นาซ่า ยกเลิกภารกิจไปดวงจันทร์ ครั้งแรกแล้ว หลังยานอวกาศมีปัญหาขัดข้องไม่พร้อมไป??

สหรัฐ ฝันสลาย! ชาวโลกรู้ยัง NASA ยกเลิกปล่อยจรวดไปดวงจันทร์แข่งกับจีนแล้วนะ

         ตั้งแต่กลางปี 1990 บริษัทรอสคอสมอส ของรัสเซีย ได้ขายและส่งมอบเครื่องยนต์สำหรับจรวด Atlas ไปยังสหรัฐอเมริกา ในรุ่น RD-180 จำนวน 122 เครื่อง และมี 98 เครื่องถูกใช้ไปแล้ว 

เพราะสหรัฐฯ ยังไม่มีขีดความสามารถทันสมัยที่จะสามารถผลิตเครื่องยนต์ส่งจรวดใช้เองได้ ที่ผ่านมาเครื่องยนต์จรวดขนาดใหญ่ของสหรัฐที่ผลิตเอง ระเบิดทุกครั้งที่ใช้งานจนนักบินอวกาศเสียชีวิตหมู่ 

เมื่อสหรัฐคว่ำบาตรรัสเซียก่อน รัสเซียสวนกลับโดยไม่ขายเครื่องยนต์ RD-180 และยังปฏิเสธการบำรุงรักษาซ่อมแซม อะไหล่ เครื่องยนต์ที่เหลืออยู่อีก 24 เครื่องอีกด้วย ,

 ในส่วนองค์การอวกาศจีน (CMSA) นั้นในปี 2018 ส่งนักบินอวกาศไปตั้งห้องทดลองอยู่อาศัย ทดลองปลูกบนดวงจันทร์ และใช้ยานสำรวจ Chang'e-4 และยานสำรวจ Yutu-2 ปฏิบัติภารกิจและเดินทางบนพื้นผิวดวงจันทร์

         แถวปากปล่องภูเขาไฟฟอน คาร์เมน บริเวณแอ่งขั้วใต้-เอตเคน ที่ตั้งอยู่บนด้านไกล (ตรงข้ามโลก) ของดวงจันทร์ ทำการเก็บตัวอย่างผิวดิน 

จีนค้นพบว่าดินบนดวงจันทร์เป็นสารที่อุดมด้วยเหล็กและไทเทเนียม พบธาตุ Helium3 เป็นธาตุหายากบนโลก น้ำหนักเพียง 3 ช้อนโต๊ะ จะให้พลังงานเทียบเท่าถ่านหิน 5,000 ตัน มีมากมายพอให้มนุษย์ใช้เป็นพลังงานไปอีก 20,000 ปี

 แหล่งพลังงานบนดวงจันทร์ คือ "อ่าวเปอร์เซียระบบสุริยะ" สามารถใช้แทนธาตุยูเรเนียมในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่มีจุดเด่นกว่าคือไม่ก่อให้เกิดกัมมันตภาพรังสี แถมมีแร่ Rare earth ต่างๆ เช่น ไทเทเนียม อลูมิเนียม ไฮโดรเจน ซิลิคอน ฯลฯ อีกมากล้น

ทำให้จีนสร้างแผนที่แร่ธาตุดวงจันทร์ สร้างสถานีอวกาศของตนเอง ตั้งแต่ต้นปีมาจีนได้ปล่อยจรวดหลายครั้งถี่ยิบนำอุปกรณ์หนักทางวิทยาศาสตร์ และโมดูลหลายร้อยตันขึ้นไปประกอบสถานีอวกาศตนเอง

          ส่วนองค์การอวกาศ NASA มีกำหนดปล่อยจรวด Artemis 1 นำยานอวกาศ Orion ขึ้นไปเพื่อทดสอบการอยู่ในสภาวะแวดล้อมอวกาศ โดย "ไม่กล้าส่งมนุษย์ขึ้นไปกับยาน" และตั้งเป้าว่าจะใช้เวลาอยู่บนอวกาศทั้งหมดราว 43 วัน  ก่อนจะกลับสู่โลกในวันที่ 10 ต.ค.2022

แต่ช่วง 2 ปีมานี้เลื่อนการปล่อยจรวดมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งเพราะ "เครื่องยนต์ร้อนจนพัง" โดยการทดสอบปล่อยจรวดแต่ละครั้งของ NASA ใช้เงิน 4,100 ล้านดอลลาร์ (ราว 143,500 ล้านบาท) และมีกำหนดปล่อยครั้งล่าสุดในวันที่ 29 ส.ค.2022 ออกจากศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา  ฝันว่าจะไปวนรอบดวงจันทร์กับเขาสักครั้งแล้วจะ "ประกาศชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ" แต่แล้วความฝันของสหรัฐ ก็ล่มสลายลงต้อง "ประกาศยกเลิกการปล่อยจรวดสู่ดวงจันทร์" ไปในที่สุด

         เพราะก่อนการปล่อยจรวด Space Launch System (SLS) จะเริ่มขึ้น ทาง NASA ได้ทำการทดสอบในขั้นตอนสุดท้าย แต่พบว่า "เกิดปัญหาอุณหภูมิของเครื่องยนต์รุ่น RS-25 " ที่จ้างบริษัทสตาร์ทอัพผลิต ตัวที่ 3 จากเครื่องยนต์ทั้งหมด 4 ตัว ระบบจ่ายไฮโดรเจนไปยังเครื่องยนต์ไม่ทำงาน แม้จะพยายาม​ลองเสี่ยงปิดวาวล์ให้ไฮโดรเจนไหลไปยัง​เครื่องยนต์ 3​ ตัวที่เหลือเพื่อขับดันจรวดขึ้นก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า และคาดว่าจะไม่สามารถแก้ไขได้ทันเวลา  

หากสภาพอากาศเอื้ออำนวย NASA จะแก้หน้าโดยจะปล่อยจรวดอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 2-5 ก.ย.นี้ แต่หากระบบเครื่องยนต์พังอีกและไม่สามารถแก้ไขปัญหาปล่อยจรวดได้ ก็จะเลื่อนไปเป็นเดือนหน้า ต.ค.2022..

สหรัฐ สู้ต่อไป ชนะล้าหลังจีนหลายสิบปีแน่นอน 🚀🤭😂
          
ที่มา : spacenews , space , nasa   
#WorldUpdate
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
พาดหัวแบบ "กาก ๆ"  ตามสไตล์ติ่งจีน ติ่งรัสเซีย .....

การเลื่อนปล่อยยาน หรือ ทำภารกิจใด ๆ  เป็นเรื่องปกติ
เพราะต้องให้ปลอดภัย 100% ก่อน

พอการปล่อยยานครั้งนี้มีปัญหา  ติ่งจีนก็ร่าเริง
มาตั้งกระทู้พาดหัวกาก ๆ  ว่า
" สหรัฐ ฝันสลาย! ชาวโลกรู้ยัง NASA ยกเลิกปล่อยจรวดไปดวงจันทร์แข่งกับจีนแล้วนะ "

สหรัฐฯ ยังไม่มีขีดความสามารถทันสมัยที่จะสามารถผลิตเครื่องยนต์ส่งจรวดใช้เองได้
ที่ผ่านมาเครื่องยนต์จรวดขนาดใหญ่ของสหรัฐที่ผลิตเอง ระเบิดทุกครั้งที่ใช้งานจนนักบินอวกาศเสียชีวิตหมู่

ประโยคนี้ ..... ไป "คาบ" มาจาก WorldUpdate สินะ
กาก เสมอต้นเสมอปลายจริง ๆ   บอกว่าสหรัฐ ฯ ยังไม่สามารถ
สร้างเครื่องยนต์จรวดใช้เองได้  แล้วเครื่อง RS-25 ที่ใช้
และพัฒนามาตั้งแต่ยุคกระสวยอวกาศ ล่ะ ?

อ้อ ..... ทั้งหมดทั้งมวล  เพื่อนสมาชิกโปรดทราบไว้ด้วยว่า
เจ้า จขกท.นี้เป็นพวกไม่เชื่อการไปดวงจันทร์ นะครับ
(ไม่รู้ว่าจะเป็นพวก Flat Earther ด้วยหรือไม่ ?)
ดังนั้น  ทุกสิ่งอย่างที่เจ้า จขกท.นี้ตั้งกระทู้มา
อยู่บนพื้นฐานแห่งความเชื่อตนเอง
บวกกับความเป็นติ่งจีนกาก ๆ  ที่ต้องพึ่งพาข่าวสารกาก ๆ
จาก Topnews , WorldUpdate ไปวัน ๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่