June 28, 2019 / KornKT
เมื่อช่วงเช้าวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา NASA ได้แถลงเปิดตัวภารกิจ Dragonfly ซึ่งจะเป็นเฮลิคอปเตอร์ลำแรก ที่จะถูกส่งไปบินสำรวจบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ สถานที่ ๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในระบบสุริยะ และเป็นเป้าหมายการสำรวจที่น่าสนใจมาโดยตลอด
Dragonfly สามารถขึ้นบินและลงจอดได้เหมือนโดรนขนาดใหญ่ ซึ่งมันจะถูกติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ไว้บนยานไว้เพื่อสามารถลงไปสำรวจบนพื้นผิวของไททันได้ โดยมีอายุภารกิจเบื้องต้นอยู่ที่ 2.7 ปี และอาจถูกต่อขยายอายุไปได้ถึง 8 ปีด้วยกัน เนื่องจากยานใช้พลังงานนิวเคลียร์แบบ RTG (Radioisotope Thermoelectric Generator) เหมือนกับที่หลาย ๆ ภารกิจสำรวจอวกาศลึกใช้กัน
การลงจอดและขึ้นบินของ Dragonfly บนดวงจันทร์ไททัน
ยาน Dragonfly มีเป้าหมายเพื่อตามหาองค์ประกอบทางเคมีของพื้นผิวและชั้นบรรยากาศ รวมไปถึงความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ไททัน และอาจรวมถึงการค้นพบลักษณะทางธรณีวิทยาแบบใหม่ ที่ไม่เคยถูกค้นพบได้บนโลกของเรามาก่อน
ชั้นบรรยากาศของไททัน ซึ่งประกอบไปด้วยไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ไม่ต่างไปจากโลกของเรา นั้นหนาแน่นกว่าโลกถึง 4 เท่า ทำให้การขึ้นบินบนไททันไม่ใช่ปัญหา ซึ่งต่างจากที่ Mars 2020 Helicopter เคยเผชิญ จนต้องลดขนาดของยานให้เล็กและมีน้ำหนักเบา
ดวงจันทร์ไททัน (ดวงกลาง) กับ Dione (ดวงเล็กด้านขวาของไททัน) และดาวเสาร์ในเบื้องหลัง – ที่มา NASA
แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้นฉบับที่ทีมของ Dragonfly นำเสนอในตอนแรกนั้นก็มีปัญหาเช่นกัน แต่ NASA ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ภารกิจสุดแสนเร้าใจและน่าตื่นเต้นภารกิจนี้ประสบความสำเร็จลงไปได้ เป็นการตอกย้ำอีกครั้งถึงประสิทธิภาพและความสามารถของ NASA ที่ยังคงมีอยู่ต่อไป เพื่อทำในสิ่งยาก ๆ ที่ไม่มีคนอื่นเขาอยากทำ (เช่นการเอาเฮลิคอปเตอร์ไปบินบนไททันแบบนี้)
แน่นอนว่าด้วยระยะทางที่ห่างไกลอย่างดวงจันทร์ไททัน Dragonfly จะต้องทำงานด้วยตัวของมันเอง โดยนักวิทยาศาสตร์จะศึกษาข้อมูลจากภารกิจของ Cassini-Huygens เพื่อนำมาใช้เลือกจุดที่น่าสนใจสำหรับศึกษาเพิ่มเติม และจะยังไปลงจอดที่บริเวณ Shangri-La dune fields ที่เดียวกันกับยาน
Huygens ลงเมื่อ 1 ปีที่แล้ว ตามเวลาบนดาวเสาร์ (เท่ากับ 30 ปีบนโลก ยาน Huygens ลงจอดบนดาวเสาร์ในปี 2004 และ Dragonfly จะไปลงจอดในปี 2034) ซึ่งเป็นไปได้ว่า Dragonfly จะค้นพบข้อมูลใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ จากพื้นฐานข้อมูลปัจจุบันของ Huygens
Dragonfly กับ CAESAR ได้ถูกเลือกโดย NASA ให้เป็นหนึ่งในภารกิจที่มีโอกาสถูกเลือกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ New Frontiers เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ซึ่ง New Frontiers เป็นโครงการที่มีภารกิจสำรวจวัตถุในระบบสุริยะ ที่ได้รับความสนใจจากบรรดานักดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก ได้แก่ New Horizons ที่ไปสำรวจดาวพลูโต Juno ที่ไปสำรวจดาวพฤหัส และ OSIRIS-REx ที่ไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยเบนนู
CAESAR ภารกิจสำรวจดาวหาง 67P ที่ไม่ได้ไปต่อ – ที่มา NASA
ยานมีกำหนดออกเดินทางจากโลกในปี 2026 และจะเดินทางไปถึงไททันในปี 2034 โดยไททันโคจรอยู่รอบดาวเสาร์ ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ห่างออกไปมากกว่าโลกถึง 10 เท่าด้วยกัน
ซึ่งก็ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่ต้องรอติดตามเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้เกี่ยวกับภารกิจนี้ แต่นี่ก็เป็นการเริ่มต้นที่น่าสนใจ กับภารกิจอันยิ่งใหญ่อย่าง Dragonfly ที่จะไปโบยบินบนดวงจันทร์ที่ไกลที่สุด ที่มนุษย์เคยส่งยานลงไปสำรวจอย่างไททัน
เรียบเรียงโดยทีมงาน SPACETH.CO
อ้างอิง:
NASA’s Dragonfly Will Fly Around Titan Looking for Origins, Signs of Life
Dragonfly เฮลิคอปเตอร์สำรวจไททัน ภารกิจใหม่ล่าสุดของ NASA
เมื่อช่วงเช้าวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา NASA ได้แถลงเปิดตัวภารกิจ Dragonfly ซึ่งจะเป็นเฮลิคอปเตอร์ลำแรก ที่จะถูกส่งไปบินสำรวจบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ สถานที่ ๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในระบบสุริยะ และเป็นเป้าหมายการสำรวจที่น่าสนใจมาโดยตลอด
Dragonfly สามารถขึ้นบินและลงจอดได้เหมือนโดรนขนาดใหญ่ ซึ่งมันจะถูกติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ไว้บนยานไว้เพื่อสามารถลงไปสำรวจบนพื้นผิวของไททันได้ โดยมีอายุภารกิจเบื้องต้นอยู่ที่ 2.7 ปี และอาจถูกต่อขยายอายุไปได้ถึง 8 ปีด้วยกัน เนื่องจากยานใช้พลังงานนิวเคลียร์แบบ RTG (Radioisotope Thermoelectric Generator) เหมือนกับที่หลาย ๆ ภารกิจสำรวจอวกาศลึกใช้กัน
การลงจอดและขึ้นบินของ Dragonfly บนดวงจันทร์ไททัน
ยาน Dragonfly มีเป้าหมายเพื่อตามหาองค์ประกอบทางเคมีของพื้นผิวและชั้นบรรยากาศ รวมไปถึงความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ไททัน และอาจรวมถึงการค้นพบลักษณะทางธรณีวิทยาแบบใหม่ ที่ไม่เคยถูกค้นพบได้บนโลกของเรามาก่อน
ชั้นบรรยากาศของไททัน ซึ่งประกอบไปด้วยไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ไม่ต่างไปจากโลกของเรา นั้นหนาแน่นกว่าโลกถึง 4 เท่า ทำให้การขึ้นบินบนไททันไม่ใช่ปัญหา ซึ่งต่างจากที่ Mars 2020 Helicopter เคยเผชิญ จนต้องลดขนาดของยานให้เล็กและมีน้ำหนักเบา
ดวงจันทร์ไททัน (ดวงกลาง) กับ Dione (ดวงเล็กด้านขวาของไททัน) และดาวเสาร์ในเบื้องหลัง – ที่มา NASA
แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้นฉบับที่ทีมของ Dragonfly นำเสนอในตอนแรกนั้นก็มีปัญหาเช่นกัน แต่ NASA ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ภารกิจสุดแสนเร้าใจและน่าตื่นเต้นภารกิจนี้ประสบความสำเร็จลงไปได้ เป็นการตอกย้ำอีกครั้งถึงประสิทธิภาพและความสามารถของ NASA ที่ยังคงมีอยู่ต่อไป เพื่อทำในสิ่งยาก ๆ ที่ไม่มีคนอื่นเขาอยากทำ (เช่นการเอาเฮลิคอปเตอร์ไปบินบนไททันแบบนี้)
แน่นอนว่าด้วยระยะทางที่ห่างไกลอย่างดวงจันทร์ไททัน Dragonfly จะต้องทำงานด้วยตัวของมันเอง โดยนักวิทยาศาสตร์จะศึกษาข้อมูลจากภารกิจของ Cassini-Huygens เพื่อนำมาใช้เลือกจุดที่น่าสนใจสำหรับศึกษาเพิ่มเติม และจะยังไปลงจอดที่บริเวณ Shangri-La dune fields ที่เดียวกันกับยาน
Huygens ลงเมื่อ 1 ปีที่แล้ว ตามเวลาบนดาวเสาร์ (เท่ากับ 30 ปีบนโลก ยาน Huygens ลงจอดบนดาวเสาร์ในปี 2004 และ Dragonfly จะไปลงจอดในปี 2034) ซึ่งเป็นไปได้ว่า Dragonfly จะค้นพบข้อมูลใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ จากพื้นฐานข้อมูลปัจจุบันของ Huygens
Dragonfly กับ CAESAR ได้ถูกเลือกโดย NASA ให้เป็นหนึ่งในภารกิจที่มีโอกาสถูกเลือกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ New Frontiers เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ซึ่ง New Frontiers เป็นโครงการที่มีภารกิจสำรวจวัตถุในระบบสุริยะ ที่ได้รับความสนใจจากบรรดานักดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก ได้แก่ New Horizons ที่ไปสำรวจดาวพลูโต Juno ที่ไปสำรวจดาวพฤหัส และ OSIRIS-REx ที่ไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยเบนนู
CAESAR ภารกิจสำรวจดาวหาง 67P ที่ไม่ได้ไปต่อ – ที่มา NASA
ยานมีกำหนดออกเดินทางจากโลกในปี 2026 และจะเดินทางไปถึงไททันในปี 2034 โดยไททันโคจรอยู่รอบดาวเสาร์ ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ห่างออกไปมากกว่าโลกถึง 10 เท่าด้วยกัน
ซึ่งก็ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่ต้องรอติดตามเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้เกี่ยวกับภารกิจนี้ แต่นี่ก็เป็นการเริ่มต้นที่น่าสนใจ กับภารกิจอันยิ่งใหญ่อย่าง Dragonfly ที่จะไปโบยบินบนดวงจันทร์ที่ไกลที่สุด ที่มนุษย์เคยส่งยานลงไปสำรวจอย่างไททัน
เรียบเรียงโดยทีมงาน SPACETH.CO
อ้างอิง:
NASA’s Dragonfly Will Fly Around Titan Looking for Origins, Signs of Life