เมื่อคืนที่ผ่านมา NASA ส่งยาน Europa Clipper ขึ้นสู่อวกาศแล้ว โดยมีเป้าหมายหลักคือสำรวจดวงจันทร์ Europa ของดาวพฤหัสบดี
สำหรับภารกิจนี้ตัวยานจะไม่ได้โคจรรอบดวงจันทร์ Europa แต่จะโคจรรอบดาวพฤหัสบดี แล้วทำการ Flyby ผ่านดวงจันทร์ Europa 42 ครั้งแทน โดยจะมีวงโคจรเป็นวงรี ตัดกับวงโคจรของดวงจันทร์ Callisto และ Ganymede และมีบางช่วงของวงโคจรทับซ้อนกับดวงจันทร์ Europa ซึ่งจะทำให้ตัวยาน Flyby ผ่าน ดวงจันทร์ Europa ได้ใกล้สุดถึง 25 กิโลเมตร
สาเหตุที่วงโคจรต้องเป็นแบบนี้เนื่องจากว่า ดาวพฤหัสบดีนั้นแผ่รังสีออกมา และวงโคจรของ ดวงจันทร์ Europa นั่น อยู่ในเขตรังสีของดาวพฤหัสบดี พอดี จึงต้องออกแบบวงโคจรให้ยาน โคจรรอบดาวพฤหัสบดี แล้ว Flyby ผ่านดวงจันทร์ Europa และให้มีช่วงของวงโคจรที่ยานโคจรออกห่างจากดาวพฤหัสบดีแทน เพื่อรักษาอุปกรณ์ให้รอดพ้นจากรังสีของดาวพฤหัสบดี และเพื่อลดสัญญาณรบกวนจากรังสีของดาวพฤหัสบดีในการที่ยานจะส่งข้อมูลกลับมายังโลก
ภาพแถบรังสีดาวพฤหัสบดีที่จำลองจากข้อมูลของยาน Juno ที่ส่งมา และเส้นสีขาวคือวงโคจรของยาน Juno
ภาพวงโคจรของ Europa Clipper รอบดาวพฤหัสบดี
ทั้งนี้ยาน Europa Clipper จะทำการ Flyby ผ่านดาวอังคาร ในวันที่ 1 มีนาคม 2025 นี้ ฉะนั้นแฟนๆทั้งหลายกาปฏิทินไว้เลย แล้วมารอดูภาพถ่ายจากดาวอังคารกัน
ข้อมูลจาก NASA
1.
https://www.nasa.gov/missions/nasas-juno-tunes-into-jovian-radio-triggered-by-jupiters-volcanic-moon-io/
2.
https://europa.nasa.gov/mission/about/
NASA ส่งยาน Europa Clipper ขึ้นสู่อวกาศแล้ว
สำหรับภารกิจนี้ตัวยานจะไม่ได้โคจรรอบดวงจันทร์ Europa แต่จะโคจรรอบดาวพฤหัสบดี แล้วทำการ Flyby ผ่านดวงจันทร์ Europa 42 ครั้งแทน โดยจะมีวงโคจรเป็นวงรี ตัดกับวงโคจรของดวงจันทร์ Callisto และ Ganymede และมีบางช่วงของวงโคจรทับซ้อนกับดวงจันทร์ Europa ซึ่งจะทำให้ตัวยาน Flyby ผ่าน ดวงจันทร์ Europa ได้ใกล้สุดถึง 25 กิโลเมตร
สาเหตุที่วงโคจรต้องเป็นแบบนี้เนื่องจากว่า ดาวพฤหัสบดีนั้นแผ่รังสีออกมา และวงโคจรของ ดวงจันทร์ Europa นั่น อยู่ในเขตรังสีของดาวพฤหัสบดี พอดี จึงต้องออกแบบวงโคจรให้ยาน โคจรรอบดาวพฤหัสบดี แล้ว Flyby ผ่านดวงจันทร์ Europa และให้มีช่วงของวงโคจรที่ยานโคจรออกห่างจากดาวพฤหัสบดีแทน เพื่อรักษาอุปกรณ์ให้รอดพ้นจากรังสีของดาวพฤหัสบดี และเพื่อลดสัญญาณรบกวนจากรังสีของดาวพฤหัสบดีในการที่ยานจะส่งข้อมูลกลับมายังโลก
ภาพแถบรังสีดาวพฤหัสบดีที่จำลองจากข้อมูลของยาน Juno ที่ส่งมา และเส้นสีขาวคือวงโคจรของยาน Juno
ภาพวงโคจรของ Europa Clipper รอบดาวพฤหัสบดี
ทั้งนี้ยาน Europa Clipper จะทำการ Flyby ผ่านดาวอังคาร ในวันที่ 1 มีนาคม 2025 นี้ ฉะนั้นแฟนๆทั้งหลายกาปฏิทินไว้เลย แล้วมารอดูภาพถ่ายจากดาวอังคารกัน
ข้อมูลจาก NASA
1.https://www.nasa.gov/missions/nasas-juno-tunes-into-jovian-radio-triggered-by-jupiters-volcanic-moon-io/
2.https://europa.nasa.gov/mission/about/