Apollo 13 กับการกู้ภัยกลางอวกาศ

หลังจากความสำเร็จของ Apollo 11 และ 12 NASA ได้ปล่อย Apollo 13 ขึ้นสู่อวกาศ ในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ.1970 (54 ปี ที่แล้ว) จรวด Saturn V ได้นำยาน Apollo พร้อมนักบินอวกาศ 3 คนขึ้นสู่อวกาศ ได้แก่

1.ผู้บัญชาการภารกิจ : James A. Lovell

2.นักบินประจำยานบังคับการ : John L. Swigert

3. นักบินประจำยานลงจอด : Fred W. Haise

ในตอนแรกนั้น John L. Swigert จะไม่ได้ขึ้นบินในครั้งนี้ โดยจะเป็นชื่อของ Ken Mattingly แทน เนื่องจากในระหว่างฝึกซ้อมที่ประกอบไปด้วยนักบิน 6 คน แบ่งเป็นตัวจริงสามคน สำรองอีก 3 คน ซึ่งได้แก่

 

นักบินตัวจริง

1.James A. Lovell

2.Ken Mattingly

3.Fred W. Haise

ตัวสำรอง

1.John Young

2. John L. Swigert

3.Charles Duke

 

ทั้งหมดนี้ฝึกซ้อมร่วมกัน แต่ Charles Duke ดันติดเชื้อหัดเยอรมันในช่วงไม่กี่วันก่อนปล่อยยาน ทำให้ทีมแพทย์ต้องไล่เช็ครายบุคคลว่าใครบ้างที่เคยป่วยเป็นโรคนี้มาแล้ว ซึ่งคนที่เคยป่วยมาแล้วจะภูมิคุ้มกัน ซึ่งพบว่าทุกคนมีภูมิคุ้มกันหมดยกเว้น Ken Mattingly ที่ยังไม่เคยป่วย NASA จึงได้มีการเปลี่ยนนักบินกระทันหัน 3 วันก่อนปล่อยยาน โดยให้ Swigert ซึ่งเป็นนักบินสำรองมาทำหน้าที่แทน Ken Mattingly

 
ภาพนักบินอวกาศ 3 คนที่ได้ขึ้นบิน

55 ชั่วโมงหลังปล่อยยาน ซึ่งขณะนั้นยานอยู่ห่างจากโลก 330,000 กิโลเมตร แล้ว (เกินครึ่งหนึ่งของระยะห่างจากโลกถึงดวงจันทร์) ทีมงานประจำห้องควบคุมตรวจพบสัญญาณเตือนความดันต่ำ ในถังเชื้อเพลิงไฮโดรเจนของยานบังคับการ จึงสั่งให้ลูกเรือเปิดสวิตคนถังเชื้อไฮโดรเจน และ ออกซิเจน 2 นาทีหลังการคนเสียงระเบิดได้ดังขึ้น ยานทั่งลำสั่นสะเทือน ไฟฟ้าในยานตก ระบบสื่อสารล่มไปสองวินาที มิเตอร์แสดงค่าออกซิเจนในถังเป็น 0 เซลล์เชื้อเพลิงที่จ่ายพลังงานให้กับยานหยุดทำงานอัตโนมัติ(เครื่องดับ) Swigert จึงได้รายงานไปยังศูนย์ควบคุมที่ฮูสตัน

 

ณ วินาทีนั้น ทุกคนในห้องควบคุมต่างอยู่ในสภาวะที่เคร่งเครียด วิ่งไปวิ่งมาวุ่นวายไปหมด NASA เรียกตัวนักบินหลายคนที่เคยผ่านการฝึกซ้อมมาก่อน มาจำลองเหตุการณ์ กับยานต้นแบบ เพื่อหาทางช่วยเหลือ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Ken Mattingly ที่เคยวางไว้ว่าจะให้ขึ้นบินในภารกิจนี้ ก็ได้เข้ามาช่วยเหลือเช่นกัน

ทางฝั่งของห้องควบคุมในท้ายที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่าต้องให้ลูกเรือทั้งหมดย้ายไปยานลงจอด เพื่อให้ยานลงจอดพาทุกคนกลับโลก นั่นหมายความว่าความฝันที่ลูกเรือจะได้สัมผัสพื้นดวงจันทร์ได้สลายไปแล้ว

แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นอีก เมื่อยานลงจอดไม่มีแผ่นกันความร้อนที่จะใช้ในการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก เพราะแผ่นกันความร้อนดันติดอยู่กับยานบังคับการ วิธีแก้ปัญหาของทีมงานคือ จะต้องสตาร์ทเครื่องยนต์ยานบังคับการอีกครั้ง เพื่อสลัดเอา Service Module ซึ่งเป็นโมดูลระบบพลังงานรวมถึงเป็นที่อยู่ของถังเชื้อเพลิงเจ้าปัญหาออก เพื่อนำแผ่นกันความร้อนมาใช้ในขั้นตอนการลงจอดบนโลก ซึ่งยังไม่เคยมีการทดสอบการสตาร์ทเครื่องยนต์ในภาวะแบบนี้มาก่อน แต่ท้ายที่สุดก็สตาร์ทได้ พร้อมกับสลัดเอา Service Module ออกไปได้สำเร็จ ภาพ Service Module ที่ลอยผ่านหน้าต่างยาน เผยให้เห็นแผงด้านข้างเสียหายทั้งหมด


ภาพความเสียหายของแผงด้านข้างของ Service Module ที่ถ่ายจากยานลงจอด

หลังจากนั้นลูกเรือทั้งหมดก็เข้าไปอยู่ในยานลงจอดที่ตอนนี้กลายเป็นยานกู้ภัยไปแล้ว แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นอีก เมื่อยานจะต้องโคจรอ้อมดวงจันทร์ไปไกลกว่าที่ยานอวกาศที่มีมนุษย์เคยทำได้จึงจะสามารถนำยานกลับมายังโลกได้ คือที่ระนะห่างจากด้านไกลของดวงจันทร์ 254 กิโลเมตร หรือห่างจากโลก 400,171 กิโลเมตร ซึ่งไม่รู้ว่าจะส่งผลอย่างไรต่อยายและลูกเรือ แต่หากไม่ทำเช่นนี้ ตัวยานจะพุ่งเฉียดโลกที่ระยะห่าง 4000 กิโลเมตร ซึ่งหมายความความลูกเรือทุกคนจะต้องปลิดชีพกลางอวกาศ แต่ท้ายที่สุดทุกคนก็ผ่านช่วงนี้มาได้ ทำให้ Apollo 13 ทำลายสถิติยานอวกาศที่มีมนุษย์ที่โคจรออกห่างจากโลกมากที่สุด

 

แต่ปัญหาก็ยังไม่หมดอีกเมื่อระบบระบายอากาศบนยานลงจอดมันถูกออกแบบมาสำหรับนักบินอวกาศ 2 คน ในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น แต่ในตอนนี้บนยานมีลูกเรือ 3 คน กับระยะเวลาเดินทางกลับโลก 3 วัน จงทำให้มีคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินขึ้นมา นั่นหมายความว่าตอนนี้อากาศที่พวกเขาหายใจเข้าไปมีคาร์บอนไดออกไซด์เกินขีดจำกัดที่ร่างกายจะรับได้ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาตะตายในอีกไม่นาน

 

ปัญหานี้ก็สร้างความปวดหัวให้กับทีมงานในห้องควบคุมไม่น้อย เพราะด้วยทรัพยากรบนยานที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงไม่รู้ว่าจะเอาอะไรมาใช้กรองคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินนี้ แต่ก็ยังโชคดีที่บนยานบังคับการมีกระบอกทรงลูกบาศก์อยู่ และมีช่องที่สามารถเข้ากับท่อระบายอากาศของยานได้พอดี ประกอบกับพวกเขามีถุงเท้าที่จะทำเป็นไส้กรอง และสก็อตเทปที่มีอยู่บนยาน สำหรับพันและติดกล่องทรงลูกบาศก์นี้กับท่อระบายอากาศ


ภาพลูกเรือกำลังใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดบนยาน ทำกล่องดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์

ซ้ำร้ายขึ้นมาอีก เมื่อ Fred W. Haise ดันป่วยเป็นหัดเยอรมันกลางอวกาศซะงั้น แต่ท้ายที่สุดทุกคนก็กลับสู่โลกอย่างปลอดภัยในวันที่ 17 เมษายน 1970 รวมระยะเวลาหกวัน


ภาพวินาทีที่ยานลงจอดอย่างปลอดภัยกลางมหาสมุทรแปซิฟิก

เหตุการณ์กู้ภัยครั้งนี้จึงนำไปสู่มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของยานอวกาศที่มีมนุษย์ในรุ่นต่อๆมา


ภาพจำลองยาน Apollo 13


ภาพความตรึงเครียดของทีมงานในห้องควบคุม

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
วีดีโอการกู้ภัยของทีมงาน จาก NASA

Credit : NASA
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่