วันนี้ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญไชย แวะด้านหลังก่อนซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง
เดิมเป็นคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ลำพูน หรือ เจ้าพุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่ และ เจ้าแม่หล้า เจ้าน้องของพลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงนครลำพูนองค์ที่ 10
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2455 ตัวอาคารเป็นเรือนสรไน ... สะระไน หมายถึงแท่งเสากลึงที่ติดตรงปั้นลม หรือกึ่งกลางหน้าจั่วของบ้าน
เพดานของชั้นบนมีลักษณะโค้ง เพื่อทำให้อากาศที่เข้ามาหมุนวนได้ ทำให้อยู่สบาย
กลางบันไดวกขึ้นชั้นบนมีบานประตูที่ไว้ขึ้นบนหลังช้าง
สิ่งที่พิเศษของเมืองหริภุญไชยคือมีดินถึง 5 สี จากการที่แม่น้ำกวง และแม่น้ำทา ไหลลงแม่น้ำปิง
พระพุทธรูปหริภุญไชย ได้รับอิทธิพลจากอินเดียแบบปาละ และทวารวดี
พระพุทธรูปยืนอิทธิพลทวารวดี คือ
พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ(เมตตา) พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หยักปลายตวัดขึ้น มีร่องเหนือพระโอษฐ์
ขมวดพระเกศาเป็นเกลียวยกขึ้นสูงขึ้นมาอย่างมากเพราะมักจะทำเป็นดินเผาก่อนนำมาติด อุษณีษะทรงกรวยขนาดใหญ่
สามภาพที่เหลืออิทธิพลอินเดียปาละ คือ
มีมณฑลประภาอยู่เบื้องหลัง มีอุณหิสเป็นมุกุฏหลายยอด
พระพักตร์กลม พระขนงเป็นเส้นโค้ง พระเนตรเหลือบต่ำลง พระโอษฐแย้มเล็กน้อย
ภาพเก่าของวัดพระธาตุหริภุญไชย
วิหารวัดพระธาตุหริภุญไชยถูกพายุพัดพังเมื่อ พ.ศ. 2466 ในภาพแสดงให้เห็นว่ามีพระพุทธรูปอยู่มากมายบนแท่นแก้ว 3 ชั้น
ข้ามถนนมายังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญไชย
พระพุทธรูปแกะจากศิลาแลง ที่เป็นแท่งคือเสมา
พระพุทธรูปแกะสลักจากหิน
จารึกมีเยอะกว่าที่ถ่ายรูปมา เล่าคร่าว ๆ ได้ดังนี้
1 จารึกไม่ทราบที่มา
2 จารึกวัดมหาวัน
กำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ 17 มีสี่ด้าน กล่าวถึง
1 ความสัตย์ที่แท้จริง ในผลงานของกษัตริย์ ผู้บำเพ็ญ พระราชกุศลในพระพุทธศาสนา
2 การสร้างพระเจดีย์ พระพุทธรูปทั้ง 3 กุฏิ คูหา ฉัตร และการถวายข้าพระ
3 ราชตระกูลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการนี้ (ส่วนใหญ่เป็นคำวิสามานยนาม)
4 การถวายสิ่งของแด่วัดและพระสงฆ์
3 จารึกสมบัติขันธเสมาวัดกู่แก้ว
เป็นเรื่องการผูกพัทธสีมาที่วัดกู่แก้ว พ.ศ. 2102
4 จารึกวัดหนองหนาม
พ.ศ.2032 ในสมัยของพระเจ้ายอดเชียงราย (พ.ศ. 2030-2038)
กล่าวถึงพระราชเทวี ให้ทองสักโก หรือ ทองจังโกคือทองเหลืองตีเป็นแผ่นบางหุ้มเจดีย์ อันเกลือกด้วยทองคำ เป็นจำนวน 100 บาท เฟื้องคำ เพื่อใส่ยอดพระธาตุเจดีย์เจ้าที่วัดข่วงชุมแก้ว เมืองควก พร้อมกับไว้คนอุปฐากพระเจ้า 10 ครัว
พระมหาเถรมงคลพุทธิมา สร้างวัดข่วงชุมแก้ว เมืองควก ... แสดงว่าวัดหนองหนามเดิมคือวัดข่วงชุมแก้ว เมืองควก
5 จารึกหริปุญชปุรี
พ.ศ.2043 สมัยของพญาแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์เม็งรายที่ 11 เล่าว่า
กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ได้สถาปนาธรรมที่มีอยู่นานแล้ว กับพระราชมารดา(นางโป่งน้อย) มีศรัทธาในพระศาสนามาก
อยากให้มั่นคง และปกปักรักษาเมืองหริภุญไชย จึงได้นำสมบัติทั้งหลายเช่นแก้วทั้ง 7 มาบูชาพระธาตุเจดีย์อันเป็นรากแห่งแผ่นดิน
พระเจ้าทั้งสอง ... พญาแก้วและพราะราชมารดานางโป่งน้อย ... ได้สร้างพระธรรมมณเฑียร
รวบรวม 84000 พระธรรมขันธ์ และคันถสัตตปกรณ์ คือ บทสวดอภิธรรมทั้ง 7 บรรยาย ได้ 420 คัมภีร์ใบลาน
และสร้างพระพุทธรูปทองประดิษฐานไว้ที่ พระธรรมมณเฑียร
6 จารึกวัดบุนบาน
พ.ศ.2047 สมัยของพระเมืองแก้ว
พบที่วัดกู่เส้า ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
กล่าวถึงพระมหาเถรเจ้าจุ ... อยู่วัดท่าแพ พร้อมด้วยมหาเถรผาสาท (มหาเถรปราสาท) และเจ้าพันนาหลัง ฯลฯ
ไว้ให้เป็นข้ารับใช้พระแห่งวัดบุนบาน ... บอกว่าวัดกู่เส้าคือวัดบุนบาน
7 จารึกหินทราย
นายช่างหน้อยกับหลานของมันเป็นผู้หามาแล พ.ศ.2050
8 จารึกพระธาตุเจ้าเสด็จฯ
พบที่เชียงราย พ.ศ.2154
บันทึกเหตุการณ์พระบรมสารีริกธาตุเสด็จปาฎิหาริย์ ว่า
“ธาตุพระเจ้าได้เสด็จออกมาปรากฏดุจดังพระจันทร์ เมื่อวันเพ็ญ เดือน 6 ปีจอ จุลศักราช 973”
“พระพุทธเจ้าโคตมะ ได้มาโปรดบริษัททั้งหลาย ถึงม่อนดอย…”
ภาพเมื่อ พ.ศ. 2556
9 จารึกสร้างมหามณฑปเมืองพยาว
พ.ศ.2078 สมัยของพญาเกสเชษฐราช พระโอรสพญาแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์เม็งรายที่ 12
สัตตภัณฑ์
เป็นเชิงเทียนสำหรับตั้งไว้หน้าพระประธานในวิหารล้านนาสำหรับปักเทียน 7 เล่ม คือ ภูเขา 7 ลูกที่รายล้อมเขาพระสุเมรุ
ชิ้นนี้ทำด้วยไม้สักสลักปิดทองประดับกระจกสี
กึ่งกลางด้านบนสลักเป็นรูปหน้ากาล คายมกรต่อกันสุดท้ายคือนาค 6 ตัว
ที่ฐานของสัตตภัณฑ์นี้มีจารึกอักษรล้านนาไว้เล่าว่า
แม่เจ้าเฮือนแก้วเป็นเก๊า พร้อมด้วยบุตรา บุตรี สร้างยังสัตตภัณฑ์ถวายพระเจ้าแก้วเจ้า มหาจินะตุ๊เจ้า เมื่อเดือนวันวิสาขะ พ.ศ.2460
กูบช้างลายคำ
คำบรรยายไม่ได้เก็บรูปมา น่าจะเป็นซุ้มแก้วเหนือประตู
โคมป่องทรงปราสาท ทำด้วยสำริด ปิดทอง ใช้สำหรับจุดไฟบูชาองค์พระธาตุหริภุญไชย , ปราสาทจำลอง , พระแผงประดับ
แผ่นหินทรายแกะสลัก
ภาชนะใส่น้ำดื่ม น้ำต้น และหม้อน้ำดิน ... เขียนลาย
พระพุทธรูปศิลปะหริภุญชัย
เกิดก่อนก่อนอาณาจักรล้านนาของราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ.1804-2101) ... ถ้าเกิดหลังจะเรียกศิลปะล้านนา
ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบปาละ คือ
พระพักตร์กลม พระขนงเป็นเส้นโค้ง
พระเนตรเหลือบต่ำ ... เมตตา พระโอษฐแย้มเล็กน้อง ... กรุณา
ขวมดพระเกษาใหญ่ พระเกตุมาลาเตี้ย
และ
ได้รับอิทธิพลจากศิลปะทวารวดี คือ
พระพักตร์แบน พระปรางเป็นโหนกสูง พระขนงต่อกันเป็นเส้น พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา
เม็ดพระศกเป็นขมวดแหลม พระเกตุมาลาสูงทรงกรวย
ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญไชย ... หริภุญไชย - ทวารวดี
พระพุทธรูปล้านนา
เศียรพระพุทธรูปบนซ้าย
พระเกศาเป็นขมวดใหญ่ โค้งลงเล็กน้อยเหนือพระนลาฏ
พระพักตร์กลม พระขนงเป็นวงโค้ง พระเนตรนูนรูปกลีบบัวเหลือบลงต่ำ ปลายเรียวตวัดขึ้น
พระนาสิกแคบ โด่งเป็นสัน
พระโอษฐ์เล็ก ริมพระโอษฐ์ล่างอิ่มหนา ส่วนริมพระโอษฐ์บนเล็กบาง
พระหนุเป็นปม พระศอเป็นปล้อง
อยู่ในกลุ่มได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียจากปาละ จึงน่าจะอยู่ในช่วงหลังจากล้านนาตอนต้น
ต่างไปจากพระพุทธรูปส่วนใหญ่ที่สร้างในสมัยพระเจ้าติโลก สันนิษฐานว่าอาจเชื่อมโยงกับข้อความในตำนานมูลศาสนา ที่กล่าวถึง
พญาแสนภู (ราชวงศ์เม็งรายองค์ที่ 3) พระโอรสพญาไชยสงคราม (ราชวงศ์เม็งรายองค์ที่ 2)
ก่อนครองราชย์ที่เมืองเชียงแสน ได้เสด็จมาประทับที่หริภุญไชยประมาณ 2 - 3 ปี
และได้ทรงหล่อพระพุทธรูปสำริดขึ้นสององค์เพื่ออุทิศถวายให้แด่พระนางจามเทวีปฐมกษัตรีย์แห่งหริภุญไชย
จึงอาจเป็นไปได้ว่าเศียรพระพุทธรูปองค์นี้เป็นผลงานชิ้นดังกล่าว
เศียรบนขวา
พระแสนแซร้ สักษณะแบบศิลปะเชียงแสน หล่อเป็นชิ้น ๆ และนำมาต่อกันด้วยสลักที่เรียกว่าแซร้
เศียรล่างซ้าย
เราว่าพระพักตร์อิทธิพลสุโขทัย พระองค์อวบ ครองจีวรห่มเฉียง มีชายสังฆาฏิสั้น หยักเป็นริ้ว คล้ายที่เห็นที่เมืองเชลียง
เศียรล่างขวา
ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย เมื่อพระสุมนเถระจากสุโขทัยไปล้านนา
มีพระพักตร์ยาว พระขนงโค้งเป็นเส้น พระนาสิกเป็นสันใหญ่
พระเนตรกลีบบัวเหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์ที่แย้มมีความกว้างเสมอพระนาสิก
พระหนุอูม และมีปุ่มกลม
คันทวยรูปหนุมาน
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2562 ทางพิพิธภัณฑ์กำลังตกแต่งอยู่ ปัจจุบันห้องจัดแสดงใหม่ได้เปิดให้ชมเป็นที่เรียบร้อยแล้วค่ะ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ลำพูน
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2455 ตัวอาคารเป็นเรือนสรไน ... สะระไน หมายถึงแท่งเสากลึงที่ติดตรงปั้นลม หรือกึ่งกลางหน้าจั่วของบ้าน
กลางบันไดวกขึ้นชั้นบนมีบานประตูที่ไว้ขึ้นบนหลังช้าง
พระพุทธรูปยืนอิทธิพลทวารวดี คือ
พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ(เมตตา) พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หยักปลายตวัดขึ้น มีร่องเหนือพระโอษฐ์
ขมวดพระเกศาเป็นเกลียวยกขึ้นสูงขึ้นมาอย่างมากเพราะมักจะทำเป็นดินเผาก่อนนำมาติด อุษณีษะทรงกรวยขนาดใหญ่
สามภาพที่เหลืออิทธิพลอินเดียปาละ คือ
มีมณฑลประภาอยู่เบื้องหลัง มีอุณหิสเป็นมุกุฏหลายยอด
พระพักตร์กลม พระขนงเป็นเส้นโค้ง พระเนตรเหลือบต่ำลง พระโอษฐแย้มเล็กน้อย
พระพุทธรูปแกะจากศิลาแลง ที่เป็นแท่งคือเสมา
2 จารึกวัดมหาวัน
กำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ 17 มีสี่ด้าน กล่าวถึง
1 ความสัตย์ที่แท้จริง ในผลงานของกษัตริย์ ผู้บำเพ็ญ พระราชกุศลในพระพุทธศาสนา
2 การสร้างพระเจดีย์ พระพุทธรูปทั้ง 3 กุฏิ คูหา ฉัตร และการถวายข้าพระ
3 ราชตระกูลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการนี้ (ส่วนใหญ่เป็นคำวิสามานยนาม)
4 การถวายสิ่งของแด่วัดและพระสงฆ์
3 จารึกสมบัติขันธเสมาวัดกู่แก้ว
เป็นเรื่องการผูกพัทธสีมาที่วัดกู่แก้ว พ.ศ. 2102
4 จารึกวัดหนองหนาม
พ.ศ.2032 ในสมัยของพระเจ้ายอดเชียงราย (พ.ศ. 2030-2038)
กล่าวถึงพระราชเทวี ให้ทองสักโก หรือ ทองจังโกคือทองเหลืองตีเป็นแผ่นบางหุ้มเจดีย์ อันเกลือกด้วยทองคำ เป็นจำนวน 100 บาท เฟื้องคำ เพื่อใส่ยอดพระธาตุเจดีย์เจ้าที่วัดข่วงชุมแก้ว เมืองควก พร้อมกับไว้คนอุปฐากพระเจ้า 10 ครัว
5 จารึกหริปุญชปุรี
พ.ศ.2043 สมัยของพญาแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์เม็งรายที่ 11 เล่าว่า
กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ได้สถาปนาธรรมที่มีอยู่นานแล้ว กับพระราชมารดา(นางโป่งน้อย) มีศรัทธาในพระศาสนามาก
อยากให้มั่นคง และปกปักรักษาเมืองหริภุญไชย จึงได้นำสมบัติทั้งหลายเช่นแก้วทั้ง 7 มาบูชาพระธาตุเจดีย์อันเป็นรากแห่งแผ่นดิน
พระเจ้าทั้งสอง ... พญาแก้วและพราะราชมารดานางโป่งน้อย ... ได้สร้างพระธรรมมณเฑียร
รวบรวม 84000 พระธรรมขันธ์ และคันถสัตตปกรณ์ คือ บทสวดอภิธรรมทั้ง 7 บรรยาย ได้ 420 คัมภีร์ใบลาน
และสร้างพระพุทธรูปทองประดิษฐานไว้ที่ พระธรรมมณเฑียร
6 จารึกวัดบุนบาน
พ.ศ.2047 สมัยของพระเมืองแก้ว
พบที่วัดกู่เส้า ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
กล่าวถึงพระมหาเถรเจ้าจุ ... อยู่วัดท่าแพ พร้อมด้วยมหาเถรผาสาท (มหาเถรปราสาท) และเจ้าพันนาหลัง ฯลฯ
7 จารึกหินทราย
นายช่างหน้อยกับหลานของมันเป็นผู้หามาแล พ.ศ.2050
8 จารึกพระธาตุเจ้าเสด็จฯ
พบที่เชียงราย พ.ศ.2154
บันทึกเหตุการณ์พระบรมสารีริกธาตุเสด็จปาฎิหาริย์ ว่า
“ธาตุพระเจ้าได้เสด็จออกมาปรากฏดุจดังพระจันทร์ เมื่อวันเพ็ญ เดือน 6 ปีจอ จุลศักราช 973”
“พระพุทธเจ้าโคตมะ ได้มาโปรดบริษัททั้งหลาย ถึงม่อนดอย…”
ว่า
หากจะให้สันนิษฐานแล้ว มั่นใจเหลือเกินว่าเรื่องนี้จะเป็นเรื่องตำนานพระธาตุจอมกิตติที่เมืองเชียงแสน
เพราะองค์พระธาตุนั้นยังตั้งอยู่บนม่อนดอยขนาดย่อมอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
พ.ศ.2078 สมัยของพญาเกสเชษฐราช พระโอรสพญาแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์เม็งรายที่ 12
เป็นเชิงเทียนสำหรับตั้งไว้หน้าพระประธานในวิหารล้านนาสำหรับปักเทียน 7 เล่ม คือ ภูเขา 7 ลูกที่รายล้อมเขาพระสุเมรุ
ชิ้นนี้ทำด้วยไม้สักสลักปิดทองประดับกระจกสี
กึ่งกลางด้านบนสลักเป็นรูปหน้ากาล คายมกรต่อกันสุดท้ายคือนาค 6 ตัว
ที่ฐานของสัตตภัณฑ์นี้มีจารึกอักษรล้านนาไว้เล่าว่า
แม่เจ้าเฮือนแก้วเป็นเก๊า พร้อมด้วยบุตรา บุตรี สร้างยังสัตตภัณฑ์ถวายพระเจ้าแก้วเจ้า มหาจินะตุ๊เจ้า เมื่อเดือนวันวิสาขะ พ.ศ.2460
เกิดก่อนก่อนอาณาจักรล้านนาของราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ.1804-2101) ... ถ้าเกิดหลังจะเรียกศิลปะล้านนา
พระพักตร์กลม พระขนงเป็นเส้นโค้ง
พระเนตรเหลือบต่ำ ... เมตตา พระโอษฐแย้มเล็กน้อง ... กรุณา
ขวมดพระเกษาใหญ่ พระเกตุมาลาเตี้ย
และ
ได้รับอิทธิพลจากศิลปะทวารวดี คือ
พระพักตร์แบน พระปรางเป็นโหนกสูง พระขนงต่อกันเป็นเส้น พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์หนา
เม็ดพระศกเป็นขมวดแหลม พระเกตุมาลาสูงทรงกรวย
เศียรพระพุทธรูปบนซ้าย
พระเกศาเป็นขมวดใหญ่ โค้งลงเล็กน้อยเหนือพระนลาฏ
พระพักตร์กลม พระขนงเป็นวงโค้ง พระเนตรนูนรูปกลีบบัวเหลือบลงต่ำ ปลายเรียวตวัดขึ้น
พระนาสิกแคบ โด่งเป็นสัน
พระโอษฐ์เล็ก ริมพระโอษฐ์ล่างอิ่มหนา ส่วนริมพระโอษฐ์บนเล็กบาง
พระหนุเป็นปม พระศอเป็นปล้อง
อยู่ในกลุ่มได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียจากปาละ จึงน่าจะอยู่ในช่วงหลังจากล้านนาตอนต้น
ต่างไปจากพระพุทธรูปส่วนใหญ่ที่สร้างในสมัยพระเจ้าติโลก สันนิษฐานว่าอาจเชื่อมโยงกับข้อความในตำนานมูลศาสนา ที่กล่าวถึง
พญาแสนภู (ราชวงศ์เม็งรายองค์ที่ 3) พระโอรสพญาไชยสงคราม (ราชวงศ์เม็งรายองค์ที่ 2)
และได้ทรงหล่อพระพุทธรูปสำริดขึ้นสององค์เพื่ออุทิศถวายให้แด่พระนางจามเทวีปฐมกษัตรีย์แห่งหริภุญไชย
จึงอาจเป็นไปได้ว่าเศียรพระพุทธรูปองค์นี้เป็นผลงานชิ้นดังกล่าว
เศียรบนขวา
พระแสนแซร้ สักษณะแบบศิลปะเชียงแสน หล่อเป็นชิ้น ๆ และนำมาต่อกันด้วยสลักที่เรียกว่าแซร้
เศียรล่างซ้าย
เราว่าพระพักตร์อิทธิพลสุโขทัย พระองค์อวบ ครองจีวรห่มเฉียง มีชายสังฆาฏิสั้น หยักเป็นริ้ว คล้ายที่เห็นที่เมืองเชลียง
เศียรล่างขวา
ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย เมื่อพระสุมนเถระจากสุโขทัยไปล้านนา
มีพระพักตร์ยาว พระขนงโค้งเป็นเส้น พระนาสิกเป็นสันใหญ่
พระเนตรกลีบบัวเหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์ที่แย้มมีความกว้างเสมอพระนาสิก
พระหนุอูม และมีปุ่มกลม