เมื่อ "ส.ส.พรรคประชาชาติ" โดยนาย วันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เสนอญัตติด่วนถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา ติดตาม และตรวจสอบโครงการนี้ ให้ชะลอการลงนามกับกลุ่มซีพี
แค่ข้อมูลที่จะมาตรวจสอบก็ผิดแล้ว
1. โครงการเชิงพาณิชย์ที่อยู่ในโครงการนี้ บนเนื้อที่มากถึง 850 ไร่ที่ ร.ฟ.ท.ต้องส่งมอบให้ภาคเอกชน
- ที่ดินที่จะเอามาพัฒนาเชิงพาณิชย์ มีแค่ที่ดินมักกะสัน จำนวน 150 ไร่ พื้นที่รอบสถานีศรีราชา 25 ไร่
ส่วนตัวเลข 850 ไร่ คือ พื้นที่ๆ ที่จะเวนคืนเพิ่ม นอกเหนือจากพื้นที่รอบรางรถไฟ
2. การกำหนดให้รถไฟความเร็วสูง ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นไปไม่ได้ เพราะรถไฟต้องจอดรับผู้โดยสารตามจุดต่างๆ มีสถานีระหว่างทางไปสนามบินอู่ตะเภามากถึง 30 สถานี
- สำหรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) จะมีทั้งหมด 15 สถานี ประกอบด้วย สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีพญาไท สถานีราชปรารภ สถานีมักกะสัน สถานี รามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีทับช้าง สถานีลาดกระบัง สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา
โดยจะใช้ความเร็วช่วงดอนเมืองถึงสุวรรณภูมิสูงสุดที่ 160 กม./ชม. และจากสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาสูงสุดที่ 250 กม./ชม.
ถ้าเรื่องแค่นี้ท่านยังให้ข้อมูลผิด เพื่ออะไร ???
โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งกลุ่มซีพีชนะการประมูล ถูกเสนอเข้าตรวจสอบในเวทีสภา หลัง ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้านชงญัตติด่วนถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา ติดตาม และตรวจสอบโครงการนี้ ขณะที่โครงการเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งกลุ่มซีพียื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกฯนั้น ศาลปกครองใกล้จะมีคำพิพากษาคดีนี้แล้ว
ส.ส.พรรคประชาชาติ เห็นว่า โครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานราชการ และประชาชนจำนวนมาก จึงมีความห่วงใยในประเด็นต่างๆ ทั้งเรื่องความคุ้มค่าของโครงการกับงบประมาณแผ่นดินที่ต้องสูญเสียไป รวมทั้งความกังวลของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ซึ่งเกรงว่าจะได้รับความเสียหายด้านการซ่อมบำรุง และที่ดินโรงงานมักกะสันหรือไม่
นอกจากนั้นยังมีความกังวลต่อโครงการเชิงพาณิชย์ที่อยู่ในโครงการนี้ บนเนื้อที่มากถึง 850 ไร่ที่ ร.ฟ.ท.ต้องส่งมอบให้ภาคเอกชน
พรรคประชาชาติ จึงเสนอให้รัฐบาลชะลอการลงนามในสัญญาโครงการนี้ไว้ก่อน จนกว่าจะได้มีการศึกษาเรื่องนี้แล้วเสร็จ
การเสนอญัตติในเรื่องนี้มี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ลงนาม โดยนายวันมูหะมัดนอร์ มีข้อมูลที่เป็นข้อสังเกตทางเทคนิคของโครงการ โดยเฉพาะการกำหนดให้รถไฟความเร็วสูง ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในความเป็นจริงมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เพราะรถไฟต้องจอดรับผู้โดยสารตามจุดต่างๆ มีสถานีระหว่างทางไปสนามบินอู่ตะเภามากถึง 30 สถานี
ขณะที่ ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ กำหนดความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งๆ ที่ต้องวิ่งผ่านเมืองหลวง ขณะที่ราคาค่าโดยสารก็น่าจะแพงจนประชาชนทั่วไปไม่สามารถใช้บริการได้
นอกจากนั้น ยังมีประเด็นการขยายโครงการมาใช้ที่ดินย่านมักกะสัน โดยให้กลุ่มทุนเช่าที่ดินได้นานถึง 99 ปี และมีข่าวว่ากลุ่มทุนไทยจะมอบให้ต่างชาติเป็นผู้ดำเนินการด้วย
ส่วนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก วงเงิน 2.9 แสนล้านบาท ซึ่งกลุ่มซีพียื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ ต่อศาลปกครองกลาง และศาลมีคำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง เพราะยังไม่เห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยศาลเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ที่มีมติไม่รับซองประมูลบางส่วนของกลุ่มซีพี เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นไปตามข้อกำหนดในเอกสารการคัดเลือกเอกชน ขณะที่กลุ่มซีพียื่นซองข้อเสนอบางส่วนเลยเวลาที่กำหนดไป 9 นาทีจริง
ล่าสุด มีรายงานจากศาลปกครองกลางว่า ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยื่นคำร้องเพิ่มเติม และเจ้าพนักงานคดีได้รายงานความเคลื่อนไหวของคดีให้คู่ความทราบว่า คดีนี้ศาลได้มีคำสั่งรับฟ้องไว้แล้ว และศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากคำฟ้อง รวมทั้งคำชี้แจงของคู่กรณีในชั้นไต่สวน ตลอดจนข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานต่างๆ ในสำนวน เห็นว่าคดีมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลจะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งได้แล้ว โดยไม่ต้องดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงตามขั้นตอนอื่นที่กฎหมายกำหนดอีก
สรุปก็คือ ศาลปกครองกลางเตรียมจะอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนี้แล้ว คาดว่าจะมีการประกาศนัดวันอ่านคำพิพากษาในเร็วๆนี้
ที่มา : Nation TV 22
EEC - เมื่อรถไฟความเร็วสูงกำลังจะเป็นประเด็นทางการเมือง
- ที่ดินที่จะเอามาพัฒนาเชิงพาณิชย์ มีแค่ที่ดินมักกะสัน จำนวน 150 ไร่ พื้นที่รอบสถานีศรีราชา 25 ไร่
ส่วนตัวเลข 850 ไร่ คือ พื้นที่ๆ ที่จะเวนคืนเพิ่ม นอกเหนือจากพื้นที่รอบรางรถไฟ
2. การกำหนดให้รถไฟความเร็วสูง ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นไปไม่ได้ เพราะรถไฟต้องจอดรับผู้โดยสารตามจุดต่างๆ มีสถานีระหว่างทางไปสนามบินอู่ตะเภามากถึง 30 สถานี
- สำหรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) จะมีทั้งหมด 15 สถานี ประกอบด้วย สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีพญาไท สถานีราชปรารภ สถานีมักกะสัน สถานี รามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีทับช้าง สถานีลาดกระบัง สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา
โดยจะใช้ความเร็วช่วงดอนเมืองถึงสุวรรณภูมิสูงสุดที่ 160 กม./ชม. และจากสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาสูงสุดที่ 250 กม./ชม.