เพราะชาวบ้านไม่มีความเชื่อถือว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจริง
ซึ่งเกิดขึ้นกับหลายๆ โครงการที่ผ่านมา ต้องปิด และล้มโครงการไป เพราะผลประโยชน์เพียงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อพวกพ้อง จนประเทศเสียหายจ่ายค่าโง่กันมานับพันนับหมื่นมาแล้ว
ที่มา : ไทยโพสต์
EEC - โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ยังไม่จบง่ายๆ
แต่สำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 นั้นเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ และวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ตั้งโครงการอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่หน้าท่า 550 ไร่ และพื้นที่หลังท่า 450 ไร่ ความยาวหน้าท่ารวมกัน 2,229 เมตร ซึ่งหลังจากที่ก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ และวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และรับสินค้าผ่านท่า (สินค้าด้านปิโตรเคมี และก๊าซธรรมชาติ) ได้เพิ่มอีก 19 ล้านตันต่อปี ในอีก 20 ปีข้างหน้า
สำหรับแผนการพัฒนานั้นจะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน
• ส่วนแรกจะดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย งานถมทะเลพื้นที่ 1,000 ไร่ เพื่อรองรับการก่อสร้างท่าเทียบเรือสินค้าเหลว ก๊าซธรรมชาติ และพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมด้านพลังงาน งานขุดลอกร่องนํ้า และแอ่งกลับเรือความลึก 16 เมตร งานระบบสาธารณูปโภค งานอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือบริเวณท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3
• ส่วนที่ 2 จะเป็นการก่อสร้างท่าเทียบเรือบนพื้นที่ถมทะเล เพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้า โดยแบ่งเป็น ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 2 ท่า มีพื้นที่ 200 ไร่ ความยาวหน้าท่า 814 เมตร ท่าเทียบเรือก๊าซ 3 ท่ามีพื้นที่ 200 ไร่ ความยาวหน้าท่า 1,415 เมตร ท่าเทียบเรือบริการ รวมถึงคลังสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับก๊าชธรรมชาติ 150 ไร่
ผู้ที่ชนะการประมูลคือ กลุ่มกิจการร่วมค้า กัลฟ์และพีทีทีแทงค์ ประกอบด้วย บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) และบริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม บมจ.ปตท. (PTT) โดยร่วมกันถือหุ้นในสัดส่วน 70% และ 30% ตามลำดับ ระยะเวลา 30 ปี วงเงิน 45,480 ล้านบาท สามารถเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2567
ทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ. เปิดเผยความคืบหน้าว่า ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นแล้วจำนวน 3 ครั้ง และได้เสนอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) เรียบร้อยแล้ว และขณะนี้อยู่ระหว่างรอกรมเจ้าท่าเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 4 เกี่ยวกับการถมทะเล คาดจะมีขึ้นในปลายเดือน ก.ค.-ส.ค.62 นี้ หากประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นด้วย ก็จะสามารถนำโครงการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และเซ็นสัญญากับภาคเอกชนเป็นลำดับถัดไป
สำหรับการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 4 จะมีผลออกมาอย่างไร จะราบรื่นหรือไม่ราบรื่น เพราะที่ผ่านมานั้น แม้การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ผ่านแล้วก็ตาม แต่ในส่วนของการวิเคราะห์ผลกระทบสุขภาพ (EHIA) ยังไม่มีความชัดเจนว่าผ่านหรือไม่ผ่าน อย่าลืมว่าในอดีตที่ผ่านมานั้นมีหลายๆ โครงการที่การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมผ่านไปได้ด้วยดี แต่ในด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสุขภาพกลับไม่สามารถผ่านไปได้ เพราะชาวบ้านไม่มีความเชื่อถือว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจริง
ซึ่งเกิดขึ้นกับหลายๆ โครงการที่ผ่านมา ต้องปิด และล้มโครงการไป เพราะผลประโยชน์เพียงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อพวกพ้อง จนประเทศเสียหายจ่ายค่าโง่กันมานับพันนับหมื่นมาแล้ว
ที่มา : ไทยโพสต์