‘พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย’ จับสัญญาณ วิกฤตรัฐธรรมนูญปะทุ นับถอยหลังวิกฤตการเมืองรอบใหม่
https://www.matichon.co.th/politics/special-interview/news_1559676
ผู้เขียน วรวิทย์ ไชยทอง : armmatichon@gmail.com
หากมองการเมืองไทย จากแง่มุมกฎหมาย ดูเหมือน คสช. น่าจะหมดอำนาจลง หลังประเทศได้รัฐบาลใหม่ที่มาจากรัฐธรรมนูญ ปี 2560
แต่ในความเป็นจริงแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดขึ้นภายใต้บริบทการปกครองประเทศของ คสช. ที่เป็นผู้กำหนดตัวกรรมการยกร่าง ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วมในการเลือกตัวคณะกรรมการ มีเพียงการลงประชามติที่เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศการเมืองที่ถูกตั้งคำถามอย่างหนักเรื่องเสรีภาพ
คำถามที่น่าสนใจคือผลของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต่ออนาคตการเมืองไทยอย่างไร โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศกำลังจะมีรัฐบาลใหม่ มติชนออนไลน์ นำเรื่องนี้มาคุยกับ ผศ.ดร.
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย นักวิชาการด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ให้วิเคราะห์อนาคตของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รวมถึงผลกระทบของมันจากโครงสร้างอำนาจใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น
ผศ.ดร.
พรสันต์ วิเคราะห์อนาคตอันใกล้ของการเมืองไทย ฟันธงว่า หากมองผ่านกลไกรัฐธรรมนูญ ภาพที่จะเห็นหลังจากนี้ ความขัดแย้งทางการเมืองจะชัดเจนมากขึ้น มีการขยายตัวมากขึ้น รุนแรงมากขึ้น หลายคนอาจจะมองว่าขณะนี้การเมืองเป็นปกติแล้ว มีการเปิดสภา มีการถกเถียงกันไปมาของสองฝ่าย แต่ในความปกตินี้ มีความไม่ปกติซ่อนอยู่ เพราะการเมืองไทยยังอยู่ภายใต้ความขัดแย้งที่สั่งสมมากว่า 20 ปี และเริ่มที่จะสุกงอมมากขึ้น หลังจาก 5ปีที่ผ่านมา ถูกกดไว้ อะไรที่ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ก็เริ่มที่จะออกมาในช่วงหลังจากนี้
“ภาพที่เราจะเห็นจากนี้ ภายในฝ่ายนิติบัญญัติจะขัดแย้งกันเอง นอกจากเราจะเห็นภาพความขัดแย้งของฝ่ายค้าน กับฝ่ายรัฐบาลในระดับหนึ่งแล้ว แต่สิ่งที่จะเป็นประเด็นขัดแย้งสำคัญ นั่นคือวุฒิสภาในสภาวะ “ปลาสองน้ำ” สภาผู้แทนฯกับวุฒิสภา จะเริ่มขัดแย้งกัน ตอนเลือกนายกฯเราก็เริ่มเห็นภาพแล้ว ” ผศ.ดร.
พรสันต์ กล่าว
ส่วนความขัดแย้งของฝ่ายบริหารนั้น ผศ.ดร.
พรสันต์ ระบุว่า การที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะเข้าไปตรวจสอบรัฐบาลก็จะมีความเข้มข้นมากขึ้น ยกตัวอย่างกรณีที่น่าจับตาเช่นการผ่านพรบ.งบประมาณ การตั้งกระทู้ถาม หรือกรณีการอภิปรายตอนแถลงนโยบาย ก็น่าจะเข้มข้นดุเดือดแน่นอน รวมถึงกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็น่าจับตา เพราะรัฐบาลมีลักษณะเสียงปริ่มน้ำ แม้จะผ่านไปได้ รัฐบาลก็มีลักษณะสะบักสะบอมพอสมควร รวมถึงอาจจะได้เห็นบทบาททางการเมืองขององค์กรอิสระและศาล เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้องค์กรอิสระและศาลมีบทบาท เรื่องนี้ไม่ได้พูดไปเอง แต่ตัวอารัมภบทของรัฐธรรมนูญเขียนเจตนารมณ์ไว้ชัด ว่าต้องการให้องค์กรอิสระและตุลาการ เข้ามามีส่วนคลี่คลายวิกฤตการเมืองซึ่งจะเป็นประเด็นของความขัดแย้งครั้งใหม่ด้วย ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าการร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้อันตรายมากต่อตัวองค์กรอิสระ ศาล และกับตัวรัฐธรรมนูญเอง สุดท้ายก็อาจจะได้เห็นการใช้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาโต้แย้งกันเอาคืนกันที่ในทางวิชาการเรียกว่า “
Constitutional hardball” มีการยกประเด็นหลายๆประเด็น มีการตีความตอบโต้กัน ท้ายที่สุดหนีไม่พ้นการแก้รัฐธรรมนูญ หรือให้เปลี่ยนรัฐธรรมนูญในฐานะปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤติความขัดแย้ง
ผศ.ดร.
พรสันต์ อธิบายต่อว่า ในเรื่องปัญหาของรัฐธรรมนูญนั้น ตนเองเคยวิเคราะห์ไว้ว่าอายุของรัฐธรรมนูญน่าจะมีอายุราวๆไม่เกิน 3 ปี ปัจจุบัน ปี 2562 ก็ต้องยอมรับว่ามีเค้าลางของปัญหาอยู่ ว่าไม่น่าจะถึง 3 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันก็ยิ่งถูกโหมให้หนักและรุนแรงขึ้นส่วนหนึ่งก็มีปัจจัยมาจากรัฐธรรมนูญ ที่ทำให้ความขัดแย้งสุกงอมมากขึ้น
เมื่อถามว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะส่งผลอย่างไรต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลใหม่บ้าง ผศ.ดร.
พรสันต์ ระบุว่า รัฐธรรมนูญ 2560 อยู่ในสภาวะที่ร่อแร่มาก เพราะการที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้ว แต่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของสถาบันภายใต้รัฐธรรมนุญอย่างมากระหว่างองค์กรอิสระ ศาล และรัฐสภา สุดท้ายกลไกต่างๆทำงานได้ไม่เต็มที่หรือทำไม่ได้ ทำให้ให้การเมืองถึงทางตัน เหล่านี้คือวิกฤตรัฐธรรมนูญ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติม กระทั่งการยกเลิก สภาวะแบบนี้ไม่ใช่การเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันด่วน แต่เกิดจากการสั่งสม หากไปศึกษาระบบรัฐธรรมนูญทั่วโลกจะพบว่า มันเกิดจากการผุกร่อนหรือผุพังของระบอบรัฐธรรมนูญที่เชื่อมโยงไปกัดกร่อนความเป็นประชาธิปไตยของสังคมด้วย หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า
Constitutional Rot กล่าวคือระบอบรัฐธรรมนูญของไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญ ปี 2557 มันถูกกัดกร่อนความน่าเชื่อถือลงไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ลองย้อนดูเจตนารมณ์ผ่านอารัมภบทของรัฐธรรมนูญปี 2557 ก็จะพบโจทย์การพยายามเข้ามาแก้ปัญหาของ คสช. ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง การคอร์รัปชั่น ความขัดแย้ง และวิกฤตการเมือง แต่วันนี้สังคมล้วนตั้งคำถามว่า ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ทำสำเร็จหรือไม่
“ลองดูให้ดี ฝ่ายที่เคยสนับสนุนคสช. หรือคุณประยุทธ์เอง ก็เริ่มจะออกมาวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นด้วยซ้ำ ยิ่งใช้ม.44 ก็ยิ่งถูกวิจารณ์ เรื่องพวกนี้ยิ่งไปลดทอนความน่าเชื่อถือ ทำให้รัฐธรรมนูญผุกร่อน ความน่าเชื่อถือมันหมด” ผศ.ดร.
พรสันต์ กล่าว
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯท่านนี้ ยืนยันว่า สภาวะร่อแร่ที่เกิดขึ้น เกิดจากสภาวะวิกฤตความชอบธรรมทางรัฐธรรมนูญ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์มักอ้างอิงการทำตามกฎหมายอยู่เสมอ ส่วนตัวมองว่าการยิ่งอ้างแบบนี้ยิ่งเป็นการทำลายตัวรัฐธรรมนูญและระบบกฎหมายที่อยู่ภายใต้ระยะเวลาที่คสช.มีอำนาจ สังคมจึงเห็นภาพการอ้างรัฐธรรมนูญ กฎหมาย แต่การบังคับใช้กฎหมายกลับก่อให้เกิดผลที่สังคมตั้งข้อสงสัย คนก็ยิ่งไม่เห็นค่ารัฐธรรมนูญ ไม่เห็นค่าว่ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุด รู้สึกว่ารัฐธรรมนูญมันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา ไม่ได้ช่วยปราบโกงเหมือนที่พูดมา มีการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง คนกำลังมองว่ารัฐธรรมนูญฉบับบนี้เอื้อต่อการใข้อำนาจตามอำเภอใจซึ่งตามหลักวิชาเราเรียกกันว่า Abusive constitution รัฐธรรมนูญประเภทนี้ไม่ได้มุ่งจำกัดอำนาจเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เหล่านี้คือปัจจัยผุกร่อนความน่าเชื่อถือต่อรัฐธรรมนูญไทย
ผศ.ดร.
พรสันต์ พาย้อนกลับไปดูในมิติทางทฤษฎีถึงสัญญาณการผุกร่อนของระบอบรัฐธรรมนูญ ว่าสภาวะการณ์ 4 อย่างที่สำคัญ หากเกิดขึ้นแล้วย่อมสะท้อนว่าการผุกร่อนของระบอบรัฐธรรมนูญกำลังเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตยในสังคม
1.ประชาชนเริ่มไม่เชื่อมั่นระบอบการเมืองของประเทศ ไม่เคารพระบอบการเมือง
2.คนในสังคมเกิดสภาวะการมองบุคคลอื่นๆเป็นศัตรู ขั้วตรงข้าม สร้างการแบ่งแยกแบ่งฝ่ายทางการเมือง มองคนคิดต่างเป็นศัตรู หรือเหยียดหยามว่าไม่มีคุณค่าเท่าตัวเอง พร้อมที่จะทำลายเมื่อไหร่ก็ได้ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยนำสังคมไปสู่ทางตัน
3.สภาวะของสังคมที่สถานะของคนในสังคมไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ช่องว่างระหว่างคนรวยกับจนห่างกันมากขึ้น สิทธิทางการเมืองของคนไม่เท่ากัน เหล่านี้ก็เป็นส่วนที่เกิดมาจากความผุกร่อนของรัฐธรรมนูญ
4.การบริหาร และนโยบาย ที่ไม่ตอบโจทย์ ก่อให้เกิดความสงสัย หรือความไม่เชื่อมั่นในตัวรัฐบาล ประชาชนเริ่มรู้สึกว่าเสียงของตนเองไม่ได้ถูกรับฟังโดยรัฐ รู้สึกว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการปกครอง หรือของสังคม
สภาวะการทั้งหมดที่กล่าวมาจึงเกิดจากการใช้อำนาจโดยการอ้างอิงรัฐธรรมนูญแต่กลับสร้างความไม่พอใจให้กับสังคม และจะยิ่งสุกงอมมากขึ้น ไม่ใช่วิกฤตแค่ระดับสถาบันทางการเมืองที่ทำให้เกิดวิกฤตทางตันทางการเมือง ปัญหาต่างๆจึงสั่งสมมา 5 ปี ปัจจุบันสภาวะการแตกแยกทางสังคมยิ่งชัดเจน เป็นความน่ากลัวว่าจะนำไปสู่วิกฤตที่รุนแรง
ผศ.ดร.
พรสันต์ ยังเปรียบเทียบปรากฎการณ์การผุกร่อนของรัฐธรรมนูญในบริบทการเมืองไทยในแง่การเข้าสู่ตำแหน่งเพื่อใช้อำนาจของฝ่ายบริหารตามรัฐธรรมนูญ โดยจะเห็นว่าช่วงเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถูกลดทอนความน่าเชื่อถืออย่างหนัก เพราะการกำหนด กฎเกณ์ กติกาในระบบเลือกตั้ง โดยเฉพาะระบบจัดสรรปันส่วนผสม ที่มีเป้าหมายนับคะแนนของคนทุกคนให้มีความสำคัญ แต่ผลที่เกิดขึ้นของมันกลับตรงกันข้าม ค้านสายตาประชาชน หรือหลังจากการเลือกตั้ง ช่วงการพยายามจัดตั้งรัฐบาล พรรคที่ได้จำนวนส.ส.อันดับหนึ่ง กลับไม่มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล พรรคส.ส.อันดับสอง กลับสามารถชิงจัดตั้งรัฐบาลได้ เหล่านี้ทำให้สังคมตั้งคำถามอย่างหนัก
เมื่อถามว่าส่วนตัวมองว่าตรรกะหรือการตีความประเด็นใดที่รู้สึกผิดปกติมากที่สุดตั้งแต่รัฐธรรมนูญบังคับใช้เป็นต้นมาก ผศ.ดร.
พรสันต์ ใช้เวลาคิดเล็กน้อย ก่อนตอบกลับว่า จริงๆ มีหลายเรื่องมาก แต่หากถามเรื่องเลือกตั้ง ระบบจัดสรรปันส่วนผสมแบบไทยๆ น่าจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลก พร้อมยกตัวอย่างว่า ระบบเลือกตั้งมีเจตนารมณ์นับทุกคะแนนเสียง แต่กลับไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของคนหย่อนบัตรจริงๆ
“ถ้าสมมติมันเกินโควต้าแล้ว ผมเลือกพรรคนี้ แต่คุณเอาตัวคะแนนเสียงที่ผมโหวตพรรคนี้ไปให้พรรคอื่น เรื่องนี้เขาไม่ได้มองเจตนารมณ์ของคนลงคะแนนเสียง แต่เขามองเรื่องโควตาเต็มแล้ว เอาไปให้พรรคอื่น หรือเรื่องที่ตลกมากคือระบบนี้มันทำให้คุณเป็นส.ส.ได้แค่สามวัน” ผศ.ดร.
พรสันต์ กล่าว
ผศ.ดร.
พรสันต์ กล่าวต่อโดยยกตัวอย่างเรื่องนี้ว่า สมมติกกต.มีการแจกใบส้มกับพรรคที่มีโควต้าเต็มแล้ว มีการเลือกตั้งใหม่ จนส่งผลทำให้ มีการนำผลการเลือกตั้งไปคำนวณจำนวนส.ส.ใหม่หมด ก็จะทำให้ส.ส. มีการเลื่อนต่อไปอีก ส.ส.ที่เคยเป็นส.ส.มาก่อนก็จะถูกเบียดออกด้วยสภาวะแบบนี้
“คุณลองคิดดูว่า ปฎิญาณตนแล้ว เคยเข้าไปโหวตทำหน้าที่แล้ว อยู่ได้ 2 วัน 3 วัน พอวันรุ่งขึ้นไม่ได้เป็นส.ส.แล้ว เท่าที่ผมเคยศึกษา ผมยังไม่เคยเห็นระบบการเลือกตั้งแบบนี้ในโลก” ผศ.ดร.
พรสันต์ ระบุ
นอกจากแปลกแล้ว ในตัวของมันเองยังอันตราย นักวิชาการด้านรัฐธรรมนูญท่านนี้ อธิบายเรื่องนี้ต่อว่า แม้แต่เรื่องพรรคเล็กที่เข้ามาพรรคละ 1 คนนับสิบพรรคก็มีปัญหาเรื่องคะแนนเสียงไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเข้ามา อย่างไรก็ตามเมื่อเข้ามามีสถานะเป็นส.ส.แล้ว แต่สมาชิกภาพนี้มันอาจอยู่ได้ 3 วัน ไม่มีความหมายเลย ทั้งที่คนที่จะได้รับการแต่งตั้งรับรองเป็นส.ส.แล้ว ต้องมีความมั่นคงแน่นอน ต้องทำหน้าที่ได้ ตราบเท่าที่ไม่ได้กระทำความผิดหรือไม่มีการยุบสภา นี่คือหลักการและเป็นสิทธิ์ในฐานะส.ส. การต้องหลุดจากการเป็นส.ส.โดยไม่ได้ทำอะไรผิด เกิดมาจากบุคคลอื่นนี่คือการละเมิดสิทธิ์ของคนที่ถูกเพิกถอน และอนาคตถ้ามีการแจกใบส้มเลือกตั้งใหม่ ก็จะเลื่อนใหม่ เข้าๆออกๆอยู่อย่างนั้น เรื่องนี้ขัดหลักนิติธรรมด้วยซ้ำ เพราะมันไม่มีความชัดเจน และเปลี่ยนได้ตลอด
เมื่อถามว่าในอนาคตจะเกิดอะไรแบบนี้ขึ้นอีกไหม ผศ.ดร.พรสันต์ ระบุว่า เรื่องนี้อยู่ที่กกต. เป็นอำนาจของกกต. และเราปฏิเสธไม่ได้ด้วยว่า กกต.เองก็เลี่ยงไม่พ้นที่จะถูกสังคมตั้งคำถามและมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่ที่ยึดโยงกับกติกาเลือกตั้งที่ถูกตั้งคำถามนี้เช่นเดียวกัน
JJNY : ‘พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย’ จับสัญญาณ วิกฤตรัฐธรรมนูญปะทุ นับถอยหลังวิกฤตการเมืองรอบใหม่
https://www.matichon.co.th/politics/special-interview/news_1559676
ผู้เขียน วรวิทย์ ไชยทอง : armmatichon@gmail.com
หากมองการเมืองไทย จากแง่มุมกฎหมาย ดูเหมือน คสช. น่าจะหมดอำนาจลง หลังประเทศได้รัฐบาลใหม่ที่มาจากรัฐธรรมนูญ ปี 2560
แต่ในความเป็นจริงแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดขึ้นภายใต้บริบทการปกครองประเทศของ คสช. ที่เป็นผู้กำหนดตัวกรรมการยกร่าง ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วมในการเลือกตัวคณะกรรมการ มีเพียงการลงประชามติที่เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศการเมืองที่ถูกตั้งคำถามอย่างหนักเรื่องเสรีภาพ
คำถามที่น่าสนใจคือผลของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต่ออนาคตการเมืองไทยอย่างไร โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศกำลังจะมีรัฐบาลใหม่ มติชนออนไลน์ นำเรื่องนี้มาคุยกับ ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย นักวิชาการด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ให้วิเคราะห์อนาคตของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รวมถึงผลกระทบของมันจากโครงสร้างอำนาจใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น
ผศ.ดร.พรสันต์ วิเคราะห์อนาคตอันใกล้ของการเมืองไทย ฟันธงว่า หากมองผ่านกลไกรัฐธรรมนูญ ภาพที่จะเห็นหลังจากนี้ ความขัดแย้งทางการเมืองจะชัดเจนมากขึ้น มีการขยายตัวมากขึ้น รุนแรงมากขึ้น หลายคนอาจจะมองว่าขณะนี้การเมืองเป็นปกติแล้ว มีการเปิดสภา มีการถกเถียงกันไปมาของสองฝ่าย แต่ในความปกตินี้ มีความไม่ปกติซ่อนอยู่ เพราะการเมืองไทยยังอยู่ภายใต้ความขัดแย้งที่สั่งสมมากว่า 20 ปี และเริ่มที่จะสุกงอมมากขึ้น หลังจาก 5ปีที่ผ่านมา ถูกกดไว้ อะไรที่ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ก็เริ่มที่จะออกมาในช่วงหลังจากนี้
“ภาพที่เราจะเห็นจากนี้ ภายในฝ่ายนิติบัญญัติจะขัดแย้งกันเอง นอกจากเราจะเห็นภาพความขัดแย้งของฝ่ายค้าน กับฝ่ายรัฐบาลในระดับหนึ่งแล้ว แต่สิ่งที่จะเป็นประเด็นขัดแย้งสำคัญ นั่นคือวุฒิสภาในสภาวะ “ปลาสองน้ำ” สภาผู้แทนฯกับวุฒิสภา จะเริ่มขัดแย้งกัน ตอนเลือกนายกฯเราก็เริ่มเห็นภาพแล้ว ” ผศ.ดร.พรสันต์ กล่าว
ส่วนความขัดแย้งของฝ่ายบริหารนั้น ผศ.ดร.พรสันต์ ระบุว่า การที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะเข้าไปตรวจสอบรัฐบาลก็จะมีความเข้มข้นมากขึ้น ยกตัวอย่างกรณีที่น่าจับตาเช่นการผ่านพรบ.งบประมาณ การตั้งกระทู้ถาม หรือกรณีการอภิปรายตอนแถลงนโยบาย ก็น่าจะเข้มข้นดุเดือดแน่นอน รวมถึงกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็น่าจับตา เพราะรัฐบาลมีลักษณะเสียงปริ่มน้ำ แม้จะผ่านไปได้ รัฐบาลก็มีลักษณะสะบักสะบอมพอสมควร รวมถึงอาจจะได้เห็นบทบาททางการเมืองขององค์กรอิสระและศาล เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้องค์กรอิสระและศาลมีบทบาท เรื่องนี้ไม่ได้พูดไปเอง แต่ตัวอารัมภบทของรัฐธรรมนูญเขียนเจตนารมณ์ไว้ชัด ว่าต้องการให้องค์กรอิสระและตุลาการ เข้ามามีส่วนคลี่คลายวิกฤตการเมืองซึ่งจะเป็นประเด็นของความขัดแย้งครั้งใหม่ด้วย ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าการร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้อันตรายมากต่อตัวองค์กรอิสระ ศาล และกับตัวรัฐธรรมนูญเอง สุดท้ายก็อาจจะได้เห็นการใช้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาโต้แย้งกันเอาคืนกันที่ในทางวิชาการเรียกว่า “Constitutional hardball” มีการยกประเด็นหลายๆประเด็น มีการตีความตอบโต้กัน ท้ายที่สุดหนีไม่พ้นการแก้รัฐธรรมนูญ หรือให้เปลี่ยนรัฐธรรมนูญในฐานะปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤติความขัดแย้ง
ผศ.ดร.พรสันต์ อธิบายต่อว่า ในเรื่องปัญหาของรัฐธรรมนูญนั้น ตนเองเคยวิเคราะห์ไว้ว่าอายุของรัฐธรรมนูญน่าจะมีอายุราวๆไม่เกิน 3 ปี ปัจจุบัน ปี 2562 ก็ต้องยอมรับว่ามีเค้าลางของปัญหาอยู่ ว่าไม่น่าจะถึง 3 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันก็ยิ่งถูกโหมให้หนักและรุนแรงขึ้นส่วนหนึ่งก็มีปัจจัยมาจากรัฐธรรมนูญ ที่ทำให้ความขัดแย้งสุกงอมมากขึ้น
เมื่อถามว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะส่งผลอย่างไรต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลใหม่บ้าง ผศ.ดร.พรสันต์ ระบุว่า รัฐธรรมนูญ 2560 อยู่ในสภาวะที่ร่อแร่มาก เพราะการที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้ว แต่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของสถาบันภายใต้รัฐธรรมนุญอย่างมากระหว่างองค์กรอิสระ ศาล และรัฐสภา สุดท้ายกลไกต่างๆทำงานได้ไม่เต็มที่หรือทำไม่ได้ ทำให้ให้การเมืองถึงทางตัน เหล่านี้คือวิกฤตรัฐธรรมนูญ ที่จะนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติม กระทั่งการยกเลิก สภาวะแบบนี้ไม่ใช่การเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันด่วน แต่เกิดจากการสั่งสม หากไปศึกษาระบบรัฐธรรมนูญทั่วโลกจะพบว่า มันเกิดจากการผุกร่อนหรือผุพังของระบอบรัฐธรรมนูญที่เชื่อมโยงไปกัดกร่อนความเป็นประชาธิปไตยของสังคมด้วย หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Constitutional Rot กล่าวคือระบอบรัฐธรรมนูญของไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญ ปี 2557 มันถูกกัดกร่อนความน่าเชื่อถือลงไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ลองย้อนดูเจตนารมณ์ผ่านอารัมภบทของรัฐธรรมนูญปี 2557 ก็จะพบโจทย์การพยายามเข้ามาแก้ปัญหาของ คสช. ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง การคอร์รัปชั่น ความขัดแย้ง และวิกฤตการเมือง แต่วันนี้สังคมล้วนตั้งคำถามว่า ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ทำสำเร็จหรือไม่
“ลองดูให้ดี ฝ่ายที่เคยสนับสนุนคสช. หรือคุณประยุทธ์เอง ก็เริ่มจะออกมาวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นด้วยซ้ำ ยิ่งใช้ม.44 ก็ยิ่งถูกวิจารณ์ เรื่องพวกนี้ยิ่งไปลดทอนความน่าเชื่อถือ ทำให้รัฐธรรมนูญผุกร่อน ความน่าเชื่อถือมันหมด” ผศ.ดร.พรสันต์ กล่าว
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯท่านนี้ ยืนยันว่า สภาวะร่อแร่ที่เกิดขึ้น เกิดจากสภาวะวิกฤตความชอบธรรมทางรัฐธรรมนูญ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์มักอ้างอิงการทำตามกฎหมายอยู่เสมอ ส่วนตัวมองว่าการยิ่งอ้างแบบนี้ยิ่งเป็นการทำลายตัวรัฐธรรมนูญและระบบกฎหมายที่อยู่ภายใต้ระยะเวลาที่คสช.มีอำนาจ สังคมจึงเห็นภาพการอ้างรัฐธรรมนูญ กฎหมาย แต่การบังคับใช้กฎหมายกลับก่อให้เกิดผลที่สังคมตั้งข้อสงสัย คนก็ยิ่งไม่เห็นค่ารัฐธรรมนูญ ไม่เห็นค่าว่ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุด รู้สึกว่ารัฐธรรมนูญมันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา ไม่ได้ช่วยปราบโกงเหมือนที่พูดมา มีการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง คนกำลังมองว่ารัฐธรรมนูญฉบับบนี้เอื้อต่อการใข้อำนาจตามอำเภอใจซึ่งตามหลักวิชาเราเรียกกันว่า Abusive constitution รัฐธรรมนูญประเภทนี้ไม่ได้มุ่งจำกัดอำนาจเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เหล่านี้คือปัจจัยผุกร่อนความน่าเชื่อถือต่อรัฐธรรมนูญไทย
ผศ.ดร.พรสันต์ พาย้อนกลับไปดูในมิติทางทฤษฎีถึงสัญญาณการผุกร่อนของระบอบรัฐธรรมนูญ ว่าสภาวะการณ์ 4 อย่างที่สำคัญ หากเกิดขึ้นแล้วย่อมสะท้อนว่าการผุกร่อนของระบอบรัฐธรรมนูญกำลังเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตยในสังคม
1.ประชาชนเริ่มไม่เชื่อมั่นระบอบการเมืองของประเทศ ไม่เคารพระบอบการเมือง
2.คนในสังคมเกิดสภาวะการมองบุคคลอื่นๆเป็นศัตรู ขั้วตรงข้าม สร้างการแบ่งแยกแบ่งฝ่ายทางการเมือง มองคนคิดต่างเป็นศัตรู หรือเหยียดหยามว่าไม่มีคุณค่าเท่าตัวเอง พร้อมที่จะทำลายเมื่อไหร่ก็ได้ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยนำสังคมไปสู่ทางตัน
3.สภาวะของสังคมที่สถานะของคนในสังคมไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ช่องว่างระหว่างคนรวยกับจนห่างกันมากขึ้น สิทธิทางการเมืองของคนไม่เท่ากัน เหล่านี้ก็เป็นส่วนที่เกิดมาจากความผุกร่อนของรัฐธรรมนูญ
4.การบริหาร และนโยบาย ที่ไม่ตอบโจทย์ ก่อให้เกิดความสงสัย หรือความไม่เชื่อมั่นในตัวรัฐบาล ประชาชนเริ่มรู้สึกว่าเสียงของตนเองไม่ได้ถูกรับฟังโดยรัฐ รู้สึกว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการปกครอง หรือของสังคม
สภาวะการทั้งหมดที่กล่าวมาจึงเกิดจากการใช้อำนาจโดยการอ้างอิงรัฐธรรมนูญแต่กลับสร้างความไม่พอใจให้กับสังคม และจะยิ่งสุกงอมมากขึ้น ไม่ใช่วิกฤตแค่ระดับสถาบันทางการเมืองที่ทำให้เกิดวิกฤตทางตันทางการเมือง ปัญหาต่างๆจึงสั่งสมมา 5 ปี ปัจจุบันสภาวะการแตกแยกทางสังคมยิ่งชัดเจน เป็นความน่ากลัวว่าจะนำไปสู่วิกฤตที่รุนแรง
ผศ.ดร.พรสันต์ ยังเปรียบเทียบปรากฎการณ์การผุกร่อนของรัฐธรรมนูญในบริบทการเมืองไทยในแง่การเข้าสู่ตำแหน่งเพื่อใช้อำนาจของฝ่ายบริหารตามรัฐธรรมนูญ โดยจะเห็นว่าช่วงเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถูกลดทอนความน่าเชื่อถืออย่างหนัก เพราะการกำหนด กฎเกณ์ กติกาในระบบเลือกตั้ง โดยเฉพาะระบบจัดสรรปันส่วนผสม ที่มีเป้าหมายนับคะแนนของคนทุกคนให้มีความสำคัญ แต่ผลที่เกิดขึ้นของมันกลับตรงกันข้าม ค้านสายตาประชาชน หรือหลังจากการเลือกตั้ง ช่วงการพยายามจัดตั้งรัฐบาล พรรคที่ได้จำนวนส.ส.อันดับหนึ่ง กลับไม่มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล พรรคส.ส.อันดับสอง กลับสามารถชิงจัดตั้งรัฐบาลได้ เหล่านี้ทำให้สังคมตั้งคำถามอย่างหนัก
เมื่อถามว่าส่วนตัวมองว่าตรรกะหรือการตีความประเด็นใดที่รู้สึกผิดปกติมากที่สุดตั้งแต่รัฐธรรมนูญบังคับใช้เป็นต้นมาก ผศ.ดร.พรสันต์ ใช้เวลาคิดเล็กน้อย ก่อนตอบกลับว่า จริงๆ มีหลายเรื่องมาก แต่หากถามเรื่องเลือกตั้ง ระบบจัดสรรปันส่วนผสมแบบไทยๆ น่าจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลก พร้อมยกตัวอย่างว่า ระบบเลือกตั้งมีเจตนารมณ์นับทุกคะแนนเสียง แต่กลับไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของคนหย่อนบัตรจริงๆ
“ถ้าสมมติมันเกินโควต้าแล้ว ผมเลือกพรรคนี้ แต่คุณเอาตัวคะแนนเสียงที่ผมโหวตพรรคนี้ไปให้พรรคอื่น เรื่องนี้เขาไม่ได้มองเจตนารมณ์ของคนลงคะแนนเสียง แต่เขามองเรื่องโควตาเต็มแล้ว เอาไปให้พรรคอื่น หรือเรื่องที่ตลกมากคือระบบนี้มันทำให้คุณเป็นส.ส.ได้แค่สามวัน” ผศ.ดร.พรสันต์ กล่าว
ผศ.ดร.พรสันต์ กล่าวต่อโดยยกตัวอย่างเรื่องนี้ว่า สมมติกกต.มีการแจกใบส้มกับพรรคที่มีโควต้าเต็มแล้ว มีการเลือกตั้งใหม่ จนส่งผลทำให้ มีการนำผลการเลือกตั้งไปคำนวณจำนวนส.ส.ใหม่หมด ก็จะทำให้ส.ส. มีการเลื่อนต่อไปอีก ส.ส.ที่เคยเป็นส.ส.มาก่อนก็จะถูกเบียดออกด้วยสภาวะแบบนี้
“คุณลองคิดดูว่า ปฎิญาณตนแล้ว เคยเข้าไปโหวตทำหน้าที่แล้ว อยู่ได้ 2 วัน 3 วัน พอวันรุ่งขึ้นไม่ได้เป็นส.ส.แล้ว เท่าที่ผมเคยศึกษา ผมยังไม่เคยเห็นระบบการเลือกตั้งแบบนี้ในโลก” ผศ.ดร.พรสันต์ ระบุ
นอกจากแปลกแล้ว ในตัวของมันเองยังอันตราย นักวิชาการด้านรัฐธรรมนูญท่านนี้ อธิบายเรื่องนี้ต่อว่า แม้แต่เรื่องพรรคเล็กที่เข้ามาพรรคละ 1 คนนับสิบพรรคก็มีปัญหาเรื่องคะแนนเสียงไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเข้ามา อย่างไรก็ตามเมื่อเข้ามามีสถานะเป็นส.ส.แล้ว แต่สมาชิกภาพนี้มันอาจอยู่ได้ 3 วัน ไม่มีความหมายเลย ทั้งที่คนที่จะได้รับการแต่งตั้งรับรองเป็นส.ส.แล้ว ต้องมีความมั่นคงแน่นอน ต้องทำหน้าที่ได้ ตราบเท่าที่ไม่ได้กระทำความผิดหรือไม่มีการยุบสภา นี่คือหลักการและเป็นสิทธิ์ในฐานะส.ส. การต้องหลุดจากการเป็นส.ส.โดยไม่ได้ทำอะไรผิด เกิดมาจากบุคคลอื่นนี่คือการละเมิดสิทธิ์ของคนที่ถูกเพิกถอน และอนาคตถ้ามีการแจกใบส้มเลือกตั้งใหม่ ก็จะเลื่อนใหม่ เข้าๆออกๆอยู่อย่างนั้น เรื่องนี้ขัดหลักนิติธรรมด้วยซ้ำ เพราะมันไม่มีความชัดเจน และเปลี่ยนได้ตลอด
เมื่อถามว่าในอนาคตจะเกิดอะไรแบบนี้ขึ้นอีกไหม ผศ.ดร.พรสันต์ ระบุว่า เรื่องนี้อยู่ที่กกต. เป็นอำนาจของกกต. และเราปฏิเสธไม่ได้ด้วยว่า กกต.เองก็เลี่ยงไม่พ้นที่จะถูกสังคมตั้งคำถามและมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่ที่ยึดโยงกับกติกาเลือกตั้งที่ถูกตั้งคำถามนี้เช่นเดียวกัน