อู่ตะเภา เป็น"คู่แข่ง" ของสุวรรณภูมิ ได้จริงหรือ?

อู่ตะเภา เป็น"คู่แข่ง" ของสุวรรณภูมิ ได้จริงหรือ?


เชื่อว่าหลายท่านที่ตามข่าวเกี่ยวกับการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาคงเกิดข้อสงสัยอยู่บ้าง จะทำสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินแห่งที่ 3 ของกรุงเทพ (ทั้งๆที่อยู่ห่างจากกรุงเทพเป็นร้อยกิโล เนี่ยนะ !!!) หรือตั้งเป้ารับผู้โดยสารได้ถึง 60 ล้านคนต่อปี (ใครจะมาใช้???)
.
ล่าสุดมีข่าวสภาพัฒน์สั่งเบรก เทอร์มินอลที่ 2 ของสนามบินสุวรรณภูมิ โดยให้เหตุผลว่า "หากทุ่มพัฒนาสุวรรณภูมินอกเหนือแผนแม่บท นอกจากจะแออัด ยังทำให้อู่ตะเภาไม่เกิดด้วย" https://www.prachachat.net/property/news-342855
.
มาถึงตรงนี้หลายท่านคงสงสัยว่า อู่ตะเภาที่อยู่ห่างจากกรุงเทพเป็นร้อยกิโล จะมาแข่งกับ สุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ห่างใจกลางกรุงเทพไม่กี่สิบกิโลได้ไง?
.
คำตอบคือ ต้องโฟกัสที่เวลา ไม่ใช่ระยะทาง ด้วยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะทำให้ใช้เวลาเดินทางจากอู่ตะเภา มายังกรุงเทพ เพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งโมเดลการพัฒนาลักษณะนี้ คล้ายๆกับสนามบินนาริตะของญี่ปุ่นที่สร้างมารองรับผู้โดยสารแบ่งมาจากสนามบินฮาเนดะ
.
ด้วยความที่อยู่นอกเมือง ทำให้สามารถพัฒนาสนามบินขึ้นได้ง่ายกว่า สร้างผลกระทบต่อพื้นที่รอบสนามบินน้อยกว่า มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาที่ถูกกว่า เช่นการจะสร้างรันเวย์เพิ่มของสุวรรณภูมิ จะต้องจ่ายค่าชดเชยผลกระทบด้านเสียงจำนวนมาก แต่อู่ตะเภาที่มีรันเวย์ด้านหนึ่งหันออกสู่ทะเล ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบน้อยกว่ามาก
.
นอกจากนี้ การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อเป็นสนามบินแห่งที่ 3 ของกรุงเทพเท่านั้น แต่ยังมีจุดประสงค์สำคัญอีก 2 ประการคือ 
.
1.เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงอากาศยานของภูมิภาค (ซึ่งสุวรรณภูมิไม่เหลือพื้นที่พอให้ทำได้ และไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตที่เอื้อให้เกิดอุตสาหกรรมได้แบบ EEC)
- โดยให้การบินไทยจับมือกับแอร์บัส เพื่อตั้งศูนย์ MRO ขึ้นที่อู่ตะเภา ซึ่งจะทำให้เกิดอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องตามมาอีกมากมาย เช่น อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ต่างๆของอากาศยาน บนพื้นที่ EEC ซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานต่างๆรวมทั้งแหล่งอุตสาหกรรมเดิมที่เอื้อให้เกิดการต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ที่เป็นข้อได้เปรียบเหนือประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามที่ค่าแรงถูกแต่ยังไม่สามารถรองรับอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงได้เท่าไทย
- ปัจจุบันสิงคโปร์เป็นผู้นำอุตสาหกรรมการบินของอาเซียน อย่างไรก็ตามด้วยพื้นที่ที่จำกัด และมีค่าใช้จ่ายสูง เปิดโอกาสให้ไทยเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมด้านนี้ซึ่งไทยเรามีพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมได้มากกว่า 
.
2.การสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ EEC กระจายความเจริญออกจากกรุงเทพ
- จะมีการสร้างเมืองใหม่โดยอิงหลัก Aeropolis หรือ มหานครการบิน โดยมีโมเดลการพัฒนาคือสนามบินเจิ้งโจว ซึ่งท่านสมคิดได้บินไปเซ็น MOU ฉบับสำคัญเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/833106)
.
ดังนั้นถึงแม้ว่าสนามบินอู่ตะเภาจะเหมือนเป็นคู่แข่งกับสนามบินสุวรรณภูมิอยู่บ้างในช่วงแรกๆ แต่เมื่อโครงการพัฒนาต่างๆในเขต EEC เริ่มเห็นผล อู่ตะเภาจะมีความต้องการเดินทางในพื้นที่ EEC เพิ่มขึ้น และการเกิดขึ้นของสนามบินอู่ตะเภาก็เป็นโครงการสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ EEC เช่นกัน
.
วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลโดยทีมงาน Thailand Development Report

/////////////////////////////////////////// 

ที่มา: https://www.facebook.com/1233859410089681/photos/a.1289629471179341/1484234541718832/?type=3&__tn__=H-R 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่