มีหลายท่านรีวิวหนังเรื่องนี้กันไปเยอะแล้ว เราอยากจะพูดในส่วนข้อคิดจากหนัง..
เรารอคอยทอย4 แม้ทอย 3 จะจบได้ซึ้งใจมากก็ตาม แต่เราก็อยากดูทอยไปเรื่อยๆ ไม่เบื่อ55 จากการดูทอย 4 ข้อคิดที่เราได้เราว่าหนังเรื่องนี้กำลังบอกให้เรา...
1.ไม่ควรยึดติดกับใครหรือสิ่งใดมากจนเกินไป
เพราะคนเราหรือสถานการณ์ต่างๆ ย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา การที่วูดดี้ยึดติดกับแอนดี้ หรือบอนนี่ สุดท้ายคนที่เจ็บปวดคือตัววูดดี้เอง เพราะแอนดี้และบอนนี่ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา สิ่งที่จะทำให้วูดดี้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ คือ การปล่อยวาง ไม่ยึดติดตัวเองกับคนอื่นจนเกินไป
2.การออกจาก Safe Zone หรือ Comfort Zone บางครั้งกลับทำให้เราค้นพบตัวตนของเรา
วูดดี้มองว่าการอยู่บ้านกับเด็กๆ การอยู่ท่ามกลางของเล่นเพื่อนๆ ของเขา คือ โซนที่ปลอดภัยสำหรับตัวเขา ทำให้เขาไม่กล้าที่จะออกไปโลกกว้าง เพราะคิดว่ามันอันตราย แต่เมื่อเขาได้ออกจาก Comfort Zone เพราะโบพีพ เป็นคนจุดประกาย เขากลับพบว่าโลกนี้ยังมีอะไรอีกมากมายที่รอเขาอยู่ และโลกทั้งใบไม่ได้มี้เพียงเด็กคนใดคนหนึ่งที่เขายึดติด แต่ความจริงแล้วยังมีเด็กอีกมากมายข้างนอก และของเล่นอีกมากที่ต้องการความช่วยเหลือ การออกมาจากจุดที่เขาคิดว่าปลอดภัยที่สุดกลับทำให้เขาค้นพบตัวตนและความสามารถของตัว้เองและค้นพบโอกาสในการช่วยเหลือผู้อื่นได้ ซึ่งมันก็ตรงกับตัวตนของวูดดี้ที่ชอบช่วยเหลือคนอื่น ถ้าเขายังอยู่แต่ในบ้านบอนนี่ เขาอาจจะต้องอยู่ในตู้ไปตลอดก็เป็นได้ หนังจึงให้แง่คิดว่าบางที่การก้าวออกมาจาก Comfort Zone มันอาจจะยากในตอนเริ่มต้น แต่เมื่อเราก้าวออกมาได้แล้วบางทีมันอาจนำไปสู่การค้นพบตัวตนและความสามารถด้านอื่นของเราในที่สุด
3.เราไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำเสมอไป บางครั้งเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ตามบางก็ดี
ปกติเราจะเห็นวูดดี้เป็นผู้นำของบรรดาของเล่น เขามักอยากให้ของเล่นตัวอื่นทำตามที่เขาคิด จนบางครั้งเขาลืมไปว่าแต่ละคนก็ต่างมีชีวิตและความคิดของตัวเอง เราจะไปนำหรือ control ทุกคนในทุกๆเรื่องนั้นคงไม่ได้ ในขณะที่โบพีพ ได้พัฒนาตัวเองจนแข็งแกร่ง วูดดี้ที่ได้กลับมาพบกับโบอีกครั้ง เขายังคงวางตัวเป็นผู้นำ แต่โบบอกให้เขาทำตามที่เธอบอก วูดดี้กลับรั้นไม่ฟัง จนสุดท้ายความรั้นไม่ยอมเป็นผู้ตามของเขาเป็นสาเหตุให้ของเล่นตัวอื่นบาดเจ็บ แสดงให้เห็นว่าบางครั้งคนที่เป็นผู้นำมาตลอดก็ต้องลดบทบาทเป็นผู้ตามบ้าง เพราะความเป็นจริงคนเราไม่ได้เก่งไปเสียทุกเรื่อง บางเรื่องคนที่เขาเคยเป็นผู้ตามเรา เขาอาจเก่งกว่าเราก็ได้ หรือการที่วูดดี้พยายามจะ control ของเล่นในบ้านบอนนี่ตามความเคยชินที่เขาทำกับของเล่นแอนดี้ แม้จะทำเพราะหวังดี แต่ของเล่นของบอนนี่รู้จักนิสัยบอนนี่ดีกว่าวูดดี้ การทำตัวเป็นผู้นำ แต่ผิดที่ ผิดเวลา ก็ย่อมไร้ผล เพราะไม่มีใครอยากทำตาม ดังนั้น การพยายาม control ความคิดคนอื่น สุดท้ายถ้าเขาไม่ทำตามที่เราบอก คนที่ทุกข์ก็คือเราเอง
4. อย่าตัดสินคุณค่าคนอื่นหรือตนเองเพียงรูปลักษณ์หรือสิ่งต่างๆ จากภายนอก
ฟอร์กกี้ผู้เป็นส้อมพลาสติกถูกนำมาจากถังขยะแล้วกลายเป็นของเล่นที่บอนนี่ให้ความรักมากที่สุด คนอื่นอาจมองว่าฟอร์กกี้เป็นแค่ขยะแม้กระทั่งตัวฟอร์กกี้เองยังตีค่าตัวเองเป็นเพียงขยะ แต่บอนนี่กลับรักฟอร์กกี้มากที่สุด เพราะเขาคือคนที่อยู่กับบอนนี่ในวันที่เธอหวาดกลัวการไปโรงเรียน ฟอร์กกี้ที่ดูภายนอกไม่มีค่าอะไร กลับมีความหมายอย่างมากมายต่อเด็กน้อยคนหนึ่ง ดังนั้น เราไม่ควรตัดสินคนเพียงแค่เปลือกนอก เพราะนั่นไม่ใช่คุณค่าที่แท้จริงของคนๆนั้น หรือแก๊บบี้ ตุ๊กตาหญิงที่อยากมีกล่องเสียง เพราะอยากให้เด็กเล่นกับตน อยากได้ความรักจากเด็กๆ แต่สุดท้ายแม้เธอจะได้กล่องเสียงสมใจอยาก แต่เด็กฮาร์โมนี่ กลับไม่อยากเล่นกลับเธอ และโยนเธอทิ้ง นั่นแสดงให้เห็นว่ากล่องเสียง เทียบได้กับเปลือกนอกที่ฉาบผู้คนไว้ มันไม่ได้แสดงถึงคุณค่าที่แท้จริงของคนๆนั้นหรอก แม้แก๊บบี้จะมีกล่องเสียง แต่ฮาร์โมนี่ก็ไม่ได้ให้คุณค่าอะไรกับสิ่งนั้นเลย เพราะฉะนั้นนี่หมายถึงว่าการตีคุณค่าและความหมายของคนแต่ละคนนั้นต่างกัน การที่แก๊บบี้ยึดติดกับรูปลักษณ์กล่องเสียงนั้นไม่ใช่สิ่งที่ฮาร์โมนี่ต้องการ ในขณะที่เด็กผู้หลงทางกับพ่อแม่ในสวนสนุกคนหนึ่ง เลือกที่จะหยิบเเก็บบี้มาอุ้มและพาเธอกลับบ้าน ไม่ใช่เพราะกล่องเสียง แต่เป็นเพราะเด็กหลงทางมองเห็นคุณค่าของแก็บบี้ เพราะเธอคือเพื่อนเพียงหนึ่งเดียงในตอนนั้นที่เด็กหลงทางคนนั้นจะมีได้ ไม่ว่าแก๊บบี้จะมีหรือไม่มีกล่องเสียง เด็กคนนั้นก็ต้องการแก็บบี้อยู่ดี เพราะสำหรับบางคนคุณค่าของสิ่งต่างๆมันไม่ได้อยู่ที่ภายนอก แต่มันคือคุณค่าจากภายในตัวของคนๆนั้น หรือความดีจากภายในของคนๆนั้นเองต่างหากที่จะบอกได้ว่าใครมีคุณค่าหรือไม่
5.ฟังเสียงใจตนเองบ้าง แล้วทำตามฝันของตัวเอง
วูดดี้มักจะคิด ตัดสินใจ และลงมือทำเพื่อคนอื่นเสมอๆ จนบางครั้งเขาก็คงลืมความต้องการของตัวเองไป ลืมฟังเสียงใจของตัวเอง เหมือนคนที่แบกภาระไว้มากมาย บางครั้งภาระที่หนักอึ้งมันก็ทำให้เราลืมให้ความสำคัญกับตัวเองไปเหมือนกัน หนังไม่ได้บอกให้เราทิ้งหน้าที่หรือภาระไป แต่หนังบอกให้เราฟังเสียงใจตัวเองบ้าง ทำเพื่อตัวเองบ้าง ในเมื่อมันไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ก็ทำเพื่อตัวเองบ้างเถอะ คิดว่าหนังต้องการสื่อแบบนี้ วูดดี้ที่บรรลุภารกิจและหน้าที่กับเพื่อนเก่าแล้ว สุดท้ายเขาได้ฟังเสียงใจตัวเอง และออกไปผจญภัยโลกกว้างกับโบ คนที่เขารัก และนั่นทำให้เขามีความสุขจริงๆ กับการตัดสินใจเพื่อตัวเองหลังจากที่ทำเพื่อคนอื่นมานาน แต่วูดดี้ไม่ได้รู้สึกเสียใจที่ตัดสินใจแบบนั้น รวมทั้งบัซและเพื่อนเก่าก็ไม่ได้ต่อว่าวูดดี้ เพราะวูดดี้ได้ทำหน้าที่ของเขาอย่างเต็มที่แล้วนั่นเอง หนังอยากจะบอกเราว่า ถ้าเราได้ทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่แล้ว และเราได้ทำเพื่อคนอื่นพอแล้ว เราก็อย่าลืมทำเพื่อตัวเองบ้าง พูดอีกอย่างก็คือ ทำเพื่อคนอื่นแล้วก็อย่าลืมทำเพื่อคนอีกคนที่สำคัญมากๆก็คือ ตัวเราเองนี่ล่ะ
อันนี้เป็นการเขียนตามมุมมองของเราเอง ที่จริงหนังสอดแทรกอะไรเยอะมาก ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองมันแบบไหน...
สุดท้ายอยากบอกว่า สำหรับทอยสตอรี่ มันมากกว่าความรัก แต่มันคือความผูกพันใน 25 ปีที่ผ่านมา...^^
ขอบคุณที่สร้างสิ่งดีๆให้คนดูนะ
ข้อคิดที่ได้จาก Toy Story 4
เรารอคอยทอย4 แม้ทอย 3 จะจบได้ซึ้งใจมากก็ตาม แต่เราก็อยากดูทอยไปเรื่อยๆ ไม่เบื่อ55 จากการดูทอย 4 ข้อคิดที่เราได้เราว่าหนังเรื่องนี้กำลังบอกให้เรา...
1.ไม่ควรยึดติดกับใครหรือสิ่งใดมากจนเกินไป
เพราะคนเราหรือสถานการณ์ต่างๆ ย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา การที่วูดดี้ยึดติดกับแอนดี้ หรือบอนนี่ สุดท้ายคนที่เจ็บปวดคือตัววูดดี้เอง เพราะแอนดี้และบอนนี่ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา สิ่งที่จะทำให้วูดดี้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ คือ การปล่อยวาง ไม่ยึดติดตัวเองกับคนอื่นจนเกินไป
2.การออกจาก Safe Zone หรือ Comfort Zone บางครั้งกลับทำให้เราค้นพบตัวตนของเรา
วูดดี้มองว่าการอยู่บ้านกับเด็กๆ การอยู่ท่ามกลางของเล่นเพื่อนๆ ของเขา คือ โซนที่ปลอดภัยสำหรับตัวเขา ทำให้เขาไม่กล้าที่จะออกไปโลกกว้าง เพราะคิดว่ามันอันตราย แต่เมื่อเขาได้ออกจาก Comfort Zone เพราะโบพีพ เป็นคนจุดประกาย เขากลับพบว่าโลกนี้ยังมีอะไรอีกมากมายที่รอเขาอยู่ และโลกทั้งใบไม่ได้มี้เพียงเด็กคนใดคนหนึ่งที่เขายึดติด แต่ความจริงแล้วยังมีเด็กอีกมากมายข้างนอก และของเล่นอีกมากที่ต้องการความช่วยเหลือ การออกมาจากจุดที่เขาคิดว่าปลอดภัยที่สุดกลับทำให้เขาค้นพบตัวตนและความสามารถของตัว้เองและค้นพบโอกาสในการช่วยเหลือผู้อื่นได้ ซึ่งมันก็ตรงกับตัวตนของวูดดี้ที่ชอบช่วยเหลือคนอื่น ถ้าเขายังอยู่แต่ในบ้านบอนนี่ เขาอาจจะต้องอยู่ในตู้ไปตลอดก็เป็นได้ หนังจึงให้แง่คิดว่าบางที่การก้าวออกมาจาก Comfort Zone มันอาจจะยากในตอนเริ่มต้น แต่เมื่อเราก้าวออกมาได้แล้วบางทีมันอาจนำไปสู่การค้นพบตัวตนและความสามารถด้านอื่นของเราในที่สุด
3.เราไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำเสมอไป บางครั้งเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ตามบางก็ดี
ปกติเราจะเห็นวูดดี้เป็นผู้นำของบรรดาของเล่น เขามักอยากให้ของเล่นตัวอื่นทำตามที่เขาคิด จนบางครั้งเขาลืมไปว่าแต่ละคนก็ต่างมีชีวิตและความคิดของตัวเอง เราจะไปนำหรือ control ทุกคนในทุกๆเรื่องนั้นคงไม่ได้ ในขณะที่โบพีพ ได้พัฒนาตัวเองจนแข็งแกร่ง วูดดี้ที่ได้กลับมาพบกับโบอีกครั้ง เขายังคงวางตัวเป็นผู้นำ แต่โบบอกให้เขาทำตามที่เธอบอก วูดดี้กลับรั้นไม่ฟัง จนสุดท้ายความรั้นไม่ยอมเป็นผู้ตามของเขาเป็นสาเหตุให้ของเล่นตัวอื่นบาดเจ็บ แสดงให้เห็นว่าบางครั้งคนที่เป็นผู้นำมาตลอดก็ต้องลดบทบาทเป็นผู้ตามบ้าง เพราะความเป็นจริงคนเราไม่ได้เก่งไปเสียทุกเรื่อง บางเรื่องคนที่เขาเคยเป็นผู้ตามเรา เขาอาจเก่งกว่าเราก็ได้ หรือการที่วูดดี้พยายามจะ control ของเล่นในบ้านบอนนี่ตามความเคยชินที่เขาทำกับของเล่นแอนดี้ แม้จะทำเพราะหวังดี แต่ของเล่นของบอนนี่รู้จักนิสัยบอนนี่ดีกว่าวูดดี้ การทำตัวเป็นผู้นำ แต่ผิดที่ ผิดเวลา ก็ย่อมไร้ผล เพราะไม่มีใครอยากทำตาม ดังนั้น การพยายาม control ความคิดคนอื่น สุดท้ายถ้าเขาไม่ทำตามที่เราบอก คนที่ทุกข์ก็คือเราเอง
4. อย่าตัดสินคุณค่าคนอื่นหรือตนเองเพียงรูปลักษณ์หรือสิ่งต่างๆ จากภายนอก
ฟอร์กกี้ผู้เป็นส้อมพลาสติกถูกนำมาจากถังขยะแล้วกลายเป็นของเล่นที่บอนนี่ให้ความรักมากที่สุด คนอื่นอาจมองว่าฟอร์กกี้เป็นแค่ขยะแม้กระทั่งตัวฟอร์กกี้เองยังตีค่าตัวเองเป็นเพียงขยะ แต่บอนนี่กลับรักฟอร์กกี้มากที่สุด เพราะเขาคือคนที่อยู่กับบอนนี่ในวันที่เธอหวาดกลัวการไปโรงเรียน ฟอร์กกี้ที่ดูภายนอกไม่มีค่าอะไร กลับมีความหมายอย่างมากมายต่อเด็กน้อยคนหนึ่ง ดังนั้น เราไม่ควรตัดสินคนเพียงแค่เปลือกนอก เพราะนั่นไม่ใช่คุณค่าที่แท้จริงของคนๆนั้น หรือแก๊บบี้ ตุ๊กตาหญิงที่อยากมีกล่องเสียง เพราะอยากให้เด็กเล่นกับตน อยากได้ความรักจากเด็กๆ แต่สุดท้ายแม้เธอจะได้กล่องเสียงสมใจอยาก แต่เด็กฮาร์โมนี่ กลับไม่อยากเล่นกลับเธอ และโยนเธอทิ้ง นั่นแสดงให้เห็นว่ากล่องเสียง เทียบได้กับเปลือกนอกที่ฉาบผู้คนไว้ มันไม่ได้แสดงถึงคุณค่าที่แท้จริงของคนๆนั้นหรอก แม้แก๊บบี้จะมีกล่องเสียง แต่ฮาร์โมนี่ก็ไม่ได้ให้คุณค่าอะไรกับสิ่งนั้นเลย เพราะฉะนั้นนี่หมายถึงว่าการตีคุณค่าและความหมายของคนแต่ละคนนั้นต่างกัน การที่แก๊บบี้ยึดติดกับรูปลักษณ์กล่องเสียงนั้นไม่ใช่สิ่งที่ฮาร์โมนี่ต้องการ ในขณะที่เด็กผู้หลงทางกับพ่อแม่ในสวนสนุกคนหนึ่ง เลือกที่จะหยิบเเก็บบี้มาอุ้มและพาเธอกลับบ้าน ไม่ใช่เพราะกล่องเสียง แต่เป็นเพราะเด็กหลงทางมองเห็นคุณค่าของแก็บบี้ เพราะเธอคือเพื่อนเพียงหนึ่งเดียงในตอนนั้นที่เด็กหลงทางคนนั้นจะมีได้ ไม่ว่าแก๊บบี้จะมีหรือไม่มีกล่องเสียง เด็กคนนั้นก็ต้องการแก็บบี้อยู่ดี เพราะสำหรับบางคนคุณค่าของสิ่งต่างๆมันไม่ได้อยู่ที่ภายนอก แต่มันคือคุณค่าจากภายในตัวของคนๆนั้น หรือความดีจากภายในของคนๆนั้นเองต่างหากที่จะบอกได้ว่าใครมีคุณค่าหรือไม่
5.ฟังเสียงใจตนเองบ้าง แล้วทำตามฝันของตัวเอง
วูดดี้มักจะคิด ตัดสินใจ และลงมือทำเพื่อคนอื่นเสมอๆ จนบางครั้งเขาก็คงลืมความต้องการของตัวเองไป ลืมฟังเสียงใจของตัวเอง เหมือนคนที่แบกภาระไว้มากมาย บางครั้งภาระที่หนักอึ้งมันก็ทำให้เราลืมให้ความสำคัญกับตัวเองไปเหมือนกัน หนังไม่ได้บอกให้เราทิ้งหน้าที่หรือภาระไป แต่หนังบอกให้เราฟังเสียงใจตัวเองบ้าง ทำเพื่อตัวเองบ้าง ในเมื่อมันไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ก็ทำเพื่อตัวเองบ้างเถอะ คิดว่าหนังต้องการสื่อแบบนี้ วูดดี้ที่บรรลุภารกิจและหน้าที่กับเพื่อนเก่าแล้ว สุดท้ายเขาได้ฟังเสียงใจตัวเอง และออกไปผจญภัยโลกกว้างกับโบ คนที่เขารัก และนั่นทำให้เขามีความสุขจริงๆ กับการตัดสินใจเพื่อตัวเองหลังจากที่ทำเพื่อคนอื่นมานาน แต่วูดดี้ไม่ได้รู้สึกเสียใจที่ตัดสินใจแบบนั้น รวมทั้งบัซและเพื่อนเก่าก็ไม่ได้ต่อว่าวูดดี้ เพราะวูดดี้ได้ทำหน้าที่ของเขาอย่างเต็มที่แล้วนั่นเอง หนังอยากจะบอกเราว่า ถ้าเราได้ทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่แล้ว และเราได้ทำเพื่อคนอื่นพอแล้ว เราก็อย่าลืมทำเพื่อตัวเองบ้าง พูดอีกอย่างก็คือ ทำเพื่อคนอื่นแล้วก็อย่าลืมทำเพื่อคนอีกคนที่สำคัญมากๆก็คือ ตัวเราเองนี่ล่ะ
อันนี้เป็นการเขียนตามมุมมองของเราเอง ที่จริงหนังสอดแทรกอะไรเยอะมาก ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองมันแบบไหน...
สุดท้ายอยากบอกว่า สำหรับทอยสตอรี่ มันมากกว่าความรัก แต่มันคือความผูกพันใน 25 ปีที่ผ่านมา...^^
ขอบคุณที่สร้างสิ่งดีๆให้คนดูนะ