"นิพพิทานุปัสสนาญาณ" อะไร? อาการ? และวิธีแก้ไขอย่างไร?

"นิพพิทานุปัสสนาญาณ" อะไร? อาการ? และวิธีแก้ไขอย่างไร?

นิพพิทาญาณ คือ ความหน่าย อาการเป็นอย่างไร? วิธีแก้ไขอย่างไร?

ญาณที่ ๘ นิพพิทานุปัสสนาญาณ คือ จะไม่เอาแล้ว เพราะว่ามันไม่ยั่งยืน

ไม่ใช่เบื่อหน่าย แต่เกิดจากหน่าย เพราะมีโทษ มีแต่ความทุกข์ พอเห็นแล้วหน่าย ก็เริ่มล่ะ

"ความเบื่อหน่าย" คือ สิ่งที่เราหวังที่จะทำให้สำเร็จ แต่ว่ายังไม่สำเร็จ แล้วก็สิ่งที่เราอยากจะสำเร็จ ๑๐ อย่าง แต่ทำไมเราทำได้แค่น้อยเดียว ก็จะเกิดเบื่อหน่าย สิ่งที่เบื่อหน่ายก็จะเริ่มจากการเคือง เคืองในใจ

"เคืองในใจ" ก็คือ ไม่ได้ดั่งใจ เราก็จะเคือง เราก็จะเกิดความเบื่อหน่าย แล้วเกิดอาการเซ็ง บางครั้งจนจะเกิดอาการอยากล้มเลิกไปเลย นี่เป็นความคิดที่ผิด

สิ่งที่ถูกก็คือ สิ่งที่ไม่ได้เจริญขนาดนั้น เราก็ต้องมาดูที่อริยสัจจ์ คือ สาเหตุที่แท้จริงเราติดขัดตรงไหน ถึงไม่ได้ดีขนาดนั้น ถ้าเราสำรวจด้วยตนเเองแล้วไม่เข้าใจ เราก็ต้องเอาปัญหานี้รีบไปถามหาผู้รู้ เอาปัญหานี้ไปถามผู้รู้ ถกกับผู้รู้ว่า ตกลงจึงเป็นเช่นนี้ ผลจึงเป็นเช่นนี้ ผลจึงไม่ได้อย่างที่เราคิด

ถ้าเรามีการพิจารณาอย่างนี้ ตัวนี้ก็จะได้รับการพิจารณาแก้ไข เราก็จะไม่มีเบื่อหน่าย ทำแล้วก็จะมีปิติ ทำแล้วก็อยากจะทำเพิ่มขึ้นไป อยากจะทำต่อ ถึงแม้จะเจออุปสรรคแค่ไหน เราก็จะไม่ท้อแท้

กรุณาอย่านิพพิทาญาณอย่างปรมัตถ์มาใช้ เพราะชีวิตประจำวันของเรายังไม่ไปถึงขนาดนั้น

ความหน่ายนี้เหมาะสำหรับปรมัตถ์ คือ หน่ายต่อวัฏฏะสงสาร แล้วเราเอามาใช้ในชีวิตประจำวัน เรายังอยู่ในขั้นแห่งธรรมดาสามัญ เราจะใช้นิพพิทาญาณอย่างปรมัตถ์ไม่ได้ ใช้แล้วจะเกิดปรปักษ์กัน คือ ยังไม่ถูกกับภูมิของเรา ภูมิเรายังต้องการ แต่เรายังทำเป็นไม่ต้องการ เราจะลำบากนะ

ลำบากเองยังไม่ว่า แต่ว่าสิ่งแวดล้อม และผู้คนที่อยู่กับเราจะลำบากไปด้วย

บางคนทำไมผัวเมียถึงทะเลาะกัน ทั้งๆ ผัวบอกว่าคิดสูง เมียบอกว่าคุณคิดอย่างนี้ไม่ได้

เห็นไหม? ทะเลาะกันแล้ว

ฉะนั้น ปัญญาต่างๆ จะต้องใช้ให้เหมาะกับภูมิ ภูมิเช่นใดต้องใช้ปัญญาให้ตรงกับภูมิเช่นนั้น อย่าไปเอาเกิน ใช้เกิน เอาทีละขั้นก่อน

กรุณาอย่าไปสนใจนิพพิทาญาณเลย สนใจที่ปัจจุบันก็คือเราจะทำดีแค่ไหน นี่คือหัวใจของพระพุทธเจ้าเลย พระพุทธเจ้าอยากให้เราทำปัจจุบันดีซะก่อน แล้วเราค่อยๆ เป็นทีละขั้น

เวลานี้เรายังทำปัจจุบันนี้ยังไม่ได้ดี แล้วไปกระโดดขั้นตอน ไปไม่ถึงหรอก ยิ่งรู้มากยิ่งไปสับสน เพราะว่าพื้นฐานตรงนี้เรายกได้ ๕๐ กิโลกรัม แต่เราไปยก ๕๐๐ กิโลกรัม แล้วเราจะไหวไหม? ก็ไม่ไหวนะ ฉะนั้นทำพื้นฐานให้แน่นก่อน อย่าไปสนใจตรงนั้น ควรสนใจปัจจุบันกาลให้ดีก่อน คือ

๑. อยู่ดี

๒. อยู่รอด

๓. อยู่ให้เป็น

๔. อยู่ให้อย่างมีสันติ

พอเราอยู่ได้ตรงนี้ เราถึงจะมาขั้นที่ ๒ เราทำสิ่งที่แวดล้อม คือ เราทำสิ่งหนึ่งให้กับลูกเมีย หรือเรามีครอบครัวแล้ว ทำให้ครอบครัวมีหลักประกันแล้ว เวลานั้นเราอยากจะขึ้นขั้น ก็ไปทำ

แต่ในขณะนี้ หน้าที่เรายังมีอยู่ แล้วไม่ทำ แล้วกระโดดไปทำ อย่างนี้จะไปได้ยังไง? ย่อมไม่ได้ เป็นการคิดผิด

^_^ ..._/\_... ^_^

ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา

อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์

เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่