NASA จับมือ ESA เตรียมปล่อย “Solar Orbiter” ขึ้นไปสำรวจขั้วดวงดาวของดวงอาทิตย์
นักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มในโลกจึงพยายามเป็นอย่างมาก ที่จะสำรวจและศึกษาดวงอาทิตย์ มาตั้งแต่ในอดีต และล่าสุดนี้เอง ทางนาซาก็กำลังจะทำให้การสำรวจดังกล่าวง่ายขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว ด้วยการปล่อยดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นไปสำรวจพระอาทิตย์
ดาวเทียมดวงนี้มีชื่อแบบตรงๆ ว่า “Solar Orbiter” โดยมันเป็นดาวเทียมสำรวจซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างองค์การนาซาและองค์การอวกาศยุโรป (ESA)
Solar Orbiter ถูกออกแบบมาให้เดินเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ได้ในระยะห่างเพียงแค่ 42 ล้านกิโลเมตร ด้วยระบบกันความร้อนแบบใหม่ซึ่งชนความร้อนได้กว่า 520 องศาเซลเซียส และถูกออกแบบมาเพื่อสำรวจ “ขั้วดวงดาว” ของดวงอาทิตย์
“Solar Orbiter จะสำรวจดวงอาทิตย์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ความละเอียดสูงและสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมรอบๆ ยานอวกาศโดยตรง เพื่อสร้างภาพที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนของวิธีที่ทำให้อาทิตย์ส่งผลกระทบต่อสภาพพื้นที่อวกาศในระบบสุริยะของเรา” นาซาอธิบาย
“นอกจากนี้ ตัวยานสำรวจยังจะสามารถมอบภาพถ่ายภาพแรกของขั้วดวงอาทิตย์ และสภาพแวดล้อมทางแม่เหล็กที่เราไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อนด้วย”
อ้างอิงจากข้อมูลจากทางนาซา Solar Orbiter มีกำหนดการถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศพร้อมๆ กับจรวด Atlas V ที่สถานีกองทัพอากาศแหลมคานาเวอรัล ในเวลา 11:03 นาฬิกา ของวันที่ 10 กุมภาพันธ์ตามเวลาในประเทศไทย
ซึ่งหากการทำงานของดาวเทียมเป็นไปได้ด้วยดี Solar Orbiter จะสามารถหลีกเลี่ยงพายุสุริยะที่อันตราย และโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ได้นานถึง 11 ปีเลย
ที่มา nasa, esa, foxnews
Cr.
https://www.catdumb.tv/solar-orbiter-378/ By เหมียวศรัทธา
ยานสำรวจ Dragonfly ไปยังดวงจันทร์ไททัน
นาซา วางแผนส่งยานสำรวจ Dragonfly ไปดวงจันทร์ไททัน ดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ จะออกเดินทางจากโลกในปี 2026 เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิต ศึกษาชั้นบรรยากาศและพื้นผิวดวงจันทร์ไททัน
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 นาซาได้เปิดเผยแผนการส่งยานสำรวจไปยังดวงจันทร์ไททัน โดยใช้ยานสำรวจ Dragonfly ที่สามารถบินสำรวจ ถือเป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์ไททันครั้งแรกในรอบ 13 ปี นับจากนาซาเคยส่งยานสำรวจ Huygens ลงจอดบนดวงจันทร์ดวงนี้
ยานสำรวจ Dragonfly เป็นผลงานการพัฒนาของห้องปฏิบัติการ Johns Hopkins APL ตัวยานสำรวจถูกออกแบบให้มีลักษณะคล้ายโดรนบิน (Drone) ติดตั้งใบพัดทั้งหมด 4 คู่ ทำให้ยานสามารถบินไปยังพื้นที่สำรวจต่าง ๆ ได้มากกว่ายานสำรวจที่ใช้ล้อในการเคลื่อนที่ เนื่องจากบนพื้นผิวดวงจันทร์ไททันมีปริมาณแสงจากดวงอาทิตย์น้อย นาซาจึงเลือกพัฒนาระบบพลังงานของยานสำรวจ Dragonfly เป็นแบบพลังงานนิวเคลียร์ที่เรียกว่า Multi-Mission Radioisotope Thermoelectric Generator (MMRTG) แบบเดียวกับที่ใช้ในหุ่นยนต์สำรวจ Curiosity Rover ที่กำลังทำภารกิจสำรวจดาวอังคาร
นาซาได้เลือกพื้นที่สำหรับนำยาน Dragonfly ลงจอดเป็นบริเวณที่ชื่อว่า “Shangri-La” ใกล้บริเวณที่ยาน Huygens เคยลงจอดมาแล้วเมื่อประมาณ 13 ปีก่อน เนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ Dragonfly ใช้พลังงานนิวเคลียร์ทำให้สามารถทำภารกิจบินสำรวจบนผิวดวงจันทร์ไททันได้นานกว่า 2 ปี 7 เดือน โดยมีระยะทางรวมกันกว่า 175 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางการสำรวจบนผิวดาวที่ไกลกว่ายานสำรวจที่นาซาส่งไปสำรวจดาวอังคาร
ดวงจันทร์ไททันได้รับความสนใจจากนาซา เนื่องจากเป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่และเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีชั้นบรรยากาศ จากการสำรวจของยานกัสซีนี-เฮยเคินส์ (Cassini–Huygens) ในปี 2005 พบว่าชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์ไททันประกอบด้วยไนโตรเจน มีเทน และคาดว่าบนผิวดาวจะมีทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนขนาดใหญ่ในสภาพของเหลวอุณหภูมิ -179 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังค้นพบร่องรอยการไหลที่เกิดจากของเหลวบนผิวดวงจันทร์ไททัน
ยานสำรวจ Dragonfly มีกำหนดการเดินทางจากโลกในปี 2026 และเดินทางถึงดวงจันทร์ไททันในปี 2034 เพื่อทำภารกิจสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ไททันศึกษา ค้นหาองค์ประกอบทางเคมีและกระบวนการผลิตสารที่เกี่ยวข้องทางชีวภาพที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ไททัน การศึกษาแผ่นดินไหวและกิจกรรมทางธรณีวิทยา รวมไปถึงตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศบนดวงจันทร์ไททัน
ขอบคุณภาพจาก
https://www.sciways.co/nasa-dragonfly-to-titan-looking-for-origins-signs-of-life/
Cr.
https://news.thaipbs.or.th/content/281851
ยานสำรวจดาวอังคาร Mars 2020
เมื่ออังคารที่ 17 ธันวาคม 2562 ได้มีการทดสอบขับขี่ยานสำรวจดาวอังคาร Mars 2020 ของ NASA เป็นครั้งแรกอย่างเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งมันสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้า ถอยหลัง และหมุนตัวอยู่ในห้องแล็บปลอดเชื้อ Jet Propulsion ของ NASA ที่เมืองพาซาดีนา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
การทดสอบครั้งแรกนี้เห็นได้ชัดว่ายานสำรวจสามารถเคลื่อนที่ไปโดยรับน้ำหนักของตัวเองได้และใช้ฟังก์ชันระบบนำทางอัตโนมัติหลายครั้ง บ่งบอกถึงความพร้อมที่จะไปลุยดาวอังคารในภารกิจ Mars 2020 ที่จะเปิดตัวในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม 2020 แล้วจะลงจอดบนพื้นที่ Jezero Crater ของดาวอังคารในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2021 เพื่อค้นหาสัญญาณของซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลในปล่องภูเขาไฟ Jezero สำรวจลักษณะดินฟ้าอากาศและธรณีวิทยา โดยจะรวบรวมตัวอย่างกลับมายังโลกและปูทางในการสำรวจมนุษย์ดาวอังคารต่อไป
ยานสำรวจ Mars 2020 ถูกออกแบบให้สามารถตัดสินใจในการขับขี่ได้มากกว่ายานสำรวจใด ๆ รุ่นก่อนหน้า ซึ่งมีกล้องนำทางให้ภาพสีที่ความละเอียดสูงและให้มุมมองภาพที่กว้าง ได้เพิ่มสมองคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างแผนที่และประมวลผลภาพ และปรับปรุงซอฟต์แวร์นำทางอัตโนมัติ รวมทั้งการออกแบบล้อใหม่ที่เพิ่มความทนทานมากขึ้น ซึ่งการปรับปรุงจะช่วยให้ขับเคลื่อนยานได้เฉลี่ยประมาณ 650 ฟุตต่อวันบนดาวอังคาร (200เมตร) โดยต้องวิ่งนานถึง 10 ชั่วโมงต่อวันบนดาวอังคาร และที่สำคัญยานลำนี้ยังมี “ไมโครโฟน” ติดตั้งไปอีกด้วย
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส
ขอบคุณภาพจาก
https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_1520313
Cr.
https://www.sanook.com/hitech/1491729/ สนับสนุนเนื้อหาโดย Beartai
ยานสำรวจดวงอาทิตย์ "ปาร์คเกอร์" โคจรรอบดาวศุกร์
ยานสำรวจดวงอาทิตย์ "ปาร์คเกอร์" ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ หรือ NASA ออกเดินทางจากฐานยิงจรวดในรัฐฟลอริด้าในวันที่ 11-23 สิงหาคม 2018 เพื่อมุ่งหน้าไปยังดวงอาทิตย์ในระยะที่ใกล้ที่สุดเท่าที่เคยมียานสำรวจเดินทางไปถึง ชื่อของยานถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับยูจีน ปาร์กเกอร์ (Eugene Newman Parker) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ผู้ค้นพบลมสุริยะหรือสุริยวาต (solar wind) และสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะชั้นนอก
ยานสำรวจพาร์คเกอร์จะโคจรรอบดาวศุกร์เป็นเวลา 7 ปี ก่อนที่จะสามารถเข้าสู่วงโคจรของดวงอาทิตย์ในปี ค.ศ. 2024
ยานสำรวจลำนี้ถูกออกแบบมาให้ต้านทานความร้อนในระดับสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน คือสามารถทนความร้อนในระดับ 2,500 องศาฟาเรนไฮต์ หรือประมาณ 1,370 องศาเซลเซียส
ภารกิจของยานสำรวจพาร์คเกอร์ คือการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ในระยะใกล้ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาดวงดาวที่เชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของระบบสุริยจักรวาลและสรรพสิ่งบนพื้นโลก รวมทั้งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพายุสุริยะซึ่งเชื่อว่าอาจสร้างอันตรายต่อชีวิตบนโลกได้ด้วย
ปฏิบัติการ Parker Solar Probe ใช้เวลา 7 ปีโคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งหมด 24 รอบ ยานเดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในระยะ 6.2 ล้านกิโลเมตรถือเป็นยานที่สามารถเดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างและเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวพุธ
ที่มาของข้อมูล
nasa.gov, en.wikipedia.org, parkersolarprobe.jhuapl.edu
Cr.
https://www.nextwider.com/parker-solar-probe/ BY PEERAPAT CHUEJEEN
Cr.
https://www.voathai.com/a/red-hot-voyage-to-sun-will-bring-us-closer-to-our-star/4523663.html
“เทสส์”สำรวจดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
จรวดฟอลคอน-9 ของสเปซเอ็กซ์ ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยจรวดภายในศูนย์อวกาศเคนเนดี บนแหลมคันนาเวรัล ทางตะวันออกของรัฐฟลอริดา เมื่อเวลา 18.51 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันพุธ หรือราว 05.51 น. วันพฤหัสบดีตามเวลาในประเทศไทยในปี 2018 เพื่อนำส่งยานสำรวจลำใหม่ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ในชื่อ “เทสส์” Transiting Exoplanet Survey Satellite – TESS ดาวเทียมสำรวจอวกาศ ขนาดเท่าเครื่องซักผ้าที่ผ่านการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูง เพื่อสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ โดย TESS วางแผนที่จะสำรวจพื้นที่กว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของท้องฟ้า
‘นาซา’ ประเมินว่ายานสำรวจ ‘TESS’ น่าจะค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบเพิ่มอีกราว 20,000 ดวง เมื่อโคจรห่างจากระบบสุริยะออกไปประมาณ 30 ถึง 300 ปีแสง ซึ่งรวมถึงดาวเคราะห์ 50 ดวงที่มีขนาดเทียบเท่าโลก และดาวเคราะห์ขนาดเล็กกว่าโลกไม่เกิน 2 เท่าอีกประมาณ 500 ดวง
นอกจากนี้ นาซายังตั้งเป้าให้ภารกิจของ ‘TESS’ สานต่องานโครงการสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบต่อจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ “เคปเลอร์” ซึ่งโคจรอยู่ในอวกาศตั้งแต่ปี 2552 และค้นพบดวงดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะแล้วมากกว่า 2,300 ดวง โดยมีเป้าหมายว่า ‘TESS’ จะเติมเต็ม สำรวจส่วนที่ “เคปเลอร์” ยังครอบคลุมไม่ถึงในบางพื้นที่
ส่วนทางด้าน Lisa Kaltenegger นักวิทยาศาสตร์นอกระบบปฏิบัติการแห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์กล่าวในแถลงการณ์ว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศ “เคปเลอร์” สำรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบที่น่าตื่นตา แต่ส่วนมากอยู่ห่างออกไปหลายปีแสงมากจนยากเกินกว่าที่จะทำการศึกษาเรียนรู้ จึงเป็นเหตุผลที่ TESS ถูกตั้งความหวังในการสำรวจดาวเคราะห์ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา รวมถึงค้าหาสิ่งมีชีวิต และหวังว่าประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการค้นหาของ TESS ด้วย
ดูบทความต้นฉบับ : NASA’s TESS planet-finder satellite just rode a Falcon 9 to space
Cr.
https://news.mthai.com/mashable/634878.html / By Kaewta P.
Mars Rover รถสำรวจดาวอังคารรุ่นใหม่
สำนักขาวซินหัวของจีนรายงานว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือนาซ่า (NASA) ได้เปิดตัวยานสำรวจดาวอังคารรุ่นใหม่ซึ่งถูกออกแบบให้เป็นทั้งพาหนะและห้องทดลองสำหรับนักสำรวจอวกาศรุ่นต่อไป ผลิตจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์และอะลูมิเนียม มี 6 ล้อ และใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ รวมถึงมีระบบช่วยชีวิต ระบบนำทาง ระบบสื่อสาร และอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับสภาพของดาวอังคาร
Mars Rover ออกแบบและผลิตโดยบริษัทผู้ผลิตต้นแบบรถยนต์และมอเตอร์ไซต์ที่มีชื่อว่า Parker Brothers Concepts ภายใต้สเปคที่ต้องการของ NASA
ภายในแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยด้านหน้าของตัวรถจะเป็นส่วนควบคุม และ ส่วนด้านหลังจะเป็นแลปหรือห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วย ตัวรถมีความยาวถึง 8.5 เมตร กว้าง 4 เมตร ใส่ยางขนาด 50 นิ้ว สามารถวิ่งได้สูงสุดประมาณ 112 กิโลเมตรต่อชั่วโมงบนพื้นโลก และบนดาวอังคารจะสามารถวิ่งได้สูงสุดเพียง 24 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น
ที่มา www.extremetech.com
Cr.
https://www.techoffside.com/2017/06/nasa-mars-rover/ by probank
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา
ยานสำรวจกับภารกิจบนดวงดาวต่างๆ
นักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มในโลกจึงพยายามเป็นอย่างมาก ที่จะสำรวจและศึกษาดวงอาทิตย์ มาตั้งแต่ในอดีต และล่าสุดนี้เอง ทางนาซาก็กำลังจะทำให้การสำรวจดังกล่าวง่ายขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว ด้วยการปล่อยดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นไปสำรวจพระอาทิตย์
ดาวเทียมดวงนี้มีชื่อแบบตรงๆ ว่า “Solar Orbiter” โดยมันเป็นดาวเทียมสำรวจซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างองค์การนาซาและองค์การอวกาศยุโรป (ESA)
Solar Orbiter ถูกออกแบบมาให้เดินเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ได้ในระยะห่างเพียงแค่ 42 ล้านกิโลเมตร ด้วยระบบกันความร้อนแบบใหม่ซึ่งชนความร้อนได้กว่า 520 องศาเซลเซียส และถูกออกแบบมาเพื่อสำรวจ “ขั้วดวงดาว” ของดวงอาทิตย์
“Solar Orbiter จะสำรวจดวงอาทิตย์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ความละเอียดสูงและสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมรอบๆ ยานอวกาศโดยตรง เพื่อสร้างภาพที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนของวิธีที่ทำให้อาทิตย์ส่งผลกระทบต่อสภาพพื้นที่อวกาศในระบบสุริยะของเรา” นาซาอธิบาย
“นอกจากนี้ ตัวยานสำรวจยังจะสามารถมอบภาพถ่ายภาพแรกของขั้วดวงอาทิตย์ และสภาพแวดล้อมทางแม่เหล็กที่เราไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อนด้วย”
อ้างอิงจากข้อมูลจากทางนาซา Solar Orbiter มีกำหนดการถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศพร้อมๆ กับจรวด Atlas V ที่สถานีกองทัพอากาศแหลมคานาเวอรัล ในเวลา 11:03 นาฬิกา ของวันที่ 10 กุมภาพันธ์ตามเวลาในประเทศไทย
ซึ่งหากการทำงานของดาวเทียมเป็นไปได้ด้วยดี Solar Orbiter จะสามารถหลีกเลี่ยงพายุสุริยะที่อันตราย และโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ได้นานถึง 11 ปีเลย
ที่มา nasa, esa, foxnews
Cr.https://www.catdumb.tv/solar-orbiter-378/ By เหมียวศรัทธา
ยานสำรวจ Dragonfly ไปยังดวงจันทร์ไททัน
นาซา วางแผนส่งยานสำรวจ Dragonfly ไปดวงจันทร์ไททัน ดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ จะออกเดินทางจากโลกในปี 2026 เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิต ศึกษาชั้นบรรยากาศและพื้นผิวดวงจันทร์ไททัน
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2562 นาซาได้เปิดเผยแผนการส่งยานสำรวจไปยังดวงจันทร์ไททัน โดยใช้ยานสำรวจ Dragonfly ที่สามารถบินสำรวจ ถือเป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์ไททันครั้งแรกในรอบ 13 ปี นับจากนาซาเคยส่งยานสำรวจ Huygens ลงจอดบนดวงจันทร์ดวงนี้
ยานสำรวจ Dragonfly เป็นผลงานการพัฒนาของห้องปฏิบัติการ Johns Hopkins APL ตัวยานสำรวจถูกออกแบบให้มีลักษณะคล้ายโดรนบิน (Drone) ติดตั้งใบพัดทั้งหมด 4 คู่ ทำให้ยานสามารถบินไปยังพื้นที่สำรวจต่าง ๆ ได้มากกว่ายานสำรวจที่ใช้ล้อในการเคลื่อนที่ เนื่องจากบนพื้นผิวดวงจันทร์ไททันมีปริมาณแสงจากดวงอาทิตย์น้อย นาซาจึงเลือกพัฒนาระบบพลังงานของยานสำรวจ Dragonfly เป็นแบบพลังงานนิวเคลียร์ที่เรียกว่า Multi-Mission Radioisotope Thermoelectric Generator (MMRTG) แบบเดียวกับที่ใช้ในหุ่นยนต์สำรวจ Curiosity Rover ที่กำลังทำภารกิจสำรวจดาวอังคาร
นาซาได้เลือกพื้นที่สำหรับนำยาน Dragonfly ลงจอดเป็นบริเวณที่ชื่อว่า “Shangri-La” ใกล้บริเวณที่ยาน Huygens เคยลงจอดมาแล้วเมื่อประมาณ 13 ปีก่อน เนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ Dragonfly ใช้พลังงานนิวเคลียร์ทำให้สามารถทำภารกิจบินสำรวจบนผิวดวงจันทร์ไททันได้นานกว่า 2 ปี 7 เดือน โดยมีระยะทางรวมกันกว่า 175 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางการสำรวจบนผิวดาวที่ไกลกว่ายานสำรวจที่นาซาส่งไปสำรวจดาวอังคาร
ดวงจันทร์ไททันได้รับความสนใจจากนาซา เนื่องจากเป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่และเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีชั้นบรรยากาศ จากการสำรวจของยานกัสซีนี-เฮยเคินส์ (Cassini–Huygens) ในปี 2005 พบว่าชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์ไททันประกอบด้วยไนโตรเจน มีเทน และคาดว่าบนผิวดาวจะมีทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนขนาดใหญ่ในสภาพของเหลวอุณหภูมิ -179 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังค้นพบร่องรอยการไหลที่เกิดจากของเหลวบนผิวดวงจันทร์ไททัน
ยานสำรวจ Dragonfly มีกำหนดการเดินทางจากโลกในปี 2026 และเดินทางถึงดวงจันทร์ไททันในปี 2034 เพื่อทำภารกิจสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ไททันศึกษา ค้นหาองค์ประกอบทางเคมีและกระบวนการผลิตสารที่เกี่ยวข้องทางชีวภาพที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ไททัน การศึกษาแผ่นดินไหวและกิจกรรมทางธรณีวิทยา รวมไปถึงตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศบนดวงจันทร์ไททัน
ขอบคุณภาพจาก https://www.sciways.co/nasa-dragonfly-to-titan-looking-for-origins-signs-of-life/
Cr.https://news.thaipbs.or.th/content/281851
ยานสำรวจดาวอังคาร Mars 2020
เมื่ออังคารที่ 17 ธันวาคม 2562 ได้มีการทดสอบขับขี่ยานสำรวจดาวอังคาร Mars 2020 ของ NASA เป็นครั้งแรกอย่างเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งมันสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้า ถอยหลัง และหมุนตัวอยู่ในห้องแล็บปลอดเชื้อ Jet Propulsion ของ NASA ที่เมืองพาซาดีนา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
การทดสอบครั้งแรกนี้เห็นได้ชัดว่ายานสำรวจสามารถเคลื่อนที่ไปโดยรับน้ำหนักของตัวเองได้และใช้ฟังก์ชันระบบนำทางอัตโนมัติหลายครั้ง บ่งบอกถึงความพร้อมที่จะไปลุยดาวอังคารในภารกิจ Mars 2020 ที่จะเปิดตัวในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม 2020 แล้วจะลงจอดบนพื้นที่ Jezero Crater ของดาวอังคารในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2021 เพื่อค้นหาสัญญาณของซากสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลในปล่องภูเขาไฟ Jezero สำรวจลักษณะดินฟ้าอากาศและธรณีวิทยา โดยจะรวบรวมตัวอย่างกลับมายังโลกและปูทางในการสำรวจมนุษย์ดาวอังคารต่อไป
ยานสำรวจ Mars 2020 ถูกออกแบบให้สามารถตัดสินใจในการขับขี่ได้มากกว่ายานสำรวจใด ๆ รุ่นก่อนหน้า ซึ่งมีกล้องนำทางให้ภาพสีที่ความละเอียดสูงและให้มุมมองภาพที่กว้าง ได้เพิ่มสมองคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างแผนที่และประมวลผลภาพ และปรับปรุงซอฟต์แวร์นำทางอัตโนมัติ รวมทั้งการออกแบบล้อใหม่ที่เพิ่มความทนทานมากขึ้น ซึ่งการปรับปรุงจะช่วยให้ขับเคลื่อนยานได้เฉลี่ยประมาณ 650 ฟุตต่อวันบนดาวอังคาร (200เมตร) โดยต้องวิ่งนานถึง 10 ชั่วโมงต่อวันบนดาวอังคาร และที่สำคัญยานลำนี้ยังมี “ไมโครโฟน” ติดตั้งไปอีกด้วย
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส
ขอบคุณภาพจาก https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_1520313
Cr.https://www.sanook.com/hitech/1491729/ สนับสนุนเนื้อหาโดย Beartai
ยานสำรวจดวงอาทิตย์ "ปาร์คเกอร์" โคจรรอบดาวศุกร์
ยานสำรวจดวงอาทิตย์ "ปาร์คเกอร์" ขององค์การอวกาศสหรัฐฯ หรือ NASA ออกเดินทางจากฐานยิงจรวดในรัฐฟลอริด้าในวันที่ 11-23 สิงหาคม 2018 เพื่อมุ่งหน้าไปยังดวงอาทิตย์ในระยะที่ใกล้ที่สุดเท่าที่เคยมียานสำรวจเดินทางไปถึง ชื่อของยานถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับยูจีน ปาร์กเกอร์ (Eugene Newman Parker) นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ผู้ค้นพบลมสุริยะหรือสุริยวาต (solar wind) และสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะชั้นนอก
ยานสำรวจพาร์คเกอร์จะโคจรรอบดาวศุกร์เป็นเวลา 7 ปี ก่อนที่จะสามารถเข้าสู่วงโคจรของดวงอาทิตย์ในปี ค.ศ. 2024
ยานสำรวจลำนี้ถูกออกแบบมาให้ต้านทานความร้อนในระดับสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน คือสามารถทนความร้อนในระดับ 2,500 องศาฟาเรนไฮต์ หรือประมาณ 1,370 องศาเซลเซียส
ภารกิจของยานสำรวจพาร์คเกอร์ คือการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ในระยะใกล้ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาดวงดาวที่เชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของระบบสุริยจักรวาลและสรรพสิ่งบนพื้นโลก รวมทั้งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพายุสุริยะซึ่งเชื่อว่าอาจสร้างอันตรายต่อชีวิตบนโลกได้ด้วย
ปฏิบัติการ Parker Solar Probe ใช้เวลา 7 ปีโคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งหมด 24 รอบ ยานเดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในระยะ 6.2 ล้านกิโลเมตรถือเป็นยานที่สามารถเดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างและเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวพุธ
ที่มาของข้อมูล
nasa.gov, en.wikipedia.org, parkersolarprobe.jhuapl.edu
Cr.https://www.nextwider.com/parker-solar-probe/ BY PEERAPAT CHUEJEEN
Cr.https://www.voathai.com/a/red-hot-voyage-to-sun-will-bring-us-closer-to-our-star/4523663.html
“เทสส์”สำรวจดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
จรวดฟอลคอน-9 ของสเปซเอ็กซ์ ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยจรวดภายในศูนย์อวกาศเคนเนดี บนแหลมคันนาเวรัล ทางตะวันออกของรัฐฟลอริดา เมื่อเวลา 18.51 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันพุธ หรือราว 05.51 น. วันพฤหัสบดีตามเวลาในประเทศไทยในปี 2018 เพื่อนำส่งยานสำรวจลำใหม่ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ในชื่อ “เทสส์” Transiting Exoplanet Survey Satellite – TESS ดาวเทียมสำรวจอวกาศ ขนาดเท่าเครื่องซักผ้าที่ผ่านการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูง เพื่อสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ โดย TESS วางแผนที่จะสำรวจพื้นที่กว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของท้องฟ้า
‘นาซา’ ประเมินว่ายานสำรวจ ‘TESS’ น่าจะค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบเพิ่มอีกราว 20,000 ดวง เมื่อโคจรห่างจากระบบสุริยะออกไปประมาณ 30 ถึง 300 ปีแสง ซึ่งรวมถึงดาวเคราะห์ 50 ดวงที่มีขนาดเทียบเท่าโลก และดาวเคราะห์ขนาดเล็กกว่าโลกไม่เกิน 2 เท่าอีกประมาณ 500 ดวง
นอกจากนี้ นาซายังตั้งเป้าให้ภารกิจของ ‘TESS’ สานต่องานโครงการสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบต่อจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ “เคปเลอร์” ซึ่งโคจรอยู่ในอวกาศตั้งแต่ปี 2552 และค้นพบดวงดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะแล้วมากกว่า 2,300 ดวง โดยมีเป้าหมายว่า ‘TESS’ จะเติมเต็ม สำรวจส่วนที่ “เคปเลอร์” ยังครอบคลุมไม่ถึงในบางพื้นที่
ส่วนทางด้าน Lisa Kaltenegger นักวิทยาศาสตร์นอกระบบปฏิบัติการแห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์กล่าวในแถลงการณ์ว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศ “เคปเลอร์” สำรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบที่น่าตื่นตา แต่ส่วนมากอยู่ห่างออกไปหลายปีแสงมากจนยากเกินกว่าที่จะทำการศึกษาเรียนรู้ จึงเป็นเหตุผลที่ TESS ถูกตั้งความหวังในการสำรวจดาวเคราะห์ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา รวมถึงค้าหาสิ่งมีชีวิต และหวังว่าประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการค้นหาของ TESS ด้วย
ดูบทความต้นฉบับ : NASA’s TESS planet-finder satellite just rode a Falcon 9 to space
Cr.https://news.mthai.com/mashable/634878.html / By Kaewta P.
Mars Rover รถสำรวจดาวอังคารรุ่นใหม่
สำนักขาวซินหัวของจีนรายงานว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือนาซ่า (NASA) ได้เปิดตัวยานสำรวจดาวอังคารรุ่นใหม่ซึ่งถูกออกแบบให้เป็นทั้งพาหนะและห้องทดลองสำหรับนักสำรวจอวกาศรุ่นต่อไป ผลิตจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์และอะลูมิเนียม มี 6 ล้อ และใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ รวมถึงมีระบบช่วยชีวิต ระบบนำทาง ระบบสื่อสาร และอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับสภาพของดาวอังคาร
Mars Rover ออกแบบและผลิตโดยบริษัทผู้ผลิตต้นแบบรถยนต์และมอเตอร์ไซต์ที่มีชื่อว่า Parker Brothers Concepts ภายใต้สเปคที่ต้องการของ NASA
ภายในแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยด้านหน้าของตัวรถจะเป็นส่วนควบคุม และ ส่วนด้านหลังจะเป็นแลปหรือห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วย ตัวรถมีความยาวถึง 8.5 เมตร กว้าง 4 เมตร ใส่ยางขนาด 50 นิ้ว สามารถวิ่งได้สูงสุดประมาณ 112 กิโลเมตรต่อชั่วโมงบนพื้นโลก และบนดาวอังคารจะสามารถวิ่งได้สูงสุดเพียง 24 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น
ที่มา www.extremetech.com
Cr.https://www.techoffside.com/2017/06/nasa-mars-rover/ by probank
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา