วันที่ 20 ก.ค. 2567 ครบรอบ 55 ปี Apollo 11 ลงจอดบนดวงจันทร์
วันที่ 16 ก.ค. ค.ศ. 1969 จรวด Saturn V จรวดที่ทรงพลังที่สุดในขณะนั้น(ปัจจุบันถูกแซงหน้าด้วย จรวด Superheavy และยาน Starship ของ SpaceX) ได้ส่งยาน Apollo 11 พร้อมนักบินอวกาศ 3 คน ขึ้นสู่อวกาศ จากฐานปล่อย LC39-A ณ ศูนย์อวกาศเคเนดี แหลมแคนาเวอรอล รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา มุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ นักบินอวกาศ 3 คนประกอบไปด้วย
1. ผู้บังคับการ : นีล อาร์มสตรอง
2. นักบินประจำยานลงจอด : บัซ อัลดริน
3. นักบินประจำยานบังคับการ : ไมเคิล คอลลินส์
หลังจากปล่อยยาน ยาน Apollo ใช้เวลา 3 วัน จึงเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ คือในวันที่ 19 ก.ค. ค.ศ. 1969 ก่อนที่วันที่ 20 ก.ค. 2 นักบินอวกาศ คือ นีล อาร์มสตรอง และ บัซ อัลดริน ได้แยกตัวออกไปยังยาน Eagle(ยานลงจอด) เพื่อทำการแยกยานลงจอดออกจากยานบังคับการ หลังจากนั้นยาน Egle ก็ได้ทำการลงจอดบนดวงจันทร์ บริเวณ Mare Tranquillitatis (ทะเลแห่งความเงียบสงบ) เหลือแค่เพียง ไมเคิล คอลลินส์ ที่บังคับยานบังคับการอยู่บนวงโคจร
หลังจากลงจอด อาร์มสตรอง เป็นคนแรกที่ได้ก้าวเท้าลงเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ เขาก้าวเท้าลง ท่ามกลางบรรยากาศการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก พร้อมกับกล่าววลีเด็ดว่า
"That's one small step for man one giant leap for mankind"
ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า
"นี่เป็นก้าวเล็กๆของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ"
หลังจากนั้นตามมาด้วย บัซ อัลดริน
หลังจากนั้นตามมาด้วยการติดตั้งแผ่น Laser Ranging Retroreflector (LRR) ซึ่งเป็นแผ่นสะท้อนแสงเลเซอร์ เพื่อใช้ในการยิงเลเซอร์จากโลกไปกระทบจากนั้นตรวจจับการสะท้อนกลับเพื่อคำนวณหาระยะห่างจากโลกถึงดวงจันทร์ (เขียนข้อมูลนี้ชนกับนักทฤษฎีสมคบคิดสักหน่อย จะได้รู้ว่าตรวจสอบได้ว่า Apollo 11 ลงจอดจริง)
หลังจากนั้นวันที่ 21 ก.ค. นักบินทั้งสองก็ได้ขึ้นยาน Eagle พร้อมกับหินดวงจันทร์ 21.6 กิโลกรัม และบินจากพื้นผิวดวงจันทร์ เข้าเชื่อมต่อกับยานบังคับการ (แอบสงสาร ไมเคิล คอลลินส์ ที่ต้องอยู่คนเดียว 1 วันบนวงโคจร แถมต้องอยู่ด้านไกลของดวงจันทร์เป็นชั่วโมง โดยที่ขาดการติดต่อกับโลก ซึ่งถ้าเกิดข้อผิดพลาดขึ้นตอนนั้นจะไม่มีใครรู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น) ก่อนที่จะออกจากวงโคจรรอบดวงจันทร์ และลงจอดบนโลกในวันที่ 24 ก.ค. บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
ภาพ บัซ อัลดริน

ภาพรอยเท้าของอาร์มสตรอง
ภาพอุปกรณ์Laser Ranging Retroreflector (LRR) อุปกรณ์สะท้อนแสงเลเซอร์
Credit : NASA
ครบรอบ 55 ปี Apollo 11 ลงจอดบนดวงจันทร์ ประทับรอยเท้าแรกของ นีล อาร์มสตรอง
วันที่ 16 ก.ค. ค.ศ. 1969 จรวด Saturn V จรวดที่ทรงพลังที่สุดในขณะนั้น(ปัจจุบันถูกแซงหน้าด้วย จรวด Superheavy และยาน Starship ของ SpaceX) ได้ส่งยาน Apollo 11 พร้อมนักบินอวกาศ 3 คน ขึ้นสู่อวกาศ จากฐานปล่อย LC39-A ณ ศูนย์อวกาศเคเนดี แหลมแคนาเวอรอล รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา มุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ นักบินอวกาศ 3 คนประกอบไปด้วย
1. ผู้บังคับการ : นีล อาร์มสตรอง
2. นักบินประจำยานลงจอด : บัซ อัลดริน
3. นักบินประจำยานบังคับการ : ไมเคิล คอลลินส์
หลังจากปล่อยยาน ยาน Apollo ใช้เวลา 3 วัน จึงเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ คือในวันที่ 19 ก.ค. ค.ศ. 1969 ก่อนที่วันที่ 20 ก.ค. 2 นักบินอวกาศ คือ นีล อาร์มสตรอง และ บัซ อัลดริน ได้แยกตัวออกไปยังยาน Eagle(ยานลงจอด) เพื่อทำการแยกยานลงจอดออกจากยานบังคับการ หลังจากนั้นยาน Egle ก็ได้ทำการลงจอดบนดวงจันทร์ บริเวณ Mare Tranquillitatis (ทะเลแห่งความเงียบสงบ) เหลือแค่เพียง ไมเคิล คอลลินส์ ที่บังคับยานบังคับการอยู่บนวงโคจร
หลังจากลงจอด อาร์มสตรอง เป็นคนแรกที่ได้ก้าวเท้าลงเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ เขาก้าวเท้าลง ท่ามกลางบรรยากาศการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก พร้อมกับกล่าววลีเด็ดว่า
"That's one small step for man one giant leap for mankind"
ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า
"นี่เป็นก้าวเล็กๆของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ"
หลังจากนั้นตามมาด้วย บัซ อัลดริน
หลังจากนั้นตามมาด้วยการติดตั้งแผ่น Laser Ranging Retroreflector (LRR) ซึ่งเป็นแผ่นสะท้อนแสงเลเซอร์ เพื่อใช้ในการยิงเลเซอร์จากโลกไปกระทบจากนั้นตรวจจับการสะท้อนกลับเพื่อคำนวณหาระยะห่างจากโลกถึงดวงจันทร์ (เขียนข้อมูลนี้ชนกับนักทฤษฎีสมคบคิดสักหน่อย จะได้รู้ว่าตรวจสอบได้ว่า Apollo 11 ลงจอดจริง)
หลังจากนั้นวันที่ 21 ก.ค. นักบินทั้งสองก็ได้ขึ้นยาน Eagle พร้อมกับหินดวงจันทร์ 21.6 กิโลกรัม และบินจากพื้นผิวดวงจันทร์ เข้าเชื่อมต่อกับยานบังคับการ (แอบสงสาร ไมเคิล คอลลินส์ ที่ต้องอยู่คนเดียว 1 วันบนวงโคจร แถมต้องอยู่ด้านไกลของดวงจันทร์เป็นชั่วโมง โดยที่ขาดการติดต่อกับโลก ซึ่งถ้าเกิดข้อผิดพลาดขึ้นตอนนั้นจะไม่มีใครรู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น) ก่อนที่จะออกจากวงโคจรรอบดวงจันทร์ และลงจอดบนโลกในวันที่ 24 ก.ค. บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
ภาพ บัซ อัลดริน
ภาพรอยเท้าของอาร์มสตรอง
ภาพอุปกรณ์Laser Ranging Retroreflector (LRR) อุปกรณ์สะท้อนแสงเลเซอร์
Credit : NASA