อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาที่พบบ่อยและมักมีการเกิดซ้ำ ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อมีการเกร็งตัวเนื่องจากมีแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลัง
ทำให้เกิดอาการปวด มักไม่มีอาการชา อ่อนแรงหรือปวดร้าวไปยังบริเวณอื่น เมื่อ X-ray หรือ MRI จะไม่พบความผิดปกติ
สาเหตุการเกิดโรค
- เกิดจากการใช้ท่าทางต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันไม่ถูกต้อง หรือมีลักษณะงานที่ต้องก้มๆเงยๆ ตลอดเวลา
- ความเสื่อมของกระดูกและข้อ
- มีการเคลื่อนไหวที่จำกัดหรือ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อบริเวณหลังลดลง
- ความผิดปกติของกระดูกสันหลังแต่กำเนิด เช่น หลังคด หลังแอ่น
- ได้รับอุบัติเหตุ เช่น ตกจากที่สูง ล้ม
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง อาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลา
หรือปวดเฉพาะในท่าการบิดตัว หากเอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆร่วมด้วย
หากมีอาการอาการชา อ่อนแรง หรือปวดร้าวไปยังบริเวณอื่น ควรปรึกษาแพทย์
อาการปวดหลังสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
- อาการปวดหลังเฉียบพลัน (Acute low back pain)
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังน้อยกว่า 6 สัปดาห์
- อาการปวดหลังกึ่งเฉียบพลัน (subacute low back pain)
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังต่อเนื่องนานมากกว่า6 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 3 เดือน
- อาการปวดหลังเรื้องรัง (Chronic low back pain)
ผู้ป่วยมีอากรปวดหลังต่อเนื่องนานมากกว่า 3 เดือน
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- ลดอาการปวด โดยใช้อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดเช่น การวางแผ่นประคบร้อน การใช้ความเย็น
การใช้เครื่อง Short wave การใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ หรือการใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อลดปวด เป็นต้น
- ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและการยืดกล้ามเนื้อหลัง
เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ
การป้องกันอาการปวดหลัง
- ใช้ท่าทางที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน
- หลีกเหลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน
- หลีกเหลี่ยงการใช้แรงงานมาก ๆ และการยกของหนัก
- ควบคุมน้ำหนักตัว ซึ่งทำให้กระดูกสันหลังส่วนเอวต้องรับน้ำหนักมาก
- ออกกำลังกาย
บทความโดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
อาการปวดหลังและการรักษาทางกายภาพบำบัด
ทำให้เกิดอาการปวด มักไม่มีอาการชา อ่อนแรงหรือปวดร้าวไปยังบริเวณอื่น เมื่อ X-ray หรือ MRI จะไม่พบความผิดปกติ
สาเหตุการเกิดโรค
- เกิดจากการใช้ท่าทางต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันไม่ถูกต้อง หรือมีลักษณะงานที่ต้องก้มๆเงยๆ ตลอดเวลา
- ความเสื่อมของกระดูกและข้อ
- มีการเคลื่อนไหวที่จำกัดหรือ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อบริเวณหลังลดลง
- ความผิดปกติของกระดูกสันหลังแต่กำเนิด เช่น หลังคด หลังแอ่น
- ได้รับอุบัติเหตุ เช่น ตกจากที่สูง ล้ม
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง อาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลา
หรือปวดเฉพาะในท่าการบิดตัว หากเอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆร่วมด้วย
หากมีอาการอาการชา อ่อนแรง หรือปวดร้าวไปยังบริเวณอื่น ควรปรึกษาแพทย์
อาการปวดหลังสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
- อาการปวดหลังเฉียบพลัน (Acute low back pain)
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังน้อยกว่า 6 สัปดาห์
- อาการปวดหลังกึ่งเฉียบพลัน (subacute low back pain)
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังต่อเนื่องนานมากกว่า6 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 3 เดือน
- อาการปวดหลังเรื้องรัง (Chronic low back pain)
ผู้ป่วยมีอากรปวดหลังต่อเนื่องนานมากกว่า 3 เดือน
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- ลดอาการปวด โดยใช้อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดเช่น การวางแผ่นประคบร้อน การใช้ความเย็น
การใช้เครื่อง Short wave การใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ หรือการใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อลดปวด เป็นต้น
- ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและการยืดกล้ามเนื้อหลัง
เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ
การป้องกันอาการปวดหลัง
- ใช้ท่าทางที่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน
- หลีกเหลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน
- หลีกเหลี่ยงการใช้แรงงานมาก ๆ และการยกของหนัก
- ควบคุมน้ำหนักตัว ซึ่งทำให้กระดูกสันหลังส่วนเอวต้องรับน้ำหนักมาก
- ออกกำลังกาย
บทความโดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด