ย้อนกลับไปเมื่อเดือนสิงหาคม-กันยายน 1977 ยาน Voyager 1 และ 2 ได้ถูกปล่อยขึ้นสู่ห้วงอวกาศในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน
การเดินทางของพี่น้องคู่นี้ได้รับความสนใจอย่างมาก.. จนวันนี้ครบรอบ 40 ปีพอดี Voyager ยังคงปฏิบัติภารกิจได้เจ๋งเกินคาด
จากภารกิจสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอก สู่การสำรวจอวกาศที่ไกลกว่านั้นหลายเท่า กลายเป็นการสำรวจอวกาศครั้งประวัติศาสตร์
กระทู้นี้เลยขอพาทุกท่านมาย้อนเรื่องราวการเดินทางของพวกมัน จากวันนั้นจนถึงวันนี้กันค่ะ
: : จุดเริ่มต้นของการเดินทาง : :
การเดินทางของ Voyager เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1977 เมื่อยาน Voyager 2 ได้ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศไปก่อน
และหลังจากนั้นเพียง 16 วัน เมื่อวันที่ 5 กันยายน 1977 ยาน Voyager 1 ก็ได้ออกเดินทางตามกันไป
ทั้งคู่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ สำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกของระบบสุริยะ โดยเป้าหมายหลัก คือ ดาวพฤหัสและดาวเสาร์
นอกจากสอง Voyager จะเดินทางออกไปพร้อมกับอุปกรณ์วิทยาศาสตร์แล้ว พวกมันยังขนเอาอารยธรรมของโลกไปด้วย
เมื่อ NASA ได้บรรจุบันทึกจากดาวเคราะห์สีน้ำเงินในรูปแบบ "แผ่นจานทองคำ" ซึ่งบันทึกภาพ-เสียงมากมายจากโลกไว้บนยาน
เพื่อไขปริศนาให้กับสิ่งมีชีวิตทรงปัญญาต่างดาว หรือมนุษย์จากโลกเอง ที่อาจจะได้พบกับยานสองลำนี้ในวันใดวันหนึ่ง
: : Voyager กับภารกิจสำรวจอวกาศ : :
หลังจากออกเดินทางกลางห้วงอวกาศไปได้ปีเศษ สองพี่น้อง Voyager ก็เริ่มต้นภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมาย
Voyager 1 เริ่มสำรวจดาวพฤหัสเป้าหมายแรกเมื่อเดือนมีนาคม 1979 และเดินทางต่อไปสำรวจดาวเสาร์ในปี 1980
การเดินทางไปเยือนดาวเคราะห์พี่บิ๊กทั้งสองดวง ทำให้มันได้ถ่ายภาพดาวและดวงจันทร์บริวารบางดวงในระยะใกล้
เผยรายละเอียดหลายอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน แถมยังค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ทั้งสองดวงเพิ่มอีก
ได้แก่ ดวงจันทร์ดาวพฤหัส 3 ดวง และดวงจันทร์ดาวเสาร์อีก 3 ดวง
เมื่อภารกิจสำรวจดาวเคราะห์เสร็จสิ้นในปี 1980 ยานก็ถูกมอบหมายภารกิจต่อไป คือมุ่งหน้าสู่ Interstellar space
และระหว่างการเดินทางเมื่อปี 1990 มันก็สามารถถ่ายภาพ Family Portrait (ครอบครัวสุริยะ) ได้เป็นครั้งแรก
ที่ระยะห่างราว 6 พันล้านกิโลเมตรจากโลก (ส่วนหนึ่งของภาพ ก็คือภาพโลก Pale Blue Dot อันโด่งดัง)
ก่อนจะปิดอุปกรณ์บันทึกภาพไปหลังจากนั้น
ภาพครอบครัวสุริยะ: ดาวพุธใกล้ดวงอาทิตย์เกินกว่าจะเห็นได้ ส่วนดาวอังคารจับภาพไม่ได้เพราะแสงรบกวนค่ะ
8 ปีต่อมา ในเดือนกุมภาพันธ์ 1998 ยาน Voyager 1 ก็ได้เดินทางแตะระยะ 69 AU จากดวงอาทิตย์ และในช่วงนี้เอง
ที่มันได้ทุบสถิติแซงหน้ายาน Pioneer 10 กลายเป็น
"ยานอวกาศที่เดินทางออกไปไกลที่สุด" นับตั้งแต่นั้นมา
ก่อนจะสร้างประวัติศาสตร์อีกครั้ง เมื่อมันได้เข้าสู่ Interstellar space (อวกาศระหว่างดาว) ในปี 2012
เป็นยานลำแรกที่เดินทางหลุดเขตอิทธิพลลมสุริยะ (Heliosphere)
ส่วน Voyager 2 นั้น หลังจากที่สำรวจดาวพฤหัสในเดือนกรกฎาคม 1979 และดาวเสาร์ในเดือนสิงหาคม 1981 แล้ว
มันก็ได้รับภารกิจต่อเนื่อง นั่นคือ เดินทางต่อไปสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกอีก 2 ดวงที่เหลือ (ยูเรนัสและเนปจูน)
ภารกิจนี้สำเร็จลุล่วงในปี 1989 และทำให้การเดินทางของ Voyager 2 กลายเป็นการเดินทางที่พิเศษและคุ้มมาก
เมื่อมันไม่ได้เป็นแค่ยานลำแรกที่ไปเยือนยูเรนัส-เนปจูนเท่านั้น แต่จนถึงวันนี้.. มันยังคงเป็นยานเพียงลำเดียว
ที่ได้ไปเยือนดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้ และเป็นยานเพียงลำเดียวที่สามารถสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกได้ครบทุกดวง
ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ยาน Voyager 2 สำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกทั้ง 4 ดวง มันก็ได้ค้นพบอะไรมากมาย
นอกจากจะไขปริศนาเกี่ยวกับลักษณะของดาวยูเรนัสและเนปจูนแล้ว มันยังค้นพบดวงจันทร์ของดาวทั้งสองเพิ่ม
ได้แก่ ดวงจันทร์ดาวยูเรนัส 11 ดวง และดวงจันทร์ดาวเนปจูนอีก 6 ดวง และยังเป็นยานลำแรกที่ถ่ายภาพวงแหวน
ของดาวพฤหัส ยูเรนัส และเนปจูนมาได้
หลังจากสำรวจดาวเคราะห์เสร็จสิ้น NASA ก็ได้ปล่อยให้ Voyager 2 เดินทางไปสำรวจอวกาศไกลกว่านั้นเช่นกัน
และมันก็กำลังจะมุ่งหน้าสู่ Interstellar space เช่นเดียวกับ Voyager 1 ในอีกไม่ช้าไม่นานนี้
: : Voyager เดินทางไปไกลแค่ไหนแล้ว : :
หลังเดินทางมายาวนาน 40 ปี ขณะนี้ยาน Voyager 1 อยู่ไกลจากโลกเกือบ
21,000 ล้านกิโลเมตร (139 AU)
ลอยคว้างด้วยความเร็วประมาณ 3.6 AU ต่อปี โดยเข้าสู่ Interstellar space มานานกว่า 5 ปีแล้ว
ส่วนยาน Voyager 2 นั้น ก็อยู่ไกลจากโลกราว
17,000 ล้านกิโลเมตร (115 AU)
ด้วยความเร็วประมาณ 3.3 AU ต่อปี และคาดว่าจะเข้าสู่ Interstellar space ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
และนี่คือทิศทางการเดินทางของทั้งสอง Voyager ค่ะ
: : อนาคตของ Voyager : :
แม้ว่าตอนนี้ทั้งสอง Voyager จะอยู่ห่างไกลโลกมากแค่ไหน แต่ NASA ก็ยังคงติดต่อกับยานได้อยู่ค่ะ
โดยติดต่อผ่านเครือข่ายจานรับ-ส่งสัญญาณอวกาศห้วงลึก ที่แคนเบอร์รา ออสเตรเลีย ได้แห่งเดียวเท่านั้น
และจะยังคงรับ-ส่งสัญญาณต่อไปเรื่อย ๆ ถึงปี 2020 เป็นอย่างน้อย ซึ่งคาดว่ายานจะมีพลังงานเพียงพอ
จากนั้นวันใดวันหนึ่ง Voyager ก็จะบอกลาเราไปตลอดกาล
ส่วนชะตากรรมของสอง Voyager หลังจากนั้น..
Voyager 1 จะเดินทางเข้าสู่เขตเมฆออร์ตอีกประมาณ 300 ปีข้างหน้า และจะใช้เวลาอีกประมาณ 30,000 ปี
กว่าจะผ่านพ้นย่านนี้ไปได้ และแม้ว่ามันจะไม่มีทิศทางมุ่งตรงสู่ดาวดวงไหนเลย แต่คาดว่าในอีก 40,000 ปี
Voyager 1 จะได้เดินทางผ่านดาว Gliese 445 ที่ระยะห่างไม่เกิน 1.6 ปีแสง
ขณะที่ยาน Voyager 2 นั้น ก็คาดว่าอีก 40,000 ปี มันจะเดินทางผ่านดาว Ross 248 ที่ระยะห่างราว 1.7 ปีแสง
และหากมันไม่ถูกรบกวนจากอะไร มันก็จะเดินทางผ่านดาว Sirius ที่ระยะ 4.3 ปีแสงในอีกราว 296,000 ปี
ในที่สุด Voyager ก็จะกลายเป็นวัตถุเร่ร่อนที่โคจรรอบทางช้างเผือกเรื่อยไป
ปิดท้ายด้วยคลิปวิดีโอสั้น ๆ คลิปนี้ มหากาพย์การสำรวจอวกาศจริง ๆ เจ้า Voyager
ติดตามการเดินทางและรายละเอียดเพิ่มเติมของ Voyager ได้ที่นี่นะคะ
https://www.jpl.nasa.gov/voyager/
40 ปี Voyager : การสำรวจอวกาศที่ยิ่งใหญ่-ไกลที่สุดในประวัติศาสตร์
ย้อนกลับไปเมื่อเดือนสิงหาคม-กันยายน 1977 ยาน Voyager 1 และ 2 ได้ถูกปล่อยขึ้นสู่ห้วงอวกาศในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน
การเดินทางของพี่น้องคู่นี้ได้รับความสนใจอย่างมาก.. จนวันนี้ครบรอบ 40 ปีพอดี Voyager ยังคงปฏิบัติภารกิจได้เจ๋งเกินคาด
จากภารกิจสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอก สู่การสำรวจอวกาศที่ไกลกว่านั้นหลายเท่า กลายเป็นการสำรวจอวกาศครั้งประวัติศาสตร์
กระทู้นี้เลยขอพาทุกท่านมาย้อนเรื่องราวการเดินทางของพวกมัน จากวันนั้นจนถึงวันนี้กันค่ะ
: : จุดเริ่มต้นของการเดินทาง : :
การเดินทางของ Voyager เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1977 เมื่อยาน Voyager 2 ได้ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศไปก่อน
และหลังจากนั้นเพียง 16 วัน เมื่อวันที่ 5 กันยายน 1977 ยาน Voyager 1 ก็ได้ออกเดินทางตามกันไป
ทั้งคู่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ สำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกของระบบสุริยะ โดยเป้าหมายหลัก คือ ดาวพฤหัสและดาวเสาร์
นอกจากสอง Voyager จะเดินทางออกไปพร้อมกับอุปกรณ์วิทยาศาสตร์แล้ว พวกมันยังขนเอาอารยธรรมของโลกไปด้วย
เมื่อ NASA ได้บรรจุบันทึกจากดาวเคราะห์สีน้ำเงินในรูปแบบ "แผ่นจานทองคำ" ซึ่งบันทึกภาพ-เสียงมากมายจากโลกไว้บนยาน
เพื่อไขปริศนาให้กับสิ่งมีชีวิตทรงปัญญาต่างดาว หรือมนุษย์จากโลกเอง ที่อาจจะได้พบกับยานสองลำนี้ในวันใดวันหนึ่ง
: : Voyager กับภารกิจสำรวจอวกาศ : :
หลังจากออกเดินทางกลางห้วงอวกาศไปได้ปีเศษ สองพี่น้อง Voyager ก็เริ่มต้นภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมาย
Voyager 1 เริ่มสำรวจดาวพฤหัสเป้าหมายแรกเมื่อเดือนมีนาคม 1979 และเดินทางต่อไปสำรวจดาวเสาร์ในปี 1980
การเดินทางไปเยือนดาวเคราะห์พี่บิ๊กทั้งสองดวง ทำให้มันได้ถ่ายภาพดาวและดวงจันทร์บริวารบางดวงในระยะใกล้
เผยรายละเอียดหลายอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน แถมยังค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ทั้งสองดวงเพิ่มอีก
ได้แก่ ดวงจันทร์ดาวพฤหัส 3 ดวง และดวงจันทร์ดาวเสาร์อีก 3 ดวง
เมื่อภารกิจสำรวจดาวเคราะห์เสร็จสิ้นในปี 1980 ยานก็ถูกมอบหมายภารกิจต่อไป คือมุ่งหน้าสู่ Interstellar space
และระหว่างการเดินทางเมื่อปี 1990 มันก็สามารถถ่ายภาพ Family Portrait (ครอบครัวสุริยะ) ได้เป็นครั้งแรก
ที่ระยะห่างราว 6 พันล้านกิโลเมตรจากโลก (ส่วนหนึ่งของภาพ ก็คือภาพโลก Pale Blue Dot อันโด่งดัง)
ก่อนจะปิดอุปกรณ์บันทึกภาพไปหลังจากนั้น
ภาพครอบครัวสุริยะ: ดาวพุธใกล้ดวงอาทิตย์เกินกว่าจะเห็นได้ ส่วนดาวอังคารจับภาพไม่ได้เพราะแสงรบกวนค่ะ
8 ปีต่อมา ในเดือนกุมภาพันธ์ 1998 ยาน Voyager 1 ก็ได้เดินทางแตะระยะ 69 AU จากดวงอาทิตย์ และในช่วงนี้เอง
ที่มันได้ทุบสถิติแซงหน้ายาน Pioneer 10 กลายเป็น "ยานอวกาศที่เดินทางออกไปไกลที่สุด" นับตั้งแต่นั้นมา
ก่อนจะสร้างประวัติศาสตร์อีกครั้ง เมื่อมันได้เข้าสู่ Interstellar space (อวกาศระหว่างดาว) ในปี 2012
เป็นยานลำแรกที่เดินทางหลุดเขตอิทธิพลลมสุริยะ (Heliosphere)
ส่วน Voyager 2 นั้น หลังจากที่สำรวจดาวพฤหัสในเดือนกรกฎาคม 1979 และดาวเสาร์ในเดือนสิงหาคม 1981 แล้ว
มันก็ได้รับภารกิจต่อเนื่อง นั่นคือ เดินทางต่อไปสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกอีก 2 ดวงที่เหลือ (ยูเรนัสและเนปจูน)
ภารกิจนี้สำเร็จลุล่วงในปี 1989 และทำให้การเดินทางของ Voyager 2 กลายเป็นการเดินทางที่พิเศษและคุ้มมาก
เมื่อมันไม่ได้เป็นแค่ยานลำแรกที่ไปเยือนยูเรนัส-เนปจูนเท่านั้น แต่จนถึงวันนี้.. มันยังคงเป็นยานเพียงลำเดียว
ที่ได้ไปเยือนดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้ และเป็นยานเพียงลำเดียวที่สามารถสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกได้ครบทุกดวง
ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ยาน Voyager 2 สำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกทั้ง 4 ดวง มันก็ได้ค้นพบอะไรมากมาย
นอกจากจะไขปริศนาเกี่ยวกับลักษณะของดาวยูเรนัสและเนปจูนแล้ว มันยังค้นพบดวงจันทร์ของดาวทั้งสองเพิ่ม
ได้แก่ ดวงจันทร์ดาวยูเรนัส 11 ดวง และดวงจันทร์ดาวเนปจูนอีก 6 ดวง และยังเป็นยานลำแรกที่ถ่ายภาพวงแหวน
ของดาวพฤหัส ยูเรนัส และเนปจูนมาได้
หลังจากสำรวจดาวเคราะห์เสร็จสิ้น NASA ก็ได้ปล่อยให้ Voyager 2 เดินทางไปสำรวจอวกาศไกลกว่านั้นเช่นกัน
และมันก็กำลังจะมุ่งหน้าสู่ Interstellar space เช่นเดียวกับ Voyager 1 ในอีกไม่ช้าไม่นานนี้
: : Voyager เดินทางไปไกลแค่ไหนแล้ว : :
หลังเดินทางมายาวนาน 40 ปี ขณะนี้ยาน Voyager 1 อยู่ไกลจากโลกเกือบ 21,000 ล้านกิโลเมตร (139 AU)
ลอยคว้างด้วยความเร็วประมาณ 3.6 AU ต่อปี โดยเข้าสู่ Interstellar space มานานกว่า 5 ปีแล้ว
ส่วนยาน Voyager 2 นั้น ก็อยู่ไกลจากโลกราว 17,000 ล้านกิโลเมตร (115 AU)
ด้วยความเร็วประมาณ 3.3 AU ต่อปี และคาดว่าจะเข้าสู่ Interstellar space ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
และนี่คือทิศทางการเดินทางของทั้งสอง Voyager ค่ะ
: : อนาคตของ Voyager : :
แม้ว่าตอนนี้ทั้งสอง Voyager จะอยู่ห่างไกลโลกมากแค่ไหน แต่ NASA ก็ยังคงติดต่อกับยานได้อยู่ค่ะ
โดยติดต่อผ่านเครือข่ายจานรับ-ส่งสัญญาณอวกาศห้วงลึก ที่แคนเบอร์รา ออสเตรเลีย ได้แห่งเดียวเท่านั้น
และจะยังคงรับ-ส่งสัญญาณต่อไปเรื่อย ๆ ถึงปี 2020 เป็นอย่างน้อย ซึ่งคาดว่ายานจะมีพลังงานเพียงพอ
จากนั้นวันใดวันหนึ่ง Voyager ก็จะบอกลาเราไปตลอดกาล
ส่วนชะตากรรมของสอง Voyager หลังจากนั้น..
Voyager 1 จะเดินทางเข้าสู่เขตเมฆออร์ตอีกประมาณ 300 ปีข้างหน้า และจะใช้เวลาอีกประมาณ 30,000 ปี
กว่าจะผ่านพ้นย่านนี้ไปได้ และแม้ว่ามันจะไม่มีทิศทางมุ่งตรงสู่ดาวดวงไหนเลย แต่คาดว่าในอีก 40,000 ปี
Voyager 1 จะได้เดินทางผ่านดาว Gliese 445 ที่ระยะห่างไม่เกิน 1.6 ปีแสง
ขณะที่ยาน Voyager 2 นั้น ก็คาดว่าอีก 40,000 ปี มันจะเดินทางผ่านดาว Ross 248 ที่ระยะห่างราว 1.7 ปีแสง
และหากมันไม่ถูกรบกวนจากอะไร มันก็จะเดินทางผ่านดาว Sirius ที่ระยะ 4.3 ปีแสงในอีกราว 296,000 ปี
ในที่สุด Voyager ก็จะกลายเป็นวัตถุเร่ร่อนที่โคจรรอบทางช้างเผือกเรื่อยไป
ปิดท้ายด้วยคลิปวิดีโอสั้น ๆ คลิปนี้ มหากาพย์การสำรวจอวกาศจริง ๆ เจ้า Voyager
ติดตามการเดินทางและรายละเอียดเพิ่มเติมของ Voyager ได้ที่นี่นะคะ
https://www.jpl.nasa.gov/voyager/